December 23, 2024

สำหรับวันสตรีสากล (International Women’s Day: IWD 2024) ปีนี้ จัดขึ้นภายใต้ธีม #InspireInclusion โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสังคมเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและบทบาทของสตรีในมิติต่างๆ ท่ามกลางอุปสรรคและข้อจำกัดทางเพศ รวมถึงส่งต่อเรื่องราวแห่งแรงบันดาลใจจากผู้หญิงถึงผู้หญิงด้วยกัน เพื่อสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การมีส่วนร่วม และเสริมสร้างศักยภาพของสตรีด้วยกัน โดยมีเป้าหมายใหญ่เพื่อร่วมกันสร้างโลกให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

ทรู คอร์ปอเรชั่น ขอนำเสนอเรื่องบันดาลใจของ 5 ผู้นำหญิงแห่งทรู คอร์ปอเรชั่น ประกอบด้วย 1. ศรินทร์รา วงศ์ศุภลักษณ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล 2. ยุภา ลีวงศ์เจริญ หัวหน้าคณะผู้บริหาร (ร่วม) ด้านการเงิน 3. ณัฏฐา พสุพัฒน์ หัวหน้าสายงานโมบายล์โพสต์เพย์ 4. อรอุมา วัฒนะสุข หัวหน้าสายงานสื่อสารองค์กรและการประชาสัมพันธ์ และ 5. ภรรททิยา โตธนะเกษม หัวหน้าฝ่าย Digital Growth Strategy บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด

ภายใต้เป้าหมายการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ Telco-Tech Company ผู้บริหารหญิงทั้ง 5 ท่านคือส่วนหนึ่งของบุคลากรในทรู คอร์ปอเรชั่น ที่มีบทบาทสำคัญต่อภารกิจดังกล่าว ทั้งการขับเคลื่อนผ่านวัฒนธรรมองค์กร การเตรียมความพร้อมทางการเงินและการลงทุน การนำทัพบุกตลาดเพื่อการเติบโต การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง และการสร้างกลไกการเติบโตใหม่ๆ บนสมรภูมิดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม กว่าผู้บริหารหญิงเหล่านี้จะก้าวมาสู่แถวหน้า ขับเคลื่อนองค์กรและฝ่าวิกฤตต่างๆ ต้องผ่านร้อนผ่านหนาว และเผชิญกับอุปสรรคนานัปการ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลเกี่ยวเนื่องจากความไม่เท่าเทียมทางเพศที่ปรากฏขึ้นในสังคมแบบดั้งเดิม เช่น ข้อจำกัดทางเพศสภาพ อคติทางเพศ การเหมารวมทางเพศ และการคุกคามทางเพศ ฯลฯ

ทั้งนี้ จากเรื่องราวของผู้บริหารหญิงแกร่งท้ัง 5 ท่าน พบว่า กว่าจะประสบความสำเร็จ ขึ้นแท่นนักบริหารและได้รับความไว้วางใจทำหน้าที่แบกภาระอันใหญ่ยิ่ง พบจุดร่วมเชิงปัจเจกนิยมที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 

  1. การตั้งเป้าหมายและมีความมุ่งมั่น (Ambition and Commitment) ผู้หญิงสามารถประสบความสำเร็จได้ทั้งชีวิตการงานและครอบครัว โดยไม่จำเป็นต้องเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขอเพียงแต่ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและวางแผนตระเตรียมปัจจัยแวดล้อมให้พร้อมต่อการทำหน้าที่ทั้ง 2 มิติ
  2. การมีระเบียบวินัย (Discipline) แม้ผู้หญิงจะมีอุปสรรคทางกายภาพ ตลอดจนกรอบทางสังคม ทำให้ต้องใช้ความพยายามในการทำสิ่งต่างๆ มากขึ้น แต่การมีระเบียบวินัยต่อตนเอง คือหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้หญิงฝ่าฟันกับอุปสรรคเหล่านั้นได้
  3. การแบ่งปัน (Sharing) แม้ปัจจุบัน สถานการณ์ความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทยจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกัน ยังมีผู้หญิงอีกจำนวนมากที่ยังติดหล่มความไม่เท่าเทียมทางเพศ ทั้งการเข้าถึงการศึกษาและแหล่งทุน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงการขาดต้นแบบ (Role Model) ที่เป็นผู้หญิงด้วยกัน เขาเหล่านั้นมีการจัดสรรเวลาให้แก่สังคม โดยร่วมแบ่งปันความรู้ของเธอแก่เด็กผู้หญิงและผู้หญิงที่ขาดโอกาส เพื่อการพัฒนาศักยภาพในตัวเอง

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเชิงโครงสร้าง ยังพบปัญหาอีกหลายอย่างที่เกิดจากข้อจำกัดทางเพศ จากงานวิจัยของ Career after Babies ธุรกิจเพื่อสังคมสัญชาติอังกฤษ ได้จัดทำสำรวจความคิดเห็นของแม่ลูกอ่อนจำนวน 848 คนในอังกฤษ ในปี 2565 พบว่า

  • 85% ของผู้หญิงตัดสินใจออกจากงานประจำในช่วง 3 ปีแรกของการมีบุตร และ 19% ออกจากงานด้วยเหตุผลที่นายจ้างไม่สามารถให้ความยืดหยุ่นในการทำงานได้
  • ผู้หญิงในระดับบริหารมีสัดส่วนลดลงถึง 32% ภายหลังการมีบุตร ขณะที่สัดส่วนของผู้หญิงที่ทำงานในระดับปฏิบัติการและธุรการเพิ่มขึ้น 44% ตัวเลขดังกล่าวแสดงถึงภาวะจำยอมที่ผลักดันให้ผู้หญิงทำงานให้ตำแหน่งที่ต้องการความเชี่ยวชาญน้อยลง

ขณะเดียวกัน องค์การอนามัยโลกและ UNICEF ได้ออกคำแนะนำเกี่ยวกับการให้นมบุตร โดยกำหนดให้เด็กควรได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน (Exclusive Breastfeeding) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางสมองและการเจริญเติบโตของบุตร อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจของสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า เด็กไทยสัดส่วนน้อยกว่า 20% ได้รับนมแม่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการที่แม่ต้องกลับเข้าสู่การทำงาน และขาดการสนับสนุนพื้นที่จากองค์กรต่างๆ

ศรินทร์รา วงศ์ศุภลักษณ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว ความแตกต่างและข้อจำกัดของผู้หญิงต่อการเข้าสู่สนามการทำงาน ตลอดจนบทบาทของผู้หญิงต่อการพัฒนาองค์กรและสังคม ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงกำหนดนโยบายและอำนวยความสะดวกในองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อการทำหน้าที่แม่ เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ ตลอดจนบทบาทสตรีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

  1. พนักงานหญิงสามารถลาคลอดบุตรได้สูงสุด 6 เดือน โดยได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน
  2. พนักงานชายจะได้รับสิทธิในการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ปีละ 7 วัน
  3. พนักงานและสมาชิกในครอบครัว สามารถใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ได้ฟรี
  4. ทรู คอร์ปอเรชั่น จัดหา “ห้องให้นมบุตร” (Breastfeeding Room) ซึ่งเป็นสถานที่ที่อำนวยความสะดวกสำหรับพนักงานหญิงที่มีลูกอยู่ในชั้นปฐมวัย แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน ถูกต้องตามหลักอนามัย ทั้งยังจัดหาตู้เย็นสำหรับจัดเก็บนมแม่ เพื่อรักษาไว้ซึ่งคุณภาพที่เหมาะสม

นอกจากนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังได้กำหนดนโยบายให้ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทจะต้องมีสัดส่วนเป็นผู้หญิงอย่างน้อย 30% ขณะเดียวกัน ยังกำหนดให้การมีส่วนร่วมของผู้หญิงในองค์กรเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ในองค์กรอีกด้วย

“ที่ทรู คอร์ปอเรชั่น เราเข้าใจถึงความต้องการของพนักงานในมิติต่างๆ รวมถึงพนักงานหญิงที่หลายคนต้องทำหน้าที่ทั้งแม่และพนักงาน ซึ่งถือเป็นภาระอันหนักหน่วง เราจึงกำหนดนโยบายและจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะลดอุปสรรคทางเพศให้ได้มากที่สุด เพราะเราเชื่อมั่นในศักยภาพของทุกคนที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ Telco-Tech Company และการพัฒนาประเทศชาติต่อไป” ศรินทร์รา กล่าว

พร้อมติดตามเรื่องราวชีวิตอันเข้มข้นผ่านเลนส์ 5 หญิงแกร่งแถวหน้า กว่าจะเป็นผู้นำในวันนี้ได้ ต้องเผชิญกับอุปสรรค การตัดสินใจ และแนวทางการใช้ชีวิตอย่างไร ติดตามได้ที่ True Blog ตลอดเดือนมีนาคมนี้

บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมเฉลิมฉลองวันสตรีสากล ผ่านการผลิตคลิปวิดีโอ TIP International Women's Day 2024 ที่ Generate ด้วย AI โดยทิพยประกันภัยเป็นบริษัทประกันภัยแห่งแรกที่สร้างสรรค์งานวิดีโอโดยการใช้เทคโนโลยี AI พร้อมสนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนมีพลังใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยเนื้อหาของวิดีโอได้สะท้อนบทบาทและเชิดชูผู้หญิงยุคใหม่ที่มีความเก่ง แข็งแกร่ง และมีความสามารถเฉพาะตัว

ทิพยประกันภัย  ขอมีส่วนร่วมในการดูแลผู้หญิงทุกคน หากต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน โดยจะมีบริการต่าง ๆ ที่มาช่วยคลายความกังวลเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด อาทิ TIP Smart Assist ทีมสำรวจภัยยุคดิจิทัลที่เป็นมากกว่าพนักงานสำรวจภัยและจิตอาสาช่วยเหลือแก่ลูกค้าทั่วประเทศ รวมถึง TIP CAT ที่ให้การช่วยเหลือดูแลด้านการเคลม ตั้งแต่ต้นจนจบ ให้มั่นใจไร้กังวลเรื่องซ่อม ช่วยจบปัญหาด้านการเคลม เปรียบเสมือนมีเลขาส่วนตัวที่พร้อมดูแลตลอด 24 ชั่วโมง และช่วยจัดการกับปัญหาต่างๆ ให้ผู้หญิงได้มีเวลาสำหรับใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเพิ่มขึ้น

ทิพยประกันภัย ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนมีพลัง พร้อมใช้ชีวิตในทุก ๆ วันอย่างดีที่สุด สามารถรับชมผลงาน วิดีโอ #TIPInspireInclusion ได้ที่ https://fb.watch/qFppiIw5TR/

ปัจจุบันประชากรโลกเปิดรับความหลากหลายทางสังคมที่มากขึ้น ด้วยการรับฟังความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม กลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ส่งเสริมความเสมอภาคของพนักงานทุกคน และเน้นย้ำความสำคัญของผู้หญิง
เนื่องในวันสตรีสากล (8 มีนาคมของทุกปี) ผ่านมุมมองของ 3 หญิงเก่งแห่งกลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ที่มาร่วมแบ่งปันแนวคิดเรื่องความเสมอภาคภายในสังคมที่เปิดกว้างมากขึ้น ในการยอมรับบทบาทของผู้หญิง ในมิติของการขับเคลื่อนธุรกิจและสังคม

คุณพรศิริ เตชะสรรเพชร Category Management Department Manager บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความประทับใจกับบรรยากาศการทำงานในบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญกับทัศนคติและผลงาน เป็นสังคมการทำงานที่เปิดกว้างแสดงความคิดเห็นได้ โดยไม่ยึดติดในเรื่องของเพศสภาพ ด้วยผู้บริหารที่เปิดกว้างและโอกาสให้ผู้หญิงในการทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยให้ความสำคัญกับทัศนคติ และผลงาน 

“การเปิดกว้างและการปฏิบัติกันอย่างเท่าเทียม มีส่วนทำให้คนที่มีความสามารถ มีกำลังใจมากพอที่จะทำงานให้แตกต่าง และทุ่มเทไปกับการทำงานอย่างเต็มที่ ความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับในหน้าที่การงานทุกคนสามารถทำได้ อย่าท้อถอย และหมดหวัง หรือกลัวที่จะล้มเหลวเพราะทุกความล้มเหลวจะกลายเป็นบทเรียนที่ดีของเรา และอย่าลืมที่จะลองมองหาโอกาสพัฒนาตัวเองในการทำงานปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา ทุกการเรียนรู้สร้างอนาคตที่ดีและมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้นในอนาคต”

คุณสาวิตรี เปรมรัตนวงศ์ คุณแม่ลูกสองกับบทบาทหน้าที่ General Manager (Distribution) บริษัท นครหลวงคอนกรีต จำกัด เริ่มต้นด้วยตำแหน่ง Transport Analyst และได้ไปทำงานในส่วนของศูนย์รับจองและจัดส่งคอนกรีตที่ต่างประเทศ จนมีโอกาสได้รับผิดชอบงานระดับภูมิภาค ดูแลประเทศเวียดนาม ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ทำให้ได้เห็นมุมมองของคนทำงานที่หลากหลายและความคิดแตกต่าง พร้อมการได้รับโอกาสได้ไปคุมงานทีมที่มาจากหลายประเทศ จากประสบการณ์ทำงานประมาณ 15 ปีในบริษัทฯ จึงต้องทุ่มพลังแบบคูณสองเพื่อบริหารจัดการทั้งสองส่วนในชีวิตให้ลงตัวและประสบความสำเร็จ นอกจากนั้นการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลาย ความท้าทายจึงไม่ได้มีแค่ในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบเท่านั้น แต่ยังมีด้านบทบาท พฤติกรรม และคุณลักษณะที่เป็นบททดสอบ 

