January 22, 2025

เวียตเจ็ทไทยแลนด์เปิดตัวระบบยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลทางชีวภาพ (biometric validation) สำหรับการเช็คอินเที่ยวบินขาออกบนทุกเส้นทางบินภายในประเทศ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เชิญชวนผู้โดยสารเดินทางแบบครอบครัวด้วยโปรโมชั่น “โปรดีฯ ทริปนี้แฮปปี้ยกบ้าน (Family Fun Month)” เสนอบัตรโดยสารราคาพิเศษ เริ่มต้นเพียง 88 บาท (ราคาไม่รวมภาษีและค่าธรรมเนียม)  สำหรับเดินทางบนเครือข่ายเส้นทางบินภายในประเทศและระหว่างประเทศของเวียตเจ็ทไทยแลนด์ สามารถสำรองบัตรโดยสารได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2567 ใช้เดินทางได้ระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม 2567 – 31 มีนาคม 2568 (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ที่ th.vietjetair.com 

 

พร้อมกันนี้ เวียตเจ็ทไทยแลนด์เริ่มใช้งานระบบยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลทางชีวภาพ (biometric validation) สำหรับการเช็คอินเที่ยวบินขาออกบนทุกเส้นทางบินภายในประเทศ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2567 เป็นต้นไป ผู้โดยสารสามารถยืนยันตัวตนด้วยระบบจดจำใบหน้าเพื่อทำการเช็คอินและขึ้นเครื่องได้อย่างสะดวกสบาย ทั้งนี้ ผู้โดยสารสามารถลงทะเบียนใบหน้าของตนเองได้โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด หรือ หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ เคาน์เตอร์เช็คอิน แถว C หรือ ตู้คีออสบริเวณแถว B และ E ล่วงหน้าอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนออกเดินทาง ผู้โดยสารที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปและไม่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษหรือบริการเสริมอื่น ๆ สามารถใช้งานระบบยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลทางชีวภาพได้ โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกลบภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากออกเดินทางเพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวสูงสุดของผู้โดยสาร นอกจากนี้ ผู้โดยสารสามารถผ่านประตูขึ้นเครื่องด้วยเครื่องสแกนใบหน้า ณ ประตูขึ้นเครื่องโดยไม่ต้องตรวจสอบเอกสารการเดินทาง ระบบดังกล่าวช่วยลดระยะเวลาในการเช็คอินและอำนวยความสะดวกขณะผ่านประตูทางออกขึ้นเครื่อง สายการบินฯ พร้อมมอบความสะดวกสบายเหนือระดับแก่ผู้โดยสาร รวมทั้งยกระดับประสบการณ์การเดินทางด้วยบริการที่เป็นนวัตกรรม เน้นย้ำความตรงต่อเวลาและความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพของบริการภาคพื้นดินอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้โดยสารสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  th.vietjetair.com 

บัตรโดยสารราคาโปรโมชั่นนี้สามารถใช้เดินทางได้กับทุกเส้นทางบินบนเครือข่ายเส้นทางบินภายในประเทศของเวียตเจ็ทไทยแลนด์ ได้แก่ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต กระบี่ หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี อุดรธานี ขอนแก่น และอุบลราชธานี รวมถึงเส้นทางบินข้ามภูมิภาคจาก ภูเก็ต สู่ เชียงใหม่ และเชียงราย และทุกเส้นทางบินบนเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศของเวียตเจ็ทไทยแลนด์ ได้แก่ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ เวียดนาม พนมเปญ สิงคโปร์ ฟูกุโอกะ ไทเป เซี่ยงไฮ้ และหางโจว รวมถึงเส้นทางบินตรงจาก เชียงใหม่ สู่ โอซาก้า ผู้โดยสารสามารถสำรองบัตรโดยสารราคาพิเศษนี้ได้ที่เว็บไซต์ th.vietjetair.com แอปพลิเคชัน “Vietjet Air” หรือผ่านช่องทางเฟซบุ๊กที่ www.facebook.com/VietJetThailand (คลิกที่แถบ “จองเลย”) รวมทั้งตัวแทนจำหน่ายหรือสำนักงานจำหน่ายบัตรโดยสาร พร้อมกันนี้ผู้โดยสารสามารถชำระเงินด้วย “ทรูมันนี่ วอลเล็ท” และบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต 

