November 21, 2024

ปัจจุบันธุรกิจในไทยมีหลากหลายขนาด ซึ่งหลาย ๆ บริษัทเติบโตมาจากธุรกิจครอบครัว แต่กว่าจะเติบโตมาเป็นบริษัทที่มั่นคงได้นั้นจะต้องผ่านเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย  finbiz by ttb ได้รวบรวมประสบการณ์และกลยุทธ์ของบริษัทที่เติบโตจากธุรกิจครอบครัวสู่การเป็นบริษัทที่แข็งแกร่ง จนสามารถแข่งขันในตลาดอาเซียนได้ มาแบ่งปันสูตรความสำเร็จไว้ดังนี้

โจทย์มีไว้แก้ไข เป้าหมายมีไว้พุ่งชน ธุรกิจครอบครัวที่ดำเนินการมาอย่างยาวนาน มีเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจให้ก้าวไปสู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลกในอนาคต ซึ่งความท้าทายหลัก ๆ ได้แก่

  • การทำงานร่วมกันในครอบครัว ต้องปราศจากความขัดแย้งและไปกันได้ด้วยดี
  • การสร้างนวัตกรรมและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ
  • การจัดการกับพอร์ตโฟลิโอและซัพพลายเชน ที่มีความหลากหลายและซับซ้อน

รู้ปัญหาที่แท้จริงก่อนการทรานส์ฟอร์ม ปัญหาที่พบในธุรกิจซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น มักเกิดจากการขาดการสื่อสารที่ดีในองค์กร ขาดการทำงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงาน การใช้ข้อมูลที่ไม่เกิดประสิทธิภาพ และความไม่เชื่อใจระหว่างหน่วยงานหรือคนทำงาน ไม่กล้าปรับเปลี่ยนสิ่งที่ทำมาตลอด ดังนั้นการทรานส์ฟอร์ม ต้องเริ่มจาก

  1. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กรด้วยเป้าหมายที่ชัดเจน
  2. การรักษาสมดุลระหว่างหน่วยงาน ด้วยการตั้ง KPI ที่ชัดเจนและสอดคล้องไปกับเป้าหมายองค์กร
  3. การมีข้อมูลที่ถูกต้องและสอดคล้องกันในทุกภาคส่วน
  4. การให้ความไว้วางใจกัน โดยลด “ค่าเผื่อ” ออกทุก ๆ กิจกรรม
  5. การลงไปดูหน้างานจริงเพื่อตรวจสอบข้อมูล โดยจะเป็นการสะท้อนปัญหาและตรวจเช็คความถูกต้องของข้อมูล
  6. ยอมรับความคิดเห็นใหม่ ๆ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองและองค์กรอยู่เสมอ

สร้าง LEAN เป็นวัฒนธรรมองค์กร “หาเงินข้างนอก 1 บาท ยากกว่าการลดต้นทุน 1 บาทในโรงงาน” คำกล่าวนี้ถือเป็นหนึ่งในแนวคิด LEAN คือ การมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิต ซึ่งการบริหารจัดการธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารจะต้องสามารถสร้าง LEAN ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรได้ ดังนี้

  1. สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจในทีมงาน
  2. เริ่มต้นจากการปรับปรุงกระบวนการที่ทำได้ทันทีและมีผลกระทบเชิงบวกสูง
  3. วัดผลและติดตามการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  4. ชมเชยและให้รางวัลแก่คนที่ทำงานดีทันทีและเหมาะสม
  5. ลงทุนในข้อมูลที่ถูกต้อง และลงทุนกับการใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์
  6. เปิดโอกาสและเปิดใจให้ทีมงานได้ปรับปรุงและทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ
  7. เปลี่ยนความสัมพันธ์เป็นความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในซัพพลายเชน ทั้งการทำงานภายในองค์กร และภายนอกองค์กร

การนำแนวคิด LEAN มาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว จะทำให้สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิผล ทำให้ธุรกิจครอบครัวสามารถเติบโตและขยายไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้นได้อย่างมั่นคง 


ที่มา : จากหลักสูตร “LEAN for Sustainable Growth by ttb” รุ่นที่ 19 สำหรับอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ (Healthcare) แหล่งรวมเรื่องราวความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด ที่ finbiz by ttb (Link >https://www.ttbbank.com/link/pr/finbiz)

