January 22, 2025

สุดยอดการประชุมสัมมนาด้าน ESG โดยผู้เชี่ยวชาญระดับโลก สร้างอนาคตพาธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ร่วมมือกับมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) สถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นและเป็นกลุ่มสถาบันการเงินชั้นนำของโลกเดินหน้าขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน ผ่านการลงนามบันทึกข้อตกลงและความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือทางธุรกิจครั้งสำคัญกับศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติเวียดนาม (Vietnam National Innovation Center หรือ NIC) เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศของธุรกิจสตาร์ทอัพที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ พร้อมผลักดันธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศเวียดนามให้สามารถเติบโตก้าวไกลในระดับสากล

นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ภายใต้แผนธุรกิจระยะกลางของกรุงศรี เรามุ่งมั่นดำเนินธุรกิจสู่การเป็น Innovative Bank พร้อมเดินหน้าสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียน ผ่านการแสวงหาความร่วมมือทางธุรกิจในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล และการพัฒนาด้านดิจิทัลและข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนสถาบันการเงินให้เติบโตก้าวไกลในระดับภูมิภาค ขณะที่เวียดนามเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจและมุ่งให้การสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่อง กรุงศรีมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศดิจิทัลผ่านการสนับสนุนสตาร์ทอัพรุ่นใหม่และอุตสาหกรรมสายเทคต่าง ๆ ในเวียดนามโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่พวกเขากำลังเติบโต”

นายมาซาโอะ โคจิมะ กรรมการผู้จัดการและหัวหน้าส่วนภูมิภาคประจำประเทศเวียดนาม ธนาคาร เอ็มยูเอฟจี จำกัด (MUFG Bank) กล่าวว่า “MUFG Bank ได้ให้การสนับสนุนและผลักดันเวียดนามสู่เวทีโลกผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ มาโดยตลอด ซึ่งจากการสำรวจโดย JETRO พบว่าในปีที่ผ่านมามีนักลงทุนจากญี่ปุ่นให้ความสนใจในการลงทุนกับเวียดนามเพิ่มสูงขึ้น เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะช่วยสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่เอื้อต่อการเติบโตของสตาร์ทอัพ และส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามได้อย่างแน่นอน”

นายอู ค็อก ฮุย ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติเวียดนาม  (Vietnam National Innovation Center หรือ NIC) กล่าวว่า “NIC มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับกรุงศรีและ MUFG ในครั้งนี้ ทั้งนี้เพื่อสานความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามและนักลงทุนจากประเทศไทยและญี่ปุ่นที่ต้องการลงทุนในธุรกิจสายเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของเวียดนามให้รุดหน้าและตอบโจทย์ตลาดในระดับสากล ขณะเดียวกัน เราพร้อมให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพจากประเทศไทย ญี่ปุ่น รวมถึงประเทศอื่น ๆ ที่กำลังมองหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจในเวียดนามอีกด้วย”

การลงนามในข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ เมื่อเร็วๆ นี้ โดยมี นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) นายบุนเซอิ โอคุโบะ ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) นายอู ค็อก ฮุย ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติเวียดนาม (NIC) นายมาซาโอะ โคจิมะ กรรมการผู้จัดการและหัวหน้าส่วนภูมิภาคประจำประเทศเวียดนาม ธนาคารเอ็มยูเอฟจี จำกัด (MUFG Bank) นายโนบูทาเกะ ซูซูกิ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอ็มยูเอฟจี อินโนเวชัน พาร์ทเนอร์ (MUIP) และนายแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ร่วมลงนาม โดยมีระยะเวลาของแผนการดำเนินงานใน 5 ปี ที่ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนกิจกรรม 4 ด้าน ได้แก่

  • การส่งเสริมและสนับสนุนการเติบโตของสตาร์ทอัพเวียดนามในระดับสากลผ่านเครือข่ายที่แข็งแกร่งของกรุงศรีและ MUFG
  • การแบ่งปันความรู้ และแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสตาร์ทอัพในเวียดนามผ่านกิจกรรมต่าง ๆ โดยกรุงศรีฟินโนเวต และ MUFG อาทิ โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ (Accelerator Program) เป็นต้น
  • การจัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจสำหรับสตาร์ทอัพในเวียดนาม ไทย ญี่ปุ่น รวมถึงประเทศอื่น ๆ เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางธุรกิจ รวมทั้งโอกาสการลงทุนในระดับสากล
  • การสนับสนุนการพัฒนาแพลตฟอร์มดาต้าและข้อมูล ที่จะช่วยเติมเต็มความต้องการของธุรกิจสตาร์ทอัพในเวียดนาม และด้านอื่น ๆ ของ NIC

“ด้วยความเชี่ยวชาญของกรุงศรีและเครือข่ายที่แข็งแกร่งของ MUFG เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในเวียดนามได้เป็นอย่างดี และเราพร้อมที่ช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในเวียดนามให้เติบโตก้าวหน้าผ่านความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง สู่การเติบโตในระดับภูมิภาคอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป” นายยามาโตะ กล่าวทิ้งท้าย

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) โดยกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ (JPC/MNC Banking) ภายใต้การนำของแม่ทัพคนใหม่ นายบุนเซอิ โอคุโบะ ประกาศกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในปี 2566  รุกขยายศักยภาพเชื่อมต่ออาเซียน ผุดบริการใหม่ “ASEAN LINK” ที่ปรึกษาด้านธุรกิจสำหรับลูกค้าที่ต้องการขยายธุรกิจสู่อาเซียน โดยประสานพลังเครือข่าย MUFG เพื่อเชื่อมทุกความต้องการทำธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมเดินหน้าต่อยอดธุรกิจเพื่อความยั่งยืน (ESG Finance) และสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพในเวทีนานาชาติ ตอกย้ำความเป็นผู้นำธนาคารพันธมิตรที่กลุ่มธุรกิจญี่ปุ่นไว้วางใจ

นายบุนเซอิ โอคุโบะ ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ (JPC/MNC Banking) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “กรุงศรี ครองความเป็นผู้นำในตลาดลูกค้าธุรกิจญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเครือข่ายที่แข็งแกร่งของ MUFG ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศทั่วโลก อีกทั้งความรู้ ความเชี่ยวชาญระดับโลกทำให้กรุงศรีสามารถต่อยอดและได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มลูกค้าธุรกิจญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ โดยในปีที่ผ่านมา เราได้ให้บริการทั้งกลุ่มลูกค้าญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติจากหลากหลายอุตสาหกรรมในการขยายธุรกิจสู่อาเซียนจนประสบความสำเร็จมากมาย อาทิ การสนับสนุนการตั้งโรงงานผลิตเลนส์ในประเทศลาว การให้คำปรึกษาด้านข้อมูลตลาดและข้อบังคับทางกฎหมายในการตั้งสำนักงานของบริษัทวัสดุก่อสร้างในประเทศเวียดนาม การช่วยสำรวจและแนะนำพื้นที่ในการตั้งโรงงานแปรรูปอาหารในประเทศเวียดนาม รวมทั้งให้คำปรึกษาในการตั้งสำนักงานใหญ่ในประเทศไทยของบริษัทด้านยานยนต์จากประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น”

ในปี 2566 นี้ เราจึงให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่ออาเซียน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญของกรุงศรี โดยได้ยกระดับบริการที่ปรึกษาทางธุรกิจเพื่อเชื่อมต่อทั้งภูมิภาคอาเซียนด้วยบริการใหม่ ‘ASEAN LINK’ ที่พร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการในการทำธุรกิจ เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราเติบโตใน 9 ประเทศทั่วทั้งอาเซียน และต่อยอดได้ในอีกกว่า 50 ประเทศทั่วโลกผ่านเครือข่ายที่แข็งแกร่งของ MUFG

สำหรับบริการ Krungsri ASEAN LINK นับเป็นศูนย์กลางบริการด้านการทำธุรกิจในระดับภูมิภาคอาเซียนผ่านเครือข่ายที่แข็งแกร่งของกรุงศรี และ MUFG มีความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมที่แตกต่างและหลากหลาย พร้อมนำเสนอ โซลูชันทางการเงินให้กับลูกค้าแบบ Tailor-made โดยเริ่มตั้งแต่การให้คำปรึกษา วิเคราะห์ และสนับสนุนข้อมูลด้านการตลาด รวมถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจเพื่อการควบรวมกิจการและการขยายการลงทุนในต่างประเทศ การพัฒนาและจัดตั้งสำนักงานธุรกิจในระดับภูมิภาค การให้บริการที่ปรึกษาทางกฎหมายและภาษีอากร และการจับคู่ทางธุรกิจ เป็นต้น

 

นอกจากนี้ กรุงศรียังคงเดินหน้ากลยุทธ์ในการต่อยอดการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อความยั่งยืน และร่วมเป็นส่วนช่วยผลักดันสตาร์ทอัพสู่เวทีอาเซียนผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนี้

  • การสนับสนุนธุรกิจที่ดำเนินการตามกรอบความยั่งยืน (ESG) ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านเครือข่ายพันธมิตร พร้อมต่อยอดความร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) และ Zeroboard Inc. สตาร์ทอัพสัญชาติญี่ปุ่นที่เชี่ยวชาญด้านคลาวด์เทคโนโลยีเกี่ยวกับการคำนวณและการแสดงผลลัพธ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจและ Supply chain เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจ สีเขียวอย่างเป็นรูปธรรม
  • การสร้างเครือข่ายและสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และ Techo Startup Center หน่วยงานภายใต้รัฐบาลกัมพูชาซึ่งส่งเสริมการเติบโตของสตาร์ทอัพ เพื่อสร้างโอกาสทั้งในเวทีระดับประเทศและระดับอาเซียน โดยในปีนี้กรุงศรีได้ร่วมจัดงาน Japan-ASEAN Start-up Business Matching Fair 2023 ร่วมกับกระทรวงเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น (METI) depa และ Techo ซึ่งเป็นงานจับคู่ธุรกิจสำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีสตาร์ทอัพเข้าร่วมงานมากกว่า 60 บริษัท จาก 9 ประเทศ และจากหลากหลายอุตสาหกรรม โดยมีนักลงทุนเข้าร่วมถึง 160 บริษัท จาก 6 ประเทศ นับเป็นการผนึกกำลังภายใต้เครือข่าย MUFG ในการสร้างโอกาสครั้งสำคัญให้กับสตาร์ทอัพ

“เราเชื่อมั่นว่าด้วยความเชี่ยวชาญของกรุงศรี และเครือข่ายที่แข็งเกร่งของ MUFG จะช่วยขยายโอกาสและขับเคลื่อนการเติบโตของทั้งธุรกิจญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ รวมทั้งช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจไทยให้เติบโตไปพร้อมๆ กัน”  นายโอคุโบะ กล่าวทิ้งท้าย

นายฮิโระโนริ คาเมะซาวา กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG)

X

Right Click

No right click