January 22, 2025

หากกล่าวว่า “ไฟฟ้า” คือโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนชีวิต เมือง อุตสาหกรรม และการสัญจรบนท้องถนน “สายไฟฟ้า” ก็เปรียบเสมือน “กระดูกสันหลัง” ที่ค้ำยันให้โครงสร้างพื้นฐานทั้งบนดิน ใต้ดิน ในน้ำ ในบ้าน ในอาคาร ในโรงงานขนาดใหญ่ ขับเคลื่อนไปได้อย่างมั่นคงในทุกสภาพแวดล้อม สายไฟเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องมีทั้งเทคโนโลยี นวัตกรรม และมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล

บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด ถือเป็นหนึ่งในบริษัทคนไทยที่มีบทบาทขับเคลื่อน “กระดูกสันหลัง” ของโครงสร้างพื้นฐานมายาวนาน ตั้งแต่เจเนอเรชันที่ 1 ภายใต้บังเหียนของ “สมพงศ์ นครศรี” จนมาถึงเจเนอเรชันที่ 3 ที่มี “พงศภัค นครศรี” เข้ามาช่วยบริหาร ล่าสุด บางกอกเคเบิ้ล จัดงานฉลองใหญ่ครบรอบ 60 ปี ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ มีผู้บริหารระดับสูงในแวดวงพลังงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าร่วมงานกว่า 1,200 คน ภายในงานมีนิทรรศการโชว์บทบาทของสายไฟในการพัฒนาเมือง พร้อมทั้งมีการประกาศเป้าหมายใหม่ในการร่วมเปลี่ยนผ่านพลังงานของไทยสู่โลกแห่งอนาคต

 

นายพงศภัค นครศรี กรรมการบริหาร บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด หรือ Bangkok Cable (BCC) ผู้นำด้านการผลิตและพัฒนาสายไฟฟ้าและสายเคเบิลชั้นนำของประเทศไทย กล่าวว่า บางกอกเคเบิ้ล ถือเป็นบริษัทคนไทยรายแรกที่บุกเบิกและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่ยุคเปลี่ยนผ่านจากการใช้ไฟฟ้าแบบ 110 โวลต์ เป็น 220 โวลต์ และเดินหน้าพัฒนาสายไฟฟ้าของบริษัทเรื่อยมาตลอด 6 ทศวรรษ เพื่อมีส่วนร่วมใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.การพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาสายไฟฟ้าให้เป็นเสมือนเส้นเลือดที่ส่งพลังงานไปยังพื้นที่ต่างๆ เชื่อมโยงประเทศ ภูมิภาค ชุมชน และสังคมเมือง รวมถึงเชื่อมโยงมนุษย์กับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น เส้นทางคมนาคม สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนให้สอดคล้องกับทิศทางพัฒนาการของโลก

2.การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย เดินหน้าส่งมอบสายไฟฟ้าคุณภาพและมาตรฐานสูงสุด สำหรับใช้ทั้งในครัวเรือนและในระดับประเทศ เพื่อป้องกันและลดความสูญเสียที่เกิดจากอัคคีภัยและอุบัติเหตุทางไฟฟ้า พัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบทางไฟฟ้า (Lab) ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทยเป็นของตัวเอง เดินหน้าพัฒนาโรงงานผลิตสายไฟสู่ Smart Factory และ 3.การเสริมสร้างภูมิทัศน์ของเมืองมหานคร ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง (MEA) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) พัฒนา “ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะสำหรับเมืองมหานคร” ร่วมเปลี่ยนกรุงเทพฯ และเมืองหลักต่างๆ ในประเทศไทยให้เป็น “มหานครไร้สาย” ด้วยการนำสายไฟลงดิน พัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองให้ทันสมัยและยั่งยืน

“เราพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบโจทย์ทั้ง 3 ด้าน เรายังมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจและสังคมสีเขียว ด้วยสายไฟฟ้าที่รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานทดแทน ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ไปจนถึงสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Charger เราจะไม่หยุดเพียงแค่การส่งผ่านพลังงาน แต่จะมุ่งมั่นสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านประเทศสู่พลังงานสะอาด เริ่มจากการตั้งเป้าให้องค์กรของเราเป็นองค์กร Net Zero ภายในปี ค.ศ.2045 โดยจะมี Big Move ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเร็วๆ นี้” นายพงศภัค ระบุ

 

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน กล่าวว่า สายไฟฟ้า นับเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในการปรับเปลี่ยนทิศทางพลังงานของประเทศให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ประเทศไทยจำเป็นต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม รวมถึงการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาป มาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีสายไฟฟ้าคุณภาพสูง ประสิทธิภาพยอดเยี่ยม เพื่ออัปเกรดสายไฟฟ้าในพื้นที่ต่างๆ ให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนผ่านที่จะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP ฉบับใหม่ ยังคงต้องสอดคล้องกับการนำพาประเทศไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ให้ได้ภายในปี ค.ศ.2050 และ Net Zero ภายในปี ค.ศ.2065 เรายังมีหลายเรื่องที่ต้องเดินหน้า ทั้งการพัฒนา Smart Grid ควบคู่กับการแก้ปัญหาอื่นๆ ด้านพลังงาน เรามองว่า บางกอกเคเบิ้ล ในฐานะบริษัทสายไฟของคนไทย ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน จะเป็นหนึ่งในองค์กรสำคัญที่มีส่วนช่วยเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน” นายพีระพันธุ์ กล่าว

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ต่างให้ความสำคัญกับการลดอุบัติเหตุภายในโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นศูนย์ (Zero Accident) สายไฟฟ้าที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ผ่านการออกแบบอย่างเหมาะสมให้รองรับต่อทุกสภาพแวดล้อม ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้โรงงานต่างๆ สามารถลดอุบัติเหตุทางไฟฟ้า และลดความเสียหายต่อเครื่องจักร ตลอดจนทรัพย์สินมูลค่ามหาศาลในโรงงาน สายไฟฟ้า จะยิ่งมีบทบาทมากขึ้น ในการช่วยนำพาองค์กรธุรกิจและองค์กรในภาคอุตสาหกรรม เปลี่ยนผ่านสู่เส้นทางความยั่งยืน

“วันนี้ ภาคธุรกิจจำนวนมาก ต่างทยอยประกาศทิศทางการขับเคลื่อนองค์กรสู่ Net Zero ภายในปี ค.ศ.2050 ซึ่งเร็วกว่าทิศทางของประเทศ นั่นหมายความว่า องค์กรเอง ก็ต้องทยอยเปลี่ยนผ่านมาใช้พลังงานสะอาด และลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เราเชื่อมั่นว่า บางกอกเคเบิ้ล จะเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรม สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เส้นทาง Net Zero ได้อย่างแข็งแกร่ง” นายเกรียงไกร กล่าว

สำหรับ บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด หรือ Bangkok Cable (BCC) เป็นผู้นำด้านการผลิตและพัฒนาสายไฟฟ้าและสายเคเบิลชั้นนำของประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ.2507 ให้บริการครอบคลุม 7 กลุ่มการใช้งาน ได้แก่

1.ระบบผลิตและส่งพลังงานไฟฟ้า (Transmission)

2.ระบบจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า (Distribution)

3.ระบบไฟฟ้าภายในบ้านพักและอาคาร (Construction and Building)

4.ระบบขนส่งและคมนาคม (Transportation and Mobility)

5.ระบบไฟฟ้าในโรงงาน และภาคอุตสาหกรรม (Industrial)

6.พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)

และ 7.ระบบไฟฟ้าในรถยนต์ (Automotive) เพื่อสร้างความปลอดภัยและขับเคลื่อนเมืองสู่อนาคต

ปัจจุบัน มีลูกค้าโครงการขนาดใหญ่ของทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมากที่ใช้สายไฟฟ้าของบางกอกเคเบิ้ล อาทิ โครงการวัน แบงค็อก (One Bangkok) สนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 โครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู โครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออก โครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ เขื่อนอุบลรัตน์

