บลจ.กสิกรไทย ชู K-ESGSI-ThaiESG สร้างผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับ 1 และมีผลการดำเนินงานที่ดีในทุกช่วง ในขณะที่ K-TNZ-ThaiESG ยังได้รับความนิยมจากผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กองทุนมีขนาดใหญ่ที่สุด และกองทุนผสมน้องใหม่ K-BL30-ThaiESG เน้นกระจายลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้พร้อมลุยในทุกสภาวะตลาด พร้อมรับโปรโมชั่นพิเศษช่วงโค้งสุดท้ายของปี
นายวิน พรหมแพทย์, CFA, ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) เปิดเผยว่า บลจ.กสิกรไทย ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มกองทุน ThaiESG ด้วยมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) รวมกว่า 3,410.45 ล้านบาท (ข้อมูล AIMC ณ พ.ย. 67) โดยกองทุน K-ESGSI-ThaiESG จากกสิกรไทย สร้างผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มกองทุนตราสารหนี้ ThaiESG และมีผลการดำเนินงานที่ดีในทุกช่วง โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือน และตั้งแต่จัดตั้ง อยู่ที่ 3.13% และ 5.11%ต่อปี สามารถเอาชนะดัชนีชี้วัด ซึ่งอยู่ที่ 2.63% และ 4.69%ต่อปี ตามลำดับ (ข้อมูล Morningstar ณ วันที่ 29 พ.ย. 67) ทั้งนี้ กองทุน K-ESGSI-ThaiESG เป็นหนึ่งในกองทุน ESG ของ บลจ.กสิกรไทย ที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยมีนโยบายการลงทุนที่เน้นลงทุนตราสารหนี้ภาครัฐของไทยในกลุ่มความยั่งยืนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% และลงทุนในตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ตราสารเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ตราสารส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability – Linked Bond) รวมถึงลงทุนบางส่วนในเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝากทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งผู้ระดมทุนมุ่งนำเงินไปใช้ในโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเกิดประโยชน์ต่อสังคมไทย
ในขณะที่กองทุน K-TNZ-ThaiESG ยังได้รับความนิยมจากผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กองทุนมีขนาดใหญ่ที่สุดด้วย AUM มูลค่ากว่า 2,278.03 ล้านบาท และสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD), 3 เดือน, 6 เดือน และตั้งแต่จัดตั้ง อยู่ที่ 4.90%, 6.45%, 9.46% และ 5.30%ต่อปี ใกล้เคียงกับดัชนีชี้วัด ซึ่งอยู่ที่ 5.80%, 6.75%, 9.89% และ 6.33%ต่อปี ตามลำดับ (ข้อมูล Morningstar ณ วันที่ 29 พ.ย. 67) ทั้งนี้ กองทุน K-TNZ-ThaiESG เป็นกองทุนแรกของไทยที่มีเป้าหมายสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ผ่านกลยุทธ์การบริหารจัดการแบบเชิงรับ (Passive Management) สร้างโอกาสได้รับผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีชี้วัด SET100 TRI
นายวินกล่าวต่อไปว่า ล่าสุด บลจ.กสิกรไทย ได้ออกกองทุนผสมหุ้นและตราสารหนี้ K-BL30-ThaiESG ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นไทยเฉลี่ยไม่เกิน 30% โดยเน้นหุ้นที่มีคะแนน SET ESG Rating อยู่ในระดับ AAA ผ่านกลยุทธ์การลงทุนที่นำปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) มาพิจารณาในกระบวนการตัดสินใจลงทุน (ESG Integration) และลงทุนในตราสารหนี้หลากหลายประเภท ทั้งตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ตราสารเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) และตราสารส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability - Linked Bond) รวมถึงหุ้นกู้เอกชนที่อยู่ในระดับเข้าลงทุนได้ (Investment Grade) ผ่านกลยุทธ์การคัดกรองเชิงบวก (Positive Screening) ประกอบกับการประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร (Credit Analysis) ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อลดโอกาสการผิดนัดชำระหนี้
