

แกร็บ ผู้นำซูเปอร์แอปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศแต่งตั้ง นางสาวจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม ขึ้นดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย แทนนายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ ซึ่งได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 เป็นต้นไป การประกาศปรับเปลี่ยนผู้บริหารในครั้งนี้เป็นไปตามแผนการสืบทอดตำแหน่งระยะยาวที่บริษัทฯ ได้วางไว้ ซึ่งสะท้อนถึงนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์และความสามารถในการบริหารธุรกิจดิจิทัล
โดยจันต์สุดาจะเข้ามานำทัพทีมบริหารเพื่อขับเคลื่อนองค์กรและสร้างการเติบโตทางธุรกิจของแกร็บในประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมการวางแผนกลยุทธ์ การกำหนดทิศทางขององค์กร ตลอดจนการพัฒนาต่อยอด 4 กลุ่มธุรกิจหลัก อันได้แก่ กลุ่มธุรกิจการเดินทาง (Mobility) กลุ่มธุรกิจเดลิเวอรี (Deliveries) กลุ่มธุรกิจการเงิน (Financial Services) และกลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กร (Enterprise Solutions) พร้อมสานต่อพันธกิจ “GrabForGood” หรือ แกร็บ…เพื่อชีวิตที่ดีกว่า ซึ่งมุ่งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ จันต์สุดามุ่งมั่นที่จะยกระดับและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของแกร็บเพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำแพลตฟอร์มยอดนิยมอันดับหนึ่ง ทั้งในบริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันและบริการฟู้ดเดลิเวอรี การรักษาความสมดุลของอีโคซิสเต็มโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนในวงจรธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นคนขับหรือพาร์ทเนอร์ร้านค้า ควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืนผ่าน 3 เสาหลัก นั่นคือ ธุรกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนบุคลากร
จันต์สุดาเริ่มงานกับแกร็บในปี 2561 ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของ แกร็บ ประเทศไทย โดยดูแลรับผิดชอบงานในด้านการตลาดและการสื่อสารแบรนด์เชิงกลยุทธ์ ทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้ปลุกปั้นแบรนด์ GrabFood ให้กลายเป็นที่นิยมจนสามารถคว้ารางวัล No.1 Brand Thailand มาครองติดต่อกันถึง 5 ปีซ้อน ด้วยประสบการณ์ด้านธุรกิจที่เต็มเปี่ยมและผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ ทำให้จันต์สุดาได้รับความไว้วางใจให้ขยายความรับผิดชอบเพื่อดูแลธุรกิจในด้านอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น การบริหารงานด้านพันธมิตรทางธุรกิจในปี 2564 เพื่อสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจร่วมกับพันธมิตรและคู่ค้าชั้นนำ การรุกตลาดเพื่อขยายบริการ GrabMart ในปี 2565 การดูแลรับผิดชอบสายงานพาณิชย์ในปี 2566 เพื่อผลักดันและสร้างการเติบโตทางธุรกิจทั้งกับกลุ่มผู้บริโภค (B2C) และลูกค้าองค์กร (B2B) รวมถึงบทบาทล่าสุดในการดูแลรับผิดชอบบริการทางการเงินในปี 2567 ที่ผ่านมา
ก่อนร่วมงานกับแกร็บ จันต์สุดาถือเป็นผู้บริหารผู้มากความสามารถและมีประสบการณ์อย่างยาวนานในด้านการตลาดและอีคอมเมิร์ซจากบริษัท ยูนิลีเวอร์ (Unilever) ซึ่งเป็นผู้นำธุรกิจ FMCG ระดับโลก โดยได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ หัวหน้าฝ่ายอีคอมเมิร์ซ ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย และ หัวหน้าฝ่ายการตลาด ยูนิลีเวอร์ ประเทศลาว โดยถือเป็นกำลังสำคัญในการวางรากฐานและกำหนดนโยบายเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโตให้กับแบรนด์ต่างๆ ของยูนิลีเวอร์ ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการแบรนด์ กลุ่มธุรกิจไอศกรีม ซึ่งอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของผลิตภัณฑ์คอร์นเนตโตในประเทศไทย
แกร็บ ประเทศไทย รุดหน้าโครงการ Grab EV เผยยอดคนขับใช้รถ EV ให้บริการบนแพลตฟอร์มเกินหมื่นคัน พร้อมผนึกกำลัง 5 พันธมิตรใหม่ ได้แก่ SUSCO, Whale EV, AGEWAY, SHARGE และ Spark EV ร่วมเดินหน้าผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มคนขับแกร็บ ชูโปรแกรม “ผ่อนขับรับรถ” ให้คนขับเช่าซื้อ BYD Seal ผ่อนจ่ายเริ่มต้นเพียง 1,010 บาทต่อวัน เปิดเช่าแท็กซี่ไฟฟ้าโดยเพิ่มรถรุ่น Aion ES เป็นตัวเลือก พร้อมอัดส่วนลด-สิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับการชาร์จไฟกว่า 600 สถานีทั่วประเทศ
นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เผยว่า “โครงการ Grab EV ได้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 แล้วหลังจากที่เราได้ประกาศเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนคนขับแกร็บที่ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากก๊าซเรือนกระจก โดยปัจจุบันเรามีคนขับที่ให้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ และเดลิเวอรีโดยใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารวมกันเป็นจำนวนมากกว่าหมื่นคัน ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเฉพาะ 10 จังหวัดหลัก ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ โคราช ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี สงขลา อุดรธานี และอุบลราชธานี”
“ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จำนวนคนขับที่ใช้รถ EV เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่วนหนึ่งมาจากการที่เรามีเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่งและมีความเชี่ยวชาญจากหลายภาคส่วนมาช่วยสนับสนุน โดยร่วมกันพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงยานยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มคนขับแกร็บ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้า ผู้ให้บริการเช่ายานยนต์ไฟฟ้า ผู้ให้บริการทางการเงิน รวมถึงสถานีชาร์จไฟฟ้า และเพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการ Grab EV อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด เราได้จับมือกับ 5 พันธมิตรใหม่ อันได้แก่ บริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน) (SUSCO), บริษัท ไบโอ แลป ซัพพลาย จำกัด (Whale EV), บริษัท เอจีอี อีวี พลัส จำกัด (บริษัทในเครือของ AGE Group ภายใต้ชื่อ AGEWAY), บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SHARGE) และ บริษัท สปาร์ค อีวี จำกัด (Spark EV) ที่จะเข้ามาช่วยปลดล็อคข้อจำกัดต่างๆ และเพิ่มทางเลือกที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนขับยิ่งขึ้น” นายวรฉัตร กล่าวเสริม
ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตรเหล่านี้ แกร็บได้พัฒนาโปรแกรม รวมถึงสิทธิประโยชน์สำหรับคนขับแกร็บ ดังนี้
· โปรแกรม “ผ่อนขับรับรถ”: แกร็บได้ร่วมมือกับ SUSCO ผู้ให้บริการสินเชื่อยานยนต์ไฟฟ้า เปิดโอกาสให้คนขับแกร็บสามารถเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าได้ โดยพิจารณาอนุมัติสินเชื่อจากประวัติในการให้บริการกับแกร็บ ทั้งนี้ คนขับสามารถเช่าซื้อรถยนต์ไฟฟ้า BYD Seal รุ่น Dynamic รุ่น Premium และ รุ่น AWD Performance ด้วยการผ่อนจ่ายรายวันเริ่มต้นที่ 1,010 บาทโดยหักรายได้จากการให้บริการในแต่ละวัน ในระยะสัญญา 5 ปี และไม่ต้องวางเงินดาวน์ พร้อมยังได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ อาทิ การรับประกันแบตเตอรี่ 8 ปีหรือ 160,000 กม. ฟรีค่าซ่อมบำรุงรักษาตามรอบ ฟรีประกันรถสาธารณะชั้น 1 รวมถึงการให้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินจากผู้ให้บริการตลอดอายุสัญญา
