January 22, 2025

ในงาน Tencent Global Digital Ecosystem Summit ซึ่งจัดขึ้นที่ Shenzhen World Exhibition & Convention Center ระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน ได้มีการเปิดตัวบริการด้านปัญญาประดิษฐ์ ( Artificial Intelligence หรือ AI) หลายตัว รวมทั้งนำเสนอนวัตกรรมที่เทนเซ็นต์ คิดค้นและเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัท และโซลูชั่นระดับโลก เพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล 

มร. ดาวสัน ตง รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส  และซีอีโอ ของกลุ่มธุรกิจ Cloud and Smart Industries Group (CSIG) บริษัท เทนเซ็นต์ ได้ตอกย้ำถึงแรงผลักดันที่สำคัญที่ลูกค้าองค์กรต้องเผชิญ  “หลายองค์กรกำลังมองหาแนวทางในการพลิกโฉมรูปแบบการทำธุรกิจของตน และด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ใช้ประโยชน์จากแนวโน้มและทิศทางใหม่ที่เกิดขึ้น และขยายธุรกิจสู่ระดับโลก ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถปลดล็อกศักยภาพใหม่ในการเติบโตและนวัตกรรม” 

เทนเซ็นต์ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์หลายชุดที่ได้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้าน AI ของพันธมิตรและลูกค้าองค์กรต่าง ๆ  การเปิดตัวใหม่ของ "AI Infra" (腾讯云智算) ซึ่งเป็นโซลูชันที่ประกอบด้วย การประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล และเครือข่ายแบบครบวงจร ได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐาน และช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ที่มีความต้องการที่จะพัฒนาและเทรนโมเดลขนาดใหญ่  ในขณะเดียวกัน เทนเซ็นต์  ได้เปิดตัว ฮุ่นหยวน-เทอร์โบ (Hunyuan-Turbo หรือ “混元Turbo”) ซึ่งเป็นบริการโมเดลเอไอที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ Mixture of Experts (MoE) ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรนโมเดลถึงสองเท่า และลดค่าใช้จ่ายในการประมวลผลลง 50%  

ปัจจุบัน AI Coding Assistant ของ Tencent Cloud ซึ่งขับเคลื่อนโดยโมเดลพื้นฐาน Hunyuan ได้ถูกใช้งานโดยโปรแกรมเมอร์ของ Tencent กว่า 50% ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขาได้ถึง 40% นอกจากนี้ Tencent Meeting ยังมีฟีเจอร์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกอัจฉริยะ, ผู้ช่วย AI, การแปลหลายภาษา และอื่น ๆ โดยมีผู้ใช้งานมากกว่า 15 ล้านคนต่อเดือน 

 โซลูชัน AI ล้ำสมัยสำหรับองค์กรระดับโลก

ในตลาดต่างประเทศ Tencent Cloud กำลังขยายการลงทุนและเพิ่มทรัพยากร เพื่อสร้างความร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตรในการบรรลุภารกิจของบริษัทที่จะ ‘สร้างนวัตกรรม, เชื่อมต่อ, และขยายสู่ระดับโลก’ 

นอกเหนือจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการชุดใหม่สำหรับ AI และการเทรนโมเดลในประเทศจีนแล้ว Tencent Cloud International ยังได้เปิดตัวเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนผ่านฝ่ามือ (Palm Verification) ที่ล้ำสมัย และแผนการสร้างระบบนิเวศที่รองรับเทคโนโลยีนี้ในตลาดต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนการนำการยืนยันตัวตนที่ปลอดภัยและใช้ AI มาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น 

มร. โพชู เยือง รองประธานอาวุโสของ Tencent Cloud International กล่าวว่า โซลูชัน Cloud Palm Verification ของบริษัท ได้มีการทดลองใช้งานทั่วโลกแล้วโดยบริษัทชั้นนำหลายแห่ง รวมถึง Telkomsel เพื่อสนับสนุนการใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่ระบบการชำระเงินไปจนถึงการจัดการด้านการเข้าถึงความปลอดภัย 

มร. เยือง กล่าวเสริมว่า “แผนในการสร้างระบบนิเวศเพื่อรองรับ Palm Verification ของเราได้มีการรวมเอาชุดเครื่องมือเทคโนโลยีหลายตัว ที่จะช่วยให้พันธมิตรทั่วโลกสามารถนำและบูรณาการเทคโนโลยีระดับโลกนี้ได้อย่างรวดเร็วเพื่อการนำไปใช้ในตลาด โครงการนี้ช่วยให้พันธมิตรของเรามีอิสระในการสร้างสรรค์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้ในสถานการณ์ธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลก” 

