ประเทศไทย- 24 กันยายน 2567 - ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปีนี้มีคนไทยมากถึง 67% ที่เลือกซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยจะสูงถึง 750,000 ล้านบาทภายในปี 25681 ซึ่งสะท้อนถึงการก้าวไปข้างหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัลไทยอย่างมั่นคง ในขณะที่ภาค SMEs ตั้งเป้าหมายการเติบโตจากรายได้ 6.3 ล้านล้านบาทในปี 2566 เป็น 6.6 ล้านล้านบาทในปี 25672 สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการผลักดันผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ตลาดออนไลน์และปรับตัวอย่างมีประสิทธิภาพและทันกระแสการค้าในยุคดิจิทัล
ล่าสุด ช้อปปี้ ผู้นำอีคอมเมิร์ซเบอร์ 1 ครองใจผู้ใช้งานชาวไทย ร่วมกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) จัดโครงการ “The influencer journey TiJ#1” สร้างตัวตนให้ปัง สู่เส้นทางคนดังที่สำเร็จ โดยโครงการนี้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้เทคนิคสร้างแบรนด์บนร้านค้าออนไลน์จากรุ่นพี่ในวงการ Content Marketing กับ DBD Influencer Awards กิจกรรมเด็ดเพื่อเฟ้นหาสุดยอดอินฟลูเอนเซอร์ผ่านการไลฟ์สตรีมมิ่ง เรียกได้ว่ากระแสตอบรับดีมากๆ ทั้งยังช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพอีกด้วย
เปิดสูตรลับ 2 SMEs ไทย สู่ความสำเร็จทางธุรกิจบนโลกอีคอมเมิร์ซ
หัทยา คัมบารา กรรมการผู้จัดการ แบรนด์ส้มใส (SOMSAI) ผู้ชนะเลิศอันดับ 1 รางวัล DBD Influencer Awards 2024 แชร์มุมมองการสร้างแบรนด์และเทคนิคการตลาดไว้ว่า “แบรนด์ส้มใสเริ่มต้นจากการตระหนักถึงปัญหาผิวของคนไทย เราจึงพัฒนาสบู่ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วผ่านการบอกต่อ จนเกิดเป็นสบู่น้ำส้มใส ในช่วงแรกเราเน้นการตลาดผ่านตัวแทนจำหน่าย แต่เมื่อโควิดทำให้ร้านค้าไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน ทำให้เห็นโอกาสช่องทางออนไลน์ จึงมาเปิดร้านบนช้อปปี้ แพลตฟอร์มที่ ‘น่าเชื่อถือ’ และ ‘ฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง’ ทำให้หลายคนได้กลับมาพบกับแบรนด์ส้มใสอีกครั้ง บวกกับแบรนด์ของเราได้รับเครื่องหมาย อย. และ DBD Registered ที่สร้างความมั่นใจว่าสินค้าของเราเป็นสินค้าที่ปลอดภัยและของแท้ 100% ยิ่งสร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจในทุกการช้อปปิ้ง ระยะเวลาเกือบ 2 ปีบนช้อปปี้ รู้สึกประทับใจมากกับการดูแลอย่างใกล้ชิดและคำปรึกษาจากทีมงาน รวมถึงการสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจผ่านกิจกรรมแคมเปญเครื่องมือและฟีเจอร์ทางการตลาด ในครึ่งปีแรกของปี 2567 ยอดขายแบรนด์เติบโตกว่า 10 เท่า และยอดออเดอร์เพิ่มขึ้นกว่า 8 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
“อีกหนึ่งความภาคภูมิใจของแบรนด์ส้มใส คือการคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ในรางวัล DBD Influencer Awards 2024 จากโครงการ “The influencer journey TiJ#1” ซึ่งถือเป็นโครงการที่เราได้เรียนรู้เทคนิคการสร้างยอดขายผ่านเครื่องมือการตลาดอย่าง ไลฟ์สตรีมมิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการจัดการระบบหลังบ้าน การจัดตารางไลฟ์สด การวางโครงสร้างช่อง การถ่ายทำ และการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า พร้อมพัฒนาผลลัพธ์ด้วยการใช้ AI ที่ทันสมัย เราเชื่อว่า การนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาปรับใช้ทันที เรียนรู้ระหว่างที่ลงมือทำ และพัฒนาต่อเนื่องแบบไม่หยุดนิ่ง ทำให้เราชนะใจกรรมการ จากการแข่งขันไลฟ์สตรีมบนช้อปปี้พบว่า แบรนด์สามารถเพิ่มยอดขายได้กว่า 150% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาปกติ อีกทั้งยังได้รับกระแสตอบรับที่ดีมากๆ จากเหล่าลูกค้า ทำให้ตัวเราและทีมงานแบรนด์ส้มใสรู้เลยว่า สินค้าไทยยังคงเติบโตได้อีกไกล หากเราพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้รับการรับรองคุณภาพจากภาครัฐ และเลือกช่องทางการขายตรงตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเรา จะยิ่งช่วยขยายโอกาสในการเติบโต ต้องขอบคุณสำหรับโครงการนี้ที่เป็นแรงผลักดันสำคัญให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นเติบโตและก้าวสู่เวทีโลกอย่างมั่นคง” คุณหัทยา กล่าวทิ้งท้าย
