มูลนิธิรามาธิบดี ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มอบโอกาสทางการศึกษาให้แก่คนพิการเพื่อผลิตบัณฑิตกลุ่มวิชาชีพครู หวังเพิ่มจำนวนบุคลากรครูที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการสอนคนพิการไปยังสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อถ่ายทอดความรู้ ส่งเสริมศักยภาพให้คนพิการมีอาชีพที่มั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ผ่านการระดมทุนในโครงการทุนสถาบันราชสุดา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของคนพิการในสังคมไทย
คนพิการคือกลุ่มคนที่ต้องเผชิญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ โดยเฉพาะด้านการศึกษา แม้ว่าในทางกฎหมาย ภาครัฐจะให้ความสำคัญต่อการศึกษาโดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่า การศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องได้รับและสามารถเข้าถึงได้ แต่ในทางปฏิบัติ การจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มคนพิการนั้นยังคงเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยากและอาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากปัญหาทั้งด้านหลักสูตร โครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับคนพิการ และความสามารถในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
อาจารย์นายแพทย์สมเกียรติ ลีละศิธร ผู้อำนวยการสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า “การขาดโอกาสทางการศึกษาส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี จนนำมาสู่ปัญหาการขาดโอกาสในการประกอบอาชีพของกลุ่มคนพิการ จากข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567 พบว่า มีจำนวนคนพิการทางการได้ยินและสื่อความหมายในประเทศไทยทั้งสิ้น 423,936 คน คิดเป็น 19.19% ของคนพิการทั้งหมด โดยในจำนวนคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายทั้ง 423,936 คนเหล่านี้ มีผู้ได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษาสูงที่สุด 282,410 คน รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาที่ 35,899 คน ในขณะที่ผู้ที่ได้รับ
การศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามีเพียง 9,227 คนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมุ่งมั่นเป็นสถาบันที่เปิดพื้นที่ทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ตั้งแต่ระดับชั้นปริญญาตรี โท และเอก เพื่อผลิตบุคลากรครูสำหรับคนพิการทางการได้ยินโดยเฉพาะ รวมทั้งเป็นที่พึ่งพิงให้กับคนพิการที่ต้องการความช่วยเหลือด้านสุขภาพกายและจิตใจผ่านงานบริการและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตร่วมกับทุกคนในสังคมได้อย่างมีความสุข”
อาจารย์ ดร.ปรเมศวร์ บุญยืน ประธานหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาของคนหูหนวก กล่าวว่า “ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์การขาดแคลนล่ามภาษามือ จากสถิติกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2567 พบว่า ล่ามภาษามือที่จดแจ้งมีจำนวนทั้งหมด 178 คน โดยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลมากที่สุด และ 36 จังหวัดในประเทศไทยไม่พบล่ามภาษามือที่จดแจ้ง สถาบันราชสุดา ในฐานะสถาบันการศึกษาแห่งเดียวที่ผลิตล่ามภาษามือในระดับปริญญาตรี จึงให้มุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตเพื่อส่งต่อความรู้ให้แก่คนพิการทางการได้ยินให้มีทักษะในการประกอบอาชีพ ตลอดจนสามารถหาเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนพิการในสังคมไทย”
คุณพรรณสิรี คุณากรไพบูลย์ศิริ ผู้จัดการมูลนิธิรามาธิบดีฯ กล่าวเสริมว่า “มูลนิธิรามาธิบดีฯ มุ่งมั่นในการสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ผ่านการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ความเท่าเทียมและไม่แบ่งแยก โดยเฉพาะความเท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาตนเอง โครงการทุนสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงก่อตั้งขึ้นเพื่อระดมทุนสนับสนุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มศักยภาพ พร้อมจัดสรรเงินทุนเพื่อพัฒนาด้านการเรียนการสอนในสถาบันราชสุดา รวมถึงส่งเสริมด้านงานวิจัยนวัตกรรมด้านคนพิการและการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาศักยภาพของคนพิการ เพื่อให้คนพิการในสังคมไทยมีอาชีพที่มั่นคงในระยะยาว โดยเฉพาะกลุ่มวิชาชีพครูที่สร้างรายได้ให้แก่ตนเองและสามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ในอนาคต นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนของคนพิการในประเทศไทย”
สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นและเปิดโอกาสให้คนพิการสามารถเรียนรวมกับคนทั่วไปได้อย่างเท่าเทียม โดยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในห้องเรียนเพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้ระหว่างคนพิการและบุคคลทั่วไป พร้อมจัดบริการสนับสนุนการศึกษาอย่างเหมาะสมเพื่อลดอุปสรรคการเรียนรู้ที่เกิดจากข้อจำกัดด้านความพิการ สถาบันราชสุดา เปิดสอนทั้งหมด 5 หลักสูตร ดังนี้ ระดับปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหูหนวกศึกษา วิชาเอกการออกแบบเชิงพาณิชย์ และวิชาเอกล่ามภาษามือไทย และ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาของคนหูหนวก ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หลักสูตรศึกษา
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ และ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
โครงการทุนสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญของมูลนิธิรามาธิบดีฯ เพื่อสร้างพื้นที่แห่งโอกาสทางการศึกษาให้คนพิการ นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้คนพิการสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างคนพิการและคนทั่วไป พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมที่ปราศจากการแบ่งแยก ขอเชิญชวนประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินสมทบทุนให้กับโครงการทุนสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ที่ มูลนิธิรามาธิบดีฯ www.ramafoundation.or.th
ในประเทศไทยมีคนพิการมากกว่า 1.7 ล้านคน แต่ มีเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ มีงานทํา นั่นคือปัญหาที่เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ คิดว่าเธอจะช่วยแก้ปัญหาได้
เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ หรือ จูน ผู้ร่วมก่อตั้ง Vulcan Coalition ในปี 2563 ได้มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณสัตยา นาเดลลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไมโครซอฟท์ ที่งาน Microsoft APAC Innovators Forum ที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อเร็วๆ นี้ เล่าว่า Vulcan Coalition มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบริการ AI ใหม่ๆ ที่เป็นภาษาไทยพร้อมๆไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ จาก การศึกษาทางประสาทวิทยา พบว่า บุคคลที่มีความพิการทางการมองเห็นหรือการได้ยิน ในบางคนมีประสาทส่วนการรับรู้ที่พิเศษกว่าบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นการชดเชยความบกพร่องของระบบประสาทในส่วนที่เสียไป
"เราได้เรียนรู้ว่าคนพิการเสมือนจะมีพลังพิเศษ" จูนกล่าว "ดังนั้นเราจึงเห็นโอกาสที่จะจับคู่พวกเขากับงานประเภทนี้"
การจับคู่งานดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาสําคัญในประเทศไทยซึ่งเป็นที่ตั้งของสตาร์ทอัพ และกำลังขาดแคลนพนักงานที่สามารถสอนจากการป้อนข้อมูลที่ถูกต้องจํานวนมากเพื่อสร้างออกมาเป็นรูปแบบภาษาไทย
การ label หรือการป้อนและกํากับข้อมูลเกี่ยวข้องกับการระบุข้อมูลดิบ เช่น ไฟล์เสียงหรือวิดีโอ และการเพิ่มป้ายกํากับข้อมูลสําหรับบริบท สิ่งนี้ทําให้โมเดลแมชชีนเลิร์นนิงเรียนรู้จากข้อมูล ซึ่งช่วยให้แอปต่างๆ เช่น บริการแชทบอท และการรับรู้จดจําเสียง (voice recognition)
จูน-เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ และ นิรันดร์ ประวิทย์ธนา ผู้ร่วมก่อตั้ง ได้พัฒนาหลักสูตรที่สามารถนําเสนอต่อรัฐบาลไทยเพื่อแสดงให้เห็นว่าคนพิการสามารถปฏิบัติงานได้ดีในฐานะผู้ป้อนข้อมูล หรือ data labeler หลังจากได้รับการพัฒนาทักษะ และสามารถป้อนข้อมูลที่ถูกต้อง วัลแคนร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน 2,000 คน ฝึกสอนทักษะในการป้อนข้อมูล โดย Vulcan Academy ได้ทําหน้าในการฝึกอบรมและให้การทดสอบสําหรับผู้สมัครที่มีศักยภาพ