ปัจจุบันมี SME เกิดขึ้นมากมาย แต่ทราบหรือไม่ว่า SME ที่เปิดกิจการใหม่ในแต่ละปีจะอยู่รอดเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ แต่หนึ่งในเหตุผลที่สำคัญก็คือ การที่ธุรกิจยังไม่ได้เข้าไปอยู่ในดวงใจของลูกค้านั่นเอง  finbiz by ttb จึงจะพาไปสำรวจความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบัน และเสนอตัวช่วยที่จะทำให้ SME สามารถวิเคราะห์ลูกค้าได้อย่างแม่นยำ ทำแต่สิ่งที่โดนใจลูกค้า ทำให้ SME ธรรมดากลายเป็นธุรกิจที่อยู่ในดวงใจของลูกค้าได้ไม่ยาก

สิ่งที่ลูกค้าสมัยนี้ต้องการ คืออะไร

ก่อนอื่นผู้ประกอบการ SME ต้องเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าในยุคปัจจุบันว่าต้องการในทุกแง่มุม ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ต่าง ๆ ดังนี้

1) ลูกค้าเลือกแบรนด์จากมุมมองของสังคม ซึ่งมีผลวิจัยระบุว่า ลูกค้า 84% สนใจภาพลักษณ์ในสิ่งที่สังคมมองมาที่แบรนด์ ดังนั้น แบรนด์จึงต้องนำเสนอตัวเองได้อย่างชัดเจน มีจุดยืน และต้องแน่ใจว่านั่นคือจุดยืนที่ลูกค้าของแบรนด์ต้องการ

2) ธุรกิจต้องตอบสนองลูกค้าได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ธุรกิจต้องเสนอสินค้าและบริการที่ครบวงจร การซื้อขายต้องตอบสนองลูกค้าได้ตั้งแต่ต้นจนจบในเส้นทางการตัดสินใจของลูกค้า รวมไปถึงบริการหลังการขายด้วย

3) ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพราะลูกค้ายุคใหม่มีความตระหนักในเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ

4) ให้คุณค่ากับสุขภาพองค์รวม ผู้บริโภคยุคใหม่ให้คุณค่ากับสุขภาพองค์รวม ทั้งร่างกาย จิตใจ และคุณค่าต่อสังคม ดังนั้นธุรกิจจึงต้องให้ความสำคัญทั้งด้านคุณภาพสินค้า คุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและสังคมโดยรอบ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบัน ไม่ได้หยุดอยู่ที่ความต้องการสินค้า หรือการตอบสนองความต้องการใช้งานสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องของภาพลักษณ์องค์กร ความเข้าอกเข้าใจ สิ่งที่แบรนด์นำเสนอ จริยธรรม และองค์ประกอบอื่น ๆ ซึ่ง SME จะเป็นแบรนด์ที่โดนใจได้ก็ต่อเมื่อธุรกิจสามารถวิเคราะห์ลูกค้ารายบุคคลได้อย่างเข้าอกเข้าใจนั่นเอง

ประเด็นสำคัญที่ SME ต้องวิเคราะห์ให้ถูกต้อง

การจะเป็นแบรนด์ที่เข้าอกเข้าใจลูกค้านั้น มี 4 มิติสำคัญหลัก ๆ ที่ SME จะต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ ดังนี้

1) ต้องเห็นภาพรวมของร้านค้าตัวเอง ถ้าร้านค้าเห็นภาพรวมที่ผ่านมา จะทำให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้มการขายในอนาคต และเห็นลักษณะของลูกค้า ซึ่งนำไปสู่การวิเคราะห์ได้ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

2) ช่วงเวลาไหน ยอดขายเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ และช่วงเวลาที่ขายดีก็สามารถเพิ่มโปรโมชันที่เร้าใจเข้าไปได้อีกด้วย

3) รู้สินค้าเรือธงของร้านค้า หากร้านค้าสามารถวิเคราะห์ได้ถึงแนวโน้มความต้องการของลูกค้า ก็จะสามารถทำให้ธุรกิจจับสินค้าเรือธงได้อย่างถูกต้อง และทำการกระตุ้นได้ตรงใจลูกค้า

4) แยกพฤติกรรมลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน หรือนำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงใจ และมีความเข้าใจลูกค้าในแต่ละกลุ่ม

