December 22, 2024

โครงการสำรวจคุณภาพอากาศภายในอาคารระดับโลก โครงการแรกของ Dyson ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพอากาศภายในพื้นที่ปิดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เก็บข้อมูลจากเครื่องฟอกอากาศ Dyson กว่า 2.5 ล้านเครื่องทั่วโลก

· ผลสำรวจพบว่าค่าเฉลี่ยต่อเดือนของระดับ PM2.5 ภายในอาคารของทุกประเทศ เกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกแนะนำอย่างน้อย 6 เดือนต่อปี

· จากผลสำรวจของ Dyson ในประเทศไทย ค่าเฉลี่ยต่อปีของระดับ PM2.5 ภายในอาคารอยู่ที่ 14.70 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สูงกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกเกือบ 200% ทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีค่า PM2.5 ภายในอาคารสูงสุด ลำดับที่ 11 ของโลกและลำดับที่ 6 ของภูมิภาคเอเชีย

· ค่า PM2.5 ภายนอกอาคารโดยเฉลี่ยต่อปีของประเทศไทยอยู่ที่ 22.36 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐานของ WHO เกือบ 350%

· ช่วงเวลาที่พบ PM2.5 จะอยู่ระหว่างหกโมงเย็นถึงเที่ยงคืน ซึ่งตรงกับเวลาที่ผู้คนมักจะอยู่ภายในบ้าน

กรุงเทพฯ, 22 มกราคม 2567 - Dyson เผยผลลัพธ์โครงการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศระดับโลก (Global Connected Air Quality Data project) เป็นครั้งแรก โดยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศภายในอาคาร ที่รวบรวมโดยเครื่องฟอกอากาศ Dyson กว่า 2.5 ล้านเครื่อง ตั้งแต่ปี 2565 ถึง 2566 เพื่อสร้างข้อมูลภูมิทัศน์ (Data Landscape) ของคุณภาพอากาศจริงในบ้านของผู้คนทั่วโลก โดยการศึกษานี้เก็บข้อมูลทั้งขนาดของเม็ดฝุ่น (Granularity) ชนิดของก๊าซและอนุภาคมลพิษต่าง ๆ ตลอดจนวิเคราะห์แนวโน้มตามวัน เดือน ฤดู และตลอดทั้งปี ข้อมูลทั้งหมดเก็บรวบรวมมาจากเครื่องฟอกอากาศ Dyson ที่เชื่อมต่อกับ แอปพลิเคชัน MyDyson™ ปริมาณข้อมูลที่รวบรวมได้มากกว่าห้าแสนล้านชุดข้อมูล สามารถสะท้อนภาพรวมของสถานการณ์คุณภาพอากาศภายในครัวเรือนของเมืองใหญ่และประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ช่วยสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้ถึงปัญหามลพิษทางอากาศภายในอาคาร

 

PM2.5 คืออะไร? และ VOCs คืออะไร?

โครงการนี้มุ่งเน้นศึกษามลพิษ 2 ประเภท ได้แก่ PM2.5 และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) - PM2.5 หมายถึงอนุภาคที่มีขนาดเล็กเพียง 2.5 ไมครอน ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ทั่วไป ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) การสัมผัสกับ PM2.5 ในระยะยาวอาจ

