November 22, 2024

SCB  WEALTH  เปิดตัว “No Gain No Pay” แนวคิดใหม่ของการลงทุน ใส่ใจผลประโยชน์ลูกค้าเป็นตัวตั้ง เชื่อว่าเงินของลูกค้าเป็นเงินของเรา โดยจะไม่คิดค่าธรรมเนียมหากมูลค่าหน่วยลงทุนไม่ถึงเป้าหมายที่กำหนด นำร่องส่งกองทุนเปิดทิสโก้ ทาร์เก็ต 8M1 อายุ 8 เดือน เสนอขายวันที่ 14-28 สิงหาคมนี้  เงินลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นตัวแทนจำหน่ายเพียงรายเดียว กองทุนนี้ไม่คิดค่าธรรมเนียมการขายและบริหารจัดการ  หลังจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนภายใน 8 เดือน หากมูลค่าหน่วยลงทุน อยู่ที่ 10.82 บาทต่อหน่วย  กองทุนคิดค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน 2% แต่หากหลังจาก 8 เดือนมูลค่าหน่วยลงทุน ต่ำกว่า 10.10 บาทต่อหน่วย ไม่คิดค่าธรรมเนียมบริหารจัดการและค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน กองทุนที่อยู่ในแนวคิดใหม่นี้ จะต้องมีสัญลักษณ์ของ No Gain No Pay เท่านั้น 

นายศรชัย  สุเนต์ตา , CFA  รองผู้จัดการใหญ่  ผู้บริหารสายงาน Investment Office and Product  กลุ่มธุรกิจ Wealth  ธนาคารไทยพาณิชย์  เปิดเผยว่า SCB WEALTH  ใส่ใจผลประโยชน์ลูกค้าเป็นตัวตั้ง เชื่อว่าเงินของลูกค้าเป็นเงินของเรา  และต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าที่ไว้วางใจให้ธนาคารบริหารสินทรัพย์ และมั่นใจในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ลงทุนที่มีคุณภาพ มานำเสนอให้กับนักลงทุน เพื่อต่อยอดความมั่งคั่ง จึงได้นำร่องเปิดตัว No Gain No Pay  แนวคิดใหม่ของการลงทุน ที่ยึดผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ โดยจะไม่คิดค่าธรรมเนียมการขาย (Front end fee) และค่าธรรมเนียมบริหารจัดการ (Management Fee) หากมูลค่าหน่วยลงทุนไม่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และจะคิดค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน (Back end fee) ที่มีความยุติธรรม โดยจะเก็บก็ต่อเมื่อกองทุนมีกำไรหรือทำได้ตามเป้าหมาย  เพื่อตอกย้ำว่าธนาคารให้การดูแลลูกค้าเสมือน Thought Partner และสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนให้กับนักลงทุน 

SCB WEALTH  ยึดมั่นในหลักการของ Open architecture  ในการสรรหาผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ตอบโจทย์ และคัดเลือก  Best in class ให้กับลูกค้า โดยเราจะคัดสรรผลิตภัณฑ์การลงทุนจากภายนอกธนาคารมานำเสนอให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง  เพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์การลงทุนให้มีความหลากหลาย  รวมทั้งมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และเหมาะสมในแต่ละภาวะการลงทุน    ล่าสุด เราได้พัฒนาผลิตภัณฑ์การลงทุนร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ โดยการเปิดจำหน่ายกองทุนเปิดทิสโก้  ทาร์เก็ต 8M1 (TTARGET8M1)บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน  ทิสโก้  จำกัด  ซึ่งธนาคารเป็นตัวแทนจำหน่ายเพียงรายเดียว  ในระหว่างวันที่ 14 - 28   สิงหาคม  2567  เงินลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาทขึ้นไป  มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท   

กองทุน TTARGET8M1มีนโยบายลงทุนในตราสารทุน โดยมุ่งเน้นการลงทุนในหุ้นไทย โดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน  ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ / หรือตลาดเอ็มเอไอ รวมถึงตลาดหลักทรัพย์อื่นๆที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี  มีความมั่นคง และมีแนวโน้มการเจริญเติบโตทางธุรกิจที่ดี  คัดเลือกลงทุนในหุ้นไทยที่มีระดับราคาน่าสนใจ ได้รับปัจจัยหนุนจากมาตรการส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล 

สำหรับการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายโดยอัตโนมัติ ภายใน 5  วันทำการ นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่เกิดเหตุการณ์ตามเงื่อนไขการเลิกกองทุน เงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งดังนี้  คือ  ภายในระยะเวลา 8 เดือน นับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม  เมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 10.82 บาท ณ วันทำการใด หรือเป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกันขึ้นไป  และทรัพย์สินของกองทุนเป็นเงินสด  และ/หรือเงินฝาก และ/หรือทรัพย์สินอื่นใดที่เทียบเท่าเงินสดบางส่วนหรือทั้งหมด สามารถรับซื้อคืนโดยอัตโนมัติได้ไม่ต่ำกว่า  10.60 บาทต่อหน่วย  

อย่างไรก็ตาม หากหน่วยลงทุนมีมูลค่าไม่เป็นไปตามเป้าหมายภายในระยะเวลา 8 เดือน นับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม  ผู้ลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ  และเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 10.30 บาท   ณ วันทำการใด หรือเป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกันขึ้นไป และทรัพย์สินของกองทุนเป็นเงินสด  และ/หรือเงินฝาก และ/หรือทรัพย์สินอื่นใดที่เทียบเท่าเงินสดบางส่วนหรือทั้งหมด  สามารถรับซื้อคืนโดยอัตโนมัติได้ไม่ต่ำกว่า  10.20 บาทต่อหน่วย  โดยบริษัทจัดการจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน 2% ก็ต่อเมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนถึงเป้าหมาย ที่ราคาไม่ต่ำกว่า  10.82   ติดต่อกัน 3  วัน ภายในระยะเวลาที่กำหนด 8 เดือน  แต่หากหลังครบระยะเวลา 8  เดือน บริษัทจัดการจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนก็ต่อเมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนมากกว่าหรือเท่ากับ 10.10 บาท ในอัตรา 0.5% และ หากมูลค่าหน่วยลงทุนต่ำกว่า 10.10 บาท จะไม่คิดค่าธรรมเนียมบริหารจัดการและรับซื้อคืน  ทั้งนี้ กองทุนที่อยู่ในแนวคิดใหม่ของการลงทุนนี้ จะต้องมีสัญลักษณ์ของ No Gain No Pay เท่านั้น 

นายศรชัย  กล่าวต่อไปว่า  ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการลงทุนที่จะสนับสนุนให้มูลค่าหน่วยลงทุนเติบโตไปถึงเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนด 8 เดือน  มีดังนี้คือ 1) SCB CIO คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. เพื่อให้สอดคล้องกับ ศักยภาพเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำลง จากปัจจัยเชิงโครงสร้าง และ ภาวะเงินเฟ้อที่ต่ำ ซึ่งจากสถิติในอดีต หลัง กนง. ลดดอกเบี้ยนโยบาย ตลาดหุ้นไทยมักปรับตัวขึ้น และจะได้อานิสงส์ด้านผลประกอบการ รวมถึง งบดุลที่แข็งแกร่งขึ้นจากต้นทุนทางการเงินที่ลดลง นอกจากนี้ แรงหนุนจากนักท่องเที่ยวที่กลับมาขยายตัวใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิดจะเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจเร่งขยายตัว  2) ดิจิทัล วอลเล็ต จะส่งผลบวกในหุ้นภาคการบริโภค  หลังจากที่กระทรวงการคลัง เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนร่วมโครงการดิจิทัล วอลเล็ต ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมา และ ให้ร้านค้าลงทะเบียน วันที่ 1 ต.ค. นี้ คาดว่าโครงการนี้ จะช่วยกระตุ้นการบริโภคในช่วงไตรมาส 4 ได้ ช่วยหนุนผลประกอบการหุ้นที่เกี่ยวกับภาคการบริโภค เช่น กลุ่มค้าปลีก และ กลุ่มอาหาร เป็นต้น   3) กองทุน ThaiESG เงื่อนไขใหม่ และการกลับมาของกองทุนวายุภักษ์  โดยครม.ได้อนุมัติเกณฑ์ใหม่กองทุน ThaiESG ให้ผู้ซื้อลดหย่อนภาษีได้สูงสุดเพิ่มเป็นไม่เกิน 300,000 บาท และลดระยะเวลาถือครองเหลือ 5 ปี นับจากวันที่ลงทุน  พร้อมขยายขอบเขตการลงทุนให้ครอบคลุมเพิ่มเติมด้านธรรมาภิบาล ส่งผลให้ครอบคลุมหุ้น ในดัชนี SET/mai เพิ่มขึ้น บวกกับแผนการนำกองทุนวายุภักษ์กลับมา โดยปรับเกณฑ์ใหม่ และคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือน ก.ย. ซึ่งจะช่วยหนุนเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นไทย  