 

ดีลอยท์ ประเทศไทย

การที่ยักษ์ใหญ่ในวงการยานยนต์มุ่งนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) และเครื่องยนต์สันดาปภายในเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (HICEV) อาจดูเป็นศึกครั้งสำคัญในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่การแข่งขันนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ในสนามที่ยิ่งใหญ่กว่า นั่นคือการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบดั้งเดิมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก เรากำลังพูดถึงปัญหาที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบดั้งเดิม และรถยนต์ไฟฟ้า BEV และ HICEV อาจเป็นทางออกที่สำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตการคมนาคมที่ยั่งยืน

ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกได้ให้พันธสัญญาที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 90% ภายในปี 2593 เมื่อเทียบกับปริมาณก๊าซที่ปล่อยในปี 2563 โดยมีเป้าหมายไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero emissions) แต่การที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ได้นั้น การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ที่ช่วยลดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อาจไม่เพียงพอ แต่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)

จากรายงานของดีลอยท์เรื่อง "Pathway to net-zero: Mastering the twofold goal of Decarbonization and Profitability" เน้นย้ำถึงประเด็นข้างต้นเช่นกัน โดยกล่าวถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตยานยนต์ที่มีเทคโนโลยีที่สะอาดยิ่งขึ้น จำเป็นต้องอาศัยการลงทุนอย่างมากในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) และการสร้างศักยภาพการผลิตที่แข็งแกร่งสำหรับแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว

สำหรับทิศทางของการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) การสร้างความมั่นคงด้านห่วงโซ่อุปทานของแบตเตอรี่กลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุด สถาบันเฟราน์โฮเฟอร์ ด้านระบบและวิจัยนวัตกรรม (Fraunhofer Institute for Systems and Innovation Research ISI) รายงานว่า ประเทศจีนเกือบจะผูกขาดกำลังการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม ไอออน ฟอสเฟต (LFP) โดยครองส่วนแบ่งตลาดถึง 99% ทั่วโลกในปี 2565 แม้จะมีการคาดการณ์ว่าสัดส่วนที่จีนครองตลาดจะ

ลดลงเหลือ 69% ในปี 2573 แต่จีนก็ยังคงเป็นผู้นำในตลาดเช่นเดิม ประเด็นการผูกขาดตลาดนี้ทำให้เกิดความท้าทายอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแบตเตอรี่ คิดเป็นประมาณ 40% ของต้นทุนรวมรถยนต์ไฟฟ้า BEV

ทั้งนี้จากการศึกษาของดีลอยท์ พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดจนอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมดังกล่าวต้องปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินงานอย่างยั่งยืนในทุกขั้นตอนของวงจรชีวิตแบตเตอรี่ ตั้งแต่การสกัด การแปรรูป การผลิต การรีไซเคิล จนถึงการกำจัดแบตเตอรี่

ในทางตรงกันข้าม การส่งเสริมรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (HICEV) และรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ก็จำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถานีเติมไฮโดรเจน แต่ประเด็นนี้กลับเต็มไปด้วยความท้าทาย เนื่องจากการสร้างสถานีไฮโดรเจนแต่ละแห่งล้วนมีต้นทุนที่สูงกว่าสถานีบริการน้ำมันแบบดั้งเดิมอย่างมาก

นอกจากนี้ กรีนไฮโดรเจน (Green Hydrogen) จะต้องอาศัยไฟฟ้าในกระบวนการผลิตที่เรียกว่า กระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) ผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง(FCV) ยังมีความท้าทายในการเข้าถึงเครือข่ายการจำหน่ายและสถานีบริการสำหรับเติมก๊าซไฮโดรเจนที่ไม่สามารถให้บริการได้อย่างแพร่หลาย