“ผู้หญิงทุกคนมีสิทธิและโอกาสในการใช้ชีวิต และการทำงานในสายงานอาชีพต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันก็เปิดกว้างให้ผู้หญิงได้ทำงานในหลากหลายด้านมากขึ้น เราเชื่อว่าผู้หญิงทุกคนมีความอดทนสูง หากคุณมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพิสูจน์ศักยภาพการทำงานของตัวเอง เก็บเอาข้อกังขามาเป็นแรงกระตุ้นในการพัฒนา เสริมสร้างพลัง เพื่อนำไปทุ่มเทกับการทำงานให้ได้อย่างเต็มที่ ก็จะประสบความสำเร็จได้ในไม่ช้าแน่นอน” 

คุณณัฐวุฒิ ลายันติ Commercial - Sales Support Officer (Industrial Services) บริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด LGBTQ+ รุ่นใหม่ กล้าคิด กล้าแสดงออก ที่ได้รับโอกาสจากองค์กรในการทำงาน และได้รับโอกาสให้เรียนรู้งาน รวมทั้งพัฒนาทักษะที่หลากหลาย อบรมภาษาต่างประเทศ การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึงการพูดคุย One-on-One กับหัวหน้างานในทุกเดือน เพื่อพูดคุยและเสนอความคิดเห็น ซึ่งคำแนะนำที่ได้สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งการเรียนรู้และพัฒนาทักษะอยู่ตลอดเวลานี้เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับตัวเองสำหรับโอกาสงานใหม่ในอนาคต 

“การเป็น LGBTQ+ นอกจากต้องทำให้คนส่วนใหญ่จะยอมรับและเปิดรับฟังความคิดเห็นแล้ว เรื่องงานก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญเช่นกัน โดยส่วนตัวแล้วการมีเพื่อนร่วมงานและสิ่งแวดล้อมที่ดี มีหัวหน้าคอยให้คำแนะนำ และมองเห็นถึงศักยภาพการทำงานเป็นส่วนสำคัญของพลังใจในการทำงาน อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดในการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานคือ ตัวเรา ต้องเชื่อมั่นในตัวเอง กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น อย่ากลัวที่จะแตกต่าง และอย่ากดดันตัวเองจนเกินไป และหากเจอปัญหาจงจำไว้เสมอว่าทุกอุปสรรคปัญหาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ให้รีบแก้ไขและปรับปรุงเพื่อนำไปวางแผนพัฒนาการการทำงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป” 

ทั้งนี้ คุณดวงพร บุศราวงศ์ รองประธานอาวุโส สายงานการบริหารบุคลากรและประสิทธิภาพองค์กร บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า “ตลอดระยะเวลา 55 ปีของการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาค เราเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน โดยมีการส่งเสริมคุณค่าของความหลากหลายในองค์กร และสร้างบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียนับเป็นความมุ่งมั่นขององค์กรในการสร้างความผูกพันและการมีส่วนร่วมกับพนักงานทุกคน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนาด้านความยั่งยืน 2573 โดยเน้นการปฏิบัติอย่างเสมอภาค ทั้งกระบวนการคัดเลือกพนักงานเข้ามาทำงาน การพัฒนาทักษะ และสนับสนุนการเติบโตในสายงานโดยไม่มีการแบ่งแยก ไปจนถึงการสร้างบรรยากาศในการทำงานที่เปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนได้แสดงความคิดเห็น และการให้เกียรติซึ่งกันและกันในองค์กร”

กลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง สนับสนุนพลังจากผู้หญิงเก่งและแกร่ง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์แรงบันดาลใจขับเคลื่อนความสำเร็จในการทำงาน และการดำเนินชีวิต พร้อมส่งกำลังใจให้ผู้หญิงทุกคน ได้ร่วมสร้างแรงผลักดันสังคมสู่ความเสมอภาคอย่างเท่าเทียม และเป็นแรงขับเคลื่อนให้สังคมเปิดกว้างมากขึ้น อย่างที่ควรจะเป็น #IWD2024 #InspireInclusion

X

Right Click

No right click