· โปรแกรม “เช่าครบจบบนแอป”: แกร็บจับมือกับ 2 พันธมิตรผู้ให้บริการเช่าแท็กซี่ไฟฟ้า ได้แก่ Whale EV และ AGEWAY เปิดให้บริการเช่ารถแท็กซี่ไฟฟ้าเพื่อให้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน Grab โดยได้มีการนำรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น Aion ES เข้ามาเป็นตัวเลือกเพิ่มเติม จากเดิมที่มีเพียงรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น MG EP ให้บริการ โดยรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น Aion ES ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มคนขับแท็กซี่ ซึ่งหลังจากที่ได้ทดลองปล่อยเช่าตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีคนขับใช้รถรุ่นนี้ให้บริการแล้วกว่า 400 คัน
· สิทธิประโยชน์พิเศษจากสถานีชาร์จไฟฟ้า: แกร็บยังได้ขยายความร่วมมือกับ 2 พันธมิตรผู้ให้บริการสถานีชาร์จไฟฟ้า ได้แก่ SHARGE และ Spark EV เพื่อเสริมความมั่นใจให้คนขับแกร็บในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จไฟฟ้าที่มีมากกว่า 600 แห่งทั่วประเทศ โดยมอบสิทธิประโยชน์พิเศษให้กับคนขับแกร็บเป็นพิเศษ อาทิ อัตราค่าไฟพิเศษเพียง 5.84 บาทต่อหน่วย (จากราคาปกติ 7.5–9.5 บาทต่อหน่วย) สำหรับการชาร์จไฟฟ้าที่สถานีชาร์จของ ReverSharger 1และบัตรกำนัลมูลค่า 1,000 บาท จำนวน 1,000 รางวัลให้กับคนขับแกร็บสำหรับการชาร์จไฟฟ้าที่สถานีชาร์จของ Spark EV ภายในกุมภาพันธ์นี้
“การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่แกร็บมุ่งลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากวงจรธุรกิจ ภายใต้พันธกิจ GrabForGood หรือ แกร็บ…เพื่อชีวิตที่ดีกว่า ซึ่งที่ผ่านมา เราไม่เพียงร่วมมือกับพันธมิตรจากหลากหลายภาคส่วนเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับข้อดีและประโยชน์ของการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทั้งกับคนขับและผู้ใช้บริการไปควบคู่กัน โดยได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งสะท้อนผ่านจำนวนของคนขับที่หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นนับหมื่นคัน รวมถึงจำนวนผู้ใช้บริการที่เปิดฟีเจอร์เลือกใช้รถอีวี (Grab EV Rides) เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า2 ซึ่งตัวเลขเหล่านี้นับเป็นแรงผลักดันสำคัญที่่ทำให้เรามุ่งมั่นเดินหน้าสานต่อความตั้งใจในการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคนในสังคมต่อไป” นายวรฉัตร กล่าวปิดท้าย
แกร็บ ประเทศไทย ขานรับนโยบายรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568 ชวนพันธมิตรค้าปลีกชั้นนำและผู้ประกอบการรายย่อยตบเท้าร่วมแคมเปญ “GrabMart Easy E-Receipt 2.0” มอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีเมื่อช้อปสินค้าที่ร่วมรายการผ่านบริการแกร็บมาร์ท (GrabMart) โดยผู้ใช้บริการสามารถขอรับใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบผ่านแอปพลิเคชันเพื่อนำมาใช้ลดหย่อนภาษีปี 25681 ตามที่จ่ายจริงได้สูงสุดถึง 30,000 บาท2 พร้อมส่งดีลพิเศษทริปเปิลความคุ้ม “ลดหย่อนง่าย คุ้มได้ 3 ต่อ” มอบส่วนลดสูงสุด 20% ตลอดแคมเปญ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
นายจิรกิตต์ กว้างสุขสถิตย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจเดลิเวอรี แกร็บ ประเทศไทย เผยว่า “ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มเดลิเวอรียอดนิยม แกร็บพร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการ ‘Easy E-Receipt 2.0’ ซึ่งเป็นการขยายผลจากมาตรการเดิมตามมติคณะรัฐมนตรีที่ประกาศเมื่อวันที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยเราพร้อมอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการที่ซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคบนแกร็บมาร์ทสามารถขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จากร้านค้าที่ร่วมรายการได้โดยตรง ซึ่งในปีนี้แกร็บได้ยกขบวนสินค้ามากกว่า 1.6 ล้านรายการจากร้านค้าพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการค้าปลีกและแบรนด์ชั้นนำ นำโดย ท็อปส์, โลตัส, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, โฮมโปร, เบทาโกร, บิวเทรียม, บีทูเอส, บู๊ทส์, มัทสึโมโตะ คิโยชิ, มูจิ, มาร์คแอนด์สเปนเซอร์, ออฟฟิศเมท, โอเรียนทอล พริ้นเซส รวมถึงผู้ประกอบการร้านค้ารายย่อยจากทั่วประเทศอีกมากมาย”
พร้อมกันนี้ แกร็บยังเอาใจเหล่านักช้อปด้วยโปรโมชัน “ลดหย่อนง่าย คุ้มได้ 3 ต่อ” โดยผู้ที่ซื้อสินค้าผ่านแกร็บมาร์ท จากร้านค้าที่ร่วมรายการ ระหว่างวันที่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568 จะได้รับความคุ้มค่าแบบ 3 ต่อ ต่อที่หนึ่ง: รับสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2568 จากการใช้จ่ายตามจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท ต่อที่สอง: พิเศษสำหรับผู้ใช้ใหม่ รับส่วนลดทันที 20% เพียงกรอกรหัส EASY20 (สูงสุด 350 บาท เมื่อซื้อสินค้าขั้นต่ำ 800 บาท) และ ต่อสุดท้าย: รับส่วนลดเพิ่มทันที 15% ในการสั่งซื้อครั้งถัดไป เพียงกรอกรหัส EASY15 (สูงสุด 300 บาท เมื่อสั่งซื้อสินค้าขั้นต่ำ 1,000 บาท)
ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านบริการแกร็บมาร์ทพร้อมใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีตามมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” ได้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568 โดยสามารถติดตามรายละเอียดของแคมเปญฯ ขั้นตอนการขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ทาง https://www.grab.com/th/blog/grabmart-easy-e-receipt
แกร็บ ประเทศไทย เดินหน้าปลุกพลังคนรุ่นใหม่ เสริมแรงบันดาลใจให้ Gen Z ผ่านการประกวดแผนธุรกิจ GrabSpark 2024 เปิดเวทีโชว์ศักยภาพในการนำเสนอไอเดียที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี-บิ๊กดาต้าเสริมทักษะด้านธุรกิจและนวัตกรรม พร้อมปลูกฝังแนวคิดด้านความยั่งยืนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการขับเคลื่อนธุรกิจยุคดิจิทัล เพื่อเตรียมความพร้อมให้คนรุ่นใหม่ก้าวสู่โลกธุรกิจอย่างมั่นใจ โดย 4 นิสิตจากรั้วจามจุรีสามารถฝ่าด่านการแข่งขันกับผู้สมัครนับพันจาก 32 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จนคว้ารางวัลชนะเลิศด้วยแผนธุรกิจ “Ever Grow and Never Ending” นำเสนอโซลูชันที่ช่วยผลักดันให้บริการซูเปอร์แอปเติบโตแบบก้าวกระโดด พร้อมเชื่อมโยงคนในอีโคซิสเต็มเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและยั่งยืนให้ธุรกิจ
นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “นับเป็นปีที่สามแล้วที่ แกร็บ ประเทศไทย ได้จัดการประกวดแผนธุรกิจ GrabSpark โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนิสิตนักศึกษาไทย ซึ่งถือเป็นตัวแทนของ Gen Z ที่จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต โดยเฉพาะเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งมีอัตราการเติบโตกว่า 2 เท่าของ GDP ในปีนี้1 โดย Gen Z เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีและโลกอินเทอร์เน็ต ทำให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ฉับไว เห็นโลกกว้าง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ มองเห็นโอกาสใหม่ๆ และกล้าตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ทั้งยังเป็นเจเนอเรชันที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Impact) ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจในการดำเนินธุรกิจของแกร็บที่มุ่งพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหา (Pain