The 1 Insight เปิดผลวิเคราะห์เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค iPhone ในประเทศไทย รับกระแสการเปิดตัว iPhone 16 ที่ได้รับความสนใจอย่างมากเช่นทุกปีที่ผ่านมา
ชี้ช่วยกระตุ้นยอดขายรวมหมวด Gadget เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อนหน้า พบว่า 40% ของผู้ใช้ iPhone ในไทยนิยมเปลี่ยนเป็นรุ่นใหม่ทุกปี ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จในแง่ของตลาดไปจนถึงความสนใจที่มีต่อนวัตกรรมของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง จากฐานข้อมูล The 1 ในช่วงปี 2019-2024 The 1 Insight ชี้ให้เห็นถึง 5 กลุ่มหลักของผู้ใช้ iPhone ไทย ที่มีเทรนด์พฤติกรรมการซื้อและการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนี้
1. วัยรุ่นโซเชียล: กลุ่ม Gen Z มุ่งท่องโลกโซเชียล แต่ยังเน้นความคุ้มค่า กลุ่มคนรุ่นใหม่อายุ 18-24 ปี ใช้งาน iPhone เพื่อการเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดียเป็นหลัก รวมถึงการสร้างสรรค์คอนเทนต์ จากข้อมูล พบว่าคนกลุ่มนี้ซื้อ iPhone 15 และ iPhone 15 Plus รวมไปถึงอาจซื้อรุ่นก่อนหน้าที่ให้ความคุ้มค่ามากกว่า โดยเลือกใช้รุ่นที่มีความจุ 128GB ซึ่งเพียงพอกับการใช้งานและสอดคล้องกับข้อจำกัดด้านรายได้ โดยสีที่นิยมสูงสุดคือ Black กลุ่มวัยรุ่นโซเชียลมักอัปเกรด iPhone ทุกปี และนิยมใช้การผ่อนชำระ 0% ซึ่งช่วยให้เข้าถึง iPhone รุ่นพรีเมียมได้มากยิ่งขึ้น โดยมีแนวโน้มว่าในปีนี้จะซื้อ iPhone 16 และ iPhone 16 Plus
2. หนุ่มออฟฟิศสาย Tech: กลุ่ม Gen Y ผู้มอง iPhone เป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จ กลุ่มชายวัยทำงานอายุ 25-40 ปี มองว่า iPhone รุ่นท็อปเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จและสถานะทางสังคม รวมถึงมีความพร้อมด้านรายได้ที่สูงขึ้นตามความก้าวหน้าทางอาชีพและมีความสนใจในเทคโนโลยีล้ำสมัย ในปี 2023 จึงเลือกซื้อ iPhone 15 Pro และ iPhone 15 Pro Max ที่มีความจุ 512GB หรือ 1TB เพื่อรองรับการใช้งานได้ครบครันทั้งด้านการทำงานและความบันเทิง โดยสีที่นิยมสูงสุดคือ Black และ Natural Titanium หนุ่มออฟฟิศกลุ่มนี้มักอัปเกรด iPhone ทุกปี และเป็นกลุ่มสำคัญที่ขับเคลื่อนยอดขายรุ่นท็อปในไทย และมีแนวโน้มว่าในปีนี้จะซื้อ iPhone 16 Pro และ iPhone 16 Pro Max
3. พ่อแม่ยุคใหม่: กลุ่ม Millennial Parents เน้นฟังก์ชันใช้งานสำหรับทั้งครอบครัว กลุ่มคนมีครอบครัวที่มีอายุ 30-45 ปี มักให้ความสำคัญกับฟังก์ชั่นการใช้งานจริงและขนาดความจุที่เพียงพอเพื่อรองรับการใช้งานในระยะยาวสำหรับทั้งครอบครัว ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงเลือกซื้อ iPhone 15 หรือ iPhone 15 Plus โดยเลือกรุ่นที่มีความจุ 128GB หรือ 256GB เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลาย โดยสีที่นิยมสูงสุดคือ Colorful เช่น ฟ้า เหลือง ชมพู เขียว นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มที่มีรายจ่ายหลากหลาย จึงไม่เปลี่ยนเครื่องบ่อยนัก โดยมักอัปเกรดทุก 3-4 ปี โดยในปีนี้มีแนวโน้มที่จะซื้อ iPhone 16 หรือ iPhone 16 Plus
