สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ร่วมกับ ศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (IDE Center) โดยการสนับสนุนของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงานเยาวชน นักศึกษา Gen Z โดยการนำนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางให้มีชีวิตที่เท่าเทียม ในโครงการ “Hackathon U League for All 2022” กับ 12 ทีมสุดท้าย ได้แก่
ภายในงานยังได้รับเกียรติจากนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ ที่มาร่วมให้ข้อคิดกำลังใจแก่ผู้ชม อาทิ ชลชาติ พานทอง เยาวชนผู้เคยก้าวพลาดกับชีวิตใหม่ที่เลือกด้วยตัวเอง, บุญรอด อารีย์วงษ์ ยูทูปเบอร์ผู้สร้างสีสันและเป็นแรงบันดาลใจให้กับอีกหลายคนทางช่อง Poocao Channel และ เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ CEO Vulcan Coalition ธุรกิจ Deep Tech AI เพื่อการจ้างงานคนพิการรูปแบบใหม่ เป็นต้น
ร่วมลงทะเบียนได้ที่ https://bit.ly/3p37iF6 หรือ แสกน QR Code บนโปสเตอร์ แล้วพบกัน ในวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2565 ณ อาคาร Knowledge Exchange Center (KX) ตากสิน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 16.00 น.
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ร่วมกับ ศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (IDE Center) โดยการสนับสนุนของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)
ชวนชาว Gen Z วัย 18-25 ปี สร้างมิติใหม่ของการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนกลุ่มเปราะบางด้วยนวัตกรรมดิจิทัลในโครงการ “Hackathon U League for All 2022” ร่วมสร้างสรรค์สังคมน่าอยู่ เปิดประตูสู่โลกดิจิทัลเพื่อกลุ่มเปราะบางอย่างเท่าเทียม ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 170,000 บาท เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ – 15 ก.ค. 65
การเฟ้นหาไอเดีย จากชาว Gen Z วัย 18-25 ปี ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในโครงการ Hackathon U League for All 2022 นี้ ผู้เข้าร่วมจะได้รับการบ่มเพาะแนวคิดการสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาให้ประชาชนกลุ่มเปราะบาง โดยมีทีมโค้ชที่เชี่ยวชาญในการผลักดันให้ลงมือทำ และยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทีมอื่นๆ จากหลากหลายสถาบันตลอดเวลา เป็นความท้าทายของการผสานการทำงานร่วมกันของคนทุก Gen เป้าหมายเพื่อใช้นวัตกรรมยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มคนเปราะบาง อันได้แก่
ผู้สูงอายุ คนพิการ และคนด้อยโอกาสผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยหวังให้ Prototype ของผลงานที่ผ่านเข้ารอบสามารถจุดประกายต่อยอดสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการใช้บริการจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น ระบบสวัสดิการแห่งรัฐ การเยียวยาจากรัฐ ไปจนถึงบริการขั้นพื้นฐานต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการเพิ่มโอกาสเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเท่าเทียมให้แก่กลุ่มเปราะบางนี้ จะเป็นช่องทางอำนวยความสะดวกต่อการใช้ชีวิตในสังคม หรือการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับคนสูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสทั่วประเทศ
โครงการ Hackathon U League for All 2022 รับสมัครในรูปแบบทีม 3-5 คน โดยสามารถนำเสนอไอเดียที่น่าสนใจผ่าน TikTok ได้ตั้งแต่วันที่ 16-18 ก.ค. นี้ ประกาศผล 20 ทีมผ่านการคัดเลือกรอบแรกในวันที่ 20 ก.ค.65 พร้อมเก็บตัวและทำกิจกรรมกับโครงการในรูปแบบ Online และ Onsite ตลอดช่วงเดือนสิงหาคม 2565 สมัครร่วมโครงการฯ หรือ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line : @hktuleagueforall สอบถามข้อมูลโทร 098-153-6345
ศูนย์สร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (IDE Center by UTCC) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีขับเคลื่อนนโยบายนวัตกรรมจัดกิจกรรมพัฒนาค่าย Design Thinking ให้กับอาจารย์ผู้สอนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 1-4 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมานำโดย ดร.เอ็ดเวิร์ด รูเบซ ผู้อำนวยการหลักสูตร ศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (IDE Center by UTCC) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผู้ประกอบการและผู้อำนวยการหลักสูตร
โดยวัตถุประสงค์ของจัดอบรมหลักสูตรครั้งนี้เพื่อเป็นแกนกลางในการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ผู้สอน และระบบพี่เลี้ยง ในการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในมหาวิทยาลัยเพื่อช่วยให้คำปรึกษาแก่นิสิต นักศึกษาและนักวิจัยออกแบบและพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการเป็นไปตามนโยบายสนับสนุนมหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ นำเอาแนวคิด“Design Thinking”มาฝึกและพัฒนาผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตามกระบวนการ ได้แก่ “ Emphatize, Define, Prototype, Ideate และ Test” โดยเริ่มจากการเรียนรู้เพื่อเข้าใจถึงปัญหาอย่างละเอียดและเก็บข้อมูลส่วนสำคัญเชิงลึกของปัญหานำมาหาบทสรุปเมื่อเราได้บทสรุปแล้วก็จะนิยามความต้องการหรือปัญหาที่เกิดขึ้นและสร้างทางเลือกหรือวิธีแก้ไข จากนั้นแชร์ไอเดีย เพื่อดูผลลัพธ์ว่าเป็นอย่างไร เมื่อได้คำตอบก็นำมาพัฒนาวิธีแก้ไขนั้นให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ IDE Center by UTCC ยังมีกิจกรรมดีๆ ที่จะช่วยสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ผู้ที่สนใจเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (IDE Center by UTCC) หรือผ่านทาง www.idecenter.utcc.ac.th และ www.facebook.com/idecenter สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-697-6867 ในเวลาทำการ
ศูนย์สร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (IDE Center by UTCC) เดินหน้าบ่มเพาะสตาร์ทอัพ เปิดโครงการ IDE Accelerator ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้หลักการดำเนินธุรกิจ 24 ขั้นตอนของการเป็นผู้ประกอบการ (24 Steps of Disciplined Entrepreneurship) จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology) หรือ MIT สหรัฐอเมริกา พร้อมสนับสนุนทุนสร้างธุรกิจกว่า 2 ล้านบาท ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม เสริมเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว