December 23, 2024

มิดัส พีอาร์ เอเจนซี่ด้านประชาสัมพันธ์ชั้นนำของไทยและสมาชิกหนึ่งเดียวจากไทยขององค์การประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือ the Public Relations Organisation International (PROI) Worldwide ได้เข้าร่วมงานสัมมนาสุดยิ่งใหญ่ระดับโลกอย่าง PROI Worldwide Conference ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ซึ่งงานครั้งนี้มีนักประชาสัมพันธ์ตัวท็อปของวงการกว่า 98 ท่านจาก 38 ประเทศตบเท้าเข้าร่วมเพื่อหารือทิศทางและเทรนด์ของวงการประชาสัมพันธ์และแนวทางด้านการประกอบธุรกิจอย่างเป็นเลิศที่น่าสนใจอย่างมาก โดย มิดัส พีอาร์ ได้เข้าร่วมแชร์ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดในประเทศไทย

มิดัส พีอาร์ มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในการพูดคุยระหว่างช่วงอภิปรายต่าง ๆ ณ งานประชุมซึ่งได้มีการกล่าวถึงกลยุทธ์ด้านประชาสัมพันธ์ที่ล้ำสมัยและข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจและเป็นปัจจัยที่ผลักดันการเติบโตด้านธุรกิจผ่านการทำประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งความมุ่งมั่นของเอเจนซี่ การมีส่วนร่วมของเอเจนซี่นั้นจะยิ่งตอกย้ำความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์และใช้ประโยชน์จากมุมมองระดับโลกเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับลูกค้าในตลาดนั้น ๆ

ดร. คาริน โลหิตนาวี  CEO ของ มิดัส พีอาร์ และ ประธานของ the Public Relations and Communications Association (PRCA) Thailand ซึ่งทาง มิดัส พีอาร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง “งานประชุม PROI Worldwide Conference เป็นเวทีที่ยิ่งใหญ่สำหรับเราในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำด้านการประชาสัมพันธ์ระดับโลกและแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวโน้มใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นรวมไปถึงแนวทางด้านงานประชาสัมพันธ์ที่ยอดเยี่ยม ทั้งนี้ประสบการณ์นี้ตอกย้ำความสามารถของเราในการนำเสนอโซลูชันการประชาสัมพันธ์ที่เป็นนวัตกรรมและมีประสิทธิภาพซึ่งขับเคลื่อนผลลัพธ์ที่วัดผลได้สำหรับลูกค้าของเรา”

เทรนด์ที่สำคัญจากการประชุม PROI Worldwide ที่ผู้นำธุรกิจไทยควรพิจารณามีดังนี้:

  1. ข้อมูลที่อาจจะคลาดเคลื่อนได้จากการใช้ AI เพื่อสร้างเนื้อหา: เทคโนโลยี AI ถูกใช้เพื่อสร้างเนื้อหามากขึ้นซึ่งอาจจะทำให้เกิดการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดได้ และอาจก่อให้เกิดความท้าทายอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจที่ใช้ AI ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ถี่ถ้วน ให้ความรู้ภายในองค์กรเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูลที่ผิดพลาด และให้การสนับสนุนการดำเนินงานอย่างมีจรรยาบรรณ
  2. จุดยืนขององค์กรในประเด็นทางสังคม: บริษัทต่างๆ กำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการแสดงจุดยืนเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาทิ ความหลากหลายหรือ ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการสนับสนุนจุดยืนของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ ธุรกิจควรพัฒนาแผนการสื่อสารที่ชัดเจน สม่ำเสมอ และให้ความสำคัญด้านการตรวจสอบข้อมูลกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
  3. ความสัมพันธ์กับพนักงาน: การเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจขนาดใหญ่และการทำงานได้ทุกที่กำลังเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ด้านแรงงาน ธุรกิจต้องมั่นใจว่ามีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างผู้มีส่วนร่วม การคาดการณ์ และปรับให้สอดคล้องกับกิจกรรมของพนักงานและนโยบายของบริษัท
  4. การกระจายข่าวของสื่อ: ความนิยมของสื่อแบบดั้งเดิมที่มีน้อยลง และการเป็นที่ต้องการมากขึ้นของสื่อออนไลน์กำลังทำให้ภูมิทัศน์ของสื่อเปลี่ยนแปลงไป กลยุทธ์ด้านการประชาสัมพันธ์ควรปรับให้สอดคล้องและตอบโจทย์มากขึ้น ไม่ว่าจะในด้านของ ความต้องการของผู้ชม การใช้สื่อที่หลากหลาย และความสอดคล้องของคอนเทนต์ในแต่แพลตฟอร์ม
  5. เทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามาส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น: เทคโนโลยี รวมถึง AI และการวิเคราะห์โซเชียลมีเดีย กำลังเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ ธุรกิจต่างๆ ควรใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ AI ในการวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์การสื่อสาร การจัดการความเสี่ยง เช่น การที่ข้อมูลถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต และวัดผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

ดร. คาริน เสริมปิดท้ายว่า “จากการอภิปรายในการประชุมของ PROI เราสามารถเห็นได้ชัดว่าอนาคตของการประชาสัมพันธ์นั้นผนวกรวมปัจจัยด้านต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะด้านเทคโนโลยี ความรับผิดชอบต่อสังคม และความสัมพันธ์ของมนุษย์ ด้วยการเปิดรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และยังคงตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทำให้เราสามารถชี้นำอุตสาหกรรมด้วยกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์และมีนัยสำคัญ อีกทั้งส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย เมื่อแนวเทรนด์เหล่านี้ถูกพัฒนาไป ผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพร้อมรับสถานการณ์และความมุ่งมั่นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าเราทันต่อสถานการณ์และมีประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องในการกำหนดกลยุทธ์ด้านการสื่อสาร”

Midas PR ยังคงรักษาชื่อเสียงในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์ของไทย โดยผสมผสานความเชี่ยวชาญระดับโลกเข้ากับความรู้ด้านตลาดท้องถิ่นเพื่อมอบบริการและผลลัพธ์ที่เหนือชั้น

กรุงเทพ, ตุลาคม 2564 , สมาคมประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร หรือ PRCA เอเชียแปซิฟิก (Public Relations & Communications Association Asia Pacific) ได้ประกาศมาสเตอร์แพลนการดำเนินงานในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนอาชีพนักประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมอุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์ในภาพรวมทั้งหมด

 PRCA เป็นองค์กรด้านงานประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นตัวแทนของนักประชาสัมพันธ์กว่า 35,000 คนจาก 70 ประเทศทั่วโลก และเมื่อต้นปี 2021 PRCA ได้ประกาศเปิดสาขาในกรุงเทพมหานคร และนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม เพิ่มเติมจากสาขาที่มีอยู่เดิมในกรุงลอนดอน สิงคโปร์ ดูไบ ฮ่องกง และกรุงบัวโนสไอเรส

 PRCA ประเทศไทยจะเปิดรับสมาชิกจากองค์กรและบริษัทต่างๆ, เอเจนซี่, องค์กรไม่แสวงหากำไร, ตัวแทนภาครัฐ, สื่อมวลชน, นักสร้างสรรค์ Content ตลอดจนบุคคลผู้สนใจ และนักวิชาการ

 แผนแม่บทของ PRCA ในประเทศไทยได้ถูกออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของ PRCA ในการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์ที่มีความเป็นมืออาชีพ, มีจริยธรรม และมีความสำเร็จมากยิ่งขึ้น โดยวัตถุประสงค์ของ PRCA มีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 3 ข้อเพื่อให้แน่ใจได้ว่าอุตสาหกรรม PR ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น ระหว่างการบริการด้านการตลาดผ่านบริษัทและองค์กร ตามคำกล่าวของ คาริณ โลหิตนาวี ประธาน PRCA ประเทศไทย ที่เป็นผู้นำการดำเนินงานในปีแรกนี้

