December 23, 2024

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่, วิทยาลัยนานาชาติ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (International College, Panyapiwat Institute of Management) ร่วมกับองค์กรพันธมิตร จัดงานประกาศผลการแข่งขัน PIM International Hackathon 2024 ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษา หลังท้าชิงไอเดียธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้คอนเซปท์ “Sustainable Well-being towards Zero-Green-Clean Economy” โดยได้รับการสนับสนุนจาก HSBC Thailand - Mitsubishi Electric Factory Automation (Thailand) - Accenture Thailand - คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง - ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FutureTales Lab by MQDC) -  ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) - อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย - บริษัท ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ จำกัด (กองทุน ดิสรัปท์อิมแพค)

PIM International Hackathon 2024 มุ่งเน้นแนวคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่และมีความน่าสนใจด้าน การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ พลังงานหมุนเวียน การชดเชยคาร์บอน อาหารที่ปลอดภัย สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และเป็นส่วนหนึ่งในการค้นหาโซลูชันใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจากพลังสมองคนรุ่นใหม่ พร้อมมีโอกาสพัฒนาเป็นโมเดลธุรกิจหรือนวัตกรรมที่สามารถคืนคุณค่าแก่สังคมในอนาคต ซึ่งได้รับผลตอบรับดีมากจากเยาวชนทั้งไทยและต่างชาติส่งแข่งขันถึง 75 ไอเดีย โดยทีมที่ชนะเลิศจากการตัดสินของคณะกรรมการทรงคุณวุฒิ ได้รับรางวัลและทุนการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสมัยใหม่ หลักสูตรนานาชาติ (iMBE) Bachelor of Business Administration Program in Modern Business Entrepreneurship (International Program) และ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ธุรกิจระหว่างประเทศ) หลักสูตรนานาชาติ Master of Business Administration Program in International Business (iMBA) รวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท

ผลการแข่งขัน PIM International Hackathon 2024

ระดับอุดมศึกษา

รางวัลชนะเลิศ ทีม LOCOL จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย & มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ผลงาน : Premium, Low-Carbon Thai Beef, Savor Sustainability, Nourish Locally, And A Thriving Ecosystem.

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม ALPACA จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงาน : An application to enhance remote speech therapy using artificial intelligence.

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม MEDSAGE จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และ The University of Hong Kong
ผลงาน : Medical Sustainability And Green Environment. “Health Care ESG Management Platform

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

รางวัลชนะเลิศ ทีม EUREKA! จาก โรงเรียนนานาชาติเอกมัย
ผลงาน : P2F Machine “Plastic Recycling Innovation for Sustainable Education”

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  ทีม WolffiaX จาก โรงเรียนอัสสัมชัญหลักสูตรภาษาอังกฤษ, โรงเรียนนานาชาติรีเจ้นท์ พัทยา, โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงเรียนสาธิตนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผลงาน : Rice Sprinkle made of Wolffia to provide enough nutrition to solve the food crisis in the poor nation, especially poor children

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม PACT จาก โรงเรียนนานาชาติโมเดิร์น กรุงเทพฯ
ผลงาน : PACT (Planetary Action for Carbon Transparency) Track Your Impact, Keep the Earth Intact

วิทยาลัยนานาชาติ พีไอเอ็ม ร่วมกับ บมจ.ซีพี ออลล์ ผนึกกำลังครั้งสำคัญระหว่างภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ร่วมกระตุ้นการปลูกฝังแนวคิดในระดับเยาวชน ให้เข้าถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อม ผสานการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล ไอเดียใหม่ๆ เข้าใจการวางแผนโมเดลธุรกิจที่ขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว การพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ไปพร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล รวมทั้งได้สร้างค่านิยมให้กับเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญช่วยผลักดันเรื่องดังกล่าวให้ไปในทิศทางเชิงบวก ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญที่ซีพี ออลล์ มุ่งหวังสร้างคนเก่ง คนดี มีความสามารถผ่านการศึกษา ภายใต้ปณิธาน “Giving & Sharing” มาอย่างต่อเนื่อง

พบกันใหม่ในปี 2025!

ติดตามบรรยากาศการแข่งขันย้อนหลังและกิจกรรมของวิทยาลัยนานาชาติ พีไอเอ็ม ได้ที่
PIM Inter Hackathon https://www.facebook.com/PIMInterHackathon
PIM International https://www.facebook.com/interprogrampim
Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Website : https://interprogram.pim.ac.th/

ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ความรู้และทักษะใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง  ในมิติของการศึกษา การเรียนรู้การปรับตัวจึงกลายเป็นทักษะจำเป็น ถือเป็นยุคที่ท้าทาย แต่ก็สร้างโอกาสให้กับคนที่พร้อมปรับตัว และปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเทคโนโลยีมีความสำคัญ ตลาดแรงงานมีความต้องการบัณฑิตวิศวกรรมที่มีทักษะและความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) หนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ปรับหลักสูตรคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีตอบโจทย์ความต้องการอุตสาหกรรม ได้แก่ หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ, หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์,  หลักสูตรวิศวกรรมการผลิตยานยนต์, หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ, หลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ  และหลักสูตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (โครงการจัดตั้ง)

ชูจุดแข็งรูปแบบการเรียนการสอนผ่าน Work-based Education (WBE) หรือการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง มุ่งเน้นการผลิตวิศวกรผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงานได้จริงและตอบโจทย์เทคโนโลยี อุตสาหกรรมสมัยใหม่ ทั้งด้าน IT, AI, ยานยนต์, หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ผ่านการฝึกงานทั้งในและต่างประเทศด้วยเครือข่ายที่แข็งแกร่ง เรียนจบพร้อมทำงานอย่างมืออาชีพทันที (Ready to Work) ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ทั้ง First S-Curve และ New S-Curve  ขยายโอกาสในการสร้างรายได้และการจ้างงานใหม่ๆ เพราะกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้เปรียบเสมือนกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth)

วิศวกรรมฯ ปัญญาภิวัฒน์ หลักสูตรเจ๋ง ทุนแจ๋ว

ไทเกอร์- วสลักษณ์ พงโศธร  บัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ปัจจุบันก้าวสู่ วิศวกรเทคนิค บริษัท ICS Sakabe Co.,Ltd. ประเทศญี่ปุ่น เล่าจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในสายวิชาชีพนี้ว่า  ช่วงใกล้จบม.6 ทีมแนะแนว PIM ได้เข้าไปให้ข้อมูลที่โรงเรียนสายปัญญา รังสิต จึงเกิดความสนใจในสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ เพราะพ่อแม่ทำงานด้านยานยนต์และสนใจรูปแบบการสอนของที่นี่ ซึ่งตนเองก็สนใจเรื่องเครื่องยนต์และมองเห็นโอกาสจากรูปแบบการเรียนคือฝึกงานไปด้วย เรียนไปด้วย หรือ Work-based Education  มีเครือข่ายภาคธุรกิจที่เป็นองค์กรชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศ จึงเกิดความตั้งใจที่จะเรียนที่นี่ พร้อมตั้งเป้าหมายการไปฝึกงานและทำงานที่ต่างประเทศ ที่สำคัญคือได้รับทุนการศึกษา 50%   

สำหรับการเรียนตลอด 4 ปีของสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ จะได้เรียนรู้พื้นฐานทางวิศวกรรม 3 ศาสตร์สำคัญๆ “วิศวกรรมเครื่องกล + วิศวกรรมยานยนต์ + วิศวกรรมการผลิต”  โดย 1.วิศวกรรมเครื่องกล เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การผลิต และการดูแลรักษาเครื่องจักร รวมถึงการควบคุมและการจัดการการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย  2.วิศวกรรมยานยนต์ เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การพัฒนา และการผลิตยานพาหนะทั้งรถยนต์ รถบัส รถไฟ รถจักรยานยนต์ และยานอวกาศ เฉพาะเรื่องของระบบการเคลื่อนที่และส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง และ 3.วิศวกรรมการผลิต เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการจัดการกระบวนการผลิต เมื่อมีความรู้พื้นฐานที่สำคัญแล้ว จึงต่อยอดไปสู่เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ โดยมีการเรียนรู้ในเรื่องของอีโค่คาร์ รถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ไร้คนขับ ตลอดจนเครื่องยนต์สำหรับยานยนต์สมัยใหม่  นำเทรนด์การเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจยานยนต์ ด้วยการนำหุ่นยนต์ ระบบออโตเมชั่น และระบบการผลิตอัจฉริยะ มาใช้พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมยานยนต์ ไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ

เรียนแล้วเวิร์ค ทำงานแล้วเวิร์ค

ไทเกอร์เล่าต่อว่า ปี 1 ได้ฝึกงานที่ 7-Eleven เป็นแคชเชียร์ เติมของ สั่งของ จัดสต๊อก สิ่งที่ได้คือฝึกความอดทน มนุษยสัมพันธ์ที่ดี และการเข้าใจงานบริการ  ปี 2 ฝึกงานที่ บจก.เค้งหงษ์ทอง เป็นการฝึกงานซ่อมบำรุงรถ Mercedes-Benz ทำให้ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจวิชาที่เรียนมาใช้ลงมือปฏิบัติจริง ปี 3 – ปี 4 มีโอกาสได้ไปฝึกงานที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ MTEC ศึกษาเกี่ยวกับถ่านกัมมันตภาพรังสีที่กักเก็บประจุไฟฟ้าในระบบรถยนต์ 3 เดือน แล้วกลับมาทำโปรเจ็คต์ ก่อนจะเดินทางไปฝึกงานที่คิตะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น 4 เดือน ที่บริษัท ICS Sakabe Co.,Ltd.ในตำแหน่งวิศวกรฝ่ายผลิต เพราะสนใจเรื่องการผลิต ระบบไฟฟ้า ระบบอัตโนมัติในโรงงาน ที่เลือกโรงงานนี้เพราะทำเกี่ยวกับหุ่นยนต์และมีรุ่นพี่ไปทำงานที่นี่ อีกทั้งบริษัทมีแพลนมาเปิดสาขาที่เมืองไทย ก่อนฝึกงานจบบริษัทก็รับเข้าทำงานในตำแหน่งวิศวกรเทคนิค ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยไทเกอร์วางแผนทำงานที่ญี่ปุ่นยาว 5 ปี แล้วกลับเมืองไทยตามที่บริษัทแพลนไว้ ถึงตอนนั้นอาจจะทำธุรกิจของครอบครัวควบคู่ไปด้วย

“มาถึงวันนี้ผมคิดว่าเกินเป้าหมายครับ ตั้งแต่เข้ามาเรียนที่ PIM ก็ได้รับโอกาสในการพัฒนาตัวเองผ่านกิจกรรม ผ่านการฝึกงาน เมื่อได้งานที่ ICS Sakabe ประเทศญี่ปุ่น ทั้งครอบครัวก็ดีใจกันมากๆ ขอบคุณซีพี ออลล์ ที่เข้ามาสร้างโอกาสผ่านการศึกษา สนับสนุนความฝันเยาวชน ผมเชื่อว่าบัณฑิตที่จบจาก PIM เป็นคนเก่ง มีความสามารถ พร้อมทำงานได้ทันที” ไทเกอร์บอกเล่าอย่างภูมิใจ

นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า ซีพี ออลล์ ให้ความสำคัญกับนโยบาย “สร้างคน” โดยส่งเสริมการศึกษาพัฒนาเยาวชน เพื่อ  “สร้างคนเก่ง คนดี มีความสามารถผ่านการศึกษา”  ซึ่งเป็นฐานรากที่สำคัญของประเทศ การสร้างคนเป็นเรื่องหนึ่งที่ซีพี ออลล์ มุ่งมั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่องผ่านสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และอีกหลากหลายช่องทาง ในแต่ละปีจึงมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนนักศึกษาจำนวนมาก รวมถึงจับมือพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในสาขาที่เกี่ยวข้อง มาร่วมขับเคลื่อนการสร้างคนอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2568 ซีพี ออลล์ ตั้งเป้ามอบทุนการศึกษามากกว่า 37,000 ทุน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,181 ล้านบาทเพื่อช่วยให้สังคมและเศรษฐกิจของไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็ง ตามปณิธานองค์กร Giving and Sharing

หลายปีที่ผ่านมา คนรุ่นใหม่จำนวนมาก เลือกเดินออกจาก “ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม” เพราะบางคนมองเป็นงานหนัก บางคนมองว่า “ไม่เท่” รวมถึงบางคนมองเป็นงานยากในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่สำหรับ นิ้ง-สิริยากร ธรรมจิตร์ บัณฑิตป้ายแดงเจ้าของแบรนด์ทุเรียน “ลูกสาวกำนัน” จ.จันทบุรี นั้น เธอเลือกยืนหยัดกลับมาสานต่อธุรกิจสวนทุเรียนของครอบครัว กลายเป็น New Gen ยุวเกษตรกร ที่มุ่งมั่นให้ธุรกิจเกษตรเติบโตอย่างมีนวัตกรรม

นิ้ง เล่าว่า แต่เดิมเธอเป็นเด็กที่ชื่นชอบงานด้านวิชาการ จุดเปลี่ยนสำคัญคือ ช่วง ม.6 คุณพ่อของเธอไปเห็นทุนการศึกษา ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) เพื่อเข้าศึกษาต่อคณะเกษตรนวัตและการจัดการ (IAM) คณะที่ช่วยให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ที่สร้างรายได้สูง

“ตอนแรกเคยตั้งคำถามว่า ถ้าเรียนด้านเกษตรกรรมเฉยๆ จะไหวหรือไม่ แต่ที่บ้านบอกเราชัดเจนว่า ไม่ได้อยากให้เรากลับมาเพื่อทำสวน แต่อยากให้มาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ทางคณะให้เราเรียนรู้ด้านเกษตรควบคู่กับธุรกิจ ไม่ใช่เรียนแค่ทฤษฎี แต่ให้เราได้เข้าสู่ภาคปฏิบัติจริงๆ ตลอด 4 ปี ทั้งการฝึกงานที่สวนทุเรียนในจังหวัดอื่น การฝึกงานเป็นแอดมินเพจ การเรียนจริง ทำจริง ส่งผลให้เรารู้วิธีเอาทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ และการนำเทคโนโลยีมาต่อยอด”

หลังเรียนจบ เธอได้เริ่มบริหารที่ดินที่ได้รับจากคุณพ่อ ขนาดประมาณ 5 ไร่ เป็นสวนทุเรียนของตัวเอง พร้อมทั้งเข้าไปช่วยทำการตลาด สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับผลผลิตในสวนครอบครัวด้วยการสร้างแบรนด์ทุเรียน “ลูกสาวกำนัน” ขายสินค้าผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม

สิ่งที่เธอได้รับจากการเรียน ทำให้เธอเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของแต่ละแพลตฟอร์มมากขึ้น และเลือกพัฒนาสินค้าให้เหมาะกับผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม เช่น Tiktok จะมีกลุ่มลูกค้าหลากหลายช่วงอายุและเจเนอเรชัน เธอจึงมีสินค้า ทุเรียนลูกป๊อกแป๊กขนาดมินิ ราคาไม่แรง ไปจนถึงทุเรียน 5 พู เกรดเอ ไว้ Live รองรับทุกกลุ่ม ขณะที่บนเฟซบุ๊ก เธอจะนำเสนอโปรดักท์ 2 เกรด ทั้งเกรดธรรมดาและเกรดพรีเมียม ส่วนบนช่องทาง All Online ของเซเว่น อีเลฟเว่น เธอจะเน้นโปรดักท์เกรดสูงที่สุด ความเข้าใจดังกล่าวส่งผลให้เธอบริหารจัดการผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกัน การเรียนยังทำให้เธอได้รับทักษะการวางแผนและการบริหารจัดการ เช่น การบริหารจัดการน้ำในปีที่น้ำแล้ง จากเดิมที่ต้องใช้วิธีการลองผิดลองถูก เธอได้เตรียมขุดสระไว้ล่วงหน้า ทำให้สวนของเธอมีผลผลิตเพิ่มขึ้น สวนทางกับตลาดที่มีผลผลิตลดลง เฉพาะ 5 เดือนแรกของปีนี้ สวนของเธอ มีรายได้กว่า 6 ล้านบาท โดยปีหน้าตั้งเป้าสู่ยอดขาย 8 หลัก เธอมองว่า หากชาวสวนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ที่ดี ผลผลิตของประเทศก็คงมีมากขึ้น

ซึ่งคณะเกษตรนวัตและการจัดการ พีไอเอ็ม มุ่งสร้างนักจัดการเกษตรมืออาชีพผ่านรูปแบบ Work-based Education บ่มเพาะผู้เรียนให้มีทักษะในด้านต่างๆ ที่ตอบโจทย์การดำเนินงานตลอดโซ่อุปทานเกษตร ได้แก่ การใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ การคิดวิเคราะห์แยกแยะเพื่อการจัดการเชิงธุรกิจ และการสร้างคุณค่าทางธุรกิจที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด รวมถึงการเป็นผู้ประกอบการที่นำนวัตกรรมด้านการจัดการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เรียนเกษตรจบแล้วไปทำเกษตรให้รวย พร้อมขับเคลื่อนความสำเร็จสู่เกษตรกร สังคม และองค์กรได้อย่างยั่งยืน

 

ด้าน นายเสนีย์ ธรรมจิตร์ คุณพ่อของนิ้ง-สิริยากร เล่าว่า ตัวเขามีกำลัง มีองค์ความรู้ทำให้ทุเรียนมีผลผลิตได้ แต่ขาดเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่ม พอเห็นทาง PIM ในกลุ่มซีพี ออลล์ มี MOU กับกรมส่งเสริมการเกษตร มีทั้งทุนการศึกษา มีทั้งรูปแบบการเรียนการสอนที่ให้ได้ปฏิบัติจริง มีนักศึกษามาให้คำแนะนำที่โรงเรียนมัธยมศึกษาของลูก จึงสนใจสนับสนุนให้ลูกต่อยอด

“ภูมิใจที่เห็นลูกเราเรียนที่นี่ แล้วเขาเติบโตขึ้นมาก สินค้าแบรนด์ที่ขายออนไลน์ เขาก็ออกแบบกล่อง ออกแบบแพ็กเก็จจิ้งเอง ทำการตลาด หาช่องทางใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่ม แบ่งกลุ่มลูกค้า ทำให้ยอดขายเติบโตขึ้น พอน้องนิ้งกลับมา เราเองก็ได้เรียนรู้บางเรื่องจากเขาไปด้วย”

ขณะที่ นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ เล่าว่า ปัจจุบัน ซีพี ออลล์ ได้วางกรอบกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนช่วงปี 2567-2568 ภายใต้แนวคิด “2 ลด 4 สร้าง 1 DNA” ตอบโจทย์ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยในแง่การส่งเสริมและสร้างคุณค่าที่หลากหลายให้แก่สังคมนั้น ดำเนินการผ่านแนวคิด “4 สร้าง” ได้แก่ 1.สร้างคน 2.สร้างงาน 3.สร้างอาชีพ และ 4.สร้างชุมชนอุ่นใจ โดย นิ้ง-สิริยากร ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างสำคัญของความมุ่งมั่นในการ “สร้างคน” สร้าง New Gen ยุวเกษตรกร กลับมาขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร ซึ่งเป็นฐานรากที่สำคัญของประเทศ

“การสร้างคน เป็นเรื่องหนึ่งที่เรามุ่งมั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่องผ่านสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และอีกหลากหลายช่องทาง เพราะเราต้องการช่วยสร้างคนเก่ง คนดี มีความสามารถผ่านการศึกษา เพื่อช่วยให้สังคมและเศรษฐกิจของไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็ง ในแต่ละปีเราจึงมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนนักศึกษาจำนวนมาก รวมถึงจับมือพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในสาขาที่เกี่ยวข้อง มาร่วมขับเคลื่อนการสร้างคนอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้นเราตั้งเป้ามอบทุนการศึกษามากกว่า 37,000 ทุนในปี 2568 คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,181 ล้านบาท” นายยุทธศักดิ์ ย้ำ

สำหรับกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน “2 ลด 4 สร้าง 1 DNA” ของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นการบูรณาการการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับแกนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เริ่มจาก “2 ลด” เป็นแกนขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1.ลดการใช้พลาสติก 2.ลดการใช้พลังงาน  “4 สร้าง” เป็นแกนขับเคลื่อนด้านสังคม ได้แก่ 1.สร้างคน 2.สร้างงาน 3.สร้างอาชีพ และ 4.สร้างชุมชนอุ่นใจ และ “1 DNA” เป็นแกนขับเคลื่อนด้านธรรมาภิบาล ได้แก่ DNA ความดี 24 ชั่วโมง

ชม 2 นวัตกรรมความยั่งยืนชนะเลิศจากเวที PIM International Hackathon ครั้งที่ 2

X

Right Click

No right click