เวียตเจ็ทไทยแลนด์ให้บริการครอบคลุม 11 เส้นทางบินภายในประเทศ ได้แก่ เส้นทางบินจาก กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต กระบี่ อุดรธานี หาดใหญ่ ขอนแก่น อุบลราชธานี และสุราษฎร์ธานี รวมถึงเที่ยวบินข้ามภูมิภาค จาก ภูเก็ต สู่ เชียงใหม่ และเชียงราย พร้อมกันนี้ สายการบินฯ ได้ขยายเส้นทางบินระหว่างประเทศสู่หลากหลายจุดหมายปลายทางในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เชื่อมต่อประเทศไทยกับเวียดนาม จีน สิงคโปร์ กัมพูชา ญี่ปุ่น ไทเป และอีกหลายจุดหมายปลายทางทั่วทั้งภูมิภาค 

เวียตเจ็ทไทยแลนด์ลดกระหน่ำ ออกโปรโมชั่น “คุ้มฟินแบบตัวจริงสุวรรณภูมิ (It’s Time to Vietjet)” เสนอบัตรโดยสารราคาพิเศษ เริ่มต้นเพียง 0 บาท (ราคาไม่รวมภาษีและค่าธรรมเนียม) สำหรับเดินทางบนเครือข่ายเส้นทางบินภายในประเทศและระหว่างประเทศของเวียตเจ็ทไทยแลนด์

สามารถสำรองบัตรโดยสารได้ระหว่างวันที่ 16 – 19 กรกฎาคม 2567 ใช้เดินทางได้ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2567 – 31 มีนาคม 2568 (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ที่ th.vietjetair.com 

บัตรโดยสารราคาโปรโมชั่นนี้สามารถใช้เดินทางได้กับทุกเส้นทางบินบนเครือข่ายเส้นทางบินภายในประเทศของเวียตเจ็ทไทยแลนด์ ได้แก่ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต กระบี่ หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี อุดรธานี ขอนแก่น และอุบลราชธานี รวมถึงเส้นทางบินข้ามภูมิภาคจาก ภูเก็ต สู่ เชียงใหม่ และเชียงราย และทุกเส้นทางบินบนเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศของเวียตเจ็ทไทยแลนด์ ได้แก่ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ เวียดนาม พนมเปญ สิงคโปร์ ฟูกุโอกะ ไทเป เซี่ยงไฮ้ และหางโจว รวมถึงเส้นทางบินตรงจาก เชียงใหม่ สู่ โอซาก้า ผู้โดยสารสามารถสำรองบัตรโดยสารราคาพิเศษนี้ได้ที่เว็บไซต์ th.vietjetair.com แอปพลิเคชัน “Vietjet Air” หรือผ่านช่องทางเฟซบุ๊กที่ www.facebook.com/VietJetThailand (คลิกที่แถบ “จองเลย”) รวมทั้งตัวแทนจำหน่ายหรือสำนักงานจำหน่ายบัตรโดยสาร พร้อมกันนี้ผู้โดยสารสามารถชำระเงินด้วย “ทรูมันนี่ วอลเล็ท” และบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต 

เวียตเจ็ทไทยแลนด์ให้บริการครอบคลุม 11 เส้นทางบินภายในประเทศ ได้แก่ เส้นทางบินจาก กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต กระบี่ อุดรธานี หาดใหญ่ ขอนแก่น อุบลราชธานี และสุราษฎร์ธานี รวมถึงเที่ยวบินข้ามภูมิภาค จาก ภูเก็ต สู่ เชียงใหม่ และเชียงราย พร้อมกันนี้ สายการบินฯ ได้ขยายเส้นทางบินระหว่างประเทศสู่หลากหลายจุดหมายปลายทางในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เชื่อมต่อประเทศไทยกับเวียดนาม จีน สิงคโปร์ กัมพูชา ญี่ปุ่น ไทเป และอีกหลายจุดหมายปลายทางทั่วทั้งภูมิภาค 

บริษัท เวียตเจ็ท จอยท์ สต๊อค จำกัด (Vietjet Aviation Joint Stock Company (HoSE: VJC)) เผยงบการเงินประจำปี 2566 ซึ่งผ่านการตรวจสอบแล้ว แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในตลอดทั้งปีทีผ่านมา

งบการเงินดังกล่าวจำแนกรายได้ย่อยและรายได้รวมจากการขนส่งทางอากาศรายงานอยู่ที่ 53.7 ล้านล้านดอง (ประมาณ 2.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ 58.3 ล้านล้านดอง (ประมาณ 2.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามลำดับ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่านหน้าร้อยละ 62 และร้อยละ 45 ตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทเผยการฟื้นตัวของกำไรจากบริการการขนส่งทางอากาศก่อนหักภาษีและกำไรรวมอยู่ที่ 471 พันล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 18.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ 606 พันล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 24.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามลำดับ

รายได้เสริมและรายได้จากการขนส่งสินค้ามีมูลค่าเกือบ 21 ล้านล้านดอง (ประมาณ 846.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเติบโตถึงร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยคิดเป็นร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมดจากการขนส่งทางอากาศของสายการบินฯ

รายงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ทรัพย์สินรวมของเวียตเจ็ทมีมูลค่ารวมกว่า 84.6 ล้านล้านดอง (ประมาณ 3.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทอยู่ที่ 2 ซึ่งต่ำกว่าอัตราส่วนทั่วไปทั่วโลกซึ่งอยู่ระหว่าง 3 ถึง 5 ขณะที่อัตราส่วนสภาพคล่องของเวียตเจ็ทอยู่ที่ 1.3 ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีของอุตสาหกรรมการบิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 อยู่ที่ อยู่ที่ 5.051 ล้านล้านดอง (ประมาณ 203.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งมากกว่าสองเท่าของปีก่อนหน้าแสดงถึงศึกยภาพทางการเงินของสายการบินฯ นอกจากนี้ เวียตเจ็ทยังเป็นหนึ่งในสายการบินที่มีอันดับเครดิตดีที่สุดตามเกณฑ์ของกระทรวงการคลังและได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด (VnBBB-) ในกลุ่มสายการบินเวียดนามในปี 2566

ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 สินทรัพย์รวมของเวียตเจ็ทมีมูลค่ามากกว่า 86.9 ล้านล้านดอง (ประมาณ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทอยู่ที่ 2 ซึ่งต่ำกว่าอัตราทั่วไปทั่วโลกซึ่งอยู่ระหว่าง 3 ถึง 5 ขณะเดียวกัน อัตราส่วนสภาพคล่องของเวียตเจ็ทอยู่ที่ 1.3 ซึ่งอยู่ในช่วงที่ดีของอุตสาหกรรมการบิน ยอดเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 อยู่ที่ 5.051 ล้านล้านดอง (ประมาณ 203.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งยืนยันถึงความสามารถทางการเงินของสายการบินฯ

เวียตเจ็ทเป็นหนึ่งในสายการบินที่มีอันดับเครดิตดีที่สุดตามแนวทางของกระทรวงการคลัง ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด (VnBBB-) ในกลุ่มบริษัทเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2566 เวียตเจ็ทได้จ่ายภาษีและค่าธรรมเนียมทั้งทางตรงและทางอ้อมประมาณ 5.2 ล้านล้านดอง (ประมาณ 209.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

