

กรุงศรี ไพรเวท แบงก์กิ้ง เผยมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนในปี 2568 ในงานสัมมนา KRUNGSRI PRIVATE BANKING Investment Outlook 2025 ในหัวข้อ 2025 and Beyond: Power Dynamics after Trump Era โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการลงทุน ได้แก่ Mr. Shaun Jamieson, Vice President Global Allocation Team BlackRock ดร. อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายวิรัตน์ วิทยศรีธาดา, CFA ผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์และที่ปรึกษาการลงทุน และหัวหน้าทีม Krungsri Investment Intelligence ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) โดยสรุปเศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน ชี้นักลงทุนควรจับตานโยบายทรัมป์ 2.0 ที่อาจมีผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนทั่วโลกอย่างใกล้ชิด
BlackRock คาดการณ์โอกาสและความเสี่ยงรอบใหม่
เริ่มต้นด้วยมุมมองเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางความไม่ชัดเจนของนโยบายรัฐบาล โดนัลด์ ทรัมป์ Mr. Shaun Jamieson, Vice President Global Allocation Team, BlackRock ได้แบ่งกรอบการวิเคราะห์สถานการณ์ออกเป็น 3 ส่วน ประกอบไปด้วย ปัจจัยคงที่ ปัจจัยผันแปร และสุดท้ายคือการนำทั้ง 2 ส่วนมาวิเคราะห์เป็นกลยุทธ์การลงทุน ทั้งนี้ ในส่วนของปัจจัยคงที่ ได้แก่ 1) เศรษฐกิจสหรัฐฯ พึ่งพาภาคบริการมากขึ้น ทำให้ความผันผวนทางเศรษฐกิจลดน้อยลง 2) ตลาดแรงงานสหรัฐฯ แข็งแกร่ง อัตราการว่างงานต่ำ และการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ 3) ภาคครัวเรือนสหรัฐฯ มีเงินออมสูง สืบเนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วง COVID-19 4) การลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) และค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน (CapEx) ที่เกี่ยวข้องกับ AI ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในโครงสร้างเศรษฐกิจ และคาดว่า AI จะช่วยเพิ่ม GDP ได้ถึง 15% ใน 10 ปีข้างหน้า และ 5) สภาพคล่องส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง สะท้อนจากมูลค่าเงินทุนจำนวนกว่า 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในกองทุนตลาดเงิน ซึ่งอาจหนุนตลาดหุ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีตัวแปรที่ยังคงต้องติดตาม ได้แก่ 1) ความไม่แน่นอนด้านนโยบายการคลังของสหรัฐฯ โดยเฉพาะด้านการค้า ขณะที่นโยบายด้าน Deregulation อาจจะให้ผลในเชิงบวก 2) ผลกระทบของกระแสทวนกลับของโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) โดยที่แต่ละประเทศจะเน้นการพึ่งพาตนเองมากขึ้น 3) ทิศทางนโยบายการเงินของ FED ที่ยังคาดเดาไม่ได้ และ 4) หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง สิ่งเหล่านี้กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่จะระบุถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระยะถัดไป ซึ่งหากนำปัจจัยทั้ง 2 มาวิเคราะห์ถึงผลกระทบโดยรวมที่อาจเกิดขึ้น มองว่าในระยะสั้นจะมี Positive Demand Shock จากตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง ซึ่งส่งผลดีต่อภาคการบริโภค รวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ที่จะยังส่งผลบวกต่อ
อุปสงค์ในภาพรวม ขณะที่เงินเฟ้อจะยังคงมีอยู่ แต่ในระยะยาวจะเกิด Positive Supply Shock การลงทุนภาครัฐและเอกชนที่เน้นประสิทธิภาพการผลิต เช่น เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน ที่ช่วยทดแทนแรงงาน