นอกเหนือจากเทคโนโลยีเฉพาะทางแล้ว อีกปัจจัยหลักที่สำคัญคือ การบูรณาการแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนในทุกด้านของอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งการลดการใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิต ส่งเสริมการรีไซเคิลวัสดุอย่างมีความรับผิดชอบ และการใช้วิธีการแยกชิ้นส่วนรถยนต์เมื่อหมดอายุการใช้งานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การเปิดรับเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ล้วนมีความท้าทาย เช่น ข้อกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการทำกำไรระยะสั้นจากการลงทุนล่วงหน้าในเทคโนโลยีที่สะอาดและโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี ผลประโยชน์ในระยะยาวมีความสำคัญมกว่าอุปสรรคในช่วงเริ่มต้น เมื่อองค์กรในอุตสาหกรรมกำหนดความสำคัญในเรื่องความยั่งยืน ก็จะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้มีสภาพแวดล้อมที่สะอาดขึ้น คุณภาพอากาศที่ดีขึ้น และรวมไปถึงการประหยัดต้นทุนผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน

อย่างไรก็ตาม เส้นทางสู่ความยั่งยืนล้วนมีแนวทางอื่นนอกเหนือจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การลงทุนเพื่อยกระดับฝีมือแรงงานก็มีความสำคัญเช่นกัน การยกระดับและเสริมทักษะให้กับพนักงานเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าพนักงานมีทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง การส่งเสริมความหลากหลายและการมีส่วนร่วมในกลุ่มพนักงานจะนำมาซึ่งมุมมองและประสบการณ์ที่กว้างขึ้น และเปิดทางไปสู่นวัตกรรมที่ยั่งยืนมากขึ้นในที่สุด

สำหรับประเทศไทย มีการออกมาตรการอุดหนุนผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ที่ให้การสนับสนุนด้านราคาเพื่อเร่งให้นำรถไฟฟ้ามาใช้งาน และดึงดูดการลงุทนจากต่างชาติ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยเป็น

ศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ในระดับภูมิภาค ในขณะเดียวกันประเทศไทยยังทำการศึกษาการใช้ไฮโดรเจนเพื่อเป็นพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมการคมนาคม

ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) ไฮโดรเจนถือเป็นส่วนหนึ่งของ“เชื้อเพลิงทางเลือก” โดยมีเป้าหมายในการใช้ไฮโดรเจนเป็นพลังงานเทียบเท่ากับน้ำมัน (KTOE) 10 กิโลตัน ภายในปี 2579 เป้าหมายดังกล่าวได้รับการส่งเสริมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นจากการโครงการนำร่อง ด้วยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในการสร้างสถานีเชื้อเพลิงไฮโดรเจนแห่งแรกของประเทศไทยด้วย โครงการต่างๆ นี้ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีแนวทางที่หลากหลายเพื่อบรรลุเป้าหมายสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการคมนาคมในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงนี้จำเป็นต้องมีแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและห่วงโซ่อุปทานทั้งระบบ การสร้างความเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนผ่านจะราบรื่นสำหรับทุกภาคส่วน เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินการตามเป้าหมายสู่อนาคตที่ยั่งยืนประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

ท้ายที่สุด อุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งหมดต้องปรับเปลี่ยนกุลยุทธ์นอกเหนือจากการพัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะ และดำเนินธุรกิจด้วยแนวทางแบบองค์รวม โดยบูรณาการส่งเสริมจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมในกิจการทั้งห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเดินหน้าสู่อนาคตที่ยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้แม้จะเผชิญกับความท้าทาย แต่จะสร้างคุณค่ามหาศาลในอนาคต ทั้งสภาพแวดล้อมที่สะอาดขึ้น คุณภาพอากาศที่ดีขึ้น และการประหยัดต้นทุนในระยะยาว ด้วยเลือกแนวทางปฏิบัติที่ส่งเสริมความยั่งยืนในทุกๆ ด้าน อุตสาหกรรมสามารถมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนสำหรับพวกเราทุกคน

 