 ผู้นำด้านการขยายเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศ

ด้วยความมุ่งมั่นในการรักษามาตรฐานบริการบนเครือข่ายเส้นทางบินภายในประเทศ พร้องด้วยเดินหน้าขยายเส้นทางบินระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 เวียตเจ็ทได้ให้บริการเที่ยวบินกว่า 133,000 เที่ยวบิน มีผู้โดยสารบนเดินทางกว่า 25.3 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้น 183% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมีผู้โดยสารจำนวนมากกว่า 7.6 ล้านคน เดินทางบนเส้นทางบินระหว่างประเทศ

เวียตเจ็ทเปิดตัวเส้นทางบินภายในประเทศและระหว่างประเทศเส้นทางใหม่จำนวน 33 เส้นทาง รวมทั้งหมดเป็น 125 เส้นทาง ประกอบด้วยเส้นทางระหว่างประเทศ 80 เส้นทาง และเส้นทางภายในประเทศ 45 เส้นทาง เส้นทางที่ได้รับความนิยม ได้แก่ โฮจิมินห์ซิตี้ – เซี่ยงไฮ้ โฮจิมินห์ซิตี้ – เวียงจันทน์ ฮานอย - เสียมราฐ ฮานอย - ฮ่องกง ฟู้โกว๊ก - ไทเป ฟู้โกว๊ก - และโฮจิมินห์ซิตี้/ ฮานอย - จาการ์ตา เป็นต้น

ปัจจุบัน เวียตเจ็ทยังเป็นผู้ให้บริการเที่ยวบินรายใหญ่ที่สุดที่เชื่อมต่อระหว่างเวียดนาม อินเดียและออสเตรเลีย เส้นทางบินดังกล่าวช่วยส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศที่มีศักยภาพสูง นับตั้งแต่ต้นปี 2567 สายการบินฯ ได้เปิดเส้นทางบินตรงระหว่างฮานอยและซิดนีย์ ส่งผลให้มีจำนวนเส้นทางบินระหว่างเวียดนามและออสเตรเลียเพิ่มขึ้นทั้งหมดเป็น 7 เส้นทาง

สายการบินตั้งแต่ต้นปี 2567 ได้เปิดเส้นทางบินตรงระหว่างฮานอยและซิดนีย์เพิ่มเติม ส่งผลให้จำนวนเส้นทางเวียดนาม-ออสเตรเลียทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 7 เส้นทาง

นอกจากนี้ สายการบินฯ ได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินจาก ฮานอย สู่ ฮิโรชิมา (ญี่ปุ่น) และโฮจิมินห์ซิตี้ สู่ เฉิงตู (จีน) บริการบนเส้นทางดังกล่าวนำมาซึ่งโอกาสในการเสริมสร้างการท่องเที่ยวและการค้าทวิภาคี พร้อมกันนี้ เวียตเจ็ทเปิดเส้นทางบินภายในประเทศเส้นทางใหม่ระหว่างฮานอย และ เดียนเบียน เพื่อนำผู้โดยสารเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางทางประวัติศาสตร์อย่าง ‘เดียนเบียนฟู’  สายการบินฯ มีอัตราโหลดแฟคเตอร์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 87 และอัตราความน่าเชื่อถือทางเทคนิคอยู่ที่ร้อยละ 99.72

 เดินหน้าเสริมทัพฝูงบินที่มีความทันสมัย มาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาอย่างยั่งยืน (ESG) เป็นหนึ่งในเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ระยะยาวของสายการบินฯ ยืนยันได้จากการเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากร การประหยัดเชื้อเพลิง และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยฝูงบินใหม่และทันสมัย

เวียตเจ็ทให้ความสำคัญกับการลงทุนในฝูงบินที่ทันสมัย ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ฝูงบินของเวียตเจ็ทประกอบด้วยเครื่องบิน 105 ลำ รวมถึงเครื่องบิน A330 ลำตัวกว้างด้วย