สำหรับมุมมองด้านการลงทุน แม้ว่าปัจจุบันราคาหุ้นจะไม่ได้อยู่ในระดับต่ำ แต่ยังมีโอกาสการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นที่มีผลประกอบการและกระแสเงินสดเติบโต ซึ่งปัจจุบันอัตราการเติบโตของรายได้และกระแสเงินสดอิสระสูงกว่าในอดีต ขณะที่ยุโรปมี Valuation ที่น่าสนใจ แต่มีความเสี่ยงในการเติบโต อย่างไรก็ตาม ยังคงมีบริษัทชั้นนำในกลุ่ม Healthcare และ Financial ที่น่าสนใจเช่นเดียวกับญี่ปุ่น ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงของ Corporate Reform ซึ่งการซื้อหุ้นคืนช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผู้ถือหุ้นด้านตราสารหนี้ แนะนำลงทุนในตราสารอายุสั้นที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับตราสารหนี้ระยะยาว นอกจากนี้ High Yield Bond และตราสารหนี้ที่มีหลักประกันยังเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยเฉพาะบริษัทที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่งจากการชำระหนี้ในช่วงดอกเบี้ยต่ำ
จับตาจีนตั้งรับ ‘ทรัมป์ 2.0’ ขณะที่ ‘ไทย’ เตรียมสู้ศึกการค้าสองด้าน
ด้าน ดร. อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แบ่งการวิเคราะห์การลงทุนในจีนเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนและนโยบายทรัมป์ 2.0 ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจไทยและโลก โดยมองว่าเศรษฐกิจจีนยังอยู่ในช่วง Stabilization คือเน้นทำให้เศรษฐกิจมีความมั่งคง รักษาระดับการเติบโต และเตรียมปรับโครงสร้างระยะยาว โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีผลต่อ GDP ประมาณ 15-30% ขณะที่รัฐบาลจะหันไปสนับสนุนเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น พลังงานสะอาด ซึ่งมีสัดส่วนการเติบโตกว่า 8% ของ GDP ส่วนด้านนโยบาย ทรัมป์ 2.0 ที่มุ่งเป้าไปที่ประเทศจีนและดึงฐานการผลิตกลับสหรัฐฯ อาจเป็นการขึ้นกำแพงภาษีกับทุกประเทศ เพื่อดึงโรงงานจากจีนและประเทศอื่นๆ กลับไปยังสหรัฐฯ
สำหรับท่าทีการตอบโต้ของจีน มองว่า จีนจะเน้นการพัฒนาตลาดภายในประเทศและขยายไปยังตลาดเกิดใหม่ เช่น ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเน้นลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ที่เริ่มต้นพร้อมกันระหว่างสหรัฐฯ และจีน เช่น AI, พลังงานทางเลือก และ Quantum Computing ซึ่งโดยสรุปแล้ว มองว่าการกระจายตัวทางเศรษฐกิจ (Globalization) ในรอบนี้ สหรัฐฯ และจีนจะพึ่งพาตนเองมากขึ้น ซึ่งอาจกระทบกับความมั่งคั่งที่ลดลง แต่จะแข็งแกร่งในระยะยาว ขณะที่ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะไทยและประเทศกำลังพัฒนา จะเผชิญความท้าทายจากการย้ายฐานการผลิตกลับและสินค้าจีนที่ทะลักเข้าสู่ตลาดโลก
Krungsri Investment Intelligence แนะคอยความชัดเจนจากปัจจัยสำคัญ
ด้าน นายวิรัตน์ วิทยศรีธาดา, CFA ผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์และที่ปรึกษาการลงทุน และหัวหน้าทีม Krungsri Investment Intelligence ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มองปัจจัยสำคัญสำหรับการลงทุนในปี 2568 เป็น 4 ประเด็น ดังนี้
โดยทีม Krungsri Investment Intelligence ได้สรุปมุมมองและคำแนะนำการลงทุนของแต่ละสินทรัพย์ ไว้ดังนี้
- ตราสารหนี้โลก : แนะนำให้ลงทุนในช่วงที่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยแนะนำกองทุน KF-CSINCOM ที่มีการปรับ Duration ของกองทุนสม่ำเสมอ และปรับสัดส่วน High Quality กับ High Yield ตามสภาวะตลาด
- ตลาดหุ้นโลก : มีมุมมองที่เป็นกลาง แต่มีมุมมองเป็นบวกกับการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ โดยมองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะได้ประโยชน์จากมาตรการของทรัมป์ อย่างไรก็ตามควรติดตามผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากราคาหุ้นอาจมีความผันผวนจาก Valuation ที่อยู่ในระดับสูง
- หุ้นยุโรป : จังหวะซื้อที่ดีคือช่วงที่ตัวเลขเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจยุโรปยังมีความไม่แน่นอนสูง แนะนำรอความชัดเจนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
- หุ้นญี่ปุ่น : ยังคงได้รับประโยชน์จากค่าเงินเยนที่อ่อนและเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการที่บริษัทมีนโยบายการซื้อหุ้นคืน
- หุ้นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา : มองว่ามีปัจจัยกดดัน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความไม่แน่นอนของการค้าระหว่างประเทศ ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า และอัตราผลตอบแทนสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- หุ้นจีน : มองว่ากำลังเผชิญ 2 ประเด็นหลัก คือ การค้าระหว่างประเทศและภาคอสังหาฯ อย่างไรก็ตามมองว่ารัฐบาลจีนน่าจะมีการประกาศนโยบายด้านเศรษฐกิจเป็นระยะๆ ซึ่งจะเป็นผลบวกต่อตลาดหุ้น
- หุ้นไทย : มองว่ามีความเสี่ยงจากการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนหลักของ GDP อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นปัจจัยบวก
- หุ้นเวียดนาม : จะมีปัจจัยบวกจากการอัปเกรดเป็น Emerging Markets แต่ต้องระวังผลกระทบจากนโยบายการค้าของทรัมป์ ซึ่งมีผลต่อประเทศที่เกินดุลกับสหรัฐฯ
สำหรับผู้สนใจบริการ KRUNGSRI PRIVATE BANKING สามารถเข้าไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนได้ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขาทั่วประเทศ หรือศึกษารายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.krungsri.com/th/wealth/krungsri-private-banking
กรุงศรี ไพรเวท แบงก์กิ้ง (KRUNGSRI PRIVATE BANKING) นำโดย นายพงษ์อนันต์ ธณัติไตร ประธานกลุ่มธุรกิจลูกค้ารายย่อยและลูกค้าบุคคล พาลูกค้าคนสำคัญดื่มด่ำอรรถรสอาหารไทยสูตรต้นตำรับจากต้นเครื่อง รังสรรค์อย่างพิถีพิถันโดย เชฟวิชิต มุกุระ คลอเคล้าด้วยกลิ่นอายวัฒนธรรมสไตล์ไทยวิจิตร โมเดิร์น ณ ห้องอาหารรอยัล โอชา การันตีด้วยรางวัลมิชลินไกด์ถึงห้าปีซ้อน อีกหนึ่งกิจกรรมสุดพิเศษที่ กรุงศรี คัดสรรมาเพื่อมอบประสบการณ์ที่เหนือระดับแก่ลูกค้าคนพิเศษ
ดินเนอร์สุดเอ็กซ์คลูซีฟ โดย กรุงศรี ไพรเวท แบงก์กิ้ง ครั้งนี้ จัดขึ้นที่ รอยัล โอชา ร้านอาหารไทยที่ได้รับมิชลินไกด์ต่อเนื่องถึงห้าปีซ้อน (ปี 2563, 2564, 2565, 2566 และ 2567) นำเสนอเรื่องราวของวัฒนธรรมไทยด้วยเมนูอาหารไทยสุดประณีตที่ผ่านการสร้างสรรค์โดย เชฟวิชิต มุกุระ สุดยอดเชฟระดับแถวหน้าที่มากด้วยประสบการณ์กว่า 40 ปี ที่ไม่เพียงพิถีพิถันในการปรุงอาหารแต่ละจานให้ได้สัมผัสอรรถรสทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แบบครบรส หากยังแฝงด้วยเสน่ห์ปลายจวักของอาหารไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในบรรยากาศสไตล์ไทยสุดวิจิตร
สำรับไทยที่เสิร์ฟในมื้ออาหารค่ำสุดหรูครั้งนี้ สะท้อนถึงความโดดเด่นและเอกลัษณ์ของอาหารไทยที่มีครบทั้งรสชาติ และสีสัน ผ่านการสร้างสรรค์โดยเชฟวิชิต ที่คงคุณค่าความเป็นอาหารไทยดั้งเดิม แต่เสริมในเรื่องการพรีเซนต์ให้ดูร่วมสมัยด้วยความตั้งใจที่จะสื่อสารอาหารไทยสู่ระดับสากล ทั้งยังคงคอนเซปต์ของ รอยัล โอชา ที่เลือกใช้วัตถุดิบในการปรุงอาหารที่มีตามฤดูกาลต่าง ๆ เพื่อคงคุณค่าและรสชาติที่ดีที่สุดของวัตถุดิบ และยังคงความสมดุลให้ระบบนิเวศอีกด้วย โดยเสิร์ฟเป็นสำรับครบครันแบบไทยแท้ครบรสทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม ขม ปร่า มัน และฝาด เริ่มมื้อด้วยปลาแห้งแตงโม ม้าฮ่อ และกุ้งโสร่ง อาหารเรียกน้ำย่อยแบบชาววังที่หารสชาติแบบดั้งเดิมได้ยากในปัจจุบัน เป็นการจับคู่รสสดชื่นของผลไม้เมืองร้อนกับอาหารคาวได้อย่างลงตัว ต่อด้วยจานหลัก ที่แม้จะเป็นเมนูที่คุ้นเคยแต่กลับพรีเซนต์ออกมาได้อย่างเหนือชั้น ไม่ว่าจะเป็น ไข่ลูกเขยฝรั่ง ยำผักชีกับหมูสันในย่าง ไก่ทอดกับต้มขมิ้น กุ้งแม่น้ำผัดไหลบัว และปอเปี๊ยะปลาเก๋าแดงกับซอสพริกสดใบโหระพา ตบท้ายด้วยเมนูของหวานสไตล์ฟิวชันทั้ง เปียกปูนอ่อน ให้กลิ่นรสใบเตยหอมละมุน วุ้นกาแฟหยกมณีสตรอว์เบอร์รี และขนมบ้าบิ่นกับซอร์เบต์มะพร้าวอ่อน โดยระหว่างมื้ออาหารยังได้รับความเพลิดเพลินจากการแสดงนาฏศิลป์ไทยทั้งการรำและหุ่นละครเล็ก ประกอบดนตรีอันไพเราะ
งานเลี้ยงรับประทานอาหารค่ำสุดพิเศษ ณ ร้านอาหารรอยัล โอชา นี้ นับเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์เหนือระดับที่ทางกรุงศรี ไพรเวท แบงก์กิ้ง ตั้งใจคัดสรรมาเป็นพิเศษแทนคำขอบคุณในความไว้วางใจที่ลูกค้ามีให้กับกรุงศรี