November 22, 2024

ซีพี ออลล์ เดินหน้านโยบายสร้างงานอย่างต่อเนื่อง จัดงาน CP ALL JOB FAIR 2024 คนตบเท้าสมัครเพี้ยบ!  ตอกย้ำความมุ่งมั่นสร้างงาน สร้างอนาคต เป็นองค์กรที่มีการจ้างงานมากที่สุดในประเทศไทย กว่า 200,000 คน

“กำไรเป็นแค่องค์ประกอบของธุรกิจ แต่ไม่ใช่ Key Success ของการทำธุรกิจ การทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเติบโตไปพร้อมกับเราต่างหากถึงจะเรียกได้ว่า ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

นี่คือคำกล่าวของ วีระ ตั้งวุทฒิไกรวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สุพรรณคิวฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิตขนมหวานแบรนด์ “แม่ละมาย” อีกหนึ่ง SME ตัวอย่างที่จำหน่ายผ่านร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เจ้าของรางวัล SME ยั่งยืน  จากเวที เซเว่น อีเลฟเว่น เอสเอ็มอียั่งยืน 2023 ที่เริ่มต้นธุรกิจอาหาร ด้วยความรู้จาก 0 จนปัจจุบันสามารถสร้างยอดขายกว่า 100 ล้านบาท สร้างรายได้ให้เกษตรกรและชุมชนที่เป็นซัพพลายเออร์ปีละหลายสิบล้านบาท

 

เปลี่ยน “วุ้น” ให้เป็นมิตรต่อสุขภาพ รสชาติแปลกใหม่

วีระ เล่าย้อนความให้ฟังถึงความเป็นมาของธุรกิจว่า หลังธุรกิจโรงพิมพ์ประสบวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตกเมื่อปี 2540 ตนพร้อมภรรยาตัดสินใจกลับมาตั้งหลักที่ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของภรรยา มองหาโอกาสในการทำธุรกิจใหม่ๆ และวุ้นน้ำมะพร้าวก็เป็นคำตอบ เพราะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยม แต่ความรู้ด้านการทำธุรกิจอาหารเป็นศูนย์ จึงต้องศึกษาหาความรู้ให้มากขึ้น พบว่า วุ้นน้ำมะพร้าว NATA de coco ใช้แบคทีเรียกรดน้ำส้ม Acetobacter xylinum ที่พบได้ทั่วไปในการทำน้ำส้มสายชูหมักตามธรรมชาติ มาหมักน้ำมะพร้าว จนได้ออกมาเป็นวุ้นที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและมีไฟเบอร์สูง ถูกจัดให้อยู่ในหมวดสารอาหารประเภทเส้นใย ไม่มีการใช้สารฟอกสี ทำให้สีของวุ้นจะขุ่นกว่าวุ้นปกติ จึงเหมาะกับผู้รักสุขภาพ

เมื่อได้วัตถุดิบหลักแล้ว ก็มาคิดต่อว่าหากขายแต่วุ้นน้ำมะพร้าวอย่างเดียวก็จะไม่มีความแตกต่าง จึงต้องหาสินค้าทางการเกษตรตัวอื่นมาใส่ และมองว่า เม็ดแมงลัก น่าจะเข้ากับตัววุ้นน้ำมะพร้าวดีที่สุด แต่ปัญหาสำคัญของแมงลัก คือ การปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง จึงได้นำนวัตกรรมเครื่องนวดฝัดเม็ดแมงลักแบบแห้งของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาใช้ เพื่อให้เม็ดแมงลักปราศจากสารปนเปื้อน จนออกมาได้เป็นวุ้นน้ำมะพร้าวผสมเม็ดแมงลักแบบถ้วยวางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เมื่อปี 2541 เพียง 20 สาขา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลา 26 ปี

เดินหน้ายกระดับ “สินค้าเกษตร” สู่ร้านค้าเซเว่นฯ

หลังวุ้นน้ำมะพร้าวผสมเม็ดแมงลักประสบความสำเร็จ วีระ ก็เดินหน้าพัฒนาสินค้าอื่นอย่างต่อเนื่อง ภายใต้หลักแนวคิดการส่งต่อสินค้าดีๆให้ผู้บริโภค ส่งผลให้ปัจจุบันแบรนด์ แม่ละมาย มีสินค้าวางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ทั้งหมด 10 รายการ แบ่งเป็น ขนมหวาน 7 รายการ เครื่องดื่ม 2 รายการ และธัญพืช (แห้ว) 1 รายการ ซึ่งแห้วถือเป็นสินค้าใหม่ที่เพิ่งวางจำหน่ายไปเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2567 และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค เนื่องจากมีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย ดีต่อสุขภาพ และเป็นธัญพืชที่หาทานค่อนข้างยาก เพราะแห้วที่ดีคือ แห้วที่เป็นผลผลิตจาก จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพืชที่ได้รับเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)

