Wi-Fi Alliance®, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ร่วมกับสมาชิก Wi-Fi Alliance® ได้แก่ ฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอนเตอร์ไพรส์ (HPE), Intel และ Meta รวมถึงได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (USTDA) ในการดำเนินโครงการนำร่อง Wi-Fi 6 GHz ระยะ 7 เดือนเสร็จสิ้นแล้ว และเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยี Wi-Fi ความถี่ 6 GHz ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการเปลี่ยนแปลงระบบการรักษาพยาบาลด้วยโซลูชันนวัตกรรมการเชื่อมต่อ จากที่ผ่านมาคลื่นความถี่ที่ใช้ในประเทศไทยต่ำกว่า 500 MHz โครงการนำร่องดังกล่าวนับเป็นการทดสอบการใช้งานคลื่นความถี่ 6 GHz แบบองค์รวมที่รวบรวมทุกย่านความถี่ (สเปกตรัม 1200 MHz) ของ Wi-Fi ในสถานพยาบาล เพื่อนำไปเป็นต้นแบบต่อยอดและใช้งานต่อไปทั่วประเทศ
การเปลี่ยนแปลงการฝึกอบรมแพทย์ฝึกหัดและการบริการในระบบการรักษาพยาบาล
เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านของระบบดิจิทัลที่นำมาใช้ในการรักษาพยาบาลมีความก้าวหน้ามากขึ้น อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ มีการเชื่อมต่อกัน และอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างผู้ป่วยและเครื่องมือแพทย์ก็เชื่อมต่อกัน จึงต้องมีเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงที่เสถียรและปลอดภัย และการนำ Wi-Fi 6 GHz มาใช้จะช่วยตอบสนองความต้องการนี้โดยการเพิ่มสเปกตรัมความถี่วิทยุและช่องสัญญาณการทำงานที่มีอยู่ให้มากขึ้น ซึ่งทำให้สถานพยาบาลสามารถบริหารจัดการอุปกรณ์ได้ดีขึ้นและมีความปลอดภัย ช่วยลดเวลาแฝง (Latency) และรองรับปริมาณงานได้สูง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในแวดวงการแพทย์ปัจจุบัน
คลื่นความถี่ 6 GHz ถือเป็นรากฐานสำคัญของเทคโนโลยี Wi-Fi 6E และ Wi-Fi 7 ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อด้วยการให้ช่องสัญญาณที่ไม่แออัดหลายๆ ช่อง ความก้าวหน้าเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อรองรับความเร็วระดับ Gigabit และการทำงานที่ราบรื่นในสภาพแวดล้อมที่มีความหนาแน่นของข้อมูลสูง เช่น ในโรงพยาบาล เป็นต้น
รายละเอียดและวัตถุประสงค์ของโครงการนำร่อง Wi-Fi 6 GHz
โครงการนำร่อง Wi-Fi 6 GHz จัดขึ้นที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยโครงการประกอบด้วย:
· การใช้งานเทคโนโลยี AR/VR - โครงการนำร่องนี้จะสาธิตการสร้างภาพกายวิภาคแบบเสมือนจริงโดยใช้จุดกระจายสัญญาณ Wi-Fi 6 GHz ของ HPE Aruba Networking และชุดแว่นของ Meta ซึ่งช่วยให้แพทย์และนักศึกษาแพทย์สามารถวิเคราะห์โครงสร้าง 3 มิติของร่างกายมนุษย์ได้อย่างละเอียด ได้แก่ โครงกระดูก กล้ามเนื้อ และระบบประสาท ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึกอบรมแพทย์ฝึกหัดด้วยประสบการณ์ที่สมจริง
· การใช้สเปกตรัมสำหรับแอปพลิเคชัน AR/VR: โครงการนี้แสดงประสบการณ์ของผู้ใช้ขณะใช้งานในย่านความถี่ต่ำกว่า 500 MHz เทียบกับย่านความถี่ 1,200 MHz แบบเต็มของสเปกตรัม 6 GHz โดยแสดงให้เห็นว่าการมีสเปกตรัมที่เพียงพอนั้นสำคัญอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด
· การใช้งานที่มีปริมาณผู้ใช้หนาแน่นและการสตรีมข้อมูล: การทดลองใช้งานจะแสดงให้เห็นประโยชน์ของสเปกตรัม 6 GHz แบบเต็มย่านความถี่ ในการรองรับการสตรีมวิดีโอความละเอียดสูง และการย้ายไฟล์พร้อมๆ กันในสภาพแวดล้อมการใช้งานที่มีข้อมูลขนาดใหญ่และผู้ใช้หนาแน่น เช่น ห้องเรียนขนาด 500 ที่นั่ง