ภายในปี 2566 ฝูงบินของเวียตเจ็ทเติบโตขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงประหยัดเชื้อเพลิงได้มากถึง 15-20% มุ่งเน้นการปกป้องสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืนและการวิจัยเทคโนโลยีสีเขียว

 ในปีที่ผ่านมา สายการบินฯ ได้จัดประชุมหลักสูตรการฝึกอบรม รวมถึงการจำลองสถานการณ์ด้านการรักษาความปลอดภัยเป็นจำนวนมาก อาทิ การประชุมด้านคุณภาพและความปลอดภัย การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยของ ISAGO (International Standard for Ground Operations) และการจำลองการตอบสนองฉุกเฉินในเชิงรุก เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติการบิน เวียตเจ็ทได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในสายการบินราคาประหยัดที่ปลอดภัยที่สุดในโลกอีกครั้งโดย AirlineRatings

ศูนย์บริการภาคพื้นดินของเวียตเจ็ทปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยยึดมั่นในคุณภาพของการบริการในขณะที่ลดต้นทุนการดำเนินงานที่สนามบิน นอกเหนือจากนี้ เวียตเจ็ทยังใช้แนวทางเชิงรุกในงานซ่อมบำรุงเครื่องบินอีกด้วย ในปี 2566 เวียตเจ็ทได้เปิดตัวศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องบินตามมาตรฐานสากลภายใต้ความร่วมมือกับสายการบินลาวในเวียงจันทน์

รายงานผลประกอบการประจำปี 2566 เน้นย้ำฐานะหนึ่งในสายการบินที่มีความยืดหยุ่นและเติบโตเร็วที่สุดในอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก พร้อมด้วยการขยายเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศที่ครอบคลุม ส่งเสริมการฟื้นตัวและการพัฒนาการท่องเที่ยว การลงทุน และการค้าในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก ในปี 2566 เวียตเจ็ทให้บริการเที่ยวบินกว่า 133,000 เที่ยวบิน ขนส่งผู้โดยสารทั้งสิ้น 25.3 ล้านคน (ไม่รวมสายการบินไทยเวียตเจ็ท) ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 183 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จากรายงานดังกล่าวจำนวนผู้โดยสารมากกว่า 7.6 ล้านคนเป็นผู้ที่เดินทางบนเที่ยวบินระหว่างประเทศ

ในปีที่ผ่านมา เวียตเจ็ทยังคงขยายเครือข่ายเส้นทางบินอย่างต่อเนื่องโดยเพิ่มเส้นทางบินระหว่างประเทศและเส้นทางบินภายในประเทศรวมทั้งสิ้น 33 เส้นทาง ส่งผลให้ขณะนี้มีจำนวนเส้นทางบินทั้งหมด 125 เส้นทาง ประกอบด้วยเส้นทางบินระหว่างประเทศ 80 เส้นทาง และเส้นทางบินภายในประเทศ 45 เส้นทาง เส้นทางบินระหว่างประเทศสู่เมืองที่ได้รับความนิยม ได้แก่ โฮจิมินห์ซิตี้ - เซี่ยงไฮ้ โฮจิมินห์ซิตี้ - เวียงจันทน์ ฮานอย - เสียมราฐ ฮานอย - ฮ่องกง ฟู้โกว๊ก - ไทเป และฟู้โกว๊ก - ปูซาน เป็นต้น

เวียตเจ็ทเป็นสายการบินแรกที่เชื่อมต่อเวียดนามกับ 5 เมืองที่ใหญ่ในออสเตรเลีย ได้แก่ ซิดนีย์ เมลเบิร์น เพิร์ธ แอดิเลด และบริสเบน รวมถึงเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดระหว่างเวียดนามและอินเดีย โดยมีเส้นทางเชื่อมต่อเวียดนามกับเมืองเดลี มุมไบ อาห์เมดาบัด โคจิ และติรุจิรัปปัลลิ เวียตเจ็ทขนส่งสินค้าทางอากาศกว่า 81,500 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 73 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

 

ทั้งนี้ ในปี 2566 รายบางส่วนของเวียตเจ็ทอยู่ที่ 53.6 ล้านล้านดอง (ประมาณ 2.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และรายได้รวมอยู่ที่ 62.5 ล้านล้านดอง (ประมาณ 2.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าร้อยละ 62 และร้อยละ 56 ตามลำดับ กำไรหลังหักภาษีของรายได้บางส่วนและรายได้รวมของบริษัทอยู่ที่ 697 พันล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 28.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ 344 พันล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามลำดับ

ในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 รายได้บางส่วนและรายได้รวมเพียงไตรมาสเดียวทะยานสูงถึง 14.9 ล้านล้านเวียดนามดอง (ประมาณ 609.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ 18.8 ล้านล้านดอง (ประมาณ 768.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าร้อยละ 89 และร้อยละ 49 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน กำไรหลังหักภาษีแยกและรวมรายไตรมาสอยู่ที่ 7 หมื่นล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 2.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ 152 พันล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 6.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามลำดับ

รายได้เสริมและรายได้จากการขนส่งสินค้ามีมูลค่า 18.9 ล้านล้านดอง (ประมาณ 773.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเติบโตถึงร้อยละ 46 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า คิดเป็นร้อยละ 40 ของรายได้จากการขนส่งทางอากาศทั้งหมดของสายการบินฯ

รายงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ทรัพย์สินรวมของเวียตเจ็ทมีมูลค่ารวมกว่า 84.6 ล้านล้านดอง (ประมาณ 3.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทอยู่ที่ 2 ภายหลังจากการสั่งซื้อเครื่องบิน A321neo รุ่นใหม่จำนวน 3 ลำ ซึ่งต่ำกว่าอัตราส่วนทั่วไปทั่วโลกที่อยู่ระหว่าง 3 ถึง 5 ขณะที่อัตราส่วนสภาพคล่องของเวียตเจ็ทอยู่ที่ 1.24 ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีของอุตสาหกรรมการบิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 อยู่ที่ 5.021 ล้านล้านดอง (ประมาณ 205.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งมากกว่าสองเท่าของปีก่อนหน้าแสดงถึงศึกยภาพทางการเงินของสายการบินฯ นอกจากนี้ เวียตเจ็ทยังเป็นหนึ่งในสายการบินที่มีอันดับเครดิตดีที่สุดตามเกณฑ์ของกระทรวงการคลังและได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด (VnBBB-) ในกลุ่มสายการบินเวียดนามในปี 2566

 ในปี 2566 เวียตเจ็ทได้จ่ายภาษีและค่าธรรมเนียมทั้งทางตรงและทางอ้อมประมาณ 5.2 ล้านล้านดอง (ประมาณ 212.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เวียตเจ็ทยังคงลงทุนเสริมทัพฝูงบินที่ทันสมัย ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับความต้องการเดินทางที่เพิ่มสูงขึ้น รายงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ฝูงบินของเวียตเจ็ทประกอบด้วยเครื่องบิน 105 ลำ รวมถึงเครื่องบิน A330 ลำตัวกว้าง  จากการริเริ่มการปฏิบัติงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเมื่อสิบกว่าปีก่อนด้วยเครื่องบินเพียงสามลำ ภายในปี พ.ศ. 2566 ฝูงบินของเวียตเจ็ทเติบโตขึ้นอย่างมาก รวมถึงมีส่วนช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยประหยัดเชื้อเพลิงได้มากถึงร้อยละ 15-20 รวมถึงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการนำเทคโนโลยีสีเขียวมาประยุกต์ใช้ในปี 2566 เวียตเจ็ทได้มีส่วนร่วมในการค้าระหว่างเวียดนามและสหรัฐอเมริกา โดยบรรลุข้อตกลงกับโบอิ้งในการส่งมอบเครื่องบิน 737 MAX จำนวน 200 ลำ ภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า รวมถึงข้อตกลงการจัดหาเงินทุนสำหรับเครื่องบินกับสถาบันการเงินต่างประเทศมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสารโดยเฉลี่ยของสายการบินอยู่ที่ร้อยละ 87 และอัตราความน่าเชื่อถือทางเทคนิคอยู่ที่ร้อยละ 99.72 พร้อมกันนี้ เวียตเจ็ทได้เปิดตัวโปรแกรมสะสมคะแนน SkyJoy ซึ่งช่วยให้สมาชิกสามารถสะสมคะแนนเพื่อแลกสิทธิประโยชน์จากแบรนด์ต่างๆ กว่า 250 แบรนด์ ภายในปี 2566 เวียตเจ็ทมีสมาชิก SkyJoy จำนวน 10 ล้านคน

นอกจากนี้ เวียตเจ็ทได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อมอบความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารด้วยบริการ "บินก่อน จ่ายทีหลัง (Fly Now Pay Later)" อำนวยความสะดวกด้วยการเสนอทางเลือกการชำระเงินที่ยืดหยุ่นแก่ผู้โดยสาร เกตเวย์การชำระเงิน Galaxy Pay ของเวียตเจ็ทช่วยให้มั่นใจในความปลอดภัยและสะดวกสบายผ่านวิธีการชำระเงินที่หลากหลาย รวมถึงเวียตเจ็ทเป็นสายการบินแรกของเวียดนามที่เริ่มให้บริการชำระเงินผ่าน Apple Pay ในขณะเดียวกัน ผู้โดยสารของเวียตเจ็ทจะได้รับสิทธิ์เช็คอินออนไลน์ ณ สนามบิน 18 แห่งในเวียดนาม

 เวียตเจ็ทการันตีมาตรฐานบริการด้วยรางวัลหนึ่งในสายการบินราคาประหยัดที่ปลอดภัยที่สุดในโลกอีกครั้งโดย AirlineRatings ซึ่งเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงในการประเมินการบริการและความปลอดภัยของสายการบิน ในปีที่ผ่านมา สายการบินได้จัดการประชุม หลักสูตรการฝึกอบรม และการจำลองด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย อาทิ การประชุมด้านคุณภาพและความปลอดภัย การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยของ ISAGO (International Standard for Ground Operations) และการจำลองการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อสร้างมั่นใจในความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติการบิน นอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมในฟอรัมด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติงานด้านการบินระดับโลกที่จัดโดยองค์กรที่มีชื่อเสียง อาทิ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) เพื่อมีส่วนร่วมในการอภิปรายเชิงลึกเกี่ยวกับความปลอดภัยในการบิน

ในปี 2566 เวียตเจ็ทได้เปิดตัวศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องบินที่ได้มาตรฐานสากลโดยร่วมมือกับสายการบินลาวในเวียงจันทน์ ด้วยเหตุนี้ เวียตเจ็ทจึงใช้แนวทางเชิงรุกในงานซ่อมบำรุงเครื่องบินหลังจากการลงทุนในบริการการจัดการภาคพื้นดิน

ด้วยตระหนักถึงกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ในการพัฒนาและสร้างบุคลากรที่มีมาตรฐานสากล Vietjet Aviation Academy (VJAA) จึงกลายเป็นพันธมิตรการฝึกอบรมของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ในปี 2566

ด้วยกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ในการพัฒนาและสร้างบุคลากรที่มีมาตรฐานสากล Vietjet Aviation Academy (VJAA) จึงกลายเป็นพันธมิตรศูนย์ฝึกอบรมของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ในปี 2566

VJAA ฝึกอบรมนักเรียนมากกว่า 97,000 คนผ่านหลักสูตร 6,300 หลักสูตร โดยจัดให้มีการฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงเครื่องบิน (CRS) อย่างเต็มกำลังในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ สถาบันแห่งนี้ยังได้เปิดตัวเครื่องจำลองการบินแห่งที่สามซึ่งกลายเป็นศูนย์ฝึกนักบินชั้นนำในภูมิภาค