Point) และตอบสนองความต้องการให้กับผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การเปิดเวทีให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพผ่านการนำเสนอแผนธุรกิจถือเป็นอีกหนึ่งความตั้งใจที่แกร็บต้องการผลักดันให้พวกเขาได้ใช้ความรู้และทักษะที่มีคิดต่อยอดเพื่อพัฒนาโซลูชันใหม่ๆ โดยสามารถใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้าและเทคโนโลยีดิจิทัลมาบูรณาการ ทั้งยังส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม พร้อมปลูกฝังแนวคิดด้านความยั่งยืนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจและธุรกิจแห่งอนาคตอีกด้วย”
การประกวดแผนธุรกิจ GrabSpark จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2022 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ GrabCampus ที่มุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับกลุ่มนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยในปีนี้แกร็บได้เปิดโอกาสให้เยาวชนจากทุกสถาบันเข้าร่วมการประกวดแผนธุรกิจภายใต้โจทย์ “The Next Chapter of Superapp: Unlocking Potential for Accelerated Sustainable Growth” เพื่อนำเสนอไอเดียและแผนการตลาดในการผลักดันบริการซูเปอร์แอปให้สามารถเติบโตได้แบบก้าวกระโดดและยั่งยืน โดยมีนิสิตนักศึกษากว่า 1,116 คนจาก 32 มหาวิทยาลัย ทั่วประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมการแข่งขันเพื่อแสดงศักยภาพ และชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และสิทธิพิเศษ Fast-track เพื่อเข้าร่วมโปรแกรม GrabIntern ซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกงานที่ แกร็บ ประเทศไทย เพื่อสัมผัสประสบการณ์การทำงานในธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม พร้อมต่อยอดสู่การพัฒนาทักษะในระดับมืออาชีพในโลกธุรกิจจริง
ทั้งนี้ หลังผ่านการประกวดที่เข้มข้นและการพิจารณาตัดสินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้มากประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในหลายสาขา ทีมที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศในการประกวดแผนธุรกิจ GrabSpark 2024 ไปครองคือ ทีม G Good จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่โดดเด่นด้วยแผนธุรกิจที่ชื่อ “Ever Grow and Never Ending”
นางสาวคณิตา เนตรดวงมณี ตัวแทนจากทีม G Good กล่าวว่า “แผนธุรกิจของเรามุ่งเน้นไปที่การสร้างความสมดุลระหว่างการสนับสนุนพาร์ทเนอร์ร้านค้าของแกร็บและการตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยเรามองเห็นโอกาสในการพัฒนาบริการ GrabFood และ GrabMart ซึ่งมีฐานลูกค้าแข็งแกร่งอยู่แล้ว พร้อมต่อยอดความสำเร็จที่มีอยู่เดิม โดยสำหรับ GrabFood เราได้วิเคราะห์และออกแบบโซลูชันที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้พาร์ทเนอร์ร้านค้า และพัฒนาฟีเจอร์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างรอบด้าน ตั้งแต่การเดินทางไปจนถึงการทานอาหารที่ร้าน ส่วน GrabMart เราเน้นการขยายพาร์ทเนอร์ในระบบเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อสินค้าคุณภาพ พร้อมสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้แก่พาร์ทเนอร์ร้านค้าอีกด้วย นอกจากนี้ เรายังเสนอการทำ Gamification ที่เชื่อมโยงบริการต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างความเพลิดเพลินและความผูกพันกับแบรนด์ในระยะยาว โดยเรามั่นใจว่าแผนธุรกิจนี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับพาร์ทเนอร์และผู้ใช้บริการ ผ่านกลยุทธ์ที่เน้นสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของแกร็บในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคม”
