TUXSA ปริญญาโทออนไลน์โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane ได้ร่วมถอดรหัสทักษะสำหรับคนทำงานยุคใหม่จากซีรีส์สัมภาษณ์ผู้บริหารของหลากหลายบริษัทชั้นนำ ที่ร่วมทำกับ 8 บรรทัดครึ่ง เพจของ คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร ผู้บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จํากัด (มหาชน) เพื่อให้คนทำงานนำไปปรับใช้ เตรียมความพร้อมรับมือโลกการทำงานในปี 2023 และอนาคตต่อจากนั้น
ในยุคที่องค์กรและคนทำงานต่างก็ต้องเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอด คนทำงานทุกระดับจำเป็นต้องมีความรู้ที่ช่วยให้ตอบโจทย์โลกทำงานยุคใหม่ TUXSA ปริญญาโทออนไลน์โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์อันดับ 1 ของไทย จึงได้ร่วมกับ 8 บรรทัดครึ่งเพจของ กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร ผู้บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จํากัด (มหาชน) จัดทำซีรีส์สัมภาษณ์ผู้บริหารจากหลากหลายบริษัทชั้นนำ อาทิ ดุสิตธานี SCG และ Tencent เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องการบริหารงานและบริหารคน โดยผู้บริหารที่มาร่วมรายการต่างให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของพนักงาน เช่น การเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ที่ช่วยให้บุคลากรเข้าถึงความรู้คุณภาพได้จากทุกที่ทุกเวลา และหนึ่งในประเด็นที่ผู้บริหารต่างกล่าวถึงคือ ทักษะสำหรับพนักงานยุคใหม่ ที่คนทำงานน่าเรียนรู้แล้วนำไปปรับใช้กับการทำงานของตัวเอง
ในวาระก้าวสู่ปีใหม่ TUXSA ได้สรุป 5 ทักษะสำหรับคนทำงานยุคดิจิตัล จากมุมมองของผู้นำองค์กรธุรกิจชั้นนำที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันออกไป เพื่อช่วยให้คุณก้าวเข้าสู่โลกการทำงานในอนาคตได้อย่างมั่นใจ และมีโอกาสเติบโตได้มากยิ่งขึ้น
5 ทักษะที่คนทำงานยุคใหม่ควรมี
1. Ability to Learn - Ability to Unlearn (ฮาวทูเลิร์น และ ฮาวทูทิ้ง): การเปิดกว้างในเรื่องการเรียนรู้ และการไม่ยึดติดกับความรู้ก่อนหน้า ตลอดจนรีเฟรชความรู้ที่มีอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้คือทักษะจำเป็นเพื่อให้เราก้าวไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต
คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) เผยว่า “สิ่งที่เคยทำมาและยึดติดอาจไม่ใช่สิ่งที่ช่วยให้เราเดินไปข้างหน้า พนักงานต้องคอยทำให้ความรู้ของตัวเองสดใหม่ เรียนรู้ และเปิดกว้างสำหรับสิ่งที่แตกต่างให้ได้ ทักษะนี้อาจไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะคนเก่งที่คิดว่าทำแบบนี้แล้วสำเร็จ เดี๋ยวทำอีกก็สำเร็จอีก ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงอาจไม่ใช่อย่างนั้น”
2. Digital & Data Literacy (ทักษะเชิงข้อมูล): ความสามารถในการอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ โดยพนักงานยุคใหม่ต้องรู้ว่าจะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างไร เพื่อมาใช้ในการตัดสินใจในสิ่งสำคัญ รวมไปถึงการคัดสรรข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่ท่วมท้นให้เป็น ตลอดจนการแบ่งปันและการสื่อสารข้อมูลให้เป็นประโยชน์เพื่อช่วยให้การทำงานรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น