 ในงานนี้ ยังมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ใช้ AI สำหรับตลาดต่างประเทศ เช่น Knowledge Engine Platform, Digital Human, e-KYC และอื่น ๆ เพื่อเสริมศักยภาพให้กับองค์กรในยุค AI การขยายตลาดทั่วโลกเติบโตขึ้นด้วยการมุ่งเน้นที่ตลาดสำคัญและความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ ด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้ AI เหล่านี้ ธุรกิจระหว่างประเทศของ เทนเซ็นต์  คลาวด์ เตรียมพร้อมสำหรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องเกินกว่า 10,000 ธุรกิจใน 30 อุตสาหกรรมที่ให้บริการในกว่า 80 ตลาดและภูมิภาค 

ในช่วงสามปีที่ผ่านมา เทนเซ็นต์  คลาวด์ ได้รับการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระดับสองหลักในตลาดต่างประเทศ สร้างความแข็งแกร่งในเอเชีย, ยุโรป, อเมริกา, และตะวันออกกลาง โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการเติบโตอย่างน้อย 50% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า 

มร. ตง กล่าวเพิ่มเติมว่า การเติบโตนี้เป็นผลมาจาก จากความต้องการของระบบนิเวศของ เทนเซ็นต์  คลาวด์ ที่มีความโดดเด่น, บริการเทคโนโลยีด้านสื่อระดับโลก, และโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งทั่วโลก “องค์กรต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม, สื่อ, และบริการสาธารณะ ใช้โซลูชันหลักของเรา เพื่อนำมาปรับเปลี่ยนการดำเนินงานและปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น แพลตฟอร์ม Mini Program, การสื่อสารแบบเรียลไทม์, การไลฟ์สตรีม, และโซลูชันด้านสื่อ” 

เทนเซ็นต์  คลาวด์ ยังมีผลงานที่เป็นที่ยอมรับในการสนับสนุนธุรกิจในการขยายตลาดระดับโลก โดยได้ช่วยบริษัทในกลุ่ม Fortune 500 หลายแห่ง เช่น AstraZeneca, Mercedes-Benz, Toyota, และ Walmart China ให้สามารถขยายการดำเนินงานในจีนแผ่นดินใหญ่และทั่วโลกได้อย่างสำเร็จ 

ในงานนี้ Tencent Cloud International ยังประกาศความร่วมมือสำคัญกับหลายบริษัท ได้แก่ Aladdin Cybersecurity, Avatara, MFEC Public Company, Siemens, S.M.A.R.T Entrepreneurship Club, UnionCloud และอื่น ๆ เพื่อสำรวจโอกาสใหม่ ๆ ในด้าน AI โดยเฉพาะในโซลูชัน Digital Human บริษัทเหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ Global Partner Ecosystem ของ เทนเซ็นต์  คลาวด์ ที่ป้จจุบันมีมากกว่า 11,000 พันธมิตร มีส่วนสร้าง 80% ของรายได้จากนอกประเทศจีน รวมทั้งยังเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของธุรกิจระหว่างประเทศของ เทนเซ็นต์  คลาวด์ อีกด้วยเพื่อการสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งของสนับสนุนพันธมิตรและลูกค้าทั่วโลกได้ดียิ่งขึ้น เทนเซ็นต์  คลาวด์ ยังได้จัดตั้งเครือข่ายศูนย์สนับสนุนทางเทคนิคทั่วโลก จำนวน 9 แห่ง ในประเทศอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไทย, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ซึ่งทั้งหมดจะให้บริการและสนับสนุนทางเทคนิคตลอด 24 ชั่วโมง 

 

 

 

จากรายงานฉบับล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ได้ตอกย้ำว่า เป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิโลกในปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้า โดย IPCC ระบุว่า โอกาสที่จะจำกัดอุณหภูมิโลกให้เพิ่มไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสนั้นมีความเป็นไปได้เพียง 50% เท่านั้น ในขณะที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ลงให้ได้ครึ่งหนึ่งภายใน 10 ปี ซึ่งในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องนำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปล่อย CO2 ต่ำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย โดยหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญก็คือ การดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจสีเขียวได้มากยิ่งขึ้น

ดังนั้น เทนเซ็นต์ จึงเปิดตัวโครงการแฟล็กชิพ “คาร์บอนเอ็กซ์” (CarbonX Program) เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำแห่งอนาคต รวมถึงส่งเสริมการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้งานในสเกลระดับใหญ่ภายในปี 2030 โดยในระยะแรกของโครงการฯ จะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี CCUS