ประโยชน์ของ Wi-Fi 6E และ Wi-Fi 7 แบบ 6 GHz ในระบบรักษาพยาบาล
Wi-Fi 6E และ Wi-Fi 7 นำเสนอความก้าวหน้าครั้งสำคัญสำหรับสถานพยาบาล โดยช่วยให้สามารถใช้ช่องสัญญาณ 80 MHz หรือ 160 MHz ที่กว้างขึ้นได้ เพื่อปรับปรุงปริมาณงานรวมของแต่ละจุดเชื่อมต่อไร้สาย และเพิ่มอัตราการส่งข้อมูลสูงสุด โดยคลื่นความถี่ 6 GHz ที่ขยายเพิ่มเติมนี้ ช่วยให้ใช้งานสเปกตรัมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการชนกันของสัญญาณ (Signal Collisions) และลดเวลาแฝงให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับสภาพแวดล้อมที่มีข้อมูลและผู้ใช้หนาแน่น และมีปริมาณการใช้งานสูง เช่น โรงพยาบาลและมหาวิทยาลัย เป็นต้น
การใช้งาน Wi-Fi 6 GHz แบบเต็มย่านความถี่ รองรับเครือข่ายแบบแบ่งส่วนที่สามารถจัดลำดับความสำคัญของ แอปพลิเคชันทางการแพทย์ที่สำคัญได้ พร้อมๆ กับการแยกการรับส่งข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกมา ทำให้มั่นใจได้ว่าเทคโนโลยีสำหรับช่วยชีวิตผู้ป่วยนี้จะทำงานได้อย่างเสถียร และนวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยเสริมประสิทธิภาพให้ทั้งการฝึกอบรมแพทย์ฝึกหัด และแอปพลิเคชันด้านการรักษาพยาบาลอื่นๆ ด้วย ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานให้แก่โซลูชันการเชื่อมต่อในหลายภาคส่วน ทั้งองค์กรธุรกิจ ยานยนต์ และ IoT
ความสำเร็จของโครงการนำร่อง Wi-Fi 6E นี้อาจช่วยปูทางไปสู่การนำเทคโนโลยี Wi-Fi ขั้นสูงไปใช้ในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานพยาบาล และเพิ่มศักยภาพให้กับนวัตกรรมในอนาคตสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ
คุณสมบัติขั้นสูงเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ทำงานร่วมกับ HPE Aruba Networking มาเป็นระยะเวลาหลายปีเพื่อติดตั้งโซลูชันนวัตกรรมของ HPE ในด้านเครือข่ายองค์กรให้กับสถานพยาบาลของตน และได้เลือก HPE ให้สนับสนุนโครงการนำร่องนี้ โดย HPE Aruba Networking ได้เสนอเทคโนโลยีการกรองสัญญาณแบบ Ultra Tri-band Filtering ซึ่งออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้คลื่นความถี่ 6 GHz โดยลดการรบกวนให้ต่ำที่สุด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับสภาพแวดล้อมที่มีความหนาแน่นของผู้ใช้สูง เช่น วิทยาเขตของสาขาวิชาการแพทย์ เทคโนโลยีนี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่าการเชื่อมต่อจะมีความสม่ำเสมอ และมีคุณภาพสูงสำหรับแอปพลิเคชันหลากหลายประเภท
นอกจากนี้ HPE ยังสนับสนุนองค์กรด้านการรักษาพยาบาลด้วยการผสาน IoT ที่แข็งแกร่ง อีกทั้งยังรองรับ Zigbee และ BLE และด้วยแดชบอร์ด IoT ที่ครอบคลุม และการรองรับระบบนิเวศ ประกอบกับข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงการจัดการเครือข่าย และลดความเสี่ยงในการดำเนินงาน ทำให้เราได้รากฐานเครือข่ายที่ปลอดภัยและวางใจได้สำหรับแอปพลิเคชันด้านการรักษาพยาบาล
ผลลัพธ์จากการนำใช้เทคโนโลยี Wi-Fi ความถี่ 6 GHz ทั่วโลก