4. รุ่นใหญ่สายสมาร์ท: กลุ่ม Gen X ที่พร้อมลงทุนกับเทคโนโลยีเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด กลุ่มผู้บริหารที่มีอายุ 45-60 ปี มักเลือก iPhone ในรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมองว่าเป็นการลงทุนระยะยาวเพื่ออัพเดทเทคโนโลยีในแต่ละครั้ง จึงเลือกซื้อ iPhone 15 Pro Max ในความจุ 512GB หรือ 1TB เพื่อตอบสนองความต้องการที่ครอบคลุมทั้งการทำงานและการใช้งานส่วนตัว สีที่นิยมสูงสุดคือ Blue Titanium โดยมีรอบการอัปเกรดอุปกรณ์ทุก 2-3 ปี และไม่เน้นการเปลี่ยนตามกระแสสังคม ในปีนี้ มีแนวโน้มที่จะซื้อ iPhone 16 Pro Max
5. เกษียณสายชิล: กลุ่ม Silver Spenders ใช้งานเพื่อสื่อสารทั่วไปและฟังก์ชันสุขภาพ กลุ่มผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีพฤติกรรมการใช้ iPhone ที่เน้นการใช้งานพื้นฐานและฟังก์ชั่นติดตามข้อมูลสุขภาพ เลือกซื้อ iPhone SE หรือ iPhone 15 หรืออาจเป็นรุ่นก่อนหน้า โดยใช้ควบคู่กับ Apple Watch Series 9 เพื่อเชื่อมต่อฟังก์ชันการติดตามข้อมูลสุขภาพอย่างละเอียด ข้อมูลชี้ว่า กลุ่ม Silver Spenders ส่วนใหญ่เลือก iPhone รุ่นความจุ 64GB หรือ 128GB สีที่นิยมสูงสุดคือ Colorful เช่น ฟ้า เหลือง ชมพู เขียว โดยมักอัปเกรดทุก 4-5 ปี และมีแนวโน้มที่จะซื้อ iPhone 16 และ Apple Watch ในปีนี้
ในส่วนของผลกระทบต่อสินค้าและอุตสาหกรรมอื่น การเปิดตัว iPhone รุ่นใหม่ ไม่เพียงช่วยกระตุ้นยอดขายในหมวด Gadget โดยเฉพาะกลุ่มอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น เคสโทรศัพท์, สายชาร์จ, และ AirPods เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคต้องการอุปกรณ์ที่เข้ากันได้ดีกับ iPhone รุ่นใหม่เพื่อรองรับการใช้งานที่สมบูรณ์แบบ ทว่ายังสร้าง Halo Effect ที่ส่งผลดีต่อยอดขายสินค้าหมวดอื่นๆ โดยเฉพาะหมวดแฟชั่น ซึ่งตรงกับช่วงเริ่มต้นของฤดูกาล Autumn/Winter การเปิดตัวสินค้าใหม่ๆ จากทั้งวงการเทคโนโลยีและแฟชั่น ส่งเสริมให้บรรยากาศการใช้จ่ายภาพรวมคึกคักมากขึ้น จึงส่งผลให้ยอดขายหมวดแฟชั่นเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าในช่วงเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงอิทธิพลที่แข็งแกร่งของ iPhone ซึ่งไม่เพียงกระตุ้นยอดขาย Gadget แต่ยังขับเคลื่อนพฤติกรรมการซื้อสินค้าหมวดอื่นๆ ไปพร้อมกัน
กลายเป็นกระแสในเวลานี้ให้พูดถึงอย่างต่อเนื่อง สำหรับแคมเปญ “Friday ต้องเปย์ด้วยมาสเตอร์การ์ด” หลังเปิดตัวเพียง 3 สัปดาห์ ยอดแลกคะแนนผ่านแอปพลิเคชั่น The 1 เพื่อรับ E-Coupon ส่วนลดแทนเงินสดสูงสุดถึง 300 บาท (จากปกติ 100 บาท) ฮอตอย่างต่อเนื่องและสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่จัดแคมเปญมา!