นอกจากนี้ ผลสำรวจนักวิเคราะห์จาก Bloomberg Consensus   ณ วันที่   30 กรกฎาคม  2567 คาดการณ์ว่า EPS ของดัชนีตลาดหุ้นไทยในปีนี้จะเติบโตประมาณ 17% เทียบปีก่อนหน้า ส่วนในเชิง Valuation ของดัชนี ก็ถือว่าซื้อขายในระดับที่ไม่แพง โดยราคาต่อกำไรต่อหุ้นในระยะ 12 เดือนข้างหน้า (Forward PE) อยู่ที่ 13.4 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับตลาดหุ้นไทย และมองเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนที่จะสร้างผลตอบแทนให้กับการลงทุนได้อย่างถูกจังหวะ  

บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) จัดงานสัมมนา An Afternoon with Howard Marks: Navigating Market Realities Through Sea Change ฉายภาพการลงทุนท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ (Sea Change) ผ่านมุมมองกูรูการลงทุนระดับโลกอย่าง Howard Marks และ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ นักเศรษฐศาสตร์ชั้นแนวหน้าของประเทศ โดยงานสัมมนานี้จัดขึ้นสำหรับกลุ่มลูกค้า Wealth Management แบบเอกซ์คลูซีฟ เพื่อยกระดับการลงทุนและการบริหารความมั่งคั่งไปสู่โอกาสระดับโลก ณ โรงแรมวอลดอร์ฟ แอสโทเรีย กรุงเทพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา

นาย Howard Marks ผู้ก่อตั้งร่วมและประธานร่วม บริษัท โอ๊คทรี แคปิตอล แมเนจเมนท์ บริษัทจัดการสินทรัพย์ผู้นำด้านการลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) ของโลกกล่าวว่าปัจจุบันตลาดทุนอาจกำลังประสบกับ “การเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่” (Sea Change) ครั้งที่ 3 การเปลี่ยนผ่านครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงปี 1970-1980 ที่นักลงทุนได้เปิดรับแนวคิดว่าสามารถลงทุนในคุณภาพสินทรัพย์ระดับใดก็ได้ภายใต้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับความเสี่ยง การเปลี่ยนผ่านครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในช่วงปี 1980-1990 หลังจากอัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูง และธนาคารกลางสหรัฐต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงร้อยละ 20 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ก่อนจะปรับลดก่อให้เกิดยุคของอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่อง และทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างก้าวกระโดดมากว่า 40 ปี สำหรับในปัจจุบัน สภาวะเงินเฟ้อระดับสูง และอัตราดอกเบี้ยสูงอาจนับเป็นการเปลี่ยนผ่านสำคัญครั้งใหญ่ครั้งที่ 3 ที่นักลงทุนจำต้องปรับแนวคิดต่างไปจากเดิม อัตราส่วนระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เปลี่ยนไปสำหรับสินทรัพย์ทุกประเภท ทำให้กลยุทธ์การลงทุนในตราสารหนี้ (Debt Investing) มีความน่าสนใจ และบ่งบอกว่ากลยุทธ์การลงทุนที่สามารถใช้ได้ดีในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา อาจจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนในอนาคตอีกต่อไป

ด้าน ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่าผลกระทบของการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ระดับโลกที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ล้วนส่งผลกระทบมาถึงไทยไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากประเด็นการเปลี่ยนผ่านระดับโลก ประเทศไทยยังมีความท้าทายเฉพาะตัว อันเนื่องมาจากอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ลดลง การพึ่งพาอุปสงค์จากภายนอกที่มากขึ้น และความสามารถในการแข่งขันลดลง ดังนั้น การรับมือกับปัจจัยภายนอกอย่างประเด็นภูมิรัฐศาสตร์โลก การทวงคืนตลาดการส่งออก การฟื้นคืนจำนวนนักท่องเที่ยว ตลอดจนการบริหารอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี และการปฏิรูปเชิงโครงสร้างในด้านการศึกษา พลังงาน สิ่งแวดล้อม การเกษตร การเมือง หรือโครงสร้างประชากรจึงเป็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องพิจารณาเพื่อเตรียมรับกับการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้น

 

KRUNGSRI EXCLUSIVE 2021 Mid-Year Outlook Series จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

X

Right Click

No right click