จากการนำใช้เทคโนโลยี Wi-Fi ความถี่ 6 GHz มาใช้ สถานพยาบาลทั่วโลกสามารถใช้แนวคิดริเริ่มนี้เพื่อเป็นมาตรฐานในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัลของตนได้ การทำให้ย่านความถี่ 6 GHz แบบเต็ม (5925-7125 MHz) ใช้งานสำหรับ Wi-Fi ได้จะช่วยรองรับแอปพลิเคชันการรักษาพยาบาลใหม่ๆ พร้อมทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นไปอีกระดับในสภาพแวดล้อมแบบต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และสำนักงานของบริษัท
โครงการนี้เป็นตัวอย่างของความพยายามร่วมกันระหว่างผู้นำในอุตสาหกรรมและสถาบันต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นตัวกำหนดอนาคตของระบบการรักษาพยาบาลและการศึกษา
HPE Discover 2024 – บริษัทฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอนเตอร์ไพรส์ (Hewlett Packard Enterprise (NYSE: HPE)) และเอ็นวิเดีย (NVIDIA) ได้ประกาศเปิดตัว NVIDIA AI Computing by HPE ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์โซลูชัน AI ที่ได้รับการพัฒนาและออกสู่ตลาดร่วมกัน ซึ่งช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถเร่งการนำ Generative AI ไปใช้งานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
บริการหลักในชุดผลิตภัณฑ์นี้ ได้แก่ HPE Private Cloud AI ซึ่งเป็นโซลูชันแรกที่รวมเอาการผสานที่ล้ำลึกที่สุดจนถึงปัจจุบันของการประมวลผล AI ของ NVIDIA, การสร้างเครือข่าย และซอฟต์แวร์เข้ากับพื้นที่เก็บข้อมูล AI ของ HPE การประมวลผลและระบบคลาวด์ HPE GreenLake เพื่อช่วยให้องค์กรทุกขนาดสามารถพัฒนาและปรับใช้แอปพลิเคชัน Generative AI ได้อย่างยั่งยืน ประหยัดพลังงาน รวดเร็ว และยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น โดย HPE Private Cloud AI ขับเคลื่อนด้วย OpsRamp AI copilot ใหม่ที่ช่วยให้การปฏิบัติการด้าน IT ปรับปรุงเวิร์กโหลดและประสิทธิภาพด้าน IT นอกจากนี้ ยังมาพร้อมประสบการณ์คลาวด์แบบบริการตนเอง รวมถึงการจัดการตลอดอายุการใช้งาน และยังสามารถกำหนดค่าขนาดที่เหมาะสมให้เลือกถึงสี่แบบเพื่อรองรับเวิร์กโหลด AI และเคสการใช้งานที่หลากหลาย
ข้อเสนอและบริการ NVIDIA AI Computing by HPE ทั้งหมดจะถูกนำเสนอผ่านกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาด (Go-to-market strategy) ร่วมกัน ซึ่งครอบคลุมถึงการจำหน่าย ทีมงาน พันธมิตรในแต่ละช่องทาง การเทรน และเครือข่ายผู้วางระบบทั่วโลก ได้แก่ Deloitte, HCLTech, Infosys, TCS และ Wipro ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดำเนินงานเวิร์กโหลด AI ที่ซับซ้อนได้
ในระหว่างการประกาศในงาน HPE Discover นายอันโตนิโอ เนรี ประธานและซีอีโอ บริษัทฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอนเตอร์ไพรส์ และนายเจนเซ่น หวง ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ NVIDIA ได้ประกาศว่า NVIDIA AI Computing by HPE ถือเป็นการขยายความร่วมมือที่มีมายาวนานหลายทศวรรษ และสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่สำคัญในด้านเวลาและทรัพยากรของทั้งสองบริษัท
นายอันโตนิโอ เนรี ประธานและซีอีโอ บริษัทฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอนเตอร์ไพรส์ เปิดเผยว่า “Generative AI มีศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ในการปฏิวัติองค์กร แต่ความซับซ้อนของเทคโนโลยี AI ที่ประกอบด้วยหลายส่วนนั้นมีความเสี่ยงและอุปสรรคมากเกินไป ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการใช้งานในองค์กรขนาดใหญ่ และอาจเป็นภัยต่อทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของบริษัทซึ่งก็คือข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของพวกเขา ดังนั้นเพื่อปลดปล่อยศักยภาพอันมหาศาลของ Generative AI ในองค์กร ทาง HPE และ NVIDIA ได้ร่วมกันพัฒนาระบบคลาวด์ส่วนตัวแบบครบวงจรสำหรับ AI โดยจะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรของตนเองเพื่อพัฒนาการใช้งาน AI แบบใหม่ๆ ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มผลงานและเปิดประตูสู่แหล่งรายได้ใหม่ๆ ได้ด้วย"
นอกจากนี้ นายเจนเซน หวง ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ NVIDIA กล่าวว่า “Generative AI และการประมวลผลแบบเร่งความเร็วเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรากฐาน เนื่องจากทุกอุตสาหกรรมต่างร่วมกันแข่งขันเพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งก่อนหน้านี้ NVIDIA และ HPE ไม่เคยมีการบูรณาการเทคโนโลยีของเราอย่างลึกซึ้งเช่นนี้มาก่อน โดยการรวมชุดการประมวลผล AI ของ NVIDIA ทั้งหมดเข้ากับเทคโนโลยีคลาวด์ส่วนตัวของ HPE ในครั้งนี้ เราตั้งใจที่จะให้ลูกค้าองค์กรและผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพด้าน AI มีโครงสร้างพื้นฐานและบริการคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดเพื่อขยายขอบเขตการทำงานของ AI”
HPE และ NVIDIA ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ Private Cloud AI
HPE Private Cloud AI นำเสนอประสบการณ์บนคลาวด์ที่ไม่เหมือนใครเพื่อเร่งความเร็วในการสร้างนวัตกรรม และเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน และขณะที่จัดการความเสี่ยงระดับองค์กรจาก AI โดยโซลูชันประกอบด้วย
● รองรับการอนุมาน การปรับแต่งโมเดล และเวิร์กโหลด RAG AI ที่ใช้ข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์
● องค์กรสามารถควบคุมข้อกำหนดด้านความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย ความโปร่งใส และการกำกับดูแลข้อมูลได้
● เพิ่มผลิตผลในการทำงาน ด้วยประสบการณ์คลาวด์ เช่น ITOps และ ความสามารถของ AIOps
● มาพร้อมเส้นทางที่รวดเร็วในการใช้ทรัพยากรอย่างยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองโอกาสและการเติบโตของ AI ในอนาคต
AI และชุดเครื่องมือซอฟต์แวร์ที่ได้รับการคัดสรรใน HPE Private Cloud AI รากฐานของ AI และเครื่องมือซอฟต์แวร์ข้อมูลเริ่มต้นด้วยแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ NVIDIA AI Enterprise ซึ่งรวมถึงไมโครเซอร์วิสอนุมาน NVIDIA NIM™
NVIDIA AI Enterprise เร่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ข้อมูลและปรับปรุงกระบวนการพัฒนาและการปรับใช้ Copilot ในระดับการผลิต รวมถึงแอปพลิเคชัน GenAI อื่น ๆ เมื่อรวมกับ NVIDIA AI Enterprise แล้ว NVIDIA NIM จะให้บริการไมโครเซอร์วิสที่ใช้งานง่าย ซึ่งมอบการเปลี่ยนผ่านที่ราบรื่นจากต้นแบบไปจนถึงการปรับใช้โมเดล AI ที่ปลอดภัยในกรณีการใช้งานที่หลากหลาย เสริมด้วย NVIDIA AI Enterprise และ NVIDIA NIM ซอฟต์แวร์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น HPE AI Essentials ได้มอบชุดเครื่องมือ AI และรากฐานข้อมูลที่พร้อมใช้งานซึ่งคัดสรรมาแล้ว พร้อมด้วย Control Plane แบบครบวงจรที่มีโซลูชันที่ปรับเปลี่ยนได้ ให้บริการการสนับสนุนองค์กรอย่างต่อเนื่อง และบริการ AI ที่เชื่อถือได้ เช่น การเป็นไปตามข้อกำหนดและคุณสมบัติที่เพิ่มขยายได้ของข้อมูลและโมเดล