นายเดวิส ลิน รองประธานอาวุโส เทนเซ็นต์ กล่าวว่า “นวัตกรรมเทคโนโลยีจะเป็นตัวแปรสำคัญในการเร่งขับเคลื่อนความเป็นกลางทางคาร์บอน เราจึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำล้ำสมัยเหล่านี้ไปใช้ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและผลักดันการนำไปประยุกต์ใช้กับงานขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวให้มากยิ่งขึ้น”

โซลูชันการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS)

CCUS ไม่ใช่เรื่องใหม่ อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องหลายทศวรรษ เพื่อดักจับ CO2 ที่ถูกปล่อยออกมาจากกระบวนการทางอุตสาหกรรมทั้งในระยะก่อนหน้า หรือหลังจากเข้าสู่ชั้นบรรยากาศแล้ว และนำมาอัดฉีดลงไปกักเก็บในโพรงทางธรณีวิทยา (Geological Formation) ที่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน เพื่อป้องกันไม่ให้สามารถกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศได้ หรือนำมาแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ เช่น เคมีภัณฑ์ เชื้อเพลิง ปูนซีเมนต์ และพลาสติก

นายหยงผิง ไจ๋ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านกลยุทธ์ความเป็นกลางทางคาร์บอนของเทนเซ็นต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เทคโนโลยี CCUS จะมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนในอนาคต แต่จะต้องได้รับการสนับสนุนตั้งแต่แรกเริ่ม เช่นเดียวกับที่เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเคยได้รับ”

อย่างไรก็ตาม แม้การพัฒนา CCUS จะมีความซับซ้อนและใช้ต้นทุนสูง แต่ก็ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายขีดความสามารถในการประยุกต์ใช้และเพิ่มศักยภาพทางการตลาด โดยภาคเอกชนและภาครัฐทั่วโลกกำลังทุ่มทรัพยากร ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาและเตรียมนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ เทนเซ็นต์มุ่งมั่นที่จะร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ โดยเราจะใช้ความชำนาญเพื่อเร่งสร้างสรรค์โซลูชันล้ำสมัยเพื่อที่จะแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่ง

ในพันธสัญญาที่จะสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนในการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่อุปทานภายในปี 2573 โดยเราเล็งเห็นว่า CCUS จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนให้เป็นผลสำเร็จ และปัจจุบันเรากำลังทำงานร่วมกับ Carbfix ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติไอซ์แลนด์ที่สามารถแปลง CO2 ให้กลายเป็นหินได้ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน โดยเรารู้สึกตื่นเต้นกับการเปิดตัวโครงการคาร์บอนเอ็กซ์ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ ที่มีวิสัยทัศน์เช่นเดียวกัน

 

การดำเนินงานของโครงการ “คาร์บอนเอ็กซ์”

คาร์บอนเอ็กซ์ เป็นโครงการที่ผสานทั้งการเร่งขับเคลื่อนพัฒนาการและการสร้างขีดความสามารถทางดิจิทัล เพื่อค้นหาเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำแห่งอนาคต และส่งเสริมการประยุกต์ใช้งานในระดับใหญ่ภายในปี 2030 ด้วยการเร่งระดมเงินทุนและทรัพยากร โดยระยะแรกเริ่มของโครงการจะมุ่งเน้นไปที่โซลูชันและโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ CCUS เป็นหลัก โดยโครงการมี 3 ระดับหลักด้วยกัน ซึ่งเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัย สถาบัน องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และบริษัทสตาร์ทอัปสามารถส่งแผนงานธุรกิจเข้าร่วมโครงการได้

1. CarbonX Lab: ค้นหาและบ่มเพาะสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย หรือห้องปฏิบัติการที่มีศักยภาพในการสร้างเทคโนโลยีใหม่ที่จะเป็นตัวพลิกเกมในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและช่วยสนับสนุนให้สามารถเปิดตัวโครงการนำร่องเพื่อสาธิตการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม

2. CarbonX Accelerator: เร่งขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัทสตาร์ทอัปที่มีศักยภาพในการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ในเชิงพาณิชย์

3. CarbonX Infrastructure: สนับสนุนการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ฐานข้อมูลและเครื่องมือเพื่อการติดตามการแยกคาร์บอน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางอุตสาหกรรม

ตามรายงานของสหประชาชาติ หน้าต่างแห่งโอกาสในการรักษาอุณหภูมิ 1.5°C กำลังปิดลงอย่างรวดเร็ว โดยเทนเซ็นต์ จะมุ่งมั่นใช้ทักษะ ความเชี่ยวชาญ และทรัพยากรของเราเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาความท้าทายระดับโลกนี้ต่อไป

 

X

Right Click

No right click