นักลงทุนจองหุ้น BPS 120 ล้านหุ้นเกลี้ยง พร้อมเทรด 3 เมษายนนี้ สะท้อนความเชื่อมั่นของธุรกิจ ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมและโซลูชั่นด้านไฟฟ้าและสื่อสาร เพื่อก้าวสู่ SMART HOME ในอนาคต

นายวิชา โตมานะ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น BPS เปิดเผยว่า การเสนอหุ้น IPO ของบริษัท บีพีเอส เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ BPS จำนวน 120 ล้านหุ้น ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคมที่ผ่านมา ปรากฎว่านักลงทุนให้ความสนใจจองซื้อหุ้นและให้การตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจและเชื่อมั่นในศักยภาพของ BPS ที่จะเป็นหนึ่งในหุ้นมีโอกาสเติบโตในอนาคต ด้วยภาพลักษณ์ของธุรกิจ ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมและโซลูชั่นเพื่อการอยู่อาศัยครบวงจร และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย เพื่ออำนวยความสะดวกสบายในทุกฟังก์ชั่นการใช้งาน

นายสุรพงษ์ สาเรชพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีพีเอส เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะสร้างให้ BPS เป็นที่รู้จักและได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าและคู่ค้าเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัท พร้อมทั้งจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถพัฒนานวัตกรรมและโซลูชั่นต่างๆ ด้านไฟฟ้า การประหยัดพลังงาน และการสื่อสาร เพื่อต่อยอดและสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการของบริษัทต่อไปในอนาคต

สำหรับเงินระดมทุนในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ด้วยการลงทุนด้านอุปกรณ์และการติดตั้งงานเดินโครงข่ายไฟเบอร์ออพติกเพื่อการสื่อสาร (Fiber to the Home : FTTx) สำหรับคอนโดมิเนียมและอาคารสูง ซึ่งมีโอกาสขยายตัวอย่างมากในอนาคต นอกจากนี้จะนำเงินไปใช้สำหรับก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้สำหรับช่างและบุคคลทั่วไป ทั้งในด้านการติดตั้งโซลาร์เซลบนหลังคา และระบบ Edge Data Center Facilities 24x7 Monitoring ซึ่งจะทำให้บุคลากรของ BPS มีความรู้ความเชี่ยวชาญในงานด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพทำงานให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ในปี 2567 บริษัทมีแผนที่จะขยายธุรกิจการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ทั้งแนวราบและแนวสูง โดยตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าจำนวน 30 เมกะวัตต์ นอกจากนี้บริษัทจะนำเสนอนวัตกรรม Green Home Solution เพื่อตอบสนองในเรื่องของบ้านอยู่สบาย บ้าน Internet ความเร็วสูง บ้านประหยัดพลังงาน เป็น One Stop Service ในเรื่องอุปกรณ์ และงานติดตั้ง ซึ่งบริษัทมีความเชี่ยวชาญด้าน Supply Chain Management โดยจะเน้นไปยังตลาดบ้านมือสอง และกลุ่มประชากรสูงอายุมีความต้องการซ่อมแซม แก้ไข ปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน พร้อมทั้งมองถึงการขยายโอกาส ให้สอดคล้องกับแนวคิด SMART HOME เช่น การติดตั้งโรงรถ พร้อมระบบ Solar roof-top (Garage Roof) การติดตั้งระบบระบายอากาศ (Airflow) และการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟฟ้า (EV Charger) อีกด้วย

บมจ.ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) หรือ CFARM ยื่นแบบ Filing ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เสนอขายไอพีโอ 149 ล้านหุ้น เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai)

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) จำกัด (มหาชน) หรือ CFARM เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) พร้อมแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ Filing) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และยื่นคำขอให้รับหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2566 เรียบร้อยแล้ว

“ปัจจุบัน ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) หรือ CFARM มีทุนจดทะเบียน 431 ล้านบาท เตรียมเพิ่มทุนอีก 149 ล้านบาท ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท รวมเป็นทุนจดทะเบียน 580 ล้านบาท โดยจะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 149.00 ล้านหุ้น หรือไม่เกิน 25.69% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายแล้วของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ และจะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai” นายสมศักดิ์กล่าว

นายสุริยา ธรรมธีระ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวเสริมว่า การระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai จะเพิ่มศักยภาพ ขยายโอกาสต่อยอดธุรกิจให้มีความมั่นคง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังได้รับความน่าเชื่อถือจากลูกค้า คู่ค้า และสถาบันการเงินมากยิ่งขึ้น สร้างความยั่งยืนให้องค์กรในระยะยาว

สำหรับวัตถุประสงค์หลักในการระดมทุน เพื่อก่อสร้างฟาร์ม ปรับปรุงโรงเรือน อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ นอกจากนี้ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ รองรับการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนของธุรกิจ

ด้านนายชูรัตน์ จึงธนสมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) จำกัด (มหาชน) หรือ CFARM เปิดเผยว่าบริษัทดำเนินธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ ประเภทฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อให้กับคู่สัญญาชั้นนำในประเทศไทยในรูปแบบเกษตรพันธสัญญาแบบประกันราคา เลี้ยงไก่เนื้อในโรงเรือนด้วยระบบปิดปรับอากาศ(Evaporative Cooling System : EVAP) ทุกโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อมีคุณภาพตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมาตรฐานที่กำหนดโดยคู่สัญญา อีกทั้งบริษัทได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (เลี้ยงไก่) ด้านประกอบกิจการเลี้ยงไก่เนื้อ ที่ออกโดยองค์การบริหารส่วนตำบลท้องถิ่นที่โรงเรือนตั้งอยู่ ปัจจุบันบริษัทได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 (ระบบบริหารงานคุณภาพ) , ISO 14001:2015 (ระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม) , ISO 45001:2018 (มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย) 

โดยในปัจจุบันบริษัทมีฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อทั้งสิ้น 8 ฟาร์ม ประกอบด้วยโรงเรือนจำนวน 121 โรงเรือน ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีความสามารถในการเลี้ยงไก่เนื้อประมาณ 3.18 ล้านตัวต่อรอบการเลี้ยง หรือประมาณ 15.88 ล้านตัวต่อปี

นายสิริวัฒน์ ธนุรเวท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิริซอฟต์ จำกัด (มหาชน) หรือ SRS พร้อมด้วย ทีมผู้บริหารของบริษัทฯ และนางสาวเดือนพรรณ ลีลาวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไพโอเนีย แอดไวเซอรี่ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน ร่วมนำเสนอข้อมูลในงานประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Analyst Meeting) โชว์ศักยภาพ SRS ที่ปรึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับองค์กร ผ่านแนวทางการทำงานแบบ DevOps (Development & Operations) ที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง ชูผลการดำเนินงานปี 2563–2565 รายได้จากการขายและบริการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 137.37% พร้อมเดินหน้าขยายการเติบโต เสนอขายหุ้น IPO 40 ล้านหุ้น และนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในหมวดธุรกิจเทคโนโลยี (Technology) โดยงานดังกล่าวจัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่ บมจ.สิริซอฟต์ เมื่อเร็วๆ นี้

X

Right Click

No right click