กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้น้อมนำแนวพระดำริเรื่อง “หมู่บ้านยั่งยืน” (Sustainable Village) ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา มาดำเนินการขับเคลื่อนโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้านให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมทั้งขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ภายใต้เป้าหมายการสร้างความยั่งยืนให้ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองของประชาชนในหมู่บ้าน

 

 

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้จัดพิธีมอบรางวัลกำนัน ผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม ประจำปี 2566 ขึ้น ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อเป็นการยกย่อง เชิดชูเกียรติ และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่      นักปกครองท้องที่ผู้เป็นด่านหน้าในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้ประชาชน ผู้ที่ถือว่าเป็น เสาหลักแห่งแผ่นดิน คอยทุ่มเท เสียสละแรงกาย แรงใจ ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชน  ซึ่งในปีนี้ผู้ที่ได้รับรางวัลกำนัน ผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม ประจำปี 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 262 ราย แบ่งเป็นรางวัลกำนันยอดเยี่ยม 129 ราย และรางวัลผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม 133 ราย   

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ เจริญไพฑูรย์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ฝ่ายความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมการปกครอง ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ว่าด้วยการบูรณาการส่งเสริมความรู้การประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระหว่างกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดยมีคณะผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงานและสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ชั้น 2 สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ

เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างสำนักงาน คปภ. และกรมการปกครอง ในครั้งนี้ มีความประสงค์หลัก ๆ คือ การประสานความร่วมมือเพื่อรณรงค์และให้การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ในการส่งเสริมการจัดทำประกันภัย และการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการประกันภัย พ.ร.บ. และการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูล และแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน โดยใช้กลไกของหน่วยงานระดับพื้นที่ในส่วนภูมิภาค ร่วมกันขับเคลื่อนและรณรงค์ให้ประชาชนเจ้าของรถตระหนักถึงความสำคัญในการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. และรับรู้ถึงหน้าที่และสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. อย่างทั่วถึงและมีการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการนำระบบประกันภัยเข้าไปเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ จากการรวบรวมสถิติข้อมูลรถจดทะเบียนสะสมของกรมการขนส่งทางบก และข้อมูลการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. ที่มีผลใช้บังคับ ในปี 2565 พบว่า การจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. สำหรับรถยนต์ มีสัดส่วนร้อยละ 90 ส่วนการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. สำหรับรถจักรยานยนต์ มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 64 ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนที่ต่ำ ดังนั้นเมื่อมีประชาชนไม่จัดทำประกันภัย พ.ร.บ. เป็นจำนวนมาก ย่อมส่งผลให้ประชาชนเสียสิทธิประโยชน์ในการได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. ด้วยเช่นกัน โดยผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่ได้ทำประกันภัย พ.ร.บ. ก็จะมาขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน คปภ. ที่มีภารกิจในการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่ได้รับความคุ้มครองจากการประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งปัจจุบันกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยมีแนวโน้มการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นที่เพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2565 กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถเป็นจำนวน 8,024 ราย รวมเป็นจำนวนเงินกว่า 157 ล้านบาท

นอกจากนี้ ในการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย พบว่า จะมีการเรียกร้องจากกรณีรถไม่ทำประกันภัย พ.ร.บ. กว่าร้อยละ 80 ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการบูรณาการร่วมกับกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ในครั้งนี้  ซึ่งกรมการปกครองมีบุคลากรเป็นจำนวนมากที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ รวมถึงให้การสนับสนุน ส่งเสริม อำนวยความสะดวก และอบรมชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่มีส่วนช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนได้รับความคุ้มครองและมีความปลอดภัย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับภารกิจของสำนักงาน คปภ. โดยเฉพาะการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านประกันภัย พ.ร.บ. ให้แก่ประชาชนอย่างถูกต้อง ครบถ้วนและทั่วถึง

ด้าน นายสมศักดิ์ เจริญไพฑูรย์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ฝ่ายความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การลงนามในบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายอันดีในการเริ่มต้นความร่วมมือและการบูรณาการระหว่างกรมการปกครอง และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยที่ผ่านมากรมการปกครองตระหนักและให้ความสำคัญกับการป้องกันและลดอุบัติเหตุจาการใช้รถใช้ถนนของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และสอดรับกับภารกิจของกรมการปกครองในการประสานความร่วมมือกับ สำนักงาน คปภ. เพื่อให้การสนับสนุน อำนวยความสะดวกด้านการเชื่อมโยงข้อมูลงานด้านทะเบียนราษฎร และใช้กลไกหน่วยงานปกครองในระดับพื้นที่ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นต้น ในการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการประกันภัย พ.ร.บ. และให้บุคลากรของหน่วยงานปกครองในระดับพื้นที่เข้ารับการอบรมเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการประกันภัย พ.ร.บ. ตลอดจนมีการสำรวจการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. ของรถในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเจ้าของรถทุกคันตระหนักถึงความสำคัญในการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. และรับรู้ถึงหน้าที่และสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. อย่างทั่วถึง รวมถึงรณรงค์เพื่อให้ประชาชนมีการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายเมื่อมีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำประกันภัย พ.ร.บ. มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน โดยจะได้รับความคุ้มครองความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย อันเนื่องมาจากการประสบภัยจากรถ โดยผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเพื่อเยียวยาความเสียหายอย่างทันท่วงทีและไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิด รวมถึงค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย  โดยความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. จะแบ่งเป็น 2 ส่วน หลัก ๆ คือ ส่วนแรก ค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นการจ่ายโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด โดยจ่ายให้กับผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ซึ่งจ่ายภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วน โดยจ่ายเป็น ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง รายละไม่เกิน 30,000 บาท ค่าปลงศพหรือค่าชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะ รายละ 35,000 บาท  รวมทั้ง กรณีที่ได้รับบาดเจ็บและต่อมาเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะจะได้รับสูงสุดไม่เกินรายละ 65,000 บาท

ส่วนที่ 2 ค่าสินไหมทดแทน (ค่าเสียหายส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น) จ่ายให้ผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่ได้เป็นฝ่ายก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งจะต้องมีการพิสูจน์ความรับผิดแล้ว โดยจ่ายกรณีบาดเจ็บจะได้รับความคุ้มครองสูงสุดตามกรมธรรม์ฯ ไม่เกิน 80,000 บาท (รวมค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว) กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. ตั้งแต่ 200,000 – 500,000 บาท แล้วแต่กรณี (รวมค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว) กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จะได้รับความคุ้มครองสูงสุด 500,000 บาท (รวมค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว) และหากเข้ารักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล จะได้รับค่าชดเชยรายวันอีกวันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วันอีกด้วย

“การลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่าง สำนักงาน คปภ. กับ กรมการปกครอง ในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญอย่างยิ่งในการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันของทั้งสองหน่วยงาน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดในการเสริมสร้างความรู้และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย พ.ร.บ. ของประชาชนเจ้าของรถในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

 

ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามยุคสมัย เนื่องจากมีคณะกรรมการหมู่บ้าน หรือ กม. ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญในการดูแลทุกข์ สุข ของประชาชน เป็นสำคัญ  และเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ในความเสียสละของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.)

 

กรมการปกครอง เดินหน้าผลักดันส่งเสริมการปฏิบัติงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) มอบรางวัลหมู่บ้านเข้มแข็งตามแนวทาง “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง” (หมู่บ้านอยู่เย็น) ประจำปี พ.ศ. 2565  

X

Right Click

No right click