นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานประธานในพิธี และเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง การบูรณาการเพื่อการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานที่เป็นผู้ป่วย ซึ่งมีความจําเป็นที่จะต้องใช้ไฟฟ้าในการเดินเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อการรักษาพยาบาล เพื่อวางกรอบความร่วมมือในการบูรณาการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้ใช้พลังงานเชิงรุก ให้ผู้ใช้พลังงานที่มีผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลได้รับการยกเว้นการงดจ่ายไฟฟ้าในทุกกรณี โดยมี นายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือดังกล่าว ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 กระทรวงพลังงาน อาคาร บี ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์
ผู้ว่าการ MEA กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบด้านระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ พร้อมตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาล ในการยกเว้นการงดจ่ายไฟฟ้าได้ในกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้า หรือผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีบุคคลอยู่ในความดูแล หรือมีผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้า ในการเดินเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อการรักษาพยาบาล ซึ่งนโยบายดังกล่าว MEA ดำเนินการตามประกาศของ สำนักงาน กกพ. มาอย่างต่อเนื่อง โดยการลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ถือเป็นก้าวที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อเดินเครื่องมือทางการแพทย์ โดยเปลี่ยนเป็นการทำงานเชิงรุกผ่านการบูรณาการข้อมูลร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้ MEA สามารถเข้าถึง และดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนดูแลระบบจำหน่ายไฟฟ้า เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าในการเดินเครื่องมือทางการแพทย์ได้รับพลังงานไฟฟ้าอย่างเพียงพอ และต่อเนื่อง ไม่เป็นอันตรายต่อต่อสุขภาพผู้ป่วย
นอกจากนี้ การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานดังกล่าว ยังครอบคลุมถึงการร่วมกันพัฒนาฐานข้อมูล หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานที่เป็นผู้ป่วย ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ไฟฟ้าในการเดินเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อการรักษาพยาบาล เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวก เป็นปัจจุบัน และสามารถนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานได้ ตลอดจนสนับสนุน เผยแพร่ข้อมูล และเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนผู้ใช้พลังงานที่หน่วยงานภาครัฐได้ให้ความคุ้มครอง เกี่ยวกับการได้รับสิทธิการยกเว้นการงดจ่ายไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า หรือผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีบุคคลอยู่ในความดูแล หรือ มีผู้ป่วยที่ต้องใช้ไฟฟ้าในการเดินเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อการรักษาพยาบาล มิให้ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการงดจ่ายไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม การร่วมมือครั้งนี้ยังแสดงถึงความมุ่งมั่นของ MEA และหน่วยงานพันธมิตรในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน โดยมุ่งหวังให้การคุ้มครองผู้ใช้พลังงานที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยที่ต้องพึ่งพาเครื่องมือทางการแพทย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นในระบบบริการด้านพลังงานที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ MEA พร้อมเดินหน้าทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อให้การจัดการด้านพลังงานเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างความมั่นคงให้แก่ประชาชนในทุกมิติ อันสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในอนาคต
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย นพ.กร ตาลทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด สานต่อความร่วมมือภายใต้โครงการ Healthy Lung Thailand
ส่งมอบอุปกรณ์การตรวจสมรรถภาพปอดสไปโรมิเตอร์ จำนวน 2 เครื่อง ให้แก่สำนักงานเขตสุขภาพที่ 11 กระทรวงสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ เช่น โรคหืดหรือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล โดยมี นพ.จิรชาติ เรืองวัชรินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้รับมอบสไปโรมิเตอร์เครื่องแรกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ณ โรงพยาบาลท่าโรงช้าง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยจะมีการส่งมอบสไปโรมิเตอร์อีกจำนวนหนึ่งเครื่องในเร็ว ๆ นี้
สไปโรมิเตอร์ (Spirometer) เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการทดสอบสมรรถภาพทางปอดตามมาตรฐานสากล โดยจะทำหน้าที่วัดปริมาตรอากาศเข้าและออกจากปอด ทั้งในเชิงปริมาตร (volume) และอัตราการไหลของอากาศ (air flow) ซึ่งจะทำให้แพทย์ได้ข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการประเมินและวินิจฉัยสมรรถภาพของปอดของผู้ป่วย
ต่อไป จากข้อมูลการใช้งานของหน่วยงานสาธารณสุข เครื่องสไปโรมิเตอร์จำนวนสองเครื่องที่ได้รับมอบคาดว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวินิจฉัยโรคระบบทางเดินหายใจให้แก่ผู้ป่วยกว่า 2,380 รายต่อปี นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยการคัดกรองผู้ป่วยในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจหลังจากติดเชื้อไวรัสโควิด-19
ทั้งนี้ โรคหืด (Asthma) ถือเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ Non-communicable diseases (NCDs) ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคหืดกว่า 2,000 ราย ส่วนโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตลำดับต้น ๆ ของประชากรไทย โดยในปี 2561 มีผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวมากกว่า 3 ล้านคน และมีแนวโน้มที่การเสียชีวิตจะสูงขึ้นทุกปีเช่นเดียวกับทั่วโลก
ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจให้เห็นถึงความสำคัญของโรค พร้อมส่งเสริมศักยภาพความรู้และทักษะของบุคลากรการแพทย์ รวมถึงขยายขีดความสามารถและเพิ่มการเข้าถึงบริการสำหรับโรคหืด (Asthma) และปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
โครงการ Healthy Lung Thailand ถือเป็นโครงการเพื่อสังคมแบบยั่งยืนผ่านความร่วมมือระหว่าง แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และสมาคมทางการแพทย์ โดยมีเป้าหมายให้ทุกคนมีสุขภาพปอดที่แข็งแรงและคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านการรณรงค์เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด และยกระดับการพัฒนาองค์ความรู้ เสริมสร้างศักยภาพ และการเข้าถึงการบริการเพื่อนำไปสู่พัฒนาการด้านการรักษา และจัดการโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า