ที่ช่วยให้มั่นใจว่าการเคลื่อนที่ของข้อมูล AI เป็นไปตามข้อกำหนด เข้าใจได้ และทำซ้ำได้ทั้งหมดของวงจรชีวิต AI เพื่อส่งมอบประสิทธิภาพที่ดีที่สุดสำหรับ AI และชุดซอฟต์แวร์ข้อมูล HPE Private Cloud AI เสนอโครงสร้างพื้นฐาน AI แบบครบวงจร ซึ่งได้แก่เครือข่าย NVIDIA Spectrum-X Ethernet, HPE GreenLake for File Storage และเซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant พร้อมการสนับสนุนสำหรับ NVIDIA L40S, NVIDIA H100 NVL Tensor Core GPUs และ แพลตฟอร์ม NVIDIA GH200 NVL2
ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นได้ด้วยคลาวด์ HPE GreenLake
HPE Private Cloud AI นำเสนอประสบการณ์คลาวด์แบบบริการตนเองใช้งานด้วยคลาวด์ HPE GreenLake ซึ่งเป็นบริการคลาวด์ที่มีความสามารถในการจัดการและความสามารถในการตรวจสอบ วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้ เพื่อดำเนินงานแบบอัตโนมัติ จัดระเบียบ และจัดการอุปกรณ์ใช้งานปลายทาง (Endpoint) เวิร์กโหลด และข้อมูลในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดผ่าน Control Plane เดี่ยวบนแพลตฟอร์ม ซึ่งรวมถึงตัวชี้วัดความยั่งยืนสำหรับเวิร์กโหลดและอุปกรณ์ใช้งานปลายทาง
Observability ของโครงสร้างพื้นฐาน AI และผู้ช่วย Copilot สำหรับคลาวด์ HPE GreenLake และ OpsRamp การดำเนินงานด้านไอทีของ OpsRamp ได้รับการผสานเข้ากับคลาวด์ HPE GreenLake เพื่อส่งมอบความสามารถในการตรวจสอบ วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา (Observability) และ AIOps ให้กับผลิตภัณฑ์และบริการของ HPE ทั้งหมด ขณะนี้ OpsRamp มอบความสามารถในการตรวจสอบสำหรับชุดคอมพิวเตอร์เร่งความเร็ว NVIDIA แบบครบวงจร ซึ่งรวมถึงซอฟต์แวร์ NVIDIA NIM และ AI, GPU NVIDIA Tensor Core และคลัสเตอร์ AI รวมถึงสวิตช์ NVIDIA Quantum InfiniBand และ NVIDIA Spectrum Ethernet ผู้ดูแลระบบไอทีสามารถรับข้อมูลเชิงลึกเพื่อระบุความผิดปกติและตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐาน AI และปริมาณงานในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดและมัลติคลาวด์
สำหรับผู้ช่วยปฏิบัติการ OpsRamp รุ่นใหม่ได้ใช้แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์เร่งความเร็วของ NVIDIA เพื่อวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกกับผู้ช่วยสนทนา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการปฏิบัติการ OpsRamp จะผสานรวมกับ CrowdStrike API ด้วยเพื่อให้ลูกค้าสามารถดูมุมมองแผนที่บริการแบบครบถ้วน สำหรับการรักษาความปลอดภัยปลายทาง (Endpoint Security) ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานและแอปพลิเคชันทั้งหมด
เร่งระยะคุ้มทุนให้รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย AI – ขยายความร่วมมือกับผู้วางระบบระดับโลก
เพื่อเร่งระยะคุ้มทุนสำหรับองค์กรในการพัฒนาโซลูชัน AI เฉพาะอุตสาหกรรม และเคสการใช้งานที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างชัดเจน บริษัท Deloitte, HCLTech, Infosys, TCS และ WIPRO ได้ประกาศสนับสนุน NVIDIA AI Computing จากชุดผลิตภัณฑ์ของ HPE และ HPE Private Cloud AI ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชันและบริการ AI เชิงกลยุทธ์ของแบรนด์
HPE เพิ่มการสนับสนุนสำหรับ GPU, CPU และ Superchips ล่าสุดของ NVIDIA
