January 22, 2025

ร้อยละ 80 ขององค์กรไทยที่ว่าจ้างบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูงรายงานการเติบโตของรายได้ต่อปีที่สูงขึ้น แต่อีกร้อยละ 94 กำลังประสบกับปัญหาการจ้างงาน

อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com ได้เผยแพร่การศึกษาล่าสุด ที่แสดงให้เห็นว่าบุคลากรในประเทศไทยที่ใช้ทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูง รวมถึงทักษะด้านสถาปัตยกรรมคลาวด์หรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ สร้างรายได้ประมาณ75,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือคิดเป็น 930,800 ล้านบาท) ให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศไทย เป็นผลมาจากบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูงซึ่งมีรายได้มากกว่าร้อยละ 57 ต่อปี มากกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาใกล้เคียงกันแต่ไม่ได้ใช้ทักษะดิจิทัลในการทำงาน

การศึกษาเกี่ยวกับทักษะด้านดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก: ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของพนักงานที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี (Asia Pacific Digital Skills Study: The Economic Benefits of a Tech-Savvy Workforce) ของ AWS ที่ดำเนินการโดย Gallup ได้ศึกษาว่าการสร้างบุคลากรที่ใช้เทคโนโลยีมีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ทำงาน องค์กร และเศรษฐกิจอย่างไร มีการสํารวจผู้ทํางานมากกว่า 1,000 คน (1,296 คน) และนายจ้าง 359 รายในประเทศไทยในองค์กรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยได้จําแนกทักษะดิจิทัลขั้นพื้นฐานที่พิจารณาความสามารถในการใช้อีเมล โปรแกรมประมวลผลคํา ซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่เพิ่มประสิทธิภาพในสำนักงาน และโซเชียลมีเดีย ทักษะดิจิทัลระดับกลาง ได้แก่ การออกแบบเว็บไซต์แบบลากและวาง (drag-and-drop website design) การแก้ไขปัญหาแอปพลิเคชัน (troubleshooting applications) และการวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะด้านดิจิทัลระดับสูง ได้แก่ สถาปัตยกรรมคลาวด์หรือการบำรุงรักษาระบบคลาวด์ การพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชัน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิง

ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรที่ทำงานด้านดิจิทัลขั้นสูงในประเทศไทยได้รับประโยชน์มากกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ ร้อยละ 89 ของบุลากรที่ใช้ทักษะดิจิทัลขั้นสูงมีความพึงพอใจในการทำงานในระดับสูง เทียบกับร้อยละ 58 ของบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ บุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลยังได้รับผลประโยชน์ด้านอาชีพ โดยร้อยละ 93 ของบุคลากรในไทยที่สำเร็จการฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลในปีที่ผ่านมา ได้รับประโยชน์เชิงบวกอย่างน้อยหนึ่งอย่าง เช่น โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งที่เพิ่มขึ้น

นายจ้างที่ใช้บุลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูง เทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีคลาวด์ เห็นการเติบโตทางธุรกิจและนวัตกรรมที่สูงขึ้น ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 74 ขององค์กรในประเทศไทยที่ใช้คลาวด์เป็นหลักรายงานการ

เติบโตของรายได้ต่อปีที่ร้อยละ 10 หรือมากกว่านั้น เทียบกับร้อยละ 56 ขององค์กรที่ใช้คลาวด์บางส่วนหรือไม่ใช้เลย

หลายองค์กรกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการจ้างงานในอนาคต โดยการศึกษาของ Gallup ได้พิจารณาเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ 10 อย่าง ได้แก่ AI, edge และ quantum computing, blockchain และสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) ซึ่งร้อยละ 92 ของนายจ้างในประเทศไทยเชื่อว่าเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งอย่างมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจในอนาคต ทั้งนี้ 5G อยู่ในอันดับที่สูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 75 ของนายจ้างเชื่อว่าพวกเขาจะนําเทคโนโลยีนี้มาใช้ในอนาคต

“ผู้คนในประเทศไทยกําลังเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่วิธีการทํางานไปจนถึงการใช้ชีวิต การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าทักษะดิจิทัลมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งในระดับบุคคล องค์กร และเศรษฐกิจมหภาคเป็นอย่างมาก” ดร.โจนาธาน รอธเวลล์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Gallup กล่าว “เมื่อองค์กรต่าง ๆ ย้ายระบบไอทีไปยังระบบคลาวด์มากขึ้นในทศวรรษหน้า และมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้น การแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบดิจิทัลจะช่วยเพิ่มตำแหน่งงานใหม่จํานวนมาก โอกาสที่ประเทศไทยจะสามารถแข่งขันในเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ขึ้นอยู่กับการมีบุคลากรที่แข็งแกร่งและมีทักษะสูงเพื่อรองรับนวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้นทั่วโลก ความต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูงจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในอีกหลายปีข้างหน้า ร้อยละ 90 ของนายจ้างในไทยที่ร่วมทำสำรวจพบว่าพวกเขากำลังมองหาบุคลากรที่ต้องใช้ทักษะดิจิทัล แต่ร้อยละ 94 ระบุว่าการหาบุคลากรที่ต้องการนั้นเป็นเรื่องยาก ซึ่งอุปสรรคอาจเกิดจากการที่องค์กรไทยร้อยละ 56 กำหนดให้ผู้สมัครงานมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีแม้แต่ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในระดับเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ องค์กรเริ่มตระหนักว่าการยอมรับใบรับรองวิชาชีพสามารถช่วยลดปัญหาในการจ้างงานได้ ทั้งนี้ ร้อยละ 92 ของนายจ้างกล่าวว่ามีการยอมรับใบรับรองทักษะด้านดิจิทัลหรือหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อใช้แทนวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีได้

จากผลการศึกษาของ Gallup แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีโอกาสที่จะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้มหาศาลจากการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถด้านคลาวด์ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของประเทศ AWS ทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI) รวมถึงองค์กรชั้นนำอย่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหารและกลุ่มเซ็นทรัล เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมาเราได้ฝึกอบรมบุคลากรกว่า 700,000 คนด้วยทักษะด้านคลาวด์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และงานของเราไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้” เอ็มมานูเอล พิลไล หัวหน้าฝ่ายการฝึกอบรมและการรับรอง AWS ภูมิภาคอาเซียนกล่าว

“ทักษะดิจิทัลขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์มหาศาลแก่บุคคล องค์กร และเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ AWS มุ่งมั่นที่จะขยายโปรแกรมการฝึกอบรมทักษะดิจิทัลของเราสําหรับบุคลากรและนายจ้างทั่วประเทศไทย เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะสานต่อความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนของไทย เพื่อช่วยเพิ่มและพัฒนาทักษะบุคลากรรวมถึงใช้ประโยชน์จากคลาวด์อย่างเต็มที่ เพื่อผลักดันการเติบโตของธุรกิจ ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และนวัตกรรม”

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา AWS ได้เปิดตัวโปรแกรม AWS Training and Certification หลายหลักสูตรในประเทศไทย เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะที่เหมาะสมในการเติบโตต่อไปในโลกดิจิทัล ซึ่งรวมถึง AWS Skill Builder ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบดิจิทัลที่ให้การฝึกอบรมทักษะระบบคลาวด์ตามความต้องการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายกว่า 600 หลักสูตร รวมถึง 62 หลักสูตรที่มีให้บริการเป็นภาษาไทย นอกจากนี้ยังมี AWS Educate ที่ให้การฝึกอบรมหลายร้อยชั่วโมงแบบเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้เรียนที่เพิ่งเริ่มใช้งานระบบคลาวด์ และ AWS Academy ที่ให้การฝึกอบรมแก่สถาบันอุดมศึกษาด้วยหลักสูตรการประมวลผลบนระบบคลาวด์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับการรับรองที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมและเป็นที่ต้องการของสายงานด้านคลาวด์