3. Communication (ทักษะการสื่อสาร): ความสามารถในการสื่อสาร ครอบคลุมตั้งแต่การพูดจูงใจ การรับฟังความต้องการของผู้อื่น การเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ เป็นต้น หากมีทักษะในการสื่อสารที่ดีจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ทำงานได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงเช่นกัน
4. T-Shaped Skill (รู้รอบ และ รู้ลึก): ทักษะการเรียนรู้ที่กว้างขวาง หลากหลายไม่จำเจ ผสานกับทักษะการเรียนรู้เชิงลึก กล่าวคือพนักงานต้องมีทักษะความชำนาญที่ไม่ใช่เพียงแค่ในตำแหน่งหน้าที่ของตัวเองเท่านั้น แต่ยังต้องรู้กว้างขวางในอีกหลากหลายด้าน นำไปสู่การต่อยอดการทำงานและการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้เป็นอย่างดี
คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer บริษัท SCG Cement-Building Materials จำกัด (SCG-CBM) กล่าวถึงการพัฒนาบุคลากรในทีมทำงานด้านนวัตกรรมให้มีทักษะนี้ไว้ว่า “เราจะพัฒนาให้บุคลากรมี Technical skills ที่เป็น T-Shaped คือไม่ใช่แค่รู้ลึก แต่ยังต่อยอดทักษะพนักงานให้รู้กว้างออกไป เช่น ถ้าพนักงานเป็นโปรแกรมเมอร์ซึ่งรู้ลึกด้านเทคโนโลยี เราก็จะต่อยอดด้านการออกแบบและด้านธุรกิจให้เขา”
5. Problem-solving skill (ทักษะการแก้ปัญหา): เครื่องมือที่จะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจปัญหา คิดวิเคราะห์ และนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม เป็นทักษะที่เราจำเป็นต้องใช้ในแทบทุกสถานการณ์
คุณกฤตธี มโนลีหกุล รองประธาน เทนเซ็นต์ คลาวด์ อินเตอร์เนชันแนลประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมว่า “อีกทักษะจำเป็นคือ Problem-solving ที่ต้องรู้ขั้นตอนการแก้ไขปัญหา เพื่อรับมือกับปัญหาที่อาจจะมาในรูปแบบเดิมอีกในครั้งต่อไป อย่างที่มีคนกล่าวไว้ว่าการแก้ปัญหาไม่ใช่ถึงปลายทางแล้วก็จบ แต่เป็นการเดินทางที่เราต้องชื่นชมทุกอย่างในระหว่างทางด้วย เพื่อให้เข้าใจว่าเราเดินทางไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร”
สำหรับผู้ที่สนใจซีรีส์สัมภาษณ์ผู้บริหารของ TUXSA และ 8 บรรทัดครึ่ง สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงย้อนชมและย้อนอ่านบทสรุปการสัมภาษณ์ของซีอีโอแต่ละท่านได้ทางเพจ TUXSA
SkillLane นำโดยคุณเอกฉัตร อัศวรุจิกุล Co-founder & COO ร่วมกับ อ. เบรฟ-ธัญญพัฒน์ ธัญญศิริ (ซ้าย) อ. ปิง-ประกิต สิริวัฒนเกตุ (กลาง) ผู้สันทัดกรณีด้านการลงทุนในประเทศไทย ร่วมเปิดตัวคอร์สออนไลน์ใหม่รับปี 2566 หวังช่วยผลักดันองค์ความรู้ด้านการลงทุนให้แก่คนไทยผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
SkillLane แพลตฟอร์มเรียนรู้ระบบออนไลน์ ล่าสุดได้ผนึกความร่วมมือกับ “อ.เบรฟ” “อ.ปิง” และ “Stock JourNoey” เปิดตัวคอร์สออนไลน์ใหม่ล่าสุดรับปี 2566 เพื่อช่วยผลักดันองค์ความรู้ด้านการลงทุนให้แก่คนไทย ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ซึ่งเป็นช่องทางเรียนรู้ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เน้นเทรนด์การลงทุนที่น่าสนใจสำหรับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน รวมทั้งการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนหน้าใหม่ ๆ เข้ามาร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนการสอนล้ำสมัย พร้อมเผยเทรนด์การลงทุน และคำแนะนำสำหรับนักลงทุนหน้าใหม่