ทั้งนี้ แม่ละมาย ยังมุ่งมั่นยกระดับพืชผลทางการเกษตรชนิดอื่นให้มีคุณภาพ พร้อมส่งต่อสู่ผู้บริโภค อาทิ ลูกตาล ลูกลาน ใบเตย โดยเลือกรับซื้อสินค้าทางการเกษตรจากเกษตรกรที่เพาะปลูกแบบไร้สารเคมี ผ่านการตรวจสอบจากทางบริษัทก่อนจัดเก็บ เพื่อนำมาแปรรูปเป็นสินค้าจำหน่ายให้กับผู้บริโภค

“โตไกลไปด้วยกันคาถาโตยั่งยืน

แม้ปัจจุบันบริษัทจะมีสินค้าที่วางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เพียง 10 รายการ ในราคาขายต่อชิ้นเพียงหลักสิบบาท แต่บริษัทมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละประมาณ 20-40% ทุกปี โดยในปี 2567 บริษัทตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่มียอดขาย 150 ล้านบาท เหตุใด “แม่ละมาย” ที่จำหน่ายสินค้าในราคาหลักสิบ จึงสามารถสร้างรายได้สูงถึงหลัก 100 ล้านบาท

วีระ กล่าวว่า บริษัทจะประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้นจะต้องมีทีมที่ดี ทีมที่แข็งแกร่ง ซึ่งทีมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงทีมภายในบริษัท แต่หมายถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริษัทในทุกมิติ ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ทีมต้นทางอย่างเกษตรกรและซัพพลายเออร์ก็ต้องดูแลผลผลิตให้ได้คุณภาพตามความต้องการ ทีมกลางทางอย่างบริษัทก็ต้องมีระบบบริหารจัดการที่ดีมีคุณภาพ ตั้งแต่ระบบการคัดเลือกวัตถุดิบ โดยทางบริษัทจะมีการบันทึกแหล่งที่มาของวัตถุดิบ เพื่อเวลามีปัญหาบริษัทจะได้เข้าไปแก้ไขได้ตรงจุด  เป็นต้น มีพันธมิตรที่คอยสนับสนุนและประสานงานในทุกด้าน และ เซเว่น อีเลฟเว่น ถือเป็นพันธมิตรที่อยู่เคียงข้างมาตลอด พร้อมมอบความรู้และคำแนะนำดีๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งการอบรม การหาพันธมิตรในการเชื่อมโยงเครือข่ายในการต่อยอดสินค้า เป็นต้น ทำให้บริษัทสามารถส่งต่อความรู้เหล่านั้นสู่ทีมต้นทาง เพื่อผลิตวัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพพร้อมส่งต่อไปยังผู้บริโภค เมื่อผู้บริโภคได้รับสินค้าที่ดีมีคุณภาพก็จะเกิดการซื้อซ้ำและบอกต่อ เรียกว่าเป็นการสร้างการเติบโตไปด้วยกันในทุกมิติ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง กำไรหรือเรื่องเงินเป็นแค่องค์ประกอบของการทำธุรกิจ แต่ไม่ใช่ Key Success ของธุรกิจ ถ้าทำธุรกิจได้แบบนี้ยังไงก็ประสบความสำเร็จและเติบโตยั่งยืน ปัจจุบันบริษัทรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรทั่วประเทศและสร้างรายได้กลับสู่ชุมชนปีละหลาย 10 ล้านบาท หรือคิดเป็น 50% ของยอดขาย

 

“แม่ละมาย” ถือเป็นอีกหนึ่งแบบอย่าง SME ที่น่าเรียนรู้ถึงกลยุทธ์และวิธีการสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน เพราะการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนไม่ใช่เพียงแค่การเพิ่มยอดขายในระยะสั้น แต่เป็นการพัฒนาสมดุลระหว่างธุรกิจ คู่ค้า และผู้บริโภคแบบระยะยาว สอดคล้องกับนโยบายความยั่งยืนของซีพี ออลล์ ในเรื่องการสร้างอาชีพ ตามปณิธานองค์กร Giving and Sharing

