ราคาอาหารที่สูงขึ้นและความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมสร้างความตึงเครียดต่อระบบอาหารทั่วโลก อุตสาหกรรมอาหารทะเล ในฐานะผู้ผลิตแหล่งโปรตีนทางเลือกคุณภาพสูง เป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญไม่แพ้กัน นอร์เวย์ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่อันดับสองของโลก สามารถเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศไทย ภูมิภาคเอเชีย และพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปได้อย่างยั่งยืน

สำหรับงานแสดงสินค้าอาหาร THAIFEX – Anuga Asia 2023 ในปีนี้ ทางสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ได้เชิญผู้ส่งออกอาหารทะเลจากนอร์เวย์กว่า 20 ราย มาจัดแสดงอาหารทะเลคุณภาพพรีเมียมหลากหลายประเภท รวมถึงการนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ล้ำสมัย แสดงให้เห็นถึงทิศทางการเติบโตที่ดีและโอกาสด้านการค้าที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการรายย่อยตลอดจนผู้ประกอบการรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในงานได้รับเกียรติจาก นางแอสทริ เอมิเลีย เฮลเลอ เอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์ ประจำประเทศไทย และนาย คริสเตียน เครเมอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) มาร่วมเป็นแขกพิเศษ มีการจัดสัมมนาพิเศษเกี่ยวกับอาหารทะเล และการสาธิตวิธีการทำอาหารโดย เชฟ จิมมี่ ช๊ก เชฟกิตติมศักดิ์ของ Seafood from Norway ที่มีชื่อเสียงด้านการสร้างสรรค์สูตรอาหารที่ผสมผสานรสชาติแบบเอเชียเข้ากับการปรุงอาหารแบบตะวันตก

ดร. อัสบีเยิร์น วาร์วิค เรอร์ทเว็ท ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “อาหารทะเลจากนอร์เวย์ เช่น แซลมอน ฟยอร์ดเทราต์ และนอร์วีเจียนซาบะ คือผลิตภัณฑ์ที่มาจากการทำฟาร์มและการประมงแบบยั่งยืน จนกลายมาเป็นวัตถุดิบที่คนไทยส่วนใหญ่ชื่นชอบตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ได้เดินหน้าสร้างความตระหนักในด้านนวัตกรรมการประมงและความยั่งยืนในประเทศไทย ตราสัญลักษณ์ Seafood from Norway ที่บ่งบอกถึงแหล่งที่มาของอาหารทะเลจากนอร์เวย์ ยังให้ประโยชน์แก่อุตสาหกรรมอาหารทะเล รวมไปถึงผู้บริโภคและธุรกิจในท้องถิ่นในการมองหาแหล่งโปรตีนทางเลือกคุณภาพสูงอีกด้วย ในปี 2565 นอร์เวย์ส่งออกอาหารทะเลปริมาณ 42,636 ตัน รวมมูลค่ากว่า 9.37 พันล้านบาท มายังประเทศไทย ผู้บริโภคคนไทยให้ความสำคัญต่อคุณภาพสินค้าที่มีมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารจากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ ทำให้อาหารทะเลจากนอร์เวย์กลายมาเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-นอร์เวย์ได้อย่างดี”

ในทุก ๆ ปี อุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ส่งมอบอาหารทะเลเทียบเท่ากับมื้ออาหารจำนวน 40 ล้านมื้อต่อวัน เป็นปริมาณ 2.9 ล้านตัน และมูลค่ารวม 5.1 แสนล้านบาท ให้แก่ 150 ประเทศทั่วโลก การจัดการทรัพยากรทางทะเลอย่างมีความรับผิดชอบมานานกว่าศตวรรษคือหัวใจหลักของอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ นอร์เวย์ปรับเปลี่ยนจากการจับปลาอย่างเสรีมาสู่กฎระเบียบที่เข้มงวดและมีการกำหนดมาตรฐานการจัดการความยั่งยืนทางทะเลจากการเรียนรู้บทเรียนในอดีต