“จากตัวเลขเศรษฐกิจไทยในปีหน้าที่ทางสภาพัฒน์ได้คาดการณ์ว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วง 2.3% - 3.3% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐ การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน การฟื้นตัวต่อเนื่องของการท่องเที่ยว และการเติบโตของการส่งออก ประกอบกับนโยบายผ่อนคลายทางการเงินและการคลังจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะกลางถึงยาวได้ ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทย มองเป้าดัชนีหุ้นไทย (SET Index) ปลายปี 2025 ที่ 1,600 จุด คาดการณ์การเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนในปี 2025 ที่ 12% โดย ณ ระดับ forward P/E 2025 ในปัจจุบันที่ 14.8 เท่า ยังถูกเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 10 ปี ย้อนหลังที่ 15.4 เท่า อย่างไรก็ดี ในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ ขอเชิญชวนผู้ลงทุนเข้าลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะยาว ควบคู่กับการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยเฉพาะกองทุน ThaiESG จากกสิกรไทย ที่มีครบทุกนโยบายการลงทุน และครอบคลุมทุกระดับความเสี่ยง” นายวินกล่าว
นายวินกล่าวเพิ่มเติมว่า บลจ.กสิกรไทย มุ่งนำหลักการลงทุนเพื่อความยั่งยืนมาปรับใช้ในการบริหารจัดการกองทุนเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด การันตีได้จากการคว้ารางวัลบลจ.ยอดเยี่ยมแห่งปีด้านความยั่งยืน (Best Asset Management Company Awards – ESG) จากงาน SET Awards 2024 มาครองได้สำเร็จในปีนี้ ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุน ThaiESG ที่ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ นั่นคือ ระยะเวลาการถือครอง 5 ปี และวงเงินลดหย่อน 300,000 บาท ทำให้กองทุน ThaiESG เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ และช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถบริหารจัดการเงินลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจกองทุน ThaiESG จากกสิกรไทย สามารถเริ่มต้นลงทุนได้เพียง 500 บาท พร้อมรับโปรโมชั่นพิเศษเมื่อลงทุนแบบ DCA ผ่านบริการ K-Saving Plan และ/หรือ DCA ผ่านแอป K-My Funds ในกลุ่มกองทุน ThaiESG/SSF/RMF กสิกรไทย รับ Fund Back สูงสุด 1,200 บาท โปรโมชั่นเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 – 30 ธันวาคม 2567 ผู้ลงทุนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KAsset Contact Center 0 2673 3888 หรือ ศึกษาข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ของ บลจ.กสิกรไทย ได้ที่ www.kasikornasset.com
KBank Private Banking และ Lombard Odier ร่วมฉลองความสำเร็จครบรอบ 10 ปีการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่ได้ลงนามร่วมกันตั้งแต่ปี 2557 โดยความร่วมมืออันแข็งแกร่งนี้ถือเป็นแรงผลักดันสำคัญในการยกระดับบริการบริหารความมั่งคั่งที่ครบวงจรในระดับสากลให้แก่ลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงในประเทศไทย ภายใต้พันธกิจ “ส่งมอบความมั่งคั่งที่สมบูรณ์แบบ และอนาคตที่สมบูรณ์แบบ” (Perfect Wealth, Perfect Future) ที่ยึดมั่นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-Centricity) เพื่อมุ่งสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนผ่าน กลยุทธ์โซลูชัน 4 เสาหลัก ประกอบด้วย การจัดสรรพอร์ตการลงทุนด้วยการให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยง (Risk-based Asset Allocation), การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Investments), การลงทุนเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Investment) และการบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัว (Family Wealth Planning Service) ด้วยการผสมผสานความเชี่ยวชาญระดับโลกของ Lombard Odier กับความรู้เชิงลึกภายในประเทศของ KBank Private Banking การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจนี้ได้สร้างการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญให้กับบริการบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทย ซึ่งจะยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาบริการและนำเสนอนวัตกรรมเพื่อที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในอนาคตให้ครอบคลุมทุกมิติอย่างยั่งยืนต่อไป
10 ปีแห่งความร่วมมือของ KBank Private Banking และ Lombard Odier ได้ยกระดับการบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทยอย่างครบวงจร ผ่านกลยุทธ์โซลูชัน 4 เสาหลัก ได้แก่