ณเอกฉัตร อัศวรุจิกุล Co-founder & COO จาก SkillLane กล่าวว่า “SkillLane ถือเป็นแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์อันดับ 1 ของไทย ที่ช่วยให้คนไทยเข้าถึงความรู้ได้สะดวกจากทุกที่ทุกเวลา เรามีคอร์สเรียนจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายวงการ และมีผู้เรียนมากกว่า 650,000 คน สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ เนื่องจากเราสังเกตเห็นว่าคอร์สออนไลน์ด้านการลงทุนได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เราจึงได้เชิญอาจารย์ที่ทำงานร่วมกับ SkillLane และเชี่ยวชาญด้านการเงินการลงทุนมาร่วมจัดทำคอร์สเรียนด้านการลงทุนใหม่ๆในปี 2566 นี้ เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ด้านการลงทุนให้คนไทยที่สนใจ และช่วยให้พวกเขาเข้าถึงองค์ความรู้ดังกล่าวได้จากทุกที่ ทุกเวลา”
ทั้งนี้อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการลงทุนทั้ง 3 ท่านซึ่งเป็นตัวแทนอาจารย์ของ SkillLane และเป็นผู้ที่จะมาร่วมสร้างคอร์สใหม่ร่วมกับแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์นี้ในปี 2566 นี้ ได้แก่ “อ.เบรฟ” ธัญญพัฒน์ ธัญญศิริ ลูกศิษย์เอกของ อ.วันชัย แห่ง บล.กิมเอ็ง (ในอดีต) และหนึ่งในผู้ร่วมคิดค้นการประยุกต์ใช้ศาสตร์ Swing Trade, Elliott Wave, Fibonacci ขั้นสูง และการวิเคราะห์วงจรเวลา (Time Cycle) “อ.ปิง” ประกิต สิริวัฒนเกตุ นักลงทุนมืออาชีพ วิทยากรด้านการลงทุนชื่อดังของไทย และ “Stock JourNoey” ธนพร เจียรนัยกุลวานิช เจ้าของแฟนเพจ StockJourNoey ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 400,000 คน และนักเขียนหนังสือ "5 Steps เทรดหุ้นจากเริ่มต้นจนเทรดเป็น"
อ. เบรฟ-ธัญญพัฒน์ ธัญญศิริ กล่าวว่า “ปีที่ผ่านมาได้ร่วมทำคอร์สกับ SkillLane และได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากจากผู้เรียน ในปี 2566 จึงตั้งใจร่วมทำคอร์สใหม่หลายคอร์สกับทาง SkillLane ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง Elliott Wave ในประเด็นต่างๆ โดยมีตัวอย่างเนื้อหาเช่น การใช้ Time cycle การนำทฤษฎี Elliott Wave ไปประยุกต์ใช้หน้างานในการเทรด/ซื้อ-ขายจริง และการนำเครื่องมือต่างๆ อย่าง Fibonacci MACD Trend-line Volume มาใช้ในการช่วยนับคลื่นให้แม่นยำยิ่งขึ้น”
อ. ปิง-ประกิต สิริวัฒนเกตุ กล่าวเสริมว่า “ได้ทำงานกับ SkillLane มาหลายปี ร่วมทำคอร์สเรียนมามากกว่า 5 คอร์ส โดยส่วนตัวมองว่า ได้ผลตอบรับที่ดีและทีม Skilllane ก็ช่วยทำให้การจัดทำคอร์สเรียนออนไลน์เป็นเรื่องสะดวกสำหรับผู้สอน ในปีหน้าจึงมีแผนร่วมทำคอร์สกับ SkillLane เพิ่มเติม โดยครั้งนี้จะเป็นคอร์สที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Option trading และ DW ที่ลงลึกในรายละเอียด เข้าใจง่าย และใช้งานได้จริง”
อ. ธนพร เจียรนัยกุลวานิช หรือ StockJourNoey กล่าวต่อว่า “คอร์สแรกที่ร่วมทำกับ SkillLane อย่างคอร์สมือใหม่เรียนหุ้นกับ StockJourNoey นั้นเป็นที่นิยมของผู้เรียนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้รู้ว่ามีคนสนใจเข้าสู่วงการการลงทุนอยู่ไม่ขาด และคอร์สการลงทุนแบบออนไลน์นั้นตอบโจทย์ผู้เรียนได้จริง ในปีหน้าจึงเตรียมที่จะออกคอร์สใหม่กับ SkillLane เป็นคอร์สสำหรับทุกคนที่จะให้ความรู้ทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) และการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis)”
สำหรับเทรนด์ด้านการลงทุนจากผู้ลงทุนชาวไทยในปี พ.ศ. 2566 อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนทั้ง 3 ท่านกล่าวว่า จะยังคงเน้นเรื่อง asset allocations เพื่อเลือกสินทรัพย์ในการลงทุนให้เหมาะสมกับช่วงเวลา และการเลือกความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยตลาดโซนเอเชียหลายตลาดเริ่มฟื้นตัว แต่ยังมีความท้าทายที่นักลงทุนไทยควรระวังคือ เรื่องการจัดการความโลภ ความกลัว และความไม่รอบรู้ของตัวนักลงทุนเอง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (Financial Products) ใหม่ ๆ ที่มีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ การลงทุนด้าน Option trading และ DW จะเป็นทางเลือกที่ดีในเวลาที่ตลาดหุ้นเป็นขาลงในปีหน้า และสำหรับผู้ที่สนใจการลงทุนระยะยาว ธีมพลังงานทดแทน (Renewable Energy) และธีมที่ได้ประโยชน์จากการที่ราคาน้ำมันลงอย่างเช่น การขนส่งโลจิสติกส์ (Logistics) นับเป็นธีมที่น่าสนใจในปีพ.ศ. 2566
และสำหรับนักลงทุนมือใหม่ อาจารย์ทั้ง 3 ท่านของ SkillLane แนะนำว่า ถ้ายังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร แนะนำให้เริ่มจากการบริหารจัดการเงินก่อน จากนั้นให้ศึกษาหาความรู้และข้อมูลให้แน่นที่สุด โดยศึกษากับผู้เชี่ยวชาญตัวจริง นึกถึงความเสี่ยงจากการขาดทุนก่อนเป็นอันดับแรก รู้ตัวว่าเราเป็นนักลงทุนรูปแบบไหน และเริ่มลงทุนจากเงินจำนวนน้อยก่อน
ทั้งนี้ สำหรับอาจารย์และผู้ที่สนใจร่วมถ่ายทอดความรู้ให้คนไทยผ่านคอร์สเรียนออนไลน์ ทาง SkillLane มีการให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่ร่วมออกแบบและผลิตคอร์สจนถึงวางแผนการตลาด นอกจากนี้ SkillLane ยังมีอีโคซิสเต็มใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ทำให้คอร์สจากอาจารย์ผู้สอนสามารถนำไปเผยแพร่ได้ในหลากหลายแพลตฟอร์มอีกด้วย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.skilllane.com/teach
ศ. ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยนายฐิติพงศ์ พิสิฐวุฒินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกิลเลน เอดูเคชั่น ประกาศความร่วมมือโครงการนำร่องจัดทำคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank System)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผนึกความร่วมมือกับ SkillLane เปิดตัวโครงการนำร่องจัดทำคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank System) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อรองรับการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ให้ผู้เรียนซึ่งไม่จำเป็นต้องมีสถานภาพเป็นนักศึกษาสามารถนำผลการเรียนและผลลัพธ์การเรียนรู้จากวิชาและหลักสูตรต่าง ๆ หรือนำประสบการณ์ทำงาน มาเทียบโอนและสะสมหน่วยกิตไว้ที่คลังหน่วยกิตแห่งชาติ แล้วสามารถนำขอรับปริญญาบัตรจากสถาบันอุดมศึกษาของไทยได้ หรือเพื่อเป็นรายงานผลลัพธ์การเรียนรู้สะสมของผู้เรียน ประเดิมนำร่อง กับ 4 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยในช่วงกลางปี พ.ศ. 2566 ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ในปัจจุบันที่โลกยุคใหม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีงานรูปแบบใหม่เกิดขึ้นมากมาย คนไทยจำเป็นต้องพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการศึกษาก็ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมผู้เรียนที่เข้าถึงความรู้ได้จากหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ อาทิ การฝึกอบรม และการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น ประสบการณ์ทำงาน ด้วยเหตุนี้ “คลังหน่วยกิตแห่งชาติ” จึงเกิดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ทั้งนักศึกษาและคนทั่วไปเข้าถึงวิชาและหลักสูตรต่างๆ จากหลากหลายแหล่งเรียนรู้ รวมถึงได้ทำงานเก็บประสบการณ์จริงแล้วนำมาเทียบโอนและสะสมหน่วยกิตเพื่อขอรับใบรับรองการเรียนรู้ หรือปริญญาบัตรซึ่งแสดงถึงการเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ โดยวิธีเทียบโอนหน่วยกิตและขอรับปริญญาบัตรนั้นจะขึ้นอยู่กับระเบียบของสถาบันอุดมศึกษาตามนโยบายของกระทรวงฯ
ศ. ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า “เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา กระทรวง อว. ได้ประกาศระบบการเทียบโอนหน่วยกิต และ ระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญภายใต้ นโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษา ของ รมว.อว. ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติมีเป้าหมายในการส่งเสริมการพัฒนากำลังคนของประเทศผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เป็นการเปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนในทุกช่วงวัยสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา ภายใต้ระบบคลังหน่วยกิต ผู้เรียนสามารถสะสมหน่วยกิตผ่านคลังหน่วยกิตที่มาจากหลักสูตรต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย หน่วยฝึกอบรมที่ได้รับการรับรอง และจากการเทียบโอนประสบการณ์ โดยที่ผ่านมา อว. ได้ดำเนินการโครงการ Thailand Cyber University ที่มีหลักสูตรออนไลน์ ผ่าน Thai MOOC ซึ่งช่วยในการส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้แก่ผู้เรียนนอกมหาวิทยาลัยมาก่อนแล้ว ในขณะที่ระบบคลังหน่วยกิตใหม่นี้จะเป็นการต่อยอดและขยายโอกาสการเรียนรู้ของผู้เรียนออกไปอีกมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ระบบคลังหน่วยกิตเกิดผลอย่างรวดเร็ว อว. จึงได้ร่วมกับ SkillLane และอีก 4 มหาวิทยาลัย ในการนำร่องการทดลองระบบคลังหน่วยกิต ทั้งในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการตามประกาศและทางเทคนิคที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศข้อมูล และจะขยายรูปแบบตามโครงการนำร่องไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อให้ระบบคลังหน่วยกิตเกิดประโยชน์สูงสุด”
นายฐิติพงศ์ พิสิฐวุฒินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกิลเลน เอดูเคชั่น จำกัด กล่าวว่า “SkillLane เชื่อมั่นเสมอว่า เทคโนโลยีช่วยลดข้อจำกัดและเพิ่มโอกาสการศึกษาของไทยได้ เราตั้งใจใช้เทคโนโลยีช่วยให้คนเข้าถึงความรู้ยุคใหม่ได้อย่างไร้ข้อจำกัดในเรื่องของสถานที่และเวลา รวมถึงเชื่อมโยงแหล่งความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน สำหรับความร่วมมือในโครงการนำร่องจัดทำคลังหน่วยกิตแห่งชาตินี้ เราได้ใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของเราเข้ามาช่วยพัฒนาระบบสารสนเทศของคลังหน่วยกิตแห่งชาติโดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อคลังหน่วยกิตของแต่ละสถาบันเข้าไว้ด้วยกัน
รศ. ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเสริมว่า “มหาวิทยาลัยไทยต้องปรับตัวให้ทันกับโลก และความต้องการของผู้เรียนที่เปลี่ยนไป การเกิดขึ้นของคลังหน่วยกิตแห่งชาติจะช่วยตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนรวดเดียวจนจบ แต่ละคนสามารถเรียนไปได้เรื่อย ๆ ตามเงื่อนไขและจังหวะชีวิตของตัวเอง ที่สำคัญ นอกจากคลังหน่วยกิตแห่งชาติจะเชื่อมต่อกับ TUXSA ซึ่งเป็นหลักสูตรออนไลน์ของธรรมศาสตร์ได้อย่างลงตัวในอนาคตแล้ว ยังจะช่วยให้ธรรมศาสตร์กลับไปทำหน้าที่ตลาดวิชายุคดิจิตอลที่ส่งเสริมการ Upskill และ Reskill ให้กับคนในทุกเจนเนอเรชันได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะอยู่ที่ใดบนโลกใบนี้”
รศ. ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต่อไปว่า “คลังหน่วยกิตแห่งชาติ (NCBS) เป็น Ecosystem สำคัญของกระทรวงฯ ที่ขยายโอกาสให้กับนิสิตนักศึกษาในระบบ Formal Informal และ Non-Formal Education ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนความรู้ใหม่ ๆ ผ่านหลากหลายแหล่งเรียนรู้และประสบการณ์การทำงานจริง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์ของจุฬาฯ ในศตวรรษใหม่ที่พร้อมปรับตัวเข้ากับอนาคต ผ่านการมุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสังคมและประเทศ รวมถึงผลิตบัณฑิตสมรรถนะสูงที่ตอบสนองความเจริญก้าวหน้าของโลกยุคใหม่บนฐานของ Demand Driven โดยการไม่ผูกขาดองค์ความรู้ ที่สำคัญคือ แม้ความรู้ของผู้เรียนจะมีที่มาหลากหลาย แต่ก็เป็นความรู้ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เพราะได้รับการรับรองจากมหาวิทยาลัยอีกขั้นหนึ่งแล้วโดยให้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์และดุลยพินิจตามเจตนารมณ์ของกฏกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ ที่ Decentralized ไปยังแต่ละสภามหาวิทยาลัย”
รศ.ดร. ปรารถนา ใจผ่อง ผู้อำนวยการวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต่อว่า “คลังหน่วยกิตแห่งชาติจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายการปฎิรูปการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะด้านการเปิดโอกาสให้ทุกคนในสังคมได้เข้าถึงองค์ความรู้ ตามความมุ่งหวังของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่สร้างสรรค์ให้สังคมไทยมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ให้การศึกษาเป็นสิ่งเกิดขึ้นในทุกจังหวะของชีวิตทั้งเพื่อปริญญาหรือเพื่อการพัฒนาตนเอง ด้วยหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบันการศึกษา และนำไปสู่การเกิดคุณค่าที่แท้จริงของการศึกษา”
รศ. ดร.กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ รองอธิการบดีด้านวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวเสริมว่า “การเกิดขึ้นของคลังหน่วยกิตแห่งชาติจะช่วยให้การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนไทยเกิดขึ้นได้จริงในวงกว้าง และไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในรั้วสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น คลังหน่วยกิตนี้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ความตั้งใจของมหาวิทยาลัยในการผลิตและพัฒนาคนผ่านระบบการเรียนการสอนแบบ Lifelong Learning สำเร็จได้จริง ในรูปแบบที่มีศักยภาพยิ่งกว่าเดิม”
คลังหน่วยกิตแห่งชาตินับเป็นก้าวสำคัญของการศึกษาไทย เป็นการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศและทลายกำแพงระหว่างสถาบันอุดมศึกษา โดยโครงการนี้จะเริ่มนำร่องใช้กับ 4 สถาบันอุดมศึกษาในช่วงกลางปี พ.ศ. 2566
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผนึกความร่วมมือกับ SkillLane
ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ทิพย กรุ๊ป โฮดิ้งส์ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทิพยประกันภัย