December 23, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

เมื่อโลกของการทำงานและการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การมีพื้นที่สำหรับการเรียน การทำงาน และพบปะสร้างสรรค์กิจกรรมจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ตอนหนึ่งในบทความของ Harvard Business Review ระบุว่า แม้การพบปะกันเพียงช่วงสั้นๆ ก็สามารถช่วยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมได้ ดังนั้นพื้นที่จึงไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ทางกายภาพ แต่ยังเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการร่วมมือและทำภารกิจยิ่งใหญ่ได้สำเร็จ ที่ผ่านมา True Space ซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งใน Ecosystem ของทรู ไม่ได้เป็นเพียงแค่ Co-working space ทั่วไป แต่ยังเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และการเติบโตของทั้งนักเรียนนักศึกษา และสตาร์ทอัพและ SME ไทยในมิติต่างๆ

บทความนี้จะพาไปทำความรู้จัก True Space ให้มากขึ้นผ่านแนวคิด จุดมุ่งหมาย รวมไปถึงประสบการณ์ของน้องๆ ชมรม SWU Sandbox ที่เริ่มต้นและเติบโตขึ้นจากพื้นที่เล็กๆ ของ True Space สาขาอโศก และต่อยอดสู่ภารกิจปั้นสตาร์ทอัพหน้าใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัย พร้อมชี้ให้เห็นถึงก้าวต่อไปของ True Space ในการเป็น Ecosystem ที่สำคัญสำหรับสตาร์ทอัพและ SME ไทย

จุดเริ่มต้นของการเป็นพื้นที่สำหรับนักเรียนนักศึกษา

“แรกเริ่มนั้น True Space เกิดขึ้นในปี 2562 เพื่อเป็นพื้นที่ทำงานให้นักเรียนนักศึกษา เพื่อให้พวกเขามีพื้นที่มานั่งทำงาน ติวหนังสือ หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน” นวลพรรณ บุญเผื่อน หัวหน้าสายงานทรูสเปซ บริษัท ทรูสเปซ จำกัด เริ่มเล่าที่มา

ไม่น่าแปลกใจที่จะได้เห็น True Space ทั้ง 7 สาขามีโลเคชั่นอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือใกล้กับมหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, มหาวิทยาลัยรังสิต, สยามสแควร์ ซอย 2, สยามสแควร์ ซอย 3, อโศก, ไอคอนสยาม และวายสแควร์ อุบลราชธานี เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเข้ามาใช้พื้นที่ได้อย่างสะดวกสบาย

“แต่ละสาขาเราจัดพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ครบ ทั้งที่นั่งทำงานแบบ Hot Desk ห้องประชุม และพื้นที่จัด Event ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ นอกจากนี้เราเองยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นเวิร์กชอปพัฒนาทักษะเสริมทั้งด้านความรู้และประสบการณ์ที่น้องๆ นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในอนาคต การมีกิจกรรมเหล่านี้ก็เป็นการสร้างคอมมูนิตี้ของเราให้เกิดขึ้นด้วย และเชื่อว่าเมื่อก้าวสู่วัยทำงาน พวกเขาก็จะยังเข้ามาใช้บริการของเราเช่นกัน” นวลพรรณ อธิบาย

การเข้าใช้บริการ True Space เป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ที่ทรูจัดไว้ให้ลูกค้าได้ใช้ Ecosystem อย่างเต็มที่ หรือหากต้องการสมัครสมาชิกก็ได้ในราคาที่คุ้มค่า รวมถึงการเป็นพาร์ทเนอร์กับมหาวิทยาลัยต่างๆ จะเห็นได้ว่าแต่ละสาขาจะมีน้องๆ นักเรียนนักศึกษามานั่งทำงาน อ่านหนังสือ หรือติวหนังสือกันเป็นประจำ

True Space สาขาอโศก กับการก่อร่างชมรม SWU Sandbox ให้เกิดขึ้นจริง

True Space สาขาอโศก ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่นักศึกษามารวมตัวกันทำกิจกรรมนอกห้องเรียน และเป็นจุดเริ่มต้นของชมรม SWU Sandbox ซึ่งก่อตั้งโดยนิสิตคณะเศรษฐศาสตร์ มศว ที่มี

ประสบการณ์ผ่านเข้ารอบ Demo Day ในการแข่งขัน Startup Thailand League 2023 ครั้งนั้นพวกเขาเห็นศักยภาพไอเดียของเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยที่นำไปต่อยอดได้ จึงอยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาความรู้ บ่มเพาะ และสนับสนุนการเกิดสตาร์ทอัพหน้าใหม่จากรั้วมหาลัยของตัวเอง

“จริงๆ ชมรม SWU Sandbox เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อต้นปี 67 ค่ะ ในช่วงการวางแผนก่อตั้งชมรม พวกเรา 8-9 คนยังมือใหม่มากและขาดพื้นที่สำหรับประชุมและวางแผนงาน เพื่อนที่เป็นประธานชมรมจึงลองติดต่อเข้ามาที่ True Space เพื่อขอให้พื้นที่ทำงาน เพราะทราบมาว่าเป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัย ซึ่งเราก็ได้รับการสนับสนุนอย่างดีตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงตอนนี้” เสาวลักษณ์ ชอบสอน นิสิตปี 4 คณะเศรษฐศาสตร์ มศว เลขาชมรมเล่าถึงที่มา

แม้ก่อตั้งชมรมได้ภายในเวลาไม่ถึงปี แต่ SWU Sandbox สามารถขยายขอบเขตการทำงานเป็นชุมชนนักศึกษาที่มีสมาชิกมากกว่า 100 คน และได้ร่วมงานกับฝ่ายกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยผลักดันให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การให้ความรู้ธุรกิจเบื้องต้น จัดค่ายพัฒนาโปรเจกต์ จนถึงการ Pitching เสนอไอเดียที่เปิดกว้างทั้งมหาวิทยาลัย คัดจนผ่านเข้ารอบ 10 ทีม โดยอีกไม่นานมีการจัด Showcase ที่เปิดให้บริษัทภายนอกเข้ามาชมงานและสนับสนุน

“การที่มีชมรมนี้เกิดขึ้นมาได้จริง พวกเราภูมิใจมาก ที่ได้มีส่วนร่วมพัฒนาศักยภาพนิสิตของเรา ซึ่งต่อไปอาจเกิดเป็นสตาร์ทอัพจริงๆ ก็ได้ และส่งต่อให้รุ่นน้องได้สานต่อกิจกรรมไปด้วย” ณัชชา พรมสุริย์ ฝ่ายดูแลกิจกรรมของชมรมกล่าว

พื้นที่ทางเลือกที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ยุคใหม่

ในยุคห้องสมุดไม่ใช่เพียงแหล่งหาข้อมูลสำคัญแห่งเดียวอีกต่อไป นักเรียนนักศึกษาต่างใช้แท็บเล็ตแทนสมุดและหนังสือ พวกเขามีทางเลือกในการแสวงหาความรู้อย่างเป็นอิสระในทุกที่ สิ่งสำคัญในเวลานี้คือ พื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ตอบโจทย์วิถีการเรียนแบบใหม่ ซึ่งดูเหมือนว่า True Space เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ตอบโจทย์เหล่านี้

“ชอบมานั่งทำงานที่นี่ เพราะมีปลั๊กไฟอยู่บนโต๊ะ ใช้งานสะดวกมาก โต๊ะก็ความสูงพอดี เก้าอี้นั่งสบาย พื้นที่เปิดโล่ง สว่าง ไม่อึดอัด เวลาพักสายตาก็มองไปนอกหน้าต่างได้” น้องๆ นักศึกษาที่เข้ามานั่งทำงานใน True Space สาขาอโศกบอกเล่าถึงเหตุผลที่เลือกเข้ามาที่นี่เป็นประจำ

ภิรมย์สุรางค์ สิงหนาท หนึ่งในนักศึกษากลุ่มนี้อธิบายเพิ่มเติมว่า “การมาที่ True Space ไม่เหมือนกับไปนั่งห้องสมุดหรือร้านกาแฟ เพราะที่ห้องสมุดเราต้องเงียบ จะคุยปรึกษาหรือติวหนังสือไม่ได้ ส่วนร้านกาแฟมีเสียงบรรยากาศค่อนข้างดัง ทำให้ไม่มีสมาธิอ่านหนังสือ การมาที่นี่มีทั้งโต๊ะแยกให้เราได้โฟกัสงาน และมีโต๊ะนั่งรวมที่ติวหนังสือหรือประชุมงานกันได้ด้วย”

Startup Ecosystem และ Community ที่เต็มไปด้วยโอกาส

นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียนนักศึกษาแล้ว เวลานี้ True Space มีการวางกลยุทธ์ขยายไปสู่ผู้ประกอบการ SME และสตาร์ทอัพ เพื่อเป็นโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ การมีเครือข่ายธุรกิจที่เข้มแข็งจากความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เป็นการดึงดูดให้ผู้ประกอบการเข้ามาเช่าพื้นที่เป็น Private Office หรือใช้งาน Co-working Space ที่ช่วยลดต้นทุนได้ รวมถึงการใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมธุรกิจต่างๆ ซึ่งนับเป็นบทบาทสำคัญของการเป็น Startup Ecosystem ของไทย

“เรามีผู้ประกอบการ SME และสตาร์ทอัพเข้ามาเช่าพื้นที่หรือเป็นสมาชิกอยู่หลายรายตามสาขาต่างๆ ซึ่งพวกเขาก็ได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกได้ครบครัน ช่วยในการดำเนินงานได้ รวมถึงมีการจัดพื้นที่ทำ Event รองรับคนได้จำนวนหนึ่ง ล่าสุดก็มีจัดพื้นที่สำหรับทำ Business Deal ให้กับสตาร์ทอัพได้สำเร็จไปอีกหนึ่งราย” หัวหน้าสายงานทรูสเปซกล่าว

การปรับตัวในยุคของการเปลี่ยนแปลง

ท่ามกลางความต้องการเช่าพื้นที่สำนักงานแบบดั้งเดิมลดลง เนื่องจากรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป เช่น การทำงานแบบรีโมตและไฮบริด รวมถึงเทรนด์ของ Co-working space ที่มีการแข่งขันเพิ่มขึ้นทั้งจากคาเฟ่และศูนย์การค้า แต่ True Space ยังคงสามารถปรับตัวและเติบโตได้อย่างมั่นคง ด้วยจุดเด่นและกลยุทธ์ดังต่อไปนี้

· Flexible Work Solutions: มีพื้นที่ทำงานที่ออกแบบมาอย่างทันสมัย รองรับการทำงานที่ยืดหยุ่นหลากหลายรูปแบบ

· Community Building: จัดกิจกรรมที่หลากหลายสำหรับนักศึกษาและผู้ประกอบการ พร้อมกับสร้างคอมมูนิตี้ที่เชื่อมโยงพาร์ตเนอร์และผู้ใช้บริการไว้อย่างแข็งแกร่ง

· Exclusive Discounts and Member Benefits: สมาชิกจะได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น ส่วนลดบริการในเครือ True ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับการเป็นสมาชิก และสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ครบครัน

“เชื่อไหมว่า ชั้นสองของ True Space สาขาอโศกตรงนี้ทั้งหมด เคยเป็นแผนกคอลเซ็นเตอร์ให้กับสายการบินระดับโลกแห่งหนึ่ง” นวลพรรณ เริ่มเล่าถึงจุดเด่นของพื้นที่แห่งนี้

“ช่วงที่สายการบินแห่งนี้มีการปรับปรุงสำนักงานและมาเช่าพื้นที่ของเรา เราก็สามารถจัดเป็นพื้นที่ทำงานได้อย่างตอบโจทย์ ต่อมาจึงกลายมาเป็นลูกค้าประจำ ในขณะเดียวกันพื้นที่เดียวกันนี้ก็เคยปรับให้เป็นงาน Event หรืองานเลี้ยง ซึ่งเราจัดให้ได้ วางแพลนโต๊ะเก้าอี้กันใหม่ พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีที่เรามีพร้อม นี่คือจุดเด่นของ True Space ที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก และตอบโจทย์ความต้องการได้เสมอ” เธอเน้นย้ำทิ้งท้าย

บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ – ซีพี จำกัด และ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์เอ็มจีในประเทศไทย ประกาศเปิดโรงงานแบตเตอรี่อีวีแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียนบนพื้นที่ NEW ENERGY INDUSTRIAL PARK ด้วยกำลังการผลิตกว่า 50,000 ก้อนต่อปี พร้อมเข้าสู่บทบาทการเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และปักหมุดให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอีวีแห่งภูมิภาคอาเซียน

บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด ได้เปิดโรงงานแบตเตอรี่อีวีแห่งใหม่ ภายใต้ชื่อ HASCO-CP BATTERY SHOP ในภูมิภาคอาเซียนบนพื้นที่ NEW ENERGY INDUSTRIAL PARK ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 75 ไร่ หลังทำพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ ส่วนการประกอบแบตเตอรี่ ประกอบด้วยสายการผลิตอัตโนมัติที่ทันสมัยอย่างการนำหุ่นยนต์ (Robotic) เข้ามาช่วยในการผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐานที่แม่นยำ การเชื่อมโดยเลเซอร์ (Laser Welding) เพื่อให้ได้คุณภาพของการเชื่อมที่ดี การตรวจสอบด้วย CCD (Charge Coupled Device) เพื่อความแม่นยำในการตรวจสอบเทียบกับต้นแบบในทุกขั้นตอนก่อนนำไปใส่ในตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% และส่วนการทดสอบมาตรฐานของแบตเตอรี่ กว่า 60 ขั้นตอน อาทิ การตรวจสอบค่าการเก็บการคายประจุ (Charge & Discharge) การตรวจสอบน้ำรั่วซึมเข้าสู่แบตเตอรี่ (Air Leak test) ทดสอบความเป็นฉนวน (Insulation Test) ทดสอบการควบคุมพลังงาน (Static Test) เป็นต้น โดยในสายการผลิตแห่งนี้สามารถประกอบแบตเตอรี่ Cell-To-Pack ได้สูงสุดมากกว่า 50,000 ก้อนต่อปี ซึ่งแบตเตอรี่ที่ประกอบในประเทศไทยจะเป็นมาตรฐานเดียวกับสายการผลิตระดับโลก สำหรับแบตเตอรี่ที่ออกจากสายการผลิตนี้จะถูกนำไปติดตั้งในรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น MG4 ELECTRIC เป็นรุ่นแรก รวมถึงรถไฟฟ้ารุ่นอื่นๆ ในอนาคต ซึ่งอยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมของสายการผลิตเพื่อเตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2567”

 

นายจ้าว เฟิง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด เปิดเผยว่า “โรงงานแบตเตอรี่อีวี เป็นหนึ่งในแผนการพัฒนาพื้นที่ NEW ENERGY INDUSTRIAL PARK ซึ่งตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเออีสเทิร์นซีบอร์ด 2 (WHA ESIE 2) จังหวัดชลบุรี เพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ เพิ่มงบลงทุนอีกกว่า 500 ล้านบาท โดยจะใช้เป็นโรงงานประกอบแบตเตอรี่อีวีในรูปแบบ Cell-To-Pack (CTP) ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่อย่าง RUBIK's CUBE BATTERY ด้วยข้อได้เปรียบในเรื่องของศักยภาพและโอกาสในการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมถึงการที่บริษัทแม่อย่าง SAIC MOTOR CORPORATION และ HASCO-CP เล็งเห็นถึงความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน

 

“โดยนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019 ที่ เอ็มจี ได้บุกเบิกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย สู่ปัจจุบันที่รถยนต์ไฟฟ้ากลายเป็น ที่นิยม และมีการเติบโตในตลาดแบบก้าวกระโดด ตอกย้ำความเชื่อมั่น ด้วยยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าสะสมรวมกว่า 18,000 คัน ด้วยผลิตภัณฑ์รถยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลายตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้า อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ คือการให้ความสำคัญกับการสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Ecosystem ที่มีความแข็งแกร่งและครอบคลุมในทุกมิติของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในระยะยาว โดยเฉพาะการลงทุนสร้างเครือข่ายสถานีชาร์จไฟแบบเร็ว หรือ MG SUPER CHARGE รองรับการเดินทางที่สะดวกสบาย ทั่วประเทศ ล่าสุด เอ็มจี เดินหน้าแผนงานอีวี มุ่งยกระดับอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าด้วยการเปิดตัวโรงงานประกอบแบตเตอรี่อีวี และถือเป็นเครื่องสะท้อนความตั้งใจของ เอ็มจี หลังจากนี้ยังคงเดินหน้าพัฒนาพื้นที่ NEW ENERGY INDUSTRIAL PARK ในแผนงานระยะถัดไป เพื่อเติมเต็มระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าให้สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำ สู่ปลายน้ำ โดยมีกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2567”

ภายใต้บริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม เทคโนโลยี และด้านอื่นๆ อีกมากมาย

นายธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ (ที่ 6 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด (J Ventures) บริษัทในกลุ่มเจมาร์ท จับมือพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและบล็อกเชน (Blockchain) ภายใต้ความร่วมมือของ J Ventures พร้อมด้วย I AM Consulting , Dome Cloud , Atomic Pay และ Satang เปิดตัว Thailand Blockchain Working Group (TBWG) เป็นการรวมตัวของนักพัฒนาและผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อเป็นอีกหน่วยงานสำคัญในการสร้างระบบนิเวศบล็อกเชนในประเทศไทย (Blockchain Ecosystem) พร้อมสนับสนุนด้านการลงทุน ขับเคลื่อนองค์กรด้านบล็อกเชนสตาร์ทอัพสายเลือดไทยให้เติบโตแข็งแกร่ง โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหาร Brand Protocol และนายวิชัย ทองแตง (กลาง) Investment Specialist ร่วมให้ข้อมูลการลงทุน ณ ห้อง Auditorium ชั้น 7 The Knowledge Exchange เมื่อเร็วๆ นี้

 

X

Right Click

No right click