ทิปส์เด็ดสู่ SMEs มือใหม่! สร้างความสำเร็จในโลกธุรกิจอย่างมืออาชีพ: ในช่วงที่การทำธุรกิจออนไลน์กำลังมาแรง ยิ่งเริ่มต้นเร็ว ยิ่งมีโอกาสเติบโตได้เร็ว ช้อปปี้เป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการขายออนไลน์ ด้วยเครื่องมือครบครัน ทั้งการส่งเสริมการขายและการวิเคราะห์ ช่วยเพิ่มการมองเห็นให้กับสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันการสั่งซื้อออนไลน์สะดวกและง่ายดายกว่าเดิมมาก นี่คือโอกาสที่คุณไม่ควรพลาด
กษิรา ขันติศิริ เจ้าของแบรนด์เผือกกรอบ ทันจิตต์ ถ่ายทอดความอร่อยสู่การไลฟ์ที่น่าจับตามอง เล่าว่า “ทันจิตต์เริ่มต้นจากความหลงใหลในการทำขนม สืบทอดสูตรลับเฉพาะจากรุ่นสู่รุ่น กลายเป็นแบรนด์ของฝากที่มีประวัติยาวนานกว่า 40 ปี โดยหัวใจหลักของเราคือการมุ่งมั่นพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูงสุด ส่งตรงถึงมือลูกค้าแบบกรอบใหม่เพื่อสร้างความประทับใจ เราพิถีพิถันในการสไลด์เผือกเป็นรูปตะแกรงด้วยตัวเองจนเกิดเป็น “เผือกกรอบรูปตะแกรง” ที่สวยงามเป็นที่กล่าวขานถึงทุกวันนี้ และปัจจุบันเราได้ขยายช่องทางการขายสู่แพลตฟอร์ม 'ช้อปปี้' พิจารณาจากที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากผลการสำรวจกลุ่มลูกค้าขนมขบเคี้ยว ทำให้เรามั่นใจว่านี่คือช่องทางที่ตอบโจทย์การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด”
ด้วยฟีเจอร์ Shopee Live เป็นเครื่องมือหลักที่ช่วยให้แบรนด์ทันจิตต์เพิ่มยอดขายและเข้าถึงลูกค้าได้รวดเร็ว โดยในปีนี้ ยอดผู้ชม Shopee Live ของเราเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ด้วยการตอบรับที่ดีกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่อร่อยถูกปากคนไทยและโปรโมชันที่ดึงดูดใจ จึงพบว่า เผือกกรอบรูปตะแกรง ได้รับเลือกเป็นสุดยอดสินค้ายืนหนึ่งในใจนักช้อปประจำปี 2567
“การสร้างยอดขายของเรามาต้องมาพร้อมกับการเรียนรู้และพัฒนาเทคนิคในการเติบโตในโลกอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจร สำหรับการเข้าร่วมโครงการ The Influencer Journey TiJ#1 ได้เปิดโอกาสให้เราเรียนรู้กลยุทธ์การสร้างยอดขายที่มีประสิทธิภาพ เราได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาทักษะการพูดและการนำเสนอในไลฟ์สตรีมมิ่ง ทำให้แบรนด์มีความมั่นใจและสามารถดึงดูดความสนใจจากลูกค้าได้อย่างยอดเยี่ยม โดยพบว่ายอดขายใน Shopee Live ช่วงการแข่งขันเพิ่มขึ้นกว่า 200% อีกทั้งสามารถสร้างเอนเกจท์เม้นระหว่างแบรนด์และลูกค้าได้เป็นอย่างดี ท้ายนี้ เราเชื่อว่าความสำเร็จของ SMEs
มาจากการสร้างความแตกต่างและข้อได้เปรียบทางธุรกิจ รวมถึงการร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อเสริมความแข็งแกร่งและสร้างโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน” กษิรา กล่าวเพิ่มเติม
ทิปส์เด็ดสู่ SMEs มือใหม่! สร้างความสำเร็จในโลกธุรกิจอย่างมืออาชีพ: หากคุณยังไม่เคยเปิดร้านบนช้อปปี้ แนะนำให้ลองเริ่มต้นหาความรู้บน Shopee University จะช่วยให้คุณเรียนรู้และเข้าใจการขายได้อย่างไม่ยากและคุณอาจพบว่ายอดขายของคุณเพิ่มขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผนึกกำลังกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีลงนาม MOU โครงการ “Family Business Thailand” เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัวอย่างมืออาชีพ F โดยเน้นเจาะกลุ่มทายาทธุรกิจ SME รายเล็ก สมาชิกเครือข่าย YEC ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ โครงการ “Family Business Thailand” เป็นความมุ่งมั่นระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งประกอบด้วย กรมพัฒนาธุรกิจการค้าผนึกกำลังกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้มีองค์ความรู้ด้านบริหารจัดการธุรกิจ และการตลาดด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อันจะนำมาซึ่งข้อมูลที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างโอกาสทางการค้าและการบริหารเครือข่ายให้แก่ธุรกิจครอบครัว และ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ได้อย่างเป็นรูปธรรม