แกร็บ ประเทศไทย รุดหน้าโครงการ Grab EV เผยยอดคนขับใช้รถ EV ให้บริการบนแพลตฟอร์มเกินหมื่นคัน พร้อมผนึกกำลัง 5 พันธมิตรใหม่ ได้แก่ SUSCO, Whale EV, AGEWAY, SHARGE และ Spark EV ร่วมเดินหน้าผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มคนขับแกร็บ ชูโปรแกรม “ผ่อนขับรับรถ” ให้คนขับเช่าซื้อ BYD Seal ผ่อนจ่ายเริ่มต้นเพียง 1,010 บาทต่อวัน เปิดเช่าแท็กซี่ไฟฟ้าโดยเพิ่มรถรุ่น Aion ES เป็นตัวเลือก พร้อมอัดส่วนลด-สิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับการชาร์จไฟกว่า 600 สถานีทั่วประเทศ
นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เผยว่า “โครงการ Grab EV ได้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 แล้วหลังจากที่เราได้ประกาศเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนคนขับแกร็บที่ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากก๊าซเรือนกระจก โดยปัจจุบันเรามีคนขับที่ให้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ และเดลิเวอรีโดยใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารวมกันเป็นจำนวนมากกว่าหมื่นคัน ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเฉพาะ 10 จังหวัดหลัก ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ โคราช ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี สงขลา อุดรธานี และอุบลราชธานี”
“ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จำนวนคนขับที่ใช้รถ EV เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่วนหนึ่งมาจากการที่เรามีเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่งและมีความเชี่ยวชาญจากหลายภาคส่วนมาช่วยสนับสนุน โดยร่วมกันพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงยานยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มคนขับแกร็บ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้า ผู้ให้บริการเช่ายานยนต์ไฟฟ้า ผู้ให้บริการทางการเงิน รวมถึงสถานีชาร์จไฟฟ้า และเพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการ Grab EV อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด เราได้จับมือกับ 5 พันธมิตรใหม่ อันได้แก่ บริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน) (SUSCO), บริษัท ไบโอ แลป ซัพพลาย จำกัด (Whale EV), บริษัท เอจีอี อีวี พลัส จำกัด (บริษัทในเครือของ AGE Group ภายใต้ชื่อ AGEWAY), บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SHARGE) และ บริษัท สปาร์ค อีวี จำกัด (Spark EV) ที่จะเข้ามาช่วยปลดล็อคข้อจำกัดต่างๆ และเพิ่มทางเลือกที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนขับยิ่งขึ้น” นายวรฉัตร กล่าวเสริม
ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตรเหล่านี้ แกร็บได้พัฒนาโปรแกรม รวมถึงสิทธิประโยชน์สำหรับคนขับแกร็บ ดังนี้
“การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่แกร็บมุ่งลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากวงจรธุรกิจ ภายใต้พันธกิจ GrabForGood หรือ แกร็บ…เพื่อชีวิตที่ดีกว่า ซึ่งที่ผ่านมา เราไม่เพียงร่วมมือกับพันธมิตรจากหลากหลายภาคส่วนเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับข้อดีและประโยชน์ของการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทั้งกับคนขับและผู้ใช้บริการไปควบคู่กัน โดยได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งสะท้อนผ่านจำนวนของคนขับที่หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นนับหมื่นคัน รวมถึงจำนวนผู้ใช้บริการที่เปิดฟีเจอร์เลือกใช้รถอีวี (Grab EV Rides) เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า[2] ซึ่งตัวเลขเหล่านี้นับเป็นแรงผลักดันสำคัญที่่ทำให้เรามุ่งมั่นเดินหน้าสานต่อความตั้งใจในการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคนในสังคมต่อไป” นายวรฉัตร กล่าวปิดท้าย
[1] จำกัด 1 สิทธิ์ ต่อ 1 ผู้ใช้บริการ
[2] เปรียบเทียบระหว่างปี 2566 และ 2567