 “ที่ผ่านมา PR ได้รับความสำคัญมาโดยตลอด และยิ่งในปัจจุบัน PR ได้มีหน้าที่สำคัญในระดับบริหาร มากกว่าที่ผ่านมา” คาริณ โลหิตนาวี ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ Midas PR Group กล่าว “ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการจัดการชื่อเสียง, การสื่อสารในภาวะวิกฤต, การสื่อสารของพนักงาน, และการสร้างสรรค์ Content ล้วนแล้วแต่เป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับธุรกิจและองค์กรในวันนี้ PRCA ประเทศไทยจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนขาขึ้นของอุตสาหกรรมและพัฒนาโอกาสในการทำงานของนักประชาสัมพันธ์ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

 วัตถุประสงค์แรกของ PRCA ในประเทศไทยคือการยกระดับวิธีการวัดผลงาน PR เราจะพบว่าบ่อยครั้งที่ PR Campaign ถูกวัดผลจากมาตรวัดที่ล้าสมัย ซึ่ง PRCA จะเข้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปข้างหน้าเพื่อให้การวัดผล PR มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับที่กว้างขวางมากขึ้น แม้ว่าการวัดผลของ PR ไม่ได้มีแค่แนวทางเดียว แต่เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าการใช้ Advertising Value Equivalency (AVE หรือที่นักประชาสัมพันธ์เรียกว่า PR Value) ในการวัดผลก็ไม่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมอีกต่อไป

 วัตถุประสงค์ที่สอง เพื่อมอบโอกาสในการพัฒนานักประชาสัมพันธ์ผ่านการสัมมนา และฝึกอบรม รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มในการแบ่งปันข้อมูล และการค้นคว้าวิจัยเพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์

 วัตถุประสงค์ที่สาม เพื่อเตรียมความพร้อมของคนทำงานประชาสัมพันธ์ยุคต่อไป เพื่อความสำเร็จและการเติบโตในเส้นทางอาชีพ

 “PR เป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตในประเทศไทย และยังเป็นงานที่มอบโอกาสให้คนทำงานรุ่นใหม่ได้รับรางวัลเพื่อเติมเต็มผลสำเร็จในหน้าที่การงาน” ทารา มิวนิส, หัวหน้า PRCA เอเชียแปซิฟิก กล่าว “ในท้ายที่สุด บุคคลากรด้าน PR จะไม่ใช่แค่นักสื่อสาร แต่ PR ยังผู้ให้คำปรึกษาทางธุรกิจอีกด้วย และในวันที่การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรสำคัญอย่างเช่นวันนี้ นักเรียนที่ดีที่สุด และเก่งที่สุดควรจะพิจารณาอาชีพในสายงานประชาสัมพันธ์ “

 ในประเทศไทย สมาชิกรุ่นก่อตั้งของ PRCA ประกอบไปด้วยเอเจนซี่ประชาสัมพันธ์ชั้นนำ เช่น ABM Connect, Hill+Knowlton Strategies, Midas PR, Moonshot Digital, MSL และ Vero

 ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ผู้นำของ PRCA ประเทศไทยจะประกาศแผนงานและกำหนดการกิจกรรมที่จะกำลังจะเริ่ม เช่น โครงการมอบรางวัล, เวทีอภิปราย, งานอีเวนต์สำหรับผู้นำในอนาคต, การค้นคว้าวิจัย และอีเวนต์ทางด้านอาชีพ

 นอกจาก คาริณ โลหิตนาวี แล้ว คณะกรรมการรุ่นก่อตั้งของ PRCA ประเทศไทย ยังรวมไปถึง บริษัท Moonshot Digital โดย จักรพงษ์ คงมาลัย ในฐานะ รองประธาน, บริษัท Vero โดย ภัทร์นีธิ์ จีริผาบ ในตำแหน่งเลขาธิการ, บริษัท MSL โดย วรศิษย์ ตุรงค์สมบูรณ์ ในตำแหน่งเหรัญญิก, บริษัท Hill+Knowlton Strategies โดย วชิรภรณ์ พรพิทยาเลิศ ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และบริษัท Vero โดย Brian Griffin ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการสื่อสาร และนอกจากนี้ยังมีหัวหน้าทีมประสานงานวิชาการได้แก่ วรศิษย์ ตุรงค์สมบูรณ์ จาก MSL พร้อมด้วยคุณเสรี ศิรินพวงศากร และ สุวิมล เดชอาคม จาก ABM Connect

 ***

X

Right Click

No right click