นาย เอกฉัตร ศีตวรรัตน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ทางกระทรวงพาณิชย์ได้มอบนโยบายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าดำเนินการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ และสร้างพลังขับเคลื่อนธุรกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เน้นการบูรณาการความร่วมมืออันถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการส่งเสริมยกระดับศักยภาพการบริหารจัดการแก่ผู้ประกอบการภายใต้การส่งเสริมพัฒนาของกรมฯ ให้เติบโตเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันเป็นนโยบายผลักดันให้ SME เพิ่ม GDP ให้ได้ไม่น้อยกว่า 40% ภายในปี 2570
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เป็นความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมแรงร่วมใจส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทย จากการใช้ศักยภาพของแต่ละหน่วยงาน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย ทั้งสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยที่มีส่วนเกี่ยวข้องสนับสนุนการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจครอบครัวทั่วประเทศ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่มีผู้เชี่ยวชาญมาร่วมกันถ่ายทอดองค์ความรู้ และให้คำปรึกษาแนะนำในธุรกิจครอบครัว เพื่อให้สามารถส่งผ่านธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะวันนี้กลุ่มธุรกิจครอบครัวซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีศักยภาพและมุ่งผลสัมฤทธิ์ทางด้านธุรกิจอย่างจริงจังให้ได้มีโอกาสศึกษาถึงปัจจัยการขับเคลื่อนให้ธุรกิจครอบครัวสามารถส่งต่อธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นต่อไปได้อย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรมภายใต้โครงการ “Family Business Thailand” โดยเริ่มต้นจากการอบรมหลักสูตร Family Business Thailand ระหว่างวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุม 1 ศตวรรษ ชั้น 6 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว
ขณะเดียวกัน นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงความร่วมมือกับโครงการ “Family Business Thailand” ว่า “ในฐานะที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของธุรกิจครอบครัวที่มีต่อ GDP และระบบเศรษฐกิจในภาพรวม ทว่า ที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจครอบครัวที่มีขนาดเล็ก และขนาดกลางได้รับผลกระทบจากภาวการณ์ชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย ประกอบกับข้อจำกัดทางด้านการบริหารจัดการ และองค์ความรู้ในการพัฒนาตนเอง ทำให้ธุรกิจเหล่านี้อาจได้รับผลกระทบอย่างมาก ดังนั้น ทางสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยจึงรู้สึกยินดีที่กระทรวงพาณิชย์ และกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเห็นความสำคัญและร่วมลงนาม MOU ในโครงการ Family Business Thailand เพื่อสร้างศักยภาพทางการแข่งขันให้กับธุรกิจครอบครัวกลุ่มนี้ให้มีความแข็งแกร่งจากภายใน อีกทั้งจะสามารถส่งต่อธุรกิจต่อเนื่องกันไปได้อย่างราบรื่นในอนาคต”