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายเออร์ลิง ริเมอร์สตัด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศของนอร์เวย์ ได้มาเยือนประเทศไทยเพื่อหารือด้านการค้าและความร่วมมือระหว่างประเทศ และกล่าวว่า “เป้าหมายสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศนอร์เวย์คือการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพในราคาที่จับต้องได้สำหรับทุกคน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุดจากกระบวนการนี้ นอร์เวย์เป็นผู้บุกเบิกเรื่องความยั่งยืนมาหลายศตวรรษ ทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อออกกฎหมายคุ้มครองสัตว์น้ำ ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการการประมงไปยังประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการเริ่มต้นทำการประมงอย่างยั่งยืน ด้วยแนวทางที่ให้ความสำคัญกับระบบนิเวศ ทำให้เราสามารถจัดสรรอาหารทะเลคุณภาพที่ผู้คนทั่วโลกเข้าถึงได้ และคงความอุดมสมบูรณ์ให้กับท้องทะเลได้ในเวลาเดียวกัน เราเชื่อว่าการดำเนินงานร่วมกับผู้ผลิตรายอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้อาหารทะเลจากนอร์เวย์ช่วยส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารของโลกผ่านการผลิตโปรตีนที่มีคุณภาพและยั่งยืนได้ โดยที่เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

 

รายงานล่าสุดจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติเผยว่าในปี 2564 ประชากรจำนวน 2.3 พันล้านคน หรือเกือบร้อยละ 30 ของประชากรโลก ต้องเผชิญกับปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร ผู้คนกว่า 702 ถึง 828 ล้านคน ได้รับผลกระทบจากความอดอยาก และคาดว่าในปี 2573 จะมีผู้คนกว่า 670 ล้านคน ที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ผลกระทบจากการระบาดใหญ่ได้สร้างความตึงเครียดต่ออุตสาหกรรมการผลิตอาหารและช่องทางการค้า ส่งผลให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นและเกิดความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงแหล่งอาหาร แผนความมั่นคงอาหารสู่ปี 2030 ของเอเปค เน้นการสร้างความมั่นใจในการเข้าถึงแหล่งอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการในราคาที่จับต้องได้ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านอาหารของผู้คนทั่วโลก

กลุ่มมิตรผล ผู้นำด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารระดับโลก

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ โดย บริษัท ซีพีเอฟ โกลบอล ฟู้ด โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CPFGS

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ตอกย้ำผู้นำธุรกิจอาหารของโลก จัดแสดงนวัตกรรมอาหารมาตรฐานสากล เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในงาน THAIFEX – Anuga Asia 2023 ภายใต้แนวคิด "RE-IMAGINE THE FUTURE FOOD" ตอบโจทย์ความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคอย่างยั่งยืน โดยผลิตภัณฑ์ที่นำมาแสดง อาทิ ไส้กรอกอกไก่พริกไทยดำ “CP FI-IT” (ฟิ-อิต) ที่คว้ารางวัลนวัตกรรมอาหาร หรือ THAIFEX - Anuga Taste Innovation Show 2023 รวมถึงเนื้อจากพืช แบรนด์ MEAT ZERO ไก่เบญจา-หมูชีวา จาก U FARM ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่-เป็ด-หมู-ไข่สด CP SELECTION ที่มีนวัตกรรมโปรไบโอติก พลัส ตลอดจนอาหารพร้อมรับประทาน อาหารพร้อมปรุง สินค้านำเข้าและส่งออกจากหลากหลายประเทศ ในระหว่างวันที่ 23-27 พฤษภาคม 2566 ณ ศูนย์การค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี

สำหรับในปีนี้ บูธซีพีเอฟ แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 6 โซน ได้แก่