สร้างผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะต่างๆ เช่น มะเร็งปอด จากรายงานความเข้มข้นของ PM2.5 ตามสัดส่วนของประชากรประจำปีค.ศ. 2019 อ้างอิงจากฐานข้อมูล Global Ambient Air Quality Database ขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าบริเวณที่มีความเข้มข้นของ PM 2.5 สูงที่สุดคือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อนุภาคเหล่านี้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่สามารถเข้าไปในระบบทางเดินหายใจได้ อนุภาคขนาดเล็กเหล่านี้มาจากการเผาไหม้ เตาเผาไม้ การทำอาหารและทำความร้อนด้วยแก๊ส ขนสัตว์เลี้ยง เถ้าและฝุ่น อย่างไรก็ดีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และสุขภาพเกี่ยวกับอนุภาคขนาดเล็กเหล่านี้กำลังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) เป็นมลภาวะในสถานะก๊าซ รวมถึงพวกเบนซีนและฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งอาจปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำความสะอาดหรือการทำอาหารด้วยแก๊ส รวมถึงจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย บอดี้สเปรย์ เทียน เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (EPA) ระบุว่า ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนทั่วไป เช่น สี สเปรย์ละออง น้ำยาทำความสะอาด และน้ำยาปรับอากาศ เป็นแหล่งที่มาของ VOCs ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก(WHO) สาร VOCs เช่น เบนซีน มีความเกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสุขภาพและโรคที่ร้ายแรงเฉียบพลันและเรื้อรังมากมาย รวมถึงโรคมะเร็งและผลกระทบต่อระบบเลือด

“ข้อมูลคุณภาพอากาศที่รวบรวมโดย Dyson ช่วยให้เข้าใจปัญหาที่แท้จริงของมลพิษทางอากาศภายในอาคารทั่วโลก ตลอดจนทำให้เราเข้าใจความท้าทายที่เครื่องฟอกอากาศ Dyson เผชิญในสภาพแวดล้อมจริง และมอบองค์ความรู้ในการออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นในการรับมือสภาวะอากาศที่ท้าทาย ข้อมูลที่เรารวบรวมมาไม่ได้เป็นเป็นเพียงแค่เครื่องมือทางวิศวกรรมเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เจ้าของบ้านแต่ละคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ข้อมูลนี้จะถูกแบ่งปันผ่านแอปฯ MyDyson™ ในแบบเรียลไทม์และแบบรายงานประจำเดือน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เครื่องฟอกอากาศมีความเข้าใจคุณภาพอากาศในบ้านของตนได้ดีขึ้น” Matt Jennings วิศวกรอำนวยการกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศของ Dyson กล่าว

“เราทุกคนต่างคิดว่ามลพิษทางอากาศภายนอกอาคารหรือตามริมถนนเป็นปัญหาหลัก แม้ว่าการศึกษาวิจัยมลพิษทางอากาศภายในครัวเรือนกำลังเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังคงมีจำนวนน้อยอยู่ ผลการวิจัยของ Dyson ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าแก่เราเกี่ยวกับระดับมลพิษที่แท้จริงในครัวเรือนทั่วโลก ช่วยให้เราเข้าใจรูปแบบของมลพิษในแต่ละวัน เดือน และตามฤดูกาล ข้อมูลของ Dyson เป็นเครื่องมือการศึกษาที่มีประสิทธิภาพอย่างเหลือเชื่อ และสร้างส่งผลกระทบในเชิงบวกอย่างไม่สิ้นสุด – การทำความเข้าใจมลพิษที่อยู่รอบตัวเราเป็นก้าวแรกในการต่อสู้กับมลพิษ” ศาสตราจารย์ Hugh Montgomery ประธานสาขาเวชศาสตร์การดูแลผู้ป่วยหนักที่ University College London และประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของ Dyson กล่าว

“มลพิษทางอากาศภายในครัวเรือนอาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการตรวจสอบ การศึกษาของ Dyson แสดงให้เห็นถึงความชุกชุมของคุณภาพอากาศภายในครัวเรือนที่แย่บริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และลบล้างความคิดที่ว่าคุณภาพอากาศภายนอกอาคารนั้นแย่กว่าภายในอาคารเสมอ ผลการศึกษาในครั้งนี้ช่วยสร้างความเข้าใจให้ผู้คนเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศภายในครัวเรือน และเป็นการกระตุ้นให้แพทย์มีมุมมองที่ครอบคลุมมากขึ้นในการรับมือกับโรคภูมิแพ้ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โรคหอบหืด และหลอดลมอักเสบ รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ” ดร. Ong Kian Chung แพทย์โรคระบบทางเดินหายใจและประธานสมาคมโรคปอดอุดตันเรื้อรัง (COPD) แห่งสิงคโปร์ กล่าว

 

ค่าเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ในประเทศไทยเกินเกณฑ์มาตราฐานตามที่ WHO ระบุไว้เกือบ 3 เท่า!

จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงคุณภาพอากาศภายในอาคารในหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลมาจากเครื่องฟอกอากาศ Dyson ตลอดปี 2022 สิ่งที่ทำให้ต้องประหลาดใจ คือ เมื่อนำระดับ PM2.5 โดยเฉลี่ยของแต่ละประเทศมาจัดอันดับ พบว่า อินเดีย จีน และตุรกี ครองตำแหน่ง 3 อันดับแรกตามลำดับ และมีอีก 4 ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยติดอยู่ใน 15 อันดับแรกของประเทศที่มีคุณภาพอากาศภายในครัวเรือนแย่ที่สุดในโลก

เนื่องด้วยระดับ PM2.5 โดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 14.70 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งประเทศไทยตรวจพบระดับ PM2.5 สูงเกินจากเกณฑ์มาตรฐานไปกว่า 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือเกือบ 200% โดยประมาณ และจากข้อมูลดังกล่าวยังพบว่าในทุกเดือนตลอดปีที่ผ่านมาจะมีระดับ PM2.5 ภายในครัวเรือนสูงเกินจากที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุไว้ โดยในปี 2022 พบระดับต่ำสุดอยู่ที่ 6.68 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในเดือนสิงหาคม และสูงสุดถึง 21.99 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในเดือนเมษายน

เช่นเดียวกับระดับ PM2.5 ภายนอกอาคารโดยเฉลี่ยต่อปีของประเทศไทยตรวจพบอยู่ที่ 22.36 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินจากค่ามาตรฐานที่ WHO ได้กำหนดไว้ที่ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ 350% โดยประมาณ

 

ทั่วโลกรวมถึงไทย ไม่ชอบใช้โหมด Auto ในเครื่องฟอกอากาศ

จากสถิติทั่วโลกพบว่ามีเพียง 8% ของผู้ใช้งานเครื่องฟอกอากาศ Dyson ที่จะเปิดระบบโหมดอัตโนมัติมากกว่า 3 ใน 4 ของช่วงเวลาที่ใช้งาน ซึ่งกาทำงานของโหมดนี้จะเป็นการช่วยตรวจสอบคุณภาพอากาศและช่วยกรองมลพิษที่ตรวจพบทันทีโดยอัตโนมัติ ชี้ให้เห็นว่าโดยทั่วไปแล้วไม่ได้มีการเปิดใช้เครื่องฟอกอากาศ Dyson เพื่อกำจัดมลพิษภายในครัวเรือนโดยอัตโนมัติ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงลึกด้านคุณภาพอากาศที่แสดงผลให้เห็น ทั้งนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในลำดับต้นๆ ในการเปิดใช้เครื่องฟอกอากาศในโหมดอัตโนมัติ โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 14%

ผลสำรวจพบว่าเมืองบางแห่งที่มีอัตราส่วนของการใช้งานเครื่องฟอกอากาศในโหมดอัตโนมัติต่ำมีความสัมพันธ์กับค่าระดับมลพิษที่สูงเกินมาตรฐาน จากค่าเฉลี่ยรายวัน และรายเดือน โดยเฉพาะค่าPM2.5 อาทิเช่น เชินเจิ้น (2.2%) เม็กซิโกซิตี้ (2.4%) และเซี่ยงไฮ้ (3%) ซึ่งเป็นเมืองที่มีการเปิดใช้งานเครื่องฟอกอากาศในโหมดอัตโนมัติต่ำที่สุด ในประเทศไทยมีเพียง 4% เท่านั้น ที่เปิดใช้โหมด Auto แม้ว่าระดับมลพิษภายในครัวเรือนจะสูงมากแค่ไหนหรืออยู่ในช่วงของฤดูกาลที่มีหมอกควันมากก็ตาม

X

Right Click

No right click