บทความ :  มงคล  สมผล  Aotomotive Sector Leader

                ดร  โชดก ปัญญาวรานันท์ ผู้จัดการ  clients& Market

พญ.พิมพ์สิริ เทียมศักดิ์ (ขวา) กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การเงิน บริษัท ไทยประเสริฐโฆษณา จำกัด หรือ ไทยประเสริฐ กรุ๊ป หนึ่งในผู้นำธุรกิจป้ายโฆษณาแบบครบวงจร รวมทั้ง ดำเนินธุรกิจรับเหมาตกแต่งภายใน และรับเหมาก่อสร้าง ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 55 ปี ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับ นายรองเพชร บุญช่วยดี (ซ้าย) รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ในโอกาสเข้าร่วมโครงการทดสอบแพลตฟอร์มคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร เพื่อมุ่งสู่ Net Zoro ณ ห้องราชพฤกษ์บอลรูม สโมสรราชพฤกษ์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยบริษัทฯ เล็งเห็นความสำคัญของสภาวะโลกร้อนและมีการจัดทำ Carbon footprint ที่ได้รับการรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก TGO ตั้งแต่ปี 2564 ครั้งนี้บริษัทฯ ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 45 องค์กรนำร่องที่ใช้ Carbon footprint platform นำมาประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรม เพื่อตั้งเป้าหมาย Net zero

 

นางสาวกชสร โตเจริญธนาผล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2024 ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 12 – 15 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา จากแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทย และข้อมูลประเมิณตัวเลขการส่งออกที่เป็นบวกต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2566 เฉพาะในเดือนตุลาคมมีการขยายตัวถึง 8% สูงสุดในรอบ 13 เดือน จะเป็นแรงส่งให้การส่งออกปี 2567 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 2% โดยกลุ่มอาหารยังคงเป็นกลุ่มสำคัญ ซึ่งในปี 2566 ไทยก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับ 12 ของโลก และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ประมาณการดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) GDP ภาคอุตสาหกรรมปี 2567 จะมีขยายตัวอยู่ที่ 2.0-3.0%

โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดี อาทิ กลุ่มผลไม้แช่เย็น-แช่แข็ง กลุ่มอาหารทะเล ทูน่ากระป๋อง กุ้งสดแช่แข็ง และสินค้าที่มีแนวโน้มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เช่น อาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ อาหารเฉพาะทาง อาหาร ฮาลาล และ อาหารแปรรูปคุณภาพสูง ทำให้อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ก็เติบโตขึ้นเช่นกัน โดยปี 2566 มีมูลค่ารวม 1.10 ล้านล้านดอลลาร์ และจะเพิ่มเป็น 1.33 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี 2571 จากการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม การออกแบบและการเลือกใช้วัตถุดิบที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายง่าย การเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว สัญญาณดังกล่าวส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทยทั้งระบบ โดยงาน ProPak Asia ยังคงเป็นงานสำคัญที่ช่วยสร้างและเติมเต็มระบบนิเวศทางธุรกิจและอุตสาหกรรมระดับภูมิภาคให้เกิดการเติบโต ซึ่งงาน ProPak Asia 2023 นับว่าเป็นปีที่พลิกฟื้นจากสถานการณ์โควิดได้อย่างรวดเร็ว มีผู้ร่วมจัดแสดงงานถึง 1,800 รายจาก 45 ประเทศ และมีผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 58,555 คน จาก 75 ประเทศทั่วโลก

ส่วนงาน ProPak Asia 2024 ยังคงความเป็นงานแสดงเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิต การแปรรูปและบรรจุภัณฑ์ชั้นนำระดับเอเชีย เป็นงานที่จะตอบโจทย์ครบทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และห่วยโซ่อุปทาน (Supply Chain)ของเทคโนโลยีกระบวนการแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ การจัดเก็บ และ การขนส่ง เรียกได้ว่าครบตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ สำหรับผู้ประกอบการทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็น Start Up, SME, ธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเข้ามาชมนวัตกรรม เทคโนโลยี อัพเดทเทรนด์ และ ความรู้ใหม่ เพื่อนำไปต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า