นาย อดิศร เสริมชัยวงศ์, Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “ความร่วมมืออันแน่นแฟ้นตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ระหว่าง KBank Private Banking และ Lombard Odier สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการนำเสนอบริการบริหารทรัพย์สินที่ครบวงจรระดับสากลในประเทศไทย ภายใต้แนวทางที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และการนำเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้สามารถส่งมอบบริการและโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ารายบุคคลได้อย่างแท้จริง เรามุ่งหวังที่จะส่งมอบความมั่งคั่งที่สมบูรณ์แบบ ทั้งการสร้างการเติบโต การเก็บรักษา และส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่น ให้เป็นไปดังที่ลูกค้ามอบความไว้วางใจให้กับเรา และเราจะยังคงร่วมมือกับ Lombard Odier อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างอนาคตกับผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้กับลูกค้าให้ดีที่สุดต่อไป”
มร.วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner, Asia Regional Head and Global Head of Strategic Alliances, Lombard Odier กล่าวว่า “Lombard Odier มุ่งเน้นการช่วยลูกค้ารักษาและบริหารความมั่งคั่งให้เติบโตในระยะยาว ในภูมิภาคเอเชีย เราเล็งเห็นถึงอนาคตการเติบโตของธุรกิจไพรเวทแบงก์กิ้ง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเราเชื่อมั่นว่าการผสานความแข็งแกร่งของ Lombard Odier และ KBank Private Banking จะช่วยส่งมอบคุณค่าแก่ลูกค้าของเราเพื่อเปิดโอกาสในการเข้าถึงโซลูชันการลงทุนระดับโลกผ่านแนวทางความเป็นพันธมิตรทางธุรกิจนี้”
10 ปีแห่งความสำเร็จ สู่การเดินหน้าร่วมกันเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ความมั่งคั่งในภูมิภาคเอเชีย Lombard Odier และ KBank Private Banking ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาโซลูชันการเงินแก่ลูกค้า ผ่านการผสานมุมมองระดับโลกเข้ากับความเชี่ยวชาญในประเทศไทยของ KBank Private Banking เพื่อส่งมอบบริการบริหารความมั่งคั่งที่ล้ำสมัยและสร้างคุณค่าแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
เดอะวิสดอมกสิกรไทย จัดงานสัมมนาใหญ่ด้านการเงิน “Wealth Forum Thailand 2025” ในหัวข้อ “The New Frontiers of Investment Opportunity” ผ่านมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ การเงินและการลงทุน นำโดย K Wealth ร่วมด้วยพันธมิตรระดับโลก J.P. Morgan Asset Management และ Lombard Odier ระบุเศรษฐกิจโลก ปี 2025 เตรียมรับแรงกระแทกจากนโยบายยุคทรัมป์ 2.0 โดยเฉพาะมาตรการกำแพงภาษีที่พุ่งเป้าที่จีน มหาอำนาจเศรษฐกิจโลก สัญญาณสงครามการค้าขยายแนวรบ แนะกระจายความเสี่ยง ขยายพอร์ตลงทุนให้น้ำหนักหุ้นโลก โดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯ และหุ้นญี่ปุ่น ที่มีสัญญาณที่ดี พร้อมเสริมแกร่งด้วยกองทุนตราสารหนี้
ดร. พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “ หลังจากพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2025 คาดว่าจะเห็นนโยบายเร่งด่วนใน 100 วันแรก ของโดนัล ทรัมป์ เช่น นโยบายการลดเงินสนับสนุนทางทหารกับชาติพันธมิตร นโยบายกีดกันผู้อพยพเข้าเมือง นโยบายด้านพลังงาน รวมถึงการลดภาษี ซึ่งโดยรวมแล้วจะสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อให้กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น รวมถึงการขาดดุลการคลังที่สูงขึ้น ซึ่งแนวโน้มเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จะทำให้ภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะดีขึ้นตามนโยบายของทรัมป์ยังมีความไม่แน่นอนอยู่
“สงครามการค้าจะสร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจในฝั่งเอเชียรวมถึงไทยอย่างมากจากการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ การตอบโต้ทางการค้าไปมา การปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบทางลบจากโอกาสทางการค้าที่หายไป นอกจากนี้ การปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนอีก 60% จะส่งผลกระทบทางอ้อมให้ประเทศต่างๆ ต้องเผชิญการไหลบ่าเข้ามาของสินค้านำเข้าจากจีนที่ได้เปรียบด้านราคา ซึ่งจะส่งผลกระทบอีกต่อหนึ่งต่อภาคการผลิตในแต่ละประเทศ”