"ตอนที่เราบอกครั้งแรกว่าเราต้องการจ้างพวกเขาเป็นผู้ปรับคุณภาพข้อมูล พวกเขากลัวนิดหน่อยพวกเขาไม่เคยทำมาก่อน" จูนกล่าว "มีคนบอกพวกเขาว่าพวกเขาไม่สามารถทํางานหลายประเภทได้ เราต้องโน้มน้าวให้พวกเขาเรียนหลักสูตรนี้ แต่ตอนนี้มันเป็นสิ่งที่สร้างความภาคภูมิใจให้พวกเขาเพราะเขาสามารถบอกคนอื่นว่าพวกเขาทํางานที่มีมูลค่าสูงนี้ได้สำเร็จ"
ปุณพจน์ เอื้อพลิศาน์ หรือวิน เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์อาวุโสที่พิการทางสายตา ทำงานเป็นพนักงานประจำที่ วัลแคน โคอะลิชั่น เขาช่วยสร้างแพลตฟอร์มที่บุคคลทั่วไปใช้ในการป้อนข้อมูลผ่านการแปลงคําพูดเป็นข้อความและกระบวนการอื่นๆ และนับเป็นส่วนสําคัญในการช่วยบริษัทที่กําลังพัฒนาโปรแกรม AI หลังจากนี้เป็นต้นไป
"ผมชอบพวกเรื่องคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่เด็ก"วินกล่าว "ผมตั้งใจลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัยในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลังจากสําเร็จการศึกษาผมก็ได้พบกับหัวหน้าเจ้าหน้าที่วิจัยที่วัลแคน และเขาบอกผมว่าเขาต้องการจัดตั้งแผนกวิศวกรรมของคนพิการ ดังนั้นผมจึงเข้าร่วมทีมและเราทําผลิตภัณฑ์และแพลตฟอร์มมากมายโดยเปิดให้ผู้พิการที่ฝึกสอน AI ใช้ระบบของเรา นอกจากนี้ยังมีอีกหลายโครงการที่เราทําร่วมกับองค์กรภายนอกอีกด้วยครับ"
ภารกิจระดับโลกของไมโครซอฟท์ในการช่วยให้ทุกคนและทุกองค์กรบนโลกใบนี้ให้ประสบความสําเร็จมากขึ้นได้หยั่งรากลึกผ่าน AI for Good ซึ่งเป็นแคมเปญระดับโลกของเรา โดยดึงเอาความสามารถทางเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบจากแพลตฟอร์ม Microsoft Cloud และ AI เพื่อทําให้โลกมีความยั่งยืนและเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยี
วัลแคน โคอะลิชั่น ไม่เพียงแต่ ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์ ในการนำ AI เข้ามาสร้างโอกาสให้ผู้พิการ แต่วัลแคนยังได้รางวัลชนะเลิศ Thailand Virtual Hackathon จากการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการสามารถตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย อาการป่วย และเช็คอินเมื่อเข้าสู่สถานที่หรืออาคารต่าง ๆ ได้โดยอัตโนมัติ ทั้งยังสามารถใช้กล้องตรวจสอบว่าแต่ละคนใส่หน้ากากอยู่หรือไม่ ด้วยระบบ AI ที่ทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มคลาวด์ Microsoft Cloud
ทีมวัลแคน ได้ให้สมาชิกที่หูหนวกทำการสอน กํากับและฝึก AI โดยฝึกจากข้อมูลภาพ จากการเป็นผู้ชนะในครั้งนั้นไมโครซอฟท์ภายใต้โครงการสนับสนุนสตาร์ทอัพ ได้มอบ Cloud credit ให้เป็นมูลค่า 25,000 ดอลลาร์สหรัฐโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนทางวัลแคน ให้พัฒนาโครงการที่เหมาะสมต่อไป รวมถึงได้ให้คําปรึกษาและการสนับสนุนการสร้างแอปพลิเคชันบนโจทย์ AI for Good และตามด้วยการสนับสนุนให้ผู้พิการนำ IP มาขายอยู่บน Microsoft Azure Marketplace อีกด้วย
"ถ้าไม่มีความช่วยเหลือของไมโครซอฟท์ มันจะยากขึ้นมาก เพราะเราเป็นสตาร์ทอัพเล็กๆ ที่เพิ่งเริ่มต้นและก็ยากที่จะได้รับการยอมรับจากองค์กรใหญ่ๆ" จูนกล่าว
ตอนนี้ วัลแคน มีงานที่กำลังทำให้กับธนาคาร แผนกบุคคลของหลายองค์กร และบริษัทรีเทลของแต่งบ้าน โดยการสร้าง AI แชทบอทและ กระบวนการการทำงานที่ใช้ AI เป็นผู้ช่วย โดยมีการใช้งานทั่วประเทศ ทั้งนี้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของรายได้จากบริการ AI ของ Vulcan จะถูกแบ่งให้กับพนักงานเพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาว
ในประเทศไทยรัฐมีนโยบายให้บริษัทจ้างพนักงานผู้พิการ 1 คนต่อพนักงานทุกๆ 100 คน ในบางกรณี ที่เนื้องานไม่ตรงกับผู้พิการ หลายๆบริษัท เพียงแค่จ่ายเงินให้กับบุคคลและไม่ได้เสนอโอกาสในการทํางานที่แท้จริง
สําหรับ Vulcan การเป็นพันธมิตรกับ บริษัท ที่กระตือรือร้นที่จะใช้แรงงานที่มีทักษะอย่างแท้จริง ทำให้สามารถประเมินได้ว่าภายในสองปีหลังจากเริ่มโปรแกรม บริษัทจะจับคู่คนพิการ 600 คนเข้ากับงาน AI สําหรับคนทำงานผู้พิการแล้วมันเป็นแหล่งรายได้ที่สง่างาม สร้างโอกาสมากมายจากการได้รับการฝึกฝนทักษะด้านเทคโนโลยีที่มีความต้องการสูง
"พนักงานของเรารู้สึกทึ่งกับโครงการของเรามาก พวกเขาต้องการรู้ว่ามันเป็นอย่างไรและผลงานจะถูกใช้อย่างไรในอนาคต" วิน กล่าว "พวกเขาสนใจและภูมิใจในสิ่งที่พวกเขากําลังทํามากๆ ครับ"
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี (คนซ้าย) มอบโล่ประกาศเกียรติคุณในงานวันคนพิการสากล ประจำปี 2564
ปัจจุบันยังมีผู้พิการอีกจำนวนมากที่ขาดโอกาสและขาดการเอาใจใส่ด้านการดำรงชีวิตในสังคม