● HPE Cray XD670 รองรับ NVIDIA H200 NVL Tensor Core GPU แปดตัว และเหมาะสำหรับผู้พัฒนา LLM
● เซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant DL384 Gen12 มาพร้อม NVIDIA GH200 NVL2 และเหมาะสำหรับผู้ใช้ LLM ที่ใช้โมเดลขนาดใหญ่หรือ RAG
● เซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant DL380a Gen12 รองรับ NVIDIA H200 NVL Tensor Core GPU สูงสุดแปดตัว เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ LLM ที่ต้องการความยืดหยุ่นในการปรับขนาดเวิร์กโหลด GenAI
● HPE จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับ NVIDIA GB200 NVL72 / NVL2 พร้อมทั้งสถาปัตยกรรมNVIDIA Blackwell, NVIDIA Rubin และ NVIDIA Vera ใหม่
พื้นที่จัดเก็บไฟล์ขนาดใหญ่ได้รับการรับรองให้ใช้กับระบบ NVIDIA DGX BasePOD และ OVX HPE GreenLake for File Storage ผ่านการรับรองเพื่อใช้งานกับ NVIDIA DGX BasePOD และการตรวจสอบพื้นที่จัดเก็บข้อมูล NVIDIA OVX™ ช่วยให้ลูกค้าได้รับโซลูชันการจัดเก็บไฟล์ระดับองค์กรที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถเร่งความเร็วเวิร์คโหลด AI, GenAI และ GPU ปริมาณมากได้ โดย HPE เตรียมนำโปรแกรมรับรองการจัดเก็บข้อมูลสถาปัตยกรรมอ้างอิงของ NVIDIA ออกสู่ตลาดในเร็ว ๆ นี้
ผลิตภัณฑ์และบริการที่จะมีวางจำหน่ายทั้งหมดในช่วงไตรมาส 3-4 ปี 2024
● HPE Private Cloud AI
● เซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant DL380a Gen12 พร้อมกับ NVIDIA H200 NVL Tensor Core GPUs
● เซิร์ฟเวอร์ HPE ProLiant DL384 Gen12 พร้อมกับ Dual NVIDIA GH200 NVL2
● เซิร์ฟเวอร์ HPE Cray XD670 พร้อมกับ NVIDIA H200 Tensor Core GPUs NVL2
ถึงตอนนี้ มีงานวิจัยที่ยืนยันแล้วว่า โดยเฉลี่ย 67% ขององค์กรที่ไม่มีการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลจะเกิดการถดถอยทางธุรกิจ ขณะองค์กรที่มีการเปลี่ยนผ่านจะมีการเติบโตทางธุรกิจราวสองถึงสามเท่า อย่างไรก็ตาม องค์กรยังคงต้องเผชิญกับคลื่นความท้าทายสองประการ ได้แก่
1) การปรับเปลี่ยนอินฟราสตรัคเจอร์ไปสู่เทคโนโลยี Hyper Converged เพื่อแก้ปมปัญหาระบบงานไอทีหลากรุ่นหลายเทคโนโลยี (Multi-Gen IT) ในองค์กร รวมถึงบริหารจัดการข้อมูลที่ถูกเก็บกระจัดกระจาย (Silo) ตามฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่ดีพอสำหรับรองรับการทำงานแบบไฮบริด เพื่อการรับ-ส่งข้อมูลหรือภาระงานต่าง ๆ ที่ข้ามไปมาระหว่างคลาวด์ ระบบที่ใช้งานในองค์กร (On Premise) แอปพลิเคชัน หรือ อินฟราสตรัคเจอร์ที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องการความปลอดภัยจากแรนซั่มแวร์ในระดับสูง
2) การพัฒนากลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูล (Data Driven) ซึ่งทวีความสำคัญต่อการเสริมสร้างรายได้และชี้ทิศทางความเป็นไปของธุรกิจ ดังนั้น ในยุคที่ “ข้อมูลต้องมาก่อน (Data First)” จึงต้องมีการกำกับการใช้งานและดูแลความปลอดภัยของข้อมูลซึ่งกระจายอยู่ทุกที่และเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ตลอดจนจัดหาเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Root Insight) ที่มีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์สูงสุดทางธุรกิจ
dHCI อินฟราสตรัคเจอร์ในยุคข้อมูลเป็นใหญ่