นอกจากนี้ รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยังเปิดเผยเพิ่มเติมว่า “ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อทำหน้าที่ส่งต่อองค์ความรู้ และบริการทางด้านวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีความยินดีที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรต่างๆ ในโครงการ Family Business Thailand ทั้งหลักสูตรระยะสั้น และหลักสูตรระยะยาว (Degree & Non-Degree) กับเจ้าของธุรกิจครอบครัว ตลอดจนทายาท เพื่อนำองค์ความรู้สำหรับการเร่งสร้างการเติบโต ควบคู่ไปกับการปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ มพร้อมทั้งใช้ประโยชน์จากเครือข่ายธุรกิจครอบครัว เพื่อต่อยอดธุรกิจให้เติบโตและส่งต่อธุรกิจได้จากรุ่นสู่รุ่น”
ในส่วนรายละเอียดของโครงการฯ ดร.รวิดา วิริยกิจจา คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า “Family Business Thailand มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแหล่งความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัวทั่วประเทศ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงธุรกิจครอบครัวในการสร้างโอกาส เตรียมความพร้อมทเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนในแต่ละสถาบันการเงิน และเป็นศูนย์บ่มเพาะให้แก่ธุรกิจครอบครัวรายใหม่ให้มีองค์ความรู้ ความสามารถในการพัฒนาด้านธุรกิจ เพื่อเริ่มต้นทำธุรกิจที่ดี ด้วยการสร้างองค์ความรู้ทั้งด้านการบริหารงาน บริหารทรัพย์สิน บริหารครอบครัว พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจครอบครัวที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว แต่ต้องการเพิ่มศักยภาพในการทำธุรกิจของตนเอง รวมทั้งหาแนวทางตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง เพื่อแก้ปัญหาการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนเพื่อจัดทำฐานข้อมูล และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจครอบครัวในประเทศไทย”
รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีคณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผู้รับผิดชอบโครงการ Family Business Thailand ได้สะท้อนมุมมองในฐานะที่เป็นปรึกษาธุรกิจครอบครัวว่า “ธุรกิจครอบครัวถือเป็น “นักรบทางเศรษฐกิจ” ที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย โดยสามารถสร้างรายได้เกือบ 70% ของ GDP ทว่า ส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหาในการสืบทอดธุรกิจ จนมีคำกล่าวว่า ธุรกิจครอบครัวมักจะส่งต่อกันได้ไม่ถึงรุ่นที่ 3 เนื่องจากศาสตร์การบริหารธุรกิจครอบครัวเป็นศาสตร์เฉพาะด้านที่มีการบ่มเพาะ ถ่ายทอดกันในวงจำกัด ดังนั้น การผนึกกำลังกันระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาเป็น “สามประสาน” จึงถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ประเทศไทยจะสามารถขยายฐาน “กองทัพนักรบทางเศรษฐกิจ” ที่แข็งแกร่งเพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบ”
โครงการ Family Business Thailand ยังได้จัดกิจกรรมเสวนาวิชาการ 60 ปี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในหัวข้อเรื่อง “จากรุ่นสู่รุ่น ... เคล็ดลับความสำเร็จของธุรกิจครอบครัว” โดยมีวิทยากรผุ้ทรงคุณวุฒิจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้แก่
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีสถาบันการเงินที่มาร่วมออกบูธ เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัวสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างสะดวกขึ้นและได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก ประกอบด้วย ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดตามและสมัครเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่กรมฯจัดร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้ทาง www.dbd.go.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองธุรกิจบริการ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 02 5475985 หรือสายด่วน 1570 หรือเฟซบุ๊คแฟนเพจของโครงการ #FamilyBusinessThailand