“การสร้างความแตกต่างให้กับตัวสินค้า” ถือเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม เมื่อสินค้าแตกต่างจากคู่แข่ง ผู้บริโภคจะรับรู้ถึงคุณค่าเฉพาะตัวของสินค้า ทำให้เกิดความสนใจและต้องการซื้อสินค้า นำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ความแตกต่างที่ชัดเจนจะช่วยให้แบรนด์มีความโดดเด่น เมื่อเปรียบเทียบกับแบรนด์อื่นๆ ส่งเสริมให้ลูกค้าเกิดการทดลอง และเมื่อถูกใจก็กลับมาซื้อซ้ำและแนะนำต่อ สร้างการเติบโตในระยะยาว

หนึ่งในปัจจัยหลักที่จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับตัวสินค้าคือ “นวัตกรรมและงานวิจัยด้านการตลาด” ที่เมื่อนำมาผสมผสานกันก็จะทำให้สินค้าธรรมดาๆ กลายเป็นสินค้าไม่ธรรมดาได้ในทันที เช่น SME 3 รายนี้ได้แก่ บริษัท บราวน์โว คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตขนมไทยแนวคิดใหม่แบรนด์ “BrownVo” บริษัท ฟูลเกิ้ล จำกัด ผู้ผลิตธัญพืชอบกรอบแบรนด์ “โอพัพ” และบริษัท ลิลลี่อุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตขนมขบเคี้ยวแบรนด์ “ถั่วเขาช่อง” ที่นำเอานวัตกรรมและงานวิจัยด้านการตลาดมาปรับใช้ เพื่อพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ล่าสุดสินค้าใหม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ส่งผลให้มีอัตราการเติบโตด้านยอดขายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสินค้าใหม่เหล่านั้นจะเป็นอะไร เหตุใดถึงได้รับการตอบรับที่ดี และมีการนำ “นวัตกรรมและงานวิจัยด้านการตลาด” ไปปรับใช้อย่างไรบ้าง

บราวโว เครปเบื้องกรอบ : คิดค้นนวัตกรรมเฉพาะตัว

“บราวโว” เป็นขนมขบเคี้ยวที่มีแนวคิดในการอัปเลเวลจากขนมไทยสไตล์ Street Food มาต่อยอดพัฒนาด้วยนวัตกรรมเฉพาะของบริษัท โดยมีสินค้าที่วางจำหน่ายอยู่ในเซเว่นฯ คือ บราวนี่แผ่นอบกรอบรสคลาสสิก และรสช็อกโกแลตชิพ ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี บริษัทจึงเดินหน้าพัฒนาสินค้าใหม่ต่อเนื่อง และเครปเบื้องกรอบก็เป็นสินค้าตัวถัดมา เหตุผลที่เลือกเป็นเครปเบื้องกรอบ เนื่องจากมองว่าขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่ไม่ว่าคนไทยหรือชาวต่างชาติก็ชื่นชอบ แต่หาซื้อได้ยาก และเมื่อทิ้งไว้นานแป้งจะไม่กรอบ บริษัทจึงให้แผนกวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ทำการวิจัยและพัฒนาตัวแป้งให้รักษาความกรอบได้นานถึง 1 ปี และไส้ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ จนได้ออกมาเป็นเครปเบื้องกรอบไส้เค็ม ที่โดดเด่นด้วยไส้มะพร้าวคลุกเคล้าเครื่องเทศในสูตรชาววัง และไส้ฝอยทองที่ทำจากไข่แดงล้วน คงเสน่ห์ความเป็นไทยได้อย่างลงตัว

บราวโว เครปเบื้องกรอบมีความโดดเด่นคือ เนื้อแป้งเครปมีความกรอบ ทานง่าย ตัวไส้ขนมเบื้องถูกพัฒนาให้ออกมาเป็นสูตรเฉพาะ โดยยังคงความอร่อยที่เป็นเอกลักษณ์ของขนมเบื้องได้ครบถ้วน เหมาะแก่การเป็นของฝากหรือทานเล่น ในราคา 24 บาท บรรจุซองขนาด 20 กรัม พกพาง่าย โดยเริ่มวางจำหน่ายเมื่อเดือนสิงหาคม และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