เดิมเทคโนโลยี Hyper Converged ถูกออกแบบมาเพื่อให้ระบบไอทีมีความยืดหยุ่นในการย่อ-ขยายให้เหมาะกับความต้องการใช้งาน ประสานให้เกิดการทำงานแบบมัลติแพลตฟอร์มระหว่างข้อมูลทั้งแบบมีและไม่มีโครงสร้าง แอปพลิเคชันเดิมและแอปพลิเคชันเกิดใหม่ เช่น คอนเทนเนอร์ ไมโครเซอร์วิส ให้พร้อมรับการทำงานบนคลาวด์อย่างปลอดภัย และด้วยต้นทุนการใช้งานแบบจ่ายตามจริง (Pay Per Use) แต่ในปัจจุบัน Disaggregated Hyperconverged Infrastructure-dHCI เช่น แพลตฟอร์ม HPE dHCI มีความพิเศษกว่า HCI แบบเดิม คือ เพิ่มความยืดหยุ่นในการปรับขยายส่วนการประมวลผลและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแยกจากกันได้อย่างอิสระ (Disaggregated) แต่ยังคงขีดความสามารถในบริหารจัดการเทคโนโลยีทั้งหมดได้จากจุดเดียว รองรับการทำงานร่วมกันระหว่างเซิร์ฟเวอร์รุ่นก่อน เช่น Gen8 Gen9 ระบบงานเก่าอย่าง
อีอาร์พีไปจนถึงเทคโนโลยีแบบโอเพ่นสแต็คซึ่งขจัดปัญหาเรื่อง Multi-Gen IT โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนระบบทั้งหมดให้เป็น dHCI เพื่อประหยัดต้นทุน การันตีระดับการให้บริการ SLA ที่มีมาตรฐานสูงเพื่อรองรับภาระงานสำคัญทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกับวีเอ็มแวร์ หรือ ไมโครซอฟท์ อาซัวร์
แพลตฟอร์ม HPE GreenLake ซึ่งบูรณาการบริการ As a Service ทั้งส่วนการประมวลผล แอปพลิเคชัน ซอฟต์แวร์ การบริหารและการดูแลความปลอดภัยของข้อมูลทั้งระบบสำหรับรองรับการทำงานบนเอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ในองค์กร หรือขึ้นสู่คลาวด์ แพลตฟอร์ม HPE SimpliVity แบบครบจบทุกฟังก์ชันในเครื่องเดียว เหมาะกับการรองรับภาระงานนอกดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีพื้นที่จำกัด เช่น สำนักงานสาชา ซึ่งสามารถเริ่มต้นการทำงานได้ที่หนึ่งโหนดและขยายโหนดเพิ่มได้ผ่านออนไลน์โดยการทำงานไม่หยุดชะงัก มีฟังก์ชันการปกป้องข้อมูลในตัวและการขจัดปัญหาข้อมูลซ้ำซ้อนและการบีบอัด ทำให้การแบ็คอัพข้อมูลมีความรวดเร็ว
ตัดคลื่นรบกวนความปลอดภัยของข้อมูลด้วย HPE Data Management
มีการประเมินกันว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมา แรนซั่มแวร์ได้สร้างความเสียหายให้กับธุรกิจราว 20 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ แต่ผ่านไปถึงปี 2568 คาดการณ์ว่าแรนซั่มแวร์จะสร้างความเสียหายสูงถึง 10.5 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยทุก ๆ 11 วินาที จะมีคนที่โดนแรนซั่มแวร์ 1 รายทั้ง ๆ ที่องค์กรส่วนใหญ่ต่างมีระบบปกป้องข้อมูล เช่น แอนตี้ไวรัส ไฟร์วอลล์ และ ระบบแบ็คอัพข้อมูล เป็นต้น ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
เพราะแรนซั่มแวร์ยุคนี้มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป คือ 1) เน้นโจมตีระบบแบ็คอัพเป็นอันดับแรก เพื่อให้องค์กรไม่สามารถกู้ระบบกลับคืนมาได้ เมื่อกู้คืนไม่ได้ก็ต้องจ่ายค่าไถ่ และ 2) การโจมตีไฟล์ต่าง ๆ ที่มีการแชร์ใช้ร่วมกัน (File Sharing) ทั้งจากระบบงาน แอปพลิเคชัน หรือการทำงานของยูสเซอร์ ซึ่ง
ทำให้การแพร่ของแรนซั่มแวร์เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างและรวดเร็ว ดังนั้น การบริหารระบบแบ็คอัพให้มีประสิทธิภาพ องค์กรสามารถเริ่มต้นได้ด้วยสูตร 3-2-1-1 คือ มีข้อมูลแบ็คอัพ 3 ชุด เก็บบนมีเดียที่ต่างกัน 2 ประเภท เก็บไว้นอกองค์กร 1 ชุด เป็นข้อมูลแบ็คอัพที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ (Immutable Backup) 1 ชุด ซึ่งสำคัญต่อการรับมือแรนซั่มแวร์ที่แอบเข้ามาเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้งาน เก็บรหัสผ่านและรายละเอียดในการเข้าสู่ระบบ (Credentials) ก่อนจะออกไปและกลับเข้ามาอีกครั้งโดยปลอมตัวเป็นแอดมิน รวมถึงต้องมีระบบตรวจจับและการกู้คืนระบบที่มีประสิทธิภาพด้วย