ในปีที่ผ่านมา เวียตเจ็ทประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการพัฒนาและยกระดับบริการอย่างครอบคลุมด้วยการขยายเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน สายการบินฯ พร้อมตอบสนองความต้องการการเดินทางภายในประเทศ รวมถึงวางแผนขยายเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศเส้นทางใหม่ๆ ต่อไปในอนาคต

ไทยเวียตเจ็ทประกาศให้สงขลาเป็นเมืองแห่งที่สามของกิจกรรมปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายใต้โครงการ ‘Fly Green Metro Forest Mangrove’ เชิญชวนผู้โดยสาร สมาชิก นักเรียนนักศึกษา และพนักงานของสายการบินฯ ร่วมกันปลูกป่าชายเลนจำนวน 10,000 ต้น ณ ทะเลสาบสงขลา บ้านหัวเขา จังหวัดสงขลา ในวันที่ 5 เมษายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08:00 – 15:00 น.

โครงการ ‘ฟลายกรีน เมโทร ฟอร์เรสต์’ เกิดขึ้นภายใต้กองทุนฟลายกรีนฟันด์ ซึ่งเป็นกองทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมของไทยเวียตเจ็ท ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2564 โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสนับสนุนความยั่งยืน

แนวคิดหลักของโครงการ ‘ฟลายกรีน เมโทร ฟอร์เรสต์’ คือ การมุ่งเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองของประเทศไทย หลังจากความสำเร็จของฟลายกรีน เมโทร ฟอร์เรสต์ในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ในครั้งนี้ สายการบินฯ จะเดินหน้าโครงการครั้งที่สามไปยังสงขลา

นายวรเนติ หล้าพระบาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยเวียตเจ็ท กล่าวว่า “ไทยเวียตเจ็ทยังคงดำเนินกิจกรรมที่อุทิศตนเพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน อาทิ การลดการปล่อยมลพิษจากการปฏิบัติการบิน รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ลดสาเหตุของภาวะโลกร้อนที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่ ด้วยความมุ่งมั่นในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองในประเทศไทย ครั้งนี้ เราจะเดินหน้าโครงการครั้งที่สามไปยังสงขลาซึ่งจะเป็นการปลูกป่าชายเลนแห่งแรกภายใต้โครงการฟลายกรีน เมโทร ฟอเรสต์

สายการบินไทยเวียตเจ็ทได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนฟลายกรีนฟันด์ อาทิ กิจกรรม ‘การ์เบจ ฮันเตอร์ (Garbage Hunter)’ ซึ่งเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกำจัดขยะจากสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย มุ่งสู่การลดปริมาณขยะเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมส่งเสริมความยั่งยืนต่อไป กิจกรรมกอล์ฟการกุศล ‘ฟลาย กรีน แชร์ริตี้ กอล์ฟ เดย์ (Fly Green Charity Golf Day)’ ซึ่งเป็นกิจกรรมแข่งขันกอล์ฟการกุศลครั้งแรกภายใต้กองทุนฟลายกรีนฟันด์ กิจกรรม ‘เมโทร ฟอร์เรสต์ (Metro Forest)’ ซึ่งเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองของประเทศไทย และกิจกรรม ‘เวียตเจ็ท ฟลายกรีน แชริตี้คอนเสิร์ต (Vietjet Fly Green Charity Concert)’ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนให้กับแฟนเพลงและระดมทุนจากการจำหน่ายบัตรเข้าชมคอนเสิร์ตเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

โครงการ ‘Fly Green Metro Forest – Mangrove’ จะจัดขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ ทะเลสาบสงขลา บ้านหัวเขา จังหวัดสงขลา ในวันที่ 5 เมษายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08:00 – 15:00 น. ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ www.vietjetair.com

X

Right Click

No right click