1.) ผลิตภัณฑ์อาหารนำเข้า-ส่งออก คัดสรรเป็นพิเศษจากทั่วทุกมุมโลก โดยมีไฮไลท์ คือ ซีพี-อูโอริกิ ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่าง CPFGS และ อูโอริกิ บริษัทจัดจำหน่ายปลาสดชั้นนำอันดับ 1 จากประเทศญี่ปุ่น

2.) ผลิตภัณฑ์กลุ่มของสด แบรนด์ U FARM ได้แก่ “ไก่เบญจา” และ “หมูชีวา" ที่มีโอเมก้า 3 เลี้ยงด้วยอาหารจากธรรมชาติ ปลอดสาร ปลอดภัย ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยงดู พร้อมทั้งเนื้อไก่ เนื้อหมู และไข่สด จาก CP SELECTION” ที่ยกระดับความปลอดภัยอีกขั้น ด้วยนวัตกรรมโปรไบโอติก พลัส ในอาหารสัตว์ เสริมภูมิคุ้มกันให้หมูและไก่แข็งแรงตามธรรมชาติ 100% ปลอดสาร ปลอดภัย

3.) ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช แบรนด์ MEAT ZERO ที่คว้ารางวัลสุดยอดนวัตกรรมอาหาร หรือ THAIFEX - Anuga Taste Innovation Show 2022 และการันตีคุณภาพด้วยรางวัลสุดยอดรสชาติอาหารระดับโลก ปี 2021-2022 จากประเทศเบลเยี่ยม

4.) ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารพร้อมรับประทาน ได้แก่ ข้าวกะเพราไก่ ไส้กรอกแฟรงค์ไก่รมควันหนังกรอบ BKP ที่ได้รับรางวัล “สุดยอดรสชาติอาหารระดับโลก ประจำปี 2023” รวมถึงไส้กรอกซีพี ชิกเก้นแฟรงค์และชิกเก้นแฟรงค์พริก ที่คว้ารางวัลดังกล่าว ต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน

5.) ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ภายใต้แบรนด์ INNOWENESS เปิดตัว "Nutrimax" ซุปไก่ผสมฟักทองและไข่ อาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วน พัฒนาร่วมกับโรงพยาบาลรามาธิบดี ทำจากวัตถุดิบธรรมชาติ เนื้อเนียนรับประทานง่าย มีโปรตีนจากอกไก่และไข่ รวม 13.4 กรัมต่อ 1 ซอง มีวิตามิน แร่ธาตุ 20 ชนิด และ "Fito Puree" ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำผักและผลไม้รวมผสมวิตามิน มีสารอาหารกลุ่มไฟโตนิวเทรียท์ จากผักผลไม้ 5 สี 26 ชนิด

6.) ผลิตภัณฑ์กลุ่ม COOKING HELPER by CP รวมซอสหลากหลายรสชาติที่ช่วยให้การปรุงอาหารเป็นเรื่องง่ายและสะดวกขึ้น พร้อมผลิตภัณฑ์ใหม่ "สังขยาใบเตย ซีพี" หวานกลมกล่อม หอมกลิ่นใบเตยธรรมชาติแท้ 100% ใช้น้ำตาลมะพร้าว รับประทานกับอะไรก็อร่อย

ซีพีเอฟ พร้อมสนับสนุนให้ผู้บริโภคทั่วโลกเข้าถึงอาหารคุณภาพปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ ควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้วิสัยทัศน์ "ครัวของโลก" ในงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มระดับโลก THAIFEX – Anuga Asia 2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-27 พฤษภาคม 2566 โดยวันที่ 23-26 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น. จะเปิดให้คู่ค้าและพันธมิตรด้านอาหารจากทั่วโลกเข้ามาเจรจาธุรกิจ และวันที่ 27 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. ซีพีเอฟ จะนำสินค้าคุณภาพดีมาจำหน่ายในราคาพิเศษ พร้อมโปรโมชันจัดเต็มแก่ประชาชนทั่วไป ที่บูธ CPF หมายเลข S01-S15 อาคารชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 2 ศูนย์การค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หอการค้าไทย และ Koelnmesse เยอรมนี

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click