HPE Cohesity แพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลที่มาพร้อมระบบการปกป้องข้อมูลและการจัดการกับแรนซั่มแวร์ครบจบในเครื่องเดียว เพื่อการบริหารจัดการจากส่วนกลาง โดยมีซอฟต์แวร์ Helios เป็นตัวช่วยควบคุมการทำงาน มีจุดเด่นที่ฟังก์ชัน Immutable File System ซึ่งป้องกันการแก้ไขไฟล์ต่าง ๆ เพื่อปิดช่องโหว่การโจมตี File Sharing ระบบการยืนยันตัวตนแบบหลายขั้นตอน (Multi-factor Authentication-MFA) เสริมด้วยเอไอและแมชชีนเลิร์นนิ่งในการตรวจจับพฤติกรรมผิดปกติ เพื่อการป้องกันแรนซั่มแวร์ได้ 100%
Zerto โซลูชันสำหรับการปกป้องระบบงานทางธุรกิจด้วยการกู้คืนข้อมูลข้ามแพลตฟอร์มประเภทต่าง ๆ โดย media ต้นทางและปลายทางไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโนโลยีเดียวกัน ฟังก์ชัน CDP (Continuous Data Protection) สามารถช่วยปกป้องข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องจึงสามารถกำหนดระยะเวลาของข้อมูลที่ต้องการกู้คืนได้มีประสิทธิภาพ สามารถกู้คืนแอปพลิเคชันได้ 100% หรือกู้คืนข้ามไปมาระหว่างแพลตฟอร์มได้ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้โซลูชันสำหรับศูนย์คอมพิวเตอร์สำรอง (DR site) ได้ทั้ง Private Cloud และ Multi-cloud
การให้บริการ HPE Backup and Recovery เป็นการให้บริการสำรองข้อมูลผ่าน Cloud Management เรียกใช้Software As A Service มีความยืดหยุ่น ไม่มีข้อกำหนดของระยะเวลาและจำนวน VM ขั้นต่ำ ธุรกิจสามารถเริ่มต้นเพียงจาก 1 VM ต่อเดือนเพียง 168 บาท ระบบรองรับการแบ็คอัพระบบ VMware แบบ Immutable รวมทั้งยังสามารถสำรองข้อมูลขึ้นคลาวด์ของ HPE
เพิ่มความทันสมัยให้กับแอปพลิเคชัน
ปัจจุบัน ทิศทางการพัฒนาแอปพลิเคชันจะอยู่ในแนวทาง 5Rs ได้แก่ 1) Replace หาแอปพลิเคชันมาใช้งานแทน 2) Rehost เอาแอปพลิเคชันไปรันบนระบบที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า 3) Re-platform เอา
แพลตฟอร์มใหม่ ๆ เข้ามาใช้งาน เช่น คอนเทนเนอร์ 4) Refactor เอาแอปพลิเคชันที่มีอยู่เดิมมาปรับปรุงด้วยเทคโนโลยีใหม่ และ 5) Rebuild การเขียนแอปพลิเคชันให้ใช้งานบนคลาวด์แพลตฟอร์ม
HPE Ezmeral แพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ DevOps ซึ่งสนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชันขนาดใหญ่ในรูปแบบ SOA หรือแอปพลิเคชันที่มีขนาดเล็กลงมาอย่างคอนเทนเนอร์ ไมโครเซอร์วิส โดยลดความยุ่งยากในการจัดการกับอินฟราสตรัคเจอร์ มีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลหลากแพลตฟอร์มและกระจัดกระจายให้เห็นเสมือนเป็นข้อมูลผืนเดียวกัน (Data Fabric) เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายและหยิบมาใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนสนับสนุน ML Ops (Machine Learning Operations) ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเอไอ แมชชีนเลิร์นนิ่งในการพัฒนาแอปพลิเคชันได้ง่ายและรวดเร็ว
บทความโดย นครินทร์ เทียนประทีป
ผู้จัดการฝ่ายการตลาด / บริษัท ยิปอินซอย จำกัด