ตัวช่วยดี มีชัยในการวิเคราะห์ลูกค้าได้อย่างแม่นยำ

สำหรับ SME แล้ว การหาตัวช่วยวิเคราะห์ดี ๆ ก็มักจะมีค่าใช้จ่ายตามมา ซึ่งเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจสามารถเข้าถึง Analytic Report ดี ๆ ได้ไม่ยาก จากเครื่องมือของสถาบันทางการเงินที่รู้และเข้าใจความสำคัญของการวิเคราะห์ลูกค้า อย่างทีทีบี ที่มีแอปพลิเคชันระบบการจัดการร้านค้า ttb smart shop ที่ได้พัฒนาต่อยอดให้มีฟีเจอร์ตัวช่วยใหม่อย่าง ttb smart shop analytic report ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจและเห็นภาพรวมเชิงลึกของธุรกิจในมิติต่าง ๆ ที่ตอบสนองทั้ง 4 มิติที่สำคัญ โดยจะช่วยให้ธุรกิจเห็นภาพรวมร้านค้า รู้ช่วงเวลาการขาย รู้ว่าสินค้าไหนขายดี และยังแสดงข้อมูลลูกค้าขาประจำและขาจร โปรไฟล์ลูกค้าและพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าได้อีกด้วย ttb smart shop analytic report จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงข้อมูลการขายรายเดือนในเชิงลึก ครบทุกมิติ และยังไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้งานแอปพลิเคชันจัดการร้านค้า ttb smart shop

นอกจากนั้น ttb smart shop ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้การทำธุรกิจเป็นไปอย่างคล่องตัว ลดต้นทุนและมีประสิทธิภาพสูงสุด อาทิ เงินเข้าบัญชีทันทีเมื่อรับชำระเงินผ่าน QR Code ได้จากทุกธนาคาร พร้อมมีบริการแจ้งเตือนเงินเข้า โดยแยกยอดเงินเข้าแต่ละยอดอย่างชัดเจน มีรายงานสรุปการขาย สามารถเลือกดูตามช่วงเวลาได้ตลอดตามความต้องการ และมีรายงานรายวันที่มีข้อมูลครบ รอบด้าน ในรูปแบบ Excel ส่งให้ทางอีเมลโดยอัตโนมัติ สามารถกำหนดและตั้งค่าสิทธิ์ของพนักงานได้อย่างไม่จำกัด จึงมีความคล่องตัวสำหรับธุรกิจที่มีหลายสาขา หรือพนักงานที่มีการรับเงินหลายตำแหน่ง พร้อมทั้งสามารถกดขอป้าย QR Code ผ่านแอปได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปสาขาธนาคาร

ผู้ประกอบการ SME ที่สนใจแอปพลิเคชันระบบการจัดการร้านค้า ttb smart shop สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจของท่าน (หากท่านเป็นลูกค้าธุรกิจของทีทีบี) หรือติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต โทร. 0 2643 7000 วันจันทร์ถึงวันเสาร์ เวลา 08:00 - 20:00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดธนาคาร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ขอเชิญผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม และคอนซูมเมอร์ โปรดักส์ เข้าร่วมสัมมนาเสริมองค์ความรู้เพื่อการวางแผนธุรกิจอย่างยั่งยืน ในงาน finbiz connect the future for growth เชื่อมเทรนด์ธุรกิจอนาคต..สู่กลยุทธ์การเติบโตยั่งยืน ในวันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2567 เวลา 13:00 – 17:00 น. ณ โรงแรมคาร์ลตัน กรุงเทพฯ สุขุมวิท ภายใต้โครงการ finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้สำหรับ SME เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าธุรกิจได้นำองค์ความรู้ต่าง ๆ ไปปรับใช้เพื่อรับมือกับเทรนด์ธุรกิจอนาคต พร้อมวางแผนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน 

ผู้ประกอบการจะได้พบกับเทรนด์อุตสาหกรรมในอนาคต เพื่อนำมาเชื่อมต่อกับการปรับตัวขององค์กร การวางแผนการเงินและภาษี พร้อมแนวทางกลยุทธ์ธุรกิจให้พร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีเนื้อหาที่น่าใจ ได้แก่

  • เจาะลึกเทรนด์อุตสาหกรรม และพฤติกรรมผู้บริโภคในอนาคต
  • ถอดบทเรียนความสำเร็จ แนวทางดำเนินธุรกิจเติบโตแบบยั่งยืน ทั้งในประเทศและต่างประเทศจากเจ้าของธุรกิจโดยตรง
  • เทคนิควางแผนภาษีธุรกิจ เพื่อสร้างรากฐานการเงินที่แข็งแรง
  • เพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจคล่องตัวด้วยดิจิทัลโซลูชันทางการเงิน

ผ่านมุมมองของนักธุรกิจ Mentor ของ finbiz มากประสบการณ์ พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่

  • คุณสุรนาม พานิชการ ผู้ก่อตั้งแบรนด์โทฟุซัง และซีอีโอ บริษัท โทฟุซัง จำกัด
  • คุณถนอม เกตุเอม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความรู้ภาษี เจ้าของเพจ TAXBugnoms
  • คุณปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคอนเซปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ (Baramizi Lab)
  • คุณวรงค์นาฏ ตรงคงสิน หัวหน้าผลิตภัณฑ์ธุรกรรมทางการเงินภายในประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต

สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจนิติบุคคลที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และคอนซูมเมอร์ โปรดักส์ ที่มียอดขาย 50 ล้านบาท - 400 ล้านบาทต่อปี สามารถลงทะเบียนผ่าน https://www.ttbbank.com/web/event1 ได้ภายในวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 หรือติดต่อ คุณทิพานันท์ สิขัณฑกสมิตร โทรศัพท์ 08 1172 1166  อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. เพื่อเข้าร่วมงานสัมมนาฟรี (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ขอสงวนสิทธิ์สำหรับผู้ได้รับอีเมลยืนยันการเข้าร่วมงานเท่านั้น

ปัจจุบันกระแส ESG กำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ธุรกิจยุคใหม่จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวทางนี้ โดยหลังจากประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ซึ่งจะส่งผลต่อนโยบายและกลยุทธ์ต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมไปถึงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐด้วย

สำหรับ SME ที่ต้องการคว้าโอกาสทางธุรกิจกับภาครัฐที่มีมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสูงถึง 12% ของ GDP ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และ 30% ของ GDP ในประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่งจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม และด้วยภาครัฐกำลังให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) นำมาสู่แนวทางการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐอย่างยั่งยืน  finbiz by ttb จึงขอแนะโอกาสสำหรับ SME ที่มีความรับผิดชอบ โปร่งใส และยั่งยืนตามแนวคิด ESG เพื่อให้สามารถกุมความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจบนเวทีภาครัฐเอาไว้ได้

 ทำไม ESG ถึงสำคัญสำหรับ SME

  1. นโยบายภาครัฐ ภาครัฐกำลังให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SGDs) การสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนที่กำหนดโดยสหประชาชาติ จึงส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่ยั่งยืน โดยกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญกับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่คำนึงถึง ESG
  2. เทรนด์โลก นักลงทุนและผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญกับ ESG มากขึ้น ธุรกิจที่ไม่คำนึงถึง ESG อาจสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ
  3. การเติบโตอย่างยั่งยืน ESG ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดความเสี่ยงและสร้างความยั่งยืนในระยะยาว

จากปัจจัยดังกล่าว SME ที่มีความรับผิดชอบ โปร่งใส และยั่งยืนตามแนวคิด ESG จึงมีความได้เปรียบบนเวทีการค้ากับภาครัฐ ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจอย่างยั่งยืน

  1. โอกาสทางธุรกิจ ภาครัฐมีงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างที่แน่นอนต่อปี ทำให้ SME สามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่มี คุณภาพ ราคา และ มาตรฐานการผลิตต่าง ๆ รวมไปถึงมาตรฐานองค์กร และแนวคิดด้าน ESG จะช่วยเสริมสร้างโอกาสให้สามารถคว้างานจากภาครัฐได้มากขึ้น
  2. ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน SME ที่ดำเนินการด้าน ESG จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นใจให้กับภาครัฐว่าธุรกิจนั้นมีความรับผิดชอบ โปร่งใส และยั่งยืน
  3. การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ สนับสนุน SME ที่มีการดำเนินการด้าน ESG ผ่านสินเชื่อและผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ

สำหรับการดำเนินการด้าน ESG สำหรับ SME แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม (E : Environment)

ลดการใช้พลังงาน จัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการใช้สินค้ารีไซเคิล ด้านสังคม (S : Social) ดูแลพนักงานอย่างเป็นธรรม สนับสนุนชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมความหลากหลายและการรวมเข้าด้วยกัน และด้านธรรมาภิบาล (G : Governance) ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ป้องกันการคอร์รัปชัน การไม่สนับสนุนการทุจริตใด ๆ มีระบบตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ

เพิ่มโอกาสให้ SME เข้าถึงการเป็นคู่ค้ากับภาครัฐด้วยสินเชื่อธุรกิจที่เข้าใจ

เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้าง สนับสนุนการส่งมอบงานให้ได้เป็นคู่ค้ากับภาครัฐมากขึ้น SME ควรมีสถาบันทางการเงินที่เข้าใจลักษณะของธุรกิจและการทำงานกับภาครัฐ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเสนอและรับงานจากหน่วยงานภาครัฐและนำไปต่อยอดได้ ด้วยการสนับสนุนแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม

ทีทีบี มุ่งมั่นเป็นพันธมิตรที่ SME ไว้วางใจ พร้อมสนับสนุนให้ SME ไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน จึงมีสินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สนับสนุน SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างเป็นคู่ค้าภาครัฐ ที่เข้าใจลักษณะการทำงานกับภาครัฐโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ SME สามารถกุมความได้เปรียบในการแข่งขันบนเวทีภาครัฐได้


ที่มา : ttb และ สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.)

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click