January 22, 2025

หลักสูตรแรกของไทย รองรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

เปิดประตูสู่อนาคตที่ยั่งยืน สร้างขุมกำลังคนสายดิจิทัลตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงานทุกภาคส่วน

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร (STECO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดงาน Thailand Competitiveness Forum 2024 ณ Auditorium อาคาร KX Knowledge Xchange ถ.กรุงธนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับความสามารถทางการแข่งขัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับ ทิศทางเศรษฐกิจไทย 2025 การยกระดับอุตสาหกรรมไทย เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน อีกทั้งกิจกรรมการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ สร้างโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวต้อนรับพร้อมให้มหาวิทยาลัยเป็นตัวกลางสำคัญในการเชื่อมโยงองค์ความรู้กับภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศต่อไป จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ ผู้อำนวยการศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร (STECO) มจธ. บรรยายหัวข้อ “การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนด้วย STECO’s Enterprise Mix” ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ โดยมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้เกิดการยกระดับทักษะบุคคล ยกระดับความสามารถทางการแข่งขันองค์กร และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยให้ยั่งยืนต่อไป

จากนั้นเป็นการเสวนา “เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย” โดยมี รวีรัตน์ สัจจวโรดม ประธานบริหาร สายงานการเงินและกลยุทธ์ บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) วริทธิ์ กฤตผล Commercial Director บริษัท Rayong Engineering & Plant Service Co., Ltd. หรือ REPCO Nex Industrial Solutions ในเครือ SCG และวิศรุต เอื้ออานันท์ Chief Digital Mar Tech Officer โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ดำเนินการเสวนาโดย ดร.รังสรรค์ เกียรติ์ภานนท์ ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย พร้อมขัอคิดสำหรับองค์กรที่ต้องการเริ่มต้นสร้างหรือประยุกต์ใช้นวัตกรรมในองค์กร

ภายในงานได้รับเกียรติจาก  ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมกับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย” วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ โดยจะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้ ซึ่งจะทำให้ประเทศมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และจัดการกับความท้าทายต่างๆ ที่ส่งผลกระทบสำคัญต่อประเทศ เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างประชากร ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยสถาบันการจัดการนานาชาติ หรือ IMD ประจำปี 2566 ในอันดับที่ 30 จากเดิมอยู่ในอันดับที่ 33 ซึ่งในปี 2567 นี้พบว่าข้อจำกัดของภาคธุรกิจไทย อยู่ที่ความสามารถด้านผลิตภาพ ดังนั้น ความท้าทายของภาคธุรกิจไทย คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยเพิ่มมูลค่าและผลิตภาพในสินค้าหรือบริการ การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและทักษะที่จำเป็นให้สามารถปฏิบัติงานได้เท่าทันเทคโนโลยีและพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตภายใต้สภาวะการแข่งขันในปัจจุบันนับเป็นความโชคดีที่ประเทศไทยมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ มีฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง ตลอดจนมีรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเข้มข้น

นอกจากนั้น สนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บรรยายพิเศษในหัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจกับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย” ซึ่งเป็นการฉายภาพให้ผู้ร่วมงานได้เข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย และแนวโน้มการเปลี่ยนทางเศรษฐกิจของประเทย ปิดท้ายด้วย เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรยายพิเศษในหัวข้อ “ยกระดับอุตสาหกรรมไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน” โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ตอบโจทย์ในเรื่องของความยั่งยืน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก

 

เมื่อองค์กรแสวงหาคน “เก่ง” เพื่อมาร่วมทีม และบุคลากรมุ่งมั่นพัฒนาตนเองให้ "เก่ง"  คำถามที่น่าสนใจ คือ "เก่ง" แบบไหนที่องค์กรต้องการ?  บทความนี้จะวิเคราะห์มุมมอง "เก่งเพื่อเสริมทีม" และ "เก่งเพื่อเหนือทีม"   พร้อมทั้งสะท้อนมุมมองสำคัญของ "ทีม" และผลลัพธ์ต่อองค์กร

ความเก่งที่แท้จริง: นิยามที่แปรผัน

"ความเก่ง" ไม่มีคำจำกัดความตายตัว ขึ้นอยู่กับระดับงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ บริบทองค์กร และเป้าหมายขององค์กร ในระดับหัวหน้างาน ความเก่ง อาจจะหมายถึง ความสามารถในการชี้นำ กระตุ้น พัฒนาทีม ตัดสินใจ แก้ปัญหา มองการณ์ไกล และสื่อสาร ในขณะที่ระดับปฏิบัติการ อาจจะหมายถึง ทักษะเฉพาะทาง ความเชี่ยวชาญ ความรับผิดชอบ ความอดทน ความตั้งใจ ความเก่งสำหรับงานบริการ อาจจะหมายถึง ทักษะการสื่อสาร การบริการลูกค้า การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ความอดทน ความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ในขณะที่ความเก่งสำหรับงานขาย อาจจะหมายถึง ทักษะการสื่อสาร การโน้มน้าว การเจรจาต่อรอง ความสัมพันธ์ ความเข้าใจลูกค้า โดยความเก่งที่เหมาะสมควรจะส่งผลลัพธ์เชิงบวกกับองค์กร มากกว่าการเป็นเพียงเครื่องประดับอวดอ้างให้คนอื่นเห็นความสำคัญของตนเอง