โอพัพ : แก้ Pain Point สินค้าในตลาด คอลแลปส์แบรนด์ดังจับซีเรียลคู่ช็อกโกแลต

โดยปกติแล้วขนมครีมช็อกโกแลตมักจะทำมาทานคู่กับบิสกิต ซึ่งตัวบิสกิตมักจะอ่อนตัวเมื่อเจอกับครีมช็อกโกแลต ถือเป็น Pain Point สำคัญ บริษัทจึงทำการศึกษาตลาดเพิ่มเติมถึงความต้องการของตลาดว่าชื่นชอบสินค้าแบบไหน หากทานคู่กับครีมช็อกโกแลต เพื่อหาวัตถุดิบอื่นมาทดแทน และมองว่า ซีเรียล น่าจะตอบโจทย์เพราะสามารถอมน้ำได้ดีกว่า โดยที่เนื้อไม่อ่อนตัว อีกทั้ง Texture ยังมีความกรุบกรอบตลอดการรับประทาน จึงได้นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักใน โอพัพช็อกโกแลตผสมซีเรียลรสโอวัลติน และ โอพัพช็อกโกแลตผสมซีเรียลโอวัลตินไวท์มอลต์ โดยเริ่มวางจำหน่ายได้เพียง 3 เดือน ก็สามารถทำยอดขายได้ตามเป้าคือ 200,000 ชิ้น ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาด โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายหลักอายุ 8-15 ปี นอกจาก Texture ที่ตอบโจทย์ความต้องการแล้ว รสชาติและแพ็กเก็จจิ้งก็ตอบโจทย์ด้วยเช่นกัน บริษัททำสินค้าให้มีขนาดเหมาะสมต่อการรับประทานครั้งเดียวหมด พกพาง่าย ในราคาที่เข้าถึงได้เพียง 12 บาท และการได้ร่วมกับพันธมิตรทางการค้าที่เป็นที่รู้จักก็จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับสินค้า ทำให้คนรุ่นใหม่อยากลอง

 

ถั่วเขาช่องซีเล็ค : วิจัยผสาน 2 รสชาติ อัปเลเวลความอร่อยที่แตกต่าง

“ถั่วเขาช่อง” เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะต้นตำรับถั่วรสกาแฟ มาวันนี้ ถั่วเขาช่อง ได้เพิ่มสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด 2 รายการ ได้แก่ ถั่วเขาช่องซีเล็ค ถั่วผสมเพรทเซลรสวาซาบิ และ ถั่วเขาช่องซีเล็ค อัลมอนด์ผสมพริกกรอบโรยงา โดยสินค้าทั้ง 2 ตัวเกิดขึ้นจากการวิจัยตลาดทั้งในและต่างประเทศทำให้พบว่า ปัจจุบันสินค้ากลุ่มถั่ว Snack โดยทั่วไปจะจำหน่ายเพียงรสชาติใดรสชาติหนึ่ง ไม่มีความหลากหลาย ทำให้มีแนวคิดที่จะผลิตสินค้าที่มีความหลากหลายในสินค้าแพ็กเก็จจิ้งเดียว เมื่อรวมกับแนวความคิดการตลาดที่ว่า “ถั่วกินกับอะไรก็อร่อย” จึงเกิดเป็นสินค้าทั้ง 2 ชนิดขึ้นมา

สำหรับถั่วผสมเพรทเซลรสวาซาบิ เป็นการนำเอาเพรทเซลรสวาซาบิจากแหล่งคุณภาพมาผสมผสานกับถั่วอัลมอนด์และแมคคาเดเมีย ทำให้ได้ทั้งรสเผ็ดและความหอมของวาซาบิ เมื่อรวมกับความมันของถั่วก็จะทำให้ได้รสสัมผัสที่หลากหลาย สำหรับถั่วเขาช่องซีเล็คอัลมอนด์ผสมพริกกรอบโรยงา เป็นการนำอัลมอนด์มารวมกับพริกคั่วกรอบและผสมกับเครื่องเทศหลากหลายชนิด โรยด้วยงาขาว ตรงกับความต้องการกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย คนรุ่นใหม่ Gen Y, Z ที่ชอบความหลากหลาย ไม่ซ้ำจำเจ