สำหรับแนวคิดของการจัดงาน ProPak Asia 2024 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ยกระดับความสำเร็จในกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิด นวัตกรรม และ การลงทุน” (Sustainably Empowering Processing & Packaging Success with Ideation, Innovation and Investment) เพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงบัลดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการจะได้พบนวัตกรรมต่างๆ เทคโนโลยีการผลิต การแปรรูปเพื่อไปถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) การเลือกใช้วัสดุ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ และอื่นๆ ไปต่อยอดลงทุนให้ธุรกิจประสบ

ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน ส่วนกลุ่มผู้เข้าร่วมงานหลักของ ProPak Asia มาจากกลุ่มผู้ประกอบการอาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง สินค้าอุปโภค บริโภค ที่สนใจเข้ามาชมงานเป็นทางลัดแก่ผู้สนใจไม่ต้องเดินทางไปดูงานถึงยุโรป หรือ อเมริกา แต่สามารถอัพเดทเทรนด์เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากตัวจริงในอุตสาหกรรม พบปะคู่ค้า สร้างโอกาสและร่วมสร้างเครือข่ายธุรกิจระดับนานาชาติได้ นอกจาก ProPak Asia จะเป็นงานที่จัดขึ้นต่อเนื่องทุกปีแล้ว ProPak Asia 2024 ครั้งนี้เป็นการจัดงานครั้งที่ 31 เป็นจุดหมายปลายทางของผู้ประกอบการที่ต้องเข้าร่วมงานในทุกครั้งของการจัดงานและเป็นงานใหญ่สำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตโลก ด้วยการเป็นเวทีเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งระบบ

งาน ProPak Asia 2024 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

สำหรับงานในครั้งนี้ แบ่งพื้นที่จัดแสดงงานเป็น 8 โซน ประกอบด้วย

1) ProcessingTechAsia เทคโนโลยีเพื่อการแปรรูปอาหารปรุงสุก

2) PackagingTechAsia เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ และ กระบวนการบรรจุภัณฑ์

3) DrinkTechAsia เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม

4) PharmaTechAsia เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมยา

5) Lab&TestAsia เทคโนโลยีการตรวจสอบ และ ควบคุมมาตรฐานการผลิต ผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์

6) PackagingSolutionAsia เทคโนโลยีการผลิตบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูป

7) Coding,Marking&LabellingAsia เทคโนโลยีเพื่อการเขียนรหัส, ติดป้าย, และปักหมายเลขบนสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ

8) Coldchain,Logistics,Warehousing&FactoryAsia เทคโนโลยีเพื่อการขนส่ง จัดเก็บสินค้า และ เทคโนโลยีที่สนับสนุนกระบวนการผลิต

โดยใช้พื้นที่จัดงานฯ เต็มพื้นที่ของศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ภายในงานมีการจัดแสดงพาวิลเลียนนานาชาติถึง 14 กลุ่มประเทศ อาทิ ออสเตรีย บาวาเรีย ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ อเมริกาเหนือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ไต้หวัน โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของแต่ละประเทศในการเข้าร่วมงานฯ เพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาจัดแสดง นอกจากนั้นยังมีบริษัทชั้นนำของโลกยืนยันเข้าร่วมจัดแสดงงานแล้วกว่า 2,000 แบรนด์ จาก 45 ประเทศ ทำให้คาดว่าในปีนี้จะมีผู้เข้าร่วมชมงานไม่ต่ำกว่า 60,000 คน จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจในอุตสาหกรรมการผลิต แปรรูป และบรรจุภัณฑ์ ไม่พลาดที่จะเข้าร่วมงาน ProPak Asia 2024 ในครั้งนี้

ผู้สนใจรายละเอียดการจัดงานและต้องการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเข้าชมงาน ProPak Asia 2024 สามารถลงทะเบียนได้ที่ www.propakasia.com

X

Right Click

No right click