ง่าย ๆ เพียงแลก 1 คะแนน The 1 ผ่านแอปพลิเคชั่น The 1 รับไปเลย E-Coupon มูลค่าสูงสุด 300 บาท สำหรับใช้เป็นส่วนลดเมื่อช้อป 2,000 บาทขึ้นไป ด้วยบัตรมาสเตอร์การ์ดเท่านั้น
ห้ามพลาดกับ 4 ศุกร์สุดท้าย! (วันศุกร์ที่ 6, 13, 20 และ 27 กันยายน 2567) เตรียมตัวแลกคะแนนให้พร้อม เริ่มตั้งแต่เวลา 08.00 – 22.00 น. และนำ E-Coupon มาช้อปแบบสุดคุ้ม ในเครือเซ็นทรัล รีเทล รวมกว่า 1,000 ร้านค้าทั่วประเทศ ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน, ซูเปอร์สปอร์ต, เซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป, ท็อปส์, ท็อปส์ เดลี่, ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์, ท็อปส์ ไฟน์ ฟู้ด, มัทสึคิโยะ, ไทวัสดุ, บีเอ็นบี โฮม, ออโต้วัน, โก! ว้าว, เพาเวอร์บาย, โก! เพาเวอร์, ออฟฟิศเมท, บีทูเอส, ท็อปส์แคร์, ท็อปส์ วีต้า, เพ็ทแอนด์มี รวมทั้งช่องทางบริการ Chat & Shop และ Call & Shop เป็นต้น
สามารถติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับแคมเปญ ‘“Friday ต้องเปย์ด้วยมาสเตอร์การ์ด” เพิ่มเติมได้ที่ Facebook: Central Retail หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน The 1 เพื่อรับข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจและสิทธิประโยชน์ดี ๆ ได้จากเซ็นทรัล รีเทล
The 1 จัดแคมเปญลุ้นโชคกระตุ้นยอดขายต้นปี 2567 ชวนนักช้อปสมัครสมาชิก The 1 รับสิทธิ์ลุ้นรางวัลใหญ่ รวมมูลค่ากว่า 2 แสนบาท! เพียงดาวน์โหลดและสมัครสมาชิกใหม่ผ่าน The 1 APP รับทันที 1 สิทธิ์ พิเศษอีกขั้น! ซื้อสินค้าในเครือเซ็นทรัล รีเทล ครบ 500 บาท รับเพิ่มอีก 1 สิทธ์ต่อใบเสร็จ ไม่จำกัดจำนวนสิทธิ์! สำหรับสมาชิกใหม่ที่สมัครและช้อประหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 มิถุนายน 2567 เท่านั้น
ห้ามพลาด! เพียงสมัครสมาชิกใหม่ ดาวน์โหลด The 1 APP และช้อปในเครือเซ็นทรัล รีเทล เพื่อลุ้นโชคฉ่ำๆ กับรางวัลกว่า 200 รายการ รวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท อาทิ สร้อยคอทองคำ หนัก 50 สตางค์ มูลค่ารางวัลละ 17,579 บาท จำนวน 3 รางวัล โทรศัพท์มือถือ iPhone รุ่น 15 Pro Max ขนาด 256GB มูลค่ารางวัลละ 48,900 บาท จำนวน 1 รางวัล เครื่องเป่าผม Dyson Supersonic มูลค่ารางวัลละ 15,215 บาท จำนวน 2 รางวัล Starbucks e-Coupon มูลค่ารางวัลละ 200 บาท จำนวน 200 รางวัล รวมมูลค่า 20,000 บาท โดยจะจับรางวัลครั้งที่ 1 วันที่ 10 เม.ย. ประกาศผลวันที่ 15 เม.ย. และจับรางวัลครั้งที่ 2 วันที่ 10 ส.ค. ประกาศผลวันที่ 15 ก.ค. สามารถศึกษาและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับของรางวัลในรอบที่ 1 และรอบที่ 2 ได้ที่ The 1 APP เว็บไซต์ https://www.the1.co.th/ และ โทร. 0 2660 1000 ศูนย์บริการสมาชิก The 1
ไม่เพียงเท่านั้น ตลอดทั้งปี 2567 The 1 ยังมอบสิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ดาวน์โหลดและลงชื่อเข้าใช้ The 1 APP ครั้งแรก โดยจะได้รับคูปองส่วนลดรวม 2,000 บาทจากกว่า 20 ร้านค้าในเครือเซ็นทรัล รีเทล ไม่ว่าจะเป็น เซ็นทรัล ดีพาร์ทเมนต์ สโตร์, โรบินสัน, เซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป, เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป, ไทวัสดุ, บีเอ็นบี, โก! ว้าว, บีทูเอส, ท็อปส์, โก! ว้าว, เพาเวอร์บาย, โก เพาเวอร์, ซูเปอร์สปอร์ต, ออโต้วัน, โก โฮลเซลล์, ท็อปส์ วีต้า, ท็อปส์แคร์, เพ็ทแอนด์มี, ท็อปส์ เดลี่ และออฟฟิศเมท
นายกวิน ตั้งอุทัยศักดิ์ (ซ้าย) Managing Director – The 1 พร้อมด้วย นายโรบิน สเปนเซอร์ (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พรูเด็นเชียล ประเทศไทย
The 1 (เดอะ วัน) ผู้นำด้านดิจิทัลไลฟ์สไตล์และลอยัลตี้ ในฐานะ Center of Life Platform อันดับ 1 ของไทย ภายใต้กลุ่มเซ็นทรัล เผยข้อมูลจาก The 1 Insight วิเคราะห์เจาะแนวโน้มการใช้จ่ายในยุคหลังโควิด บ่งชี้ชัดถึงปรากฏการณ์ Revenge Spending ผู้บริโภคโหยหาอิสระในการใช้จ่ายกับสินค้าเพื่อความพึงพอใจมากขึ้นใน 4 กลุ่มสินค้า ของหวานและไวน์-เครื่องสำอางและน้ำหอม-ร้านอาหาร-เสื้อผ้าสปอร์ตแวร์ ช่องทางออนไลน์เติบโตต่อเนื่อง ย้ำแบรนด์ต้องให้ความสำคัญของ Omnichannel เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
ล่าสุด The 1 Insight นำเสนอปรากฏการณ์ Revenge Spending หรือ ‘ช้อปล้างแค้น’ ที่เรียกได้ว่าเป็นการทวงคืนอิสระในการจับจ่ายในยุคหลังโควิดเพื่อสร้างความผ่อนคลายและระบายความอัดอั้น ที่สะท้อนให้เห็นได้จากยอดขายที่สูงขึ้นใน 4 กลุ่มสินค้าเพื่อความพึงพอใจ ได้แก่ 1) อุปโภคบริโภค พบยอดขายเติบโตขึ้นถึง 51% ในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเพื่อความเพลิดเพลินใจ อย่างไวน์ ขนม และของหวาน ในขณะที่ยอดขายวัตถุดิบเพื่อการประกอบอาหารและเบเกอรี่ลดลง 14% สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคที่ทำอาหารที่บ้านน้อยลง 2) ร้านอาหาร ยอดขายร้านอาหารเติบโตสูงขึ้น 15% และโดดเด่นในกลุ่มร้านอาหารชาบู/ปิ้งย่างที่นิยมทานเป็นกลุ่ม และอาหารญี่ปุ่น/เกาหลี ที่มีราคาสูง บ่งชี้ถึงการมอบรางวัลเล็กๆ น้อยๆ ให้ตนเองเพื่อสร้างความผ่อนคลาย 3) ความงาม ยอดขายเครื่องสำอางและน้ำหอมกลับมาเติบโตกว่า 20% ซึ่งเห็นได้ชัดว่าตัวเลขเติบโตสัมพันธ์กับการที่ผู้บริโภคสามารถออกจากบ้านและพบปะผู้คนได้มากขึ้น การแต่งหน้า-ฉีดน้ำหอมจึงเป็นการใช้จ่ายเพื่อความเพลิดเพลินอย่างแรกๆ ที่นึกถึง 4) การออกกำลังกาย เมื่อผู้คนไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายเพียงแค่ที่บ้าน แต่สามารถออกจากบ้านรวมถึงการออกกำลังกายเป็นกลุ่มได้ จึงไม่แปลกที่ยอดขายสปอร์ตแวร์ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 25% และยอดขายอุปกรณ์ออกกำลังกายที่เติบโตในช่วงโควิดกลับปรับตัวลดลง 22%
อีกหนึ่งแง่มุมที่น่าสนใจสำหรับปรากฏการณ์ Revenge Spending ในรอบนี้นั้นมีความแตกต่างจากครั้งก่อนๆ เนื่องจากกลุ่มสินค้าที่ผู้บริโภคเลือกจับจ่ายมากขึ้นนั้นเป็นในกลุ่มสินค้าเพื่อความพึงพอใจในราคาที่เข้าถึงได้ มากกว่าจะเป็นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ สินค้าแฟชั่นและเครื่องประดับ ซึ่งไม่น่าแปลกใจด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มไม่สู้ดีและสภาวะเงินเฟ้อ จึงเป็นเหตุให้ผู้คนใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อสร้างความผ่อนคลายในงบประมาณที่ ‘สามารถจ่ายได้’ โดยไม่กระทบกับทรัพย์สินจำนวนมากเกินไปนัก นอกจากนี้ ยังเป็นที่ทราบกันดีว่าปรากฏการณ์ Revenge Spending นั่นมักเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ เพื่อสร้างความผ่อนคลาย ลดความอัดอั้นสำหรับตัวผู้บริโภคเอง รวมถึงมักเกิดขึ้นในกลุ่มสินค้าบางกลุ่มเท่านั้น จึงไม่สามารถบ่งชี้ถึงทิศทางเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งต้องอาศัยการฟื้นตัวในหลายแง่มุมได้
อย่างไรก็ตาม การช้อปในช่องทางออนไลน์ (Online Shopping) คือพฤติกรรมหนึ่งที่เติบโตอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานและอัตราการเติบโตยิ่งสูงขึ้นในช่วงโควิด-19 ทั้งในแง่ของยอดขายและจำนวนผู้ใช้ โดยยอดขายเติบโตกว่า 2 เท่า และยอดผู้เข้าชมสินค้าสูงขึ้นกว่า 3 เท่าตลอดช่วงเดือนพฤษภาคม 2020 - พฤษภาคม 2022 นอกจากนั้นยังพบว่าผู้บริโภคกว่า 36% ยังคงพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ในยอดคงที่อย่างต่อเนื่อง แม้จะกลับไปจับจ่ายที่หน้าร้านมากขึ้นด้วย อาจสรุปได้ดังเช่นที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเห็นตรงกันว่า การสร้างประสบการณ์แบบ Omnichannel คือเรื่องที่ทุกแบรนด์ต้องให้ความใส่ใจในปัจจุบันเพราะมีผลอย่างยิ่งกับความอยู่รอดของแบรนด์ในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออฟไลน์หน้าร้าน ช่องทางออนไลน์ อาทิ E-Commerce Application และ Website, Social Commerce รวมถึง New Sales Channels อย่าง Chat & Shop, Call & Shop และ Personal Shopper กล่าวคือแบรนด์ไม่อาจให้ความสำคัญกับเพียงช่องทางใดช่องทางหนึ่งอีกต่อไป แต่ควรมุ่งสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดอย่างไร้รอยต่อให้กับลูกค้าในทุกช่องทาง