สำหรับเศรษฐกิจไทย นอกจากจะเผชิญความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกแล้ว สงครามการค้าจะเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า จากการที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับไทยเป็นอันดับที่ 12 ของคู่ค่าทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อสินค้าส่งออกไทยที่จะเจอภาษีสินค้านำเข้าไปยังสหรัฐฯ ที่สูงขึ้น หรือไทยอาจจะต้องเปิดตลาดนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มากขึ้น ซึ่งโดยรวมแล้วเป็นปัจจัยลบต่อทิศทางดุลการค้าของไทยในระยะข้างหน้าให้เกินดุลได้ลดลง
นโยบายยุค “ทรัมป์ 2.0” กระทบเศรษฐกิจ การค้าโลก และเงินเฟ้อ
มุมมองจาก Ms. Jin Yuejue Managing Director, Asia Head of the Investment Specialist Multi-Asset Solution group จาก J.P. Morgan Asset Management เห็นว่า "เศรษฐกิจโลกสดใสขึ้น แต่ยังมีหมอกปกคลุม" ด้วยความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่จาก “นโยบายทรัมป์ 2.0” หากทำให้เงินเฟ้อสหรัฐกลับมาสูงขึ้น โอกาสที่เฟดลดดอกเบี้ยในปีหน้า จำนวนครั้งลดลงจากที่ตลาดคาด ทำให้ราคาสินทรัพย์ผันผวนได้
Mr. Homin Lee, Senior Macro Strategist จาก Lombard Odier มองว่า การกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของทรัมป์ ท่ามกลางความผันผวนที่เพิ่มขึ้น แต่ในความเสี่ยงต่างๆ ยังมีโอกาส ใช้เป็นจังหวะในการลงทุนได้เช่นกัน
โดยทั้งสองเห็นสอดคล้องกันว่า นโยบายของโดนัล ทรัมป์ ในหลายนโยบายอาจจะไม่ง่ายนักต่อการดำเนินการเนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อสหรัฐฯ ในหลายด้าน โดยเห็นว่า มีนโยบายที่อาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้าโลก รวมถึงเงินเฟ้อ ได้แก่
แนะเพิ่มน้ำหนักพอร์ตในหุ้นโลก สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ยังเป็นดาวรุ่ง
Mr. Homin Lee ให้คำแนะนำถึงหุ้นสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่ยังส่งสัญญานบวกต่อเนื่อง ในขณะที่หุ้นยุโรปยังคงทรงตัว ตราสารหนี้ระดับลงทุน Investment Grade หรือหุ้นกู้ High Yield ที่มี Credit Rating ที่ดี นอกจากนี้การลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) เช่น ทองคำ และอสังหาริมทรัพย์ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เป็นต้น เป็นโอกาสการลงทุนที่ดีในช่วงเวลานี้
Ms. Jin Yuejue แนะว่า "เน้นกระจายสินทรัพย์ลงทุนทั้งหุ้นและตราสารหนี้ ปรับเพิ่มน้ำหนักหุ้นโลก เช่น หุ้นสหรัฐ ขนาดกลางและเล็ก กับหุ้นญี่ปุ่น และลดน้ำหนักหุ้นยุโรป พร้อมกับเพิ่มน้ำหนักในตราสารหนี้ เน้นที่มีคุณภาพสูง รวมถึงหุ้นกู้เอกชน"
เสริมแกร่งพอร์ต “โตกระจาย ไม่โตกระจุก” กระจายในหุ้นและตราสารหนี้ ทั้งไทยและต่างประเทศ
นายสรพล วีระเมธีกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ. หลักทรัพย์กสิกรไทย กล่าวว่า “ภาพรวมการลงทุนในปีหน้าของสหรัฐฯ จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติสมดุล ซึ่งตราสารทุน หรือตลาดหุ้น ของทั้งฝั่งสหรัฐฯ ยังมีโอกาสที่จะไปต่อได้ มีการปรับตัวขึ้นของหุ้นสหรัฐอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องกลับมามองที่ Valuation มากขึ้น เพราะตราบใดที่ความผันผวนยังคงอยู่ สิ่งที่จะช่วยให้เรารอดได้ คือ ความเหมาะสมของหุ้น ทั้งในตัวราคา และเป็นหุ้นที่มีคุณภาพ เติบโตได้ มีผลประกอบการที่ดี”
นายวจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์, CFA, รองกรรมการผู้จัดการ บลจ. กสิกรไทย กล่าวว่า “กองทุนรวมตราสารหนี้จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนที่ดี และบริหารความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี รวมถึงยืดอายุการถือครองตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 12 เดือน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอในระยะยาว และลดความผันผวนของพอร์ตด้วย”
ด้านนายวีระพล บดีรัฐ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “การจัดสรรพอร์ตการลงทุน แนะนำแบ่งเป็น พอร์ตหลัก (Core Portfolio) ลงทุนระยะยาว แบ่งสัดส่วนไว้ 70% ลงทุนในหุ้นทั่วโลก เช่น หุ้นสหรัฐฯ และหุ้นญี่ปุ่น หรือกองทุนผสม K-WealthPLUS Series โดยอีก 30% เป็นพอร์ตเสริม (Satellite Portfolio) เช่น กองทุน K-FIXEDPLUS
K WEALTH แนะนำกองทุนที่น่าสนใจ
คำเตือน: ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยศึกษานโยบายกองทุน ความเสี่ยงได้ที่หนังสือชี้ชวน และ ข้อมูลเพิ่มเติม www.kasikornasset.com
นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า การกลับมาอีกครั้งของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ สร้างความไม่แน่นอนขึ้นมาต่อการลงทุนและการค้าโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าที่ต้องรอความชัดเจนในต้นปีหน้า ก่อให้เกิดความกังวล ว่า เศรษฐกิจโลกจะซบเซาเหมือนช่วงทศวรรษ 1930 นอกจากนั้น นโยบายอเมริกาเฟิร์สท์ จะทำให้มีการเปลี่ยนระเบียบโลก (Global Order) สร้างความเสี่ยงต่อองค์กรระหว่างประเทศ อย่างเช่น WTO และ NATO ได้
นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ขยายความว่าในปี 2568 เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะเติบโตที่ 2.4% ช้าลงกว่าปี 2567 เล็กน้อยที่คาดว่าจะขยายตัว 2.6% จากแรงส่งจากการท่องเที่ยวที่ลดลงตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าใกล้ระดับก่อนโควิด เช่นกันกับส่งออกที่คาดว่าจะโตช้าลงจากผลกระทบสงครามการค้า ทั้งทางตรงผ่านตลาดส่งออกสหรัฐฯ และทางอ้อมผ่านตลาดอื่นๆ ที่ต้องแข่งขันกับสินค้าจีน อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาครัฐขยายตัวดีกว่าปีที่ผ่านมาจากเม็ดเงินเบิกจ่ายงบประมาณที่ต่อเนื่อง ในขณะที่การลงทุนเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากปี 2567 ที่หดตัว สอดคล้องไปกับ FDIs ที่เข้ามาในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยยังสูง จากความแน่นอนของสงครามการค้า เศรษฐกิจหลักของโลกชะลอตัวลงโดยเฉพาะจีน และภาคการผลิตของไทยที่เจอภาวะการแข่งขันสูงจากสินค้าจีนท่ามกลางขีดความสามารถที่ลดลง
นางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ในปี 2568 สถานการณ์อุตสาหกรรมไทย คงจะไม่ดีขึ้นได้มากนัก ท่ามกลางหลายปัจจัยกดดัน ทั้งสงครามการค้าภายใต้ทรัมป์ 2.0 ซึ่งจะมีผลต่อการส่งออกและการผลิต มาตรการภาครัฐบางเรื่องที่อาจกระทบต้นทุน และประเด็นเชิงโครงสร้างที่ยังทำให้การใช้จ่ายเป็นไปด้วยความระมัดระวัง ขณะที่ กลุ่มที่ยังฟื้นได้ช้า จะเป็นธุรกิจขนาดกลางลงล่าง โดยมีความเสี่ยงที่จำนวนผู้ประกอบการภาคการผลิตในธุรกิจรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ โลหะ แฟชั่น อาจลดลงอีก ส่วนในภาคการค้าและบริการ แม้จำนวนผู้ประกอบการอาจเพิ่มแต่การยืนระยะทางธุรกิจก็คงไม่ง่ายเช่นกัน
ด้านนางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ปี 2568 คาดว่าจะยังเห็นสถานการณ์ที่แนวโน้มสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทยเติบโตช้าและต่ำ โดยมีอัตราการขยายตัวราว 0.6% จากปี 2567 ที่คาดว่าจะหดตัว 1.8% ท่ามกลางปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงที่ยังจะกดดันให้สินเชื่อรายย่อยยังหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่หนี้ด้อยคุณภาพยังเป็นปัญหาที่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง ทั้งฝั่งสินเชื่อรายย่อย รวมถึงฝั่งสินเชื่อเอสเอ็มอี โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ข้อมูลสินเชื่อธุรกิจ จากฐานข้อมูลบัญชีลูกหนี้นิติบุคคล ซึ่งเป็นข้อมูลสถิติที่ไม่ระบุตัวตนของเครดิตบูโร (NCB) พบ 5 ประเด็นสำคัญ คือ
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) จัดงานเสวนาพิเศษ Exclusive Luncheon Roundtable : Climate Tipping Point, A Race Against Time เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงจุดเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศ โดยเชิญองค์กรชั้นนำของประเทศที่มีบทบาทสำคัญทั้งในภาคการเงินและตลาดทุน มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะประเด็นการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) ซึ่งมีความสำคัญต่อการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ขององค์กรให้เปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจโลกที่มีคาร์บอนต่ำ และมีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ โดยมี ดร.พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ (คนที่ 8 จากขวา) ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย และ ประธานกรรมการ บลจ.กสิกรไทย พร้อมด้วยนายวิน พรหมแพทย์ (คนที่ 7 จากซ้าย) ประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย ร่วมให้การต้อนรับ ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ พหลโยธิน เมื่อเร็วๆ นี้