ทีม: ฟันเฟืองขับเคลื่อนองค์กร

"ทีม" เปรียบเสมือนฟันเฟืองสำคัญขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย ทีมที่ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ผนึกกำลัง แบ่งปันความรู้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่กว่าการทำงานคนเดียว ทีมเป็นแหล่งรวมความคิดสร้างสรรค์ มุมมองที่หลากหลาย ประสบการณ์ที่แตกต่าง กระตุ้นการคิดนอกกรอบ นำไปสู่ไอเดียใหม่ และนวัตกรรม นอกจากนี้ทีมยังเป็นกลไกแห่งการเรียนรู้ โดยสมาชิกในทีมจะได้เรียนรู้จากกันและกัน เกิดการพัฒนาทักษะ เพิ่มพูลความรู้ความสามารถ ทำให้สมาชิกภายในทีมเติบโตจากการทำงานร่วมกัน และส่งผลให้องค์กรเกิดการพัฒนาและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

องค์กรเปรียบเสมือนเรือที่แล่นสู่จุดหมาย ทีมที่สร้างผลลัพธ์ จะมีความมุ่งมั่น ทุ่มเท ทำงานด้วยความตั้งใจ ร่วมมือกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร ในขณะที่ทีมที่เน้นการเมือง จะมุ่งแสวงหาอำนาจ ใช้ความสามารถที่ตัวเองมีเพื่อกดขี่คนที่มีความสามารถน้อยกว่า สร้างความขัดแย้ง แบ่งแยก ทำลายบรรยากาศการทำงาน ในทีมมักมีสมาชิกที่มีความสามารถ ทักษะ นิสัย หลากหลาย คนเก่งที่แท้จริงจะนำความรู้ ทักษะ มาเสริมสร้างทีม แบ่งปัน และช่วยเหลือเกื้อกูล มุ่งหวังที่จะเห็นองค์กรประสบความสำเร็จภายใต้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีมงานทุกคน ในขณะที่คนไม่เก่ง สามารถเรียนรู้ พัฒนา เติบโต ด้วยโอกาส การสนับสนุน จากเพื่อนร่วมงาน ผู้นำ ในขณะที่คนดีจะมุ่งมั่น รับผิดชอบ สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี ไม่เอาความเก่งไปทำลายความตั้งใจในการทำงานของคนอื่น ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกองค์กรจะมีคนไม่ดีร่วมอยู่ด้วย คนเหล่านี้จะคอยสร้างปัญหา ขัดขวางแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร แสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ไม่สอดคล้องกับความสนใจของตน และทำลายบรรยากาศการทำงาน ใช้เวลาไปกับการเล่นการเมือง สร้างกลุ่มก๊วนเพื่อนินทาคนที่มีความเห็นต่าง คอยจ้องจับผิดคนที่ไม่ใช่พวกพ้องตน

เก่งเพื่อเสริมทีม หรือ เก่งเพื่อเหนือทีม

"เก่งเพื่อเสริมทีม" หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ ทักษะ ความรู้ นำมาใช้เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาเพื่อนร่วมงาน   และพัฒนาองค์กร "เก่งเพื่อเหนือทีม" หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ ทักษะ ความรู้ นำมาใช้เพื่อเอาชนะ กดขี่เพื่อนร่วมงาน สร้างกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อรักษาไว้ซึ่งความนิยมชมชอบตัวเอง "เก่งเพื่อเสริมทีม" เปรียบเสมือนแสงสว่าง นำทางองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ทีมที่ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ผนึกกำลัง แบ่งปันความรู้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่กว่าการทำงานคนเดียว มุมมองที่หลากหลาย ประสบการณ์ที่แตกต่าง กระตุ้นการคิดนอกกรอบ นำไปสู่ไอเดียใหม่ และนวัตกรรม สมาชิกในทีมเรียนรู้จากกันและกัน แบ่งปันความรู้ พัฒนาทักษะ เติบโตทั้งส่วนตัวและองค์กร องค์กรที่มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม ส่งเสริมการทำงานของกันและกัน ให้คำแนะนำและแง่คิดด้วยความบริสุทธิ์ใจปราศจากอคติ "เก่งเพื่อเสริมทีม" จึงมีพลังมหาศาลในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ และสร้างอนาคตที่ยิ่งใหญ่ คนที่มีจิตสำนึกต่อองค์กรไม่เพียงแต่บอกว่ารักองค์กร ทำอะไรเพื่อองค์กร แต่ต้องไม่ปล่อยให้ “อีโก้” ผนึกกำลังกับความลุ่มหลงมัวเมาใน “ตัวกู” มาทำลายองค์กรให้พังทลายเพียงเพราะแค่ต้องการแสดงอิทธิฤทธิ์ของความเก่งเพื่อเหนือทีม คนเก่งจริงไม่จำเป็นต้องเล่นการเมือง เพราะท้ายที่สุด การเมืองที่ทำลายพลังสร้างสรรค์อาจจะไม่มีที่ให้เก่งเพื่อเหนือทีมอีกต่อไป


----------------------------

วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ
ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มจธ.

 

พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทยในการถ่ายทอดองค์ความรู้และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ในงานนี้เต็มไปด้วยเหล่า Speakers คุณภาพที่มีประสบการณ์และมุมมองทางด้านธุรกิจในการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กันและกัน

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้บริหารจากองค์กรภาครัฐและเอกชนหรือผู้ที่สนใจในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ

การพูดคุยหัวข้อสำคัญ

  1. ทิศทางเศรษฐกิจ 2025 กับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย
  2. ยกระดับอุตสาหกรรมไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน
  3. เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย
  4. การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนด้วย STECO’s Enterprise Mix

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567

ณ ห้อง Auditorium ชั้น 7 อาคาร KX Knowledge Xchange ถ.กรุงธนบุรี

เวลา 12.00 – 17.00 น.

ลงทะเบียนร่วมงานฟรี ได้ที่

https://forms.gle/rfuNdNVWjCis2uLMA 

รายละเอียดเพิ่มเติม

Facebook : ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มจธ.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร. 064-749-9629 , 02-470-9643 คุณดลฤทัย

E mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

Page 1 of 6
X

Right Click

No right click