ทั้ง 3 แบรนด์สินค้า SME ทำให้เห็นแล้วว่า “การสร้างความแตกต่างให้กับตัวสินค้า” โดยใช้ “นวัตกรรมและงานวิจัยด้านการตลาด” เป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยสร้างการความโดดเด่นให้กับตัวสินค้า ซึ่งจะนำมาสู่ยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น และสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ในระยะยาว เพื่อนำไปสู่การเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต

ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ความรู้และทักษะใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง  ในมิติของการศึกษา การเรียนรู้การปรับตัวจึงกลายเป็นทักษะจำเป็น ถือเป็นยุคที่ท้าทาย แต่ก็สร้างโอกาสให้กับคนที่พร้อมปรับตัว และปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเทคโนโลยีมีความสำคัญ ตลาดแรงงานมีความต้องการบัณฑิตวิศวกรรมที่มีทักษะและความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) หนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ปรับหลักสูตรคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีตอบโจทย์ความต้องการอุตสาหกรรม ได้แก่ หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ, หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์,  หลักสูตรวิศวกรรมการผลิตยานยนต์, หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ, หลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ  และหลักสูตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (โครงการจัดตั้ง)

ชูจุดแข็งรูปแบบการเรียนการสอนผ่าน Work-based Education (WBE) หรือการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง มุ่งเน้นการผลิตวิศวกรผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงานได้จริงและตอบโจทย์เทคโนโลยี อุตสาหกรรมสมัยใหม่ ทั้งด้าน IT, AI, ยานยนต์, หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ผ่านการฝึกงานทั้งในและต่างประเทศด้วยเครือข่ายที่แข็งแกร่ง เรียนจบพร้อมทำงานอย่างมืออาชีพทันที (Ready to Work) ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ทั้ง First S-Curve และ New S-Curve  ขยายโอกาสในการสร้างรายได้และการจ้างงานใหม่ๆ เพราะกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้เปรียบเสมือนกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth)

วิศวกรรมฯ ปัญญาภิวัฒน์ หลักสูตรเจ๋ง ทุนแจ๋ว

ไทเกอร์- วสลักษณ์ พงโศธร  บัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ปัจจุบันก้าวสู่ วิศวกรเทคนิค บริษัท ICS Sakabe Co.,Ltd. ประเทศญี่ปุ่น เล่าจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในสายวิชาชีพนี้ว่า  ช่วงใกล้จบม.6 ทีมแนะแนว PIM ได้เข้าไปให้ข้อมูลที่โรงเรียนสายปัญญา รังสิต จึงเกิดความสนใจในสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ เพราะพ่อแม่ทำงานด้านยานยนต์และสนใจรูปแบบการสอนของที่นี่ ซึ่งตนเองก็สนใจเรื่องเครื่องยนต์และมองเห็นโอกาสจากรูปแบบการเรียนคือฝึกงานไปด้วย เรียนไปด้วย หรือ Work-based Education  มีเครือข่ายภาคธุรกิจที่เป็นองค์กรชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศ จึงเกิดความตั้งใจที่จะเรียนที่นี่ พร้อมตั้งเป้าหมายการไปฝึกงานและทำงานที่ต่างประเทศ ที่สำคัญคือได้รับทุนการศึกษา 50%   

สำหรับการเรียนตลอด 4 ปีของสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ จะได้เรียนรู้พื้นฐานทางวิศวกรรม 3 ศาสตร์สำคัญๆ “วิศวกรรมเครื่องกล + วิศวกรรมยานยนต์ + วิศวกรรมการผลิต”  โดย 1.วิศวกรรมเครื่องกล เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การผลิต และการดูแลรักษาเครื่องจักร รวมถึงการควบคุมและการจัดการการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย  2.วิศวกรรมยานยนต์ เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การพัฒนา และการผลิตยานพาหนะทั้งรถยนต์ รถบัส รถไฟ รถจักรยานยนต์ และยานอวกาศ เฉพาะเรื่องของระบบการเคลื่อนที่และส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง และ 3.วิศวกรรมการผลิต เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการจัดการกระบวนการผลิต เมื่อมีความรู้พื้นฐานที่สำคัญแล้ว จึงต่อยอดไปสู่เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ โดยมีการเรียนรู้ในเรื่องของอีโค่คาร์ รถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ไร้คนขับ ตลอดจนเครื่องยนต์สำหรับยานยนต์สมัยใหม่  นำเทรนด์การเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจยานยนต์ ด้วยการนำหุ่นยนต์ ระบบออโตเมชั่น และระบบการผลิตอัจฉริยะ มาใช้พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมยานยนต์ ไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ

เรียนแล้วเวิร์ค ทำงานแล้วเวิร์ค

ไทเกอร์เล่าต่อว่า ปี 1 ได้ฝึกงานที่ 7-Eleven เป็นแคชเชียร์ เติมของ สั่งของ จัดสต๊อก สิ่งที่ได้คือฝึกความอดทน มนุษยสัมพันธ์ที่ดี และการเข้าใจงานบริการ  ปี 2 ฝึกงานที่ บจก.เค้งหงษ์ทอง เป็นการฝึกงานซ่อมบำรุงรถ Mercedes-Benz ทำให้ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจวิชาที่เรียนมาใช้ลงมือปฏิบัติจริง ปี 3 – ปี 4 มีโอกาสได้ไปฝึกงานที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ MTEC ศึกษาเกี่ยวกับถ่านกัมมันตภาพรังสีที่กักเก็บประจุไฟฟ้าในระบบรถยนต์ 3 เดือน แล้วกลับมาทำโปรเจ็คต์ ก่อนจะเดินทางไปฝึกงานที่คิตะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น 4 เดือน ที่บริษัท ICS Sakabe Co.,Ltd.ในตำแหน่งวิศวกรฝ่ายผลิต เพราะสนใจเรื่องการผลิต ระบบไฟฟ้า ระบบอัตโนมัติในโรงงาน ที่เลือกโรงงานนี้เพราะทำเกี่ยวกับหุ่นยนต์และมีรุ่นพี่ไปทำงานที่นี่ อีกทั้งบริษัทมีแพลนมาเปิดสาขาที่เมืองไทย ก่อนฝึกงานจบบริษัทก็รับเข้าทำงานในตำแหน่งวิศวกรเทคนิค ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยไทเกอร์วางแผนทำงานที่ญี่ปุ่นยาว 5 ปี แล้วกลับเมืองไทยตามที่บริษัทแพลนไว้ ถึงตอนนั้นอาจจะทำธุรกิจของครอบครัวควบคู่ไปด้วย

“มาถึงวันนี้ผมคิดว่าเกินเป้าหมายครับ ตั้งแต่เข้ามาเรียนที่ PIM ก็ได้รับโอกาสในการพัฒนาตัวเองผ่านกิจกรรม ผ่านการฝึกงาน เมื่อได้งานที่ ICS Sakabe ประเทศญี่ปุ่น ทั้งครอบครัวก็ดีใจกันมากๆ ขอบคุณซีพี ออลล์ ที่เข้ามาสร้างโอกาสผ่านการศึกษา สนับสนุนความฝันเยาวชน ผมเชื่อว่าบัณฑิตที่จบจาก PIM เป็นคนเก่ง มีความสามารถ พร้อมทำงานได้ทันที” ไทเกอร์บอกเล่าอย่างภูมิใจ

นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า ซีพี ออลล์ ให้ความสำคัญกับนโยบาย “สร้างคน” โดยส่งเสริมการศึกษาพัฒนาเยาวชน เพื่อ  “สร้างคนเก่ง คนดี มีความสามารถผ่านการศึกษา”  ซึ่งเป็นฐานรากที่สำคัญของประเทศ การสร้างคนเป็นเรื่องหนึ่งที่ซีพี ออลล์ มุ่งมั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่องผ่านสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และอีกหลากหลายช่องทาง ในแต่ละปีจึงมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนนักศึกษาจำนวนมาก รวมถึงจับมือพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในสาขาที่เกี่ยวข้อง มาร่วมขับเคลื่อนการสร้างคนอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2568 ซีพี ออลล์ ตั้งเป้ามอบทุนการศึกษามากกว่า 37,000 ทุน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,181 ล้านบาทเพื่อช่วยให้สังคมและเศรษฐกิจของไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็ง ตามปณิธานองค์กร Giving and Sharing

การเรียนรู้ผ่านการเล่น เน้นลงมือทำ รู้จักตัวตน ทำตามความชอบและความถนัด ไม่แข่งขัน ไม่มีการจัดลำดับ ไม่เปรียบเทียบ ไม่เก็บแป๊ะเจี๊ยะ คงเป็นภาพในฝันของเด็กไทยเกือบทุกคน

Page 1 of 8
X

Right Click

No right click