AWS ให้การฝึกอบรมทักษะดิจิทัลแก่ลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน โดยในปี 2565 เราได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ของไทย เพื่อเร่งพัฒนาทักษะการทํางานของบุคลากรภาครัฐ ความร่วมมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาทักษะของ AWS เพื่อให้การฝึกอบรมทักษะด้านคลาวด์แก่บุคลากรภาครัฐมากกว่า 1,200 คน เพื่อนําเทคโนโลยีคลาวด์ไปใช้ในวงกว้าง ช่วยให้การตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลดียิ่งขึ้น และสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ มี่มอบผลลัพธ์ที่ดีขึ้นสําหรับประชาชนทั่วประเทศ

เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI) ของไทยได้ประกาศความร่วมมือด้านทักษะดิจิทัลกับ AWS “MHESI และ AWS มีเป้าหมายร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนทักษะดิจิทัลในประเทศไทย และพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลของประเทศ" ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า “การศึกษาของ Gallup ช่วยตอกย้ำถึงพันธกิจของ MHESI ในการเตรียมความพร้อมด้านทักษะคลาวด์ที่จําเป็นให้กับบุคลากรภาครัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมการฝึกอบรมของ AWS เราตั้งเป้าที่จะยกระดับทักษะให้กับบุคลากรในการใช้ AWS Cloud ในสถาบันการศึกษากว่า 200 แห่งและหน่วยงานวิจัยและการศึกษาที่อยู่ภายใต้ MHESI กว่า 20 แห่งทั่วประเทศไทยภายในต้นปี 2569”

AWS ได้ร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) เปิดสอนหลักสูตร AWS Educate และ AWS Academy เพื่อยกระดับบุคลากรของไทยในอนาคต และด้วยความร่วมมือกับสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย มหาวิทยาลัยได้จัดบูตแคมป์และงานแฟร์สําหรับนักศึกษากว่า 200 คนเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาสําหรับการทำงานด้านดิจิทัล

“เมื่อประเทศไทยเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับความท้าทายจากการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัล” ผศ. ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) “การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าบุคลากรด้านคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูง เช่น สถาปัตยกรรมคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ เป็นที่ต้องการสูงในทุกอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งความต้องการบุคลากรยังมีมากกว่าจำนวนผู้สําเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาในด้านนี้ ดังนั้น สจล. จึงแก้ไขปัญหานี้ด้วยการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมการศึกษาของ AWS เพื่อมอบเนื้อหาด้านคลาวด์ที่เข้าถึงได้ง่ายและน่าสนใจสำหรับนักเรียนในการทดลองใช้เทคโนโลยีคลาวด์และพัฒนาโซลูชันที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้จริง เราหวังว่าจะทำให้ผู้สําเร็จการศึกษาสนใจที่จะพัฒนาทักษะด้านคลาวด์ต่อไปเพื่อเป็นบุคลากรในอนาคตของในประเทศไทย

“ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกําลังเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างรวดเร็ว และการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการมีบุคลากรด้านดิจิทัลที่มีทักษะสูงเป็นกุญแจสําคัญในการพัฒนาอย่างรอบด้านและยั่งยืนในทุก ๆ ประเทศ” รูปา จันดา ผู้อํานวยการฝ่ายการค้า การลงทุน และนวัตกรรมขององค์การสหประชาชาติ ESCAP กล่าว “โปรแกรมฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเท่าเทียมกันทางดิจิทัลในอนาคต ให้โอกาสการเรียนรู้ที่เท่าเทียมแก่ผู้คนจากทุกภูมิหลัง และขับเคลื่อนนวัตกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ”

“Asia Internet Coalition (สมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย) เห็นด้วยกับผลการศึกษาที่ยืนยันถึงคุณค่าและความสำคัญของทักษะด้านดิจิทัลที่มีต่อเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก เป็นการเน้นย้ำถึงความจําเป็นที่ภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ ต้องทํางานร่วมกันอย่างเร่งด่วนเพื่อเพิ่มความรู้ด้านดิจิทัลและสนับสนุนการยกระดับทักษะทั่วทั้งภูมิภาค เศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แข็งแกร่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาหลังจากสถานการณ์โควิด การเชื่อมช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลจะช่วยเร่งการรวมดิจิทัลและการสร้างระบบนิเวศ ที่จะขับเคลื่อนการฟื้นตัวโดยรวมของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้” เจฟฟ์ พายน์ กรรมการผู้จัดการ Asia Internet Coalition กล่าว

AWS มีแผนการลงทุนโดยประมาณมากกว่า 190,000 ล้านบาท (5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 15 ปี ด้วยการเปิดตัว AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ในเดือนตุลาคม 2565

ด้วยความมุ่งมั่นของเราในการลงทุนหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อฝึกอบรมทักษะระบบคลาวด์โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่ผู้คน 29 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2568 ณ ปัจจุบัน AWS ได้ฝึกอบรมทักษะดิจิทัลให้แก่บุคลากรไปแล้วมากกว่า 13 ล้านคน สําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกอบรมด้านคลาวด์โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายของ AWS สามารถดูได้ที่ AboutAmazon.com/29million

ดาวน์โหลด “Asia Pacific Digital Skills Study: The Economic Benefits of a Tech-Savvy Thai Workforce” 

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" (สพธอ.) หรือ "เอ็ตด้า" (ETDA : Electronic Transactions Development Agency) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมมือกับ Dek-D จัดโครงการ ETDA Digital Citizen Trainer หรือ EDC Trainer เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านการแบ่งปันทักษะสำคัญสำหรับการพัฒนาและส่งต่อความรู้ที่ได้รับสู่สังคม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการใช้สื่ออย่างปลอดภัยในยุคดิจิทัล

โดยไม่ให้มีใครเผลอหรือตั้งใจแสดงพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและสภาพจิตใจของผู้อื่น และไม่ตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคามบนโลกออนไลน์

จากความสำเร็จและกระแสตอบรับที่ดีมากจากรุ่นแรก จึงได้มีการจัด "ETDA Digital Citizen Trainer รุ่น 2" ขึ้น และเปิดรับสมัครแล้ว ไม่จำกัดอายุ เพศ วุฒิการศึกษา ไม่มีค่าใช้จ่าย จะสมัครเดี่ยวหรือแพ็กคู่ก็ได้ โดยเปิดรับสมัครถึง 19 ม.ค.นี้เท่านั้น

 ส่อง 5 ทักษะที่จะได้เรียนรู้เมื่อได้รับการคัดเลือกให้เป็น EDC Trainer

1. ภาคทฤษฎี เข้าร่วมได้ครบตามวัน/เวลาที่กำหนด

1.1 ทักษะดิจิทัล (Digital Life Skills) ครอบคลุม 5 ด้านดังนี้

· อัตลักษณ์ดิจิทัล (Digital Identity) เพื่อให้สามารถสร้างตัวตนที่ดีและมีมารยาทในโลกดิจิทัล

· การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม (Digital Use) ทั้งในแง่เวลา อุปกรณ์ การจัดการอารมณ์ความรู้สึกและความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น

· การจัดการความปลอดภัยในโลกดิจิทัล (Digital Security) เพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยง ป้องกัน และรับมือกับความเสี่ยงและภัยคุกคามออนไลน์ได้

· การรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy) เพื่อให้สามารถใช้งานข้อมูล ข่าวสาร และสื่อออนไลน์ต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ และเสพสื่อดิจิทัลได้อย่างสร้างสรรค์

· การสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication) เพื่อให้สามารถเรียนรู้การใช้เครื่องมือทางออนไลน์เพื่อให้ติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และเข้าใจการจัดการกับร่องรอยดิจิทัลที่ส่งผลดีต่อตนเองได้

1.2 ทักษะการถ่ายทอดความรู้ (Transferable Skill)

· เรียนรู้เทคนิคการสอน และฝึกออกแบบกิจกรรมเพื่อเตรียมจัดอบรมขยายผลส่งต่อความรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมาย

2. เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มออนไลน์ได้ทุกช่องทาง

โครงการฯ จะสร้างคอมมูนิตี้เปิดพื้นที่ให้ EDC Trainer มาแชร์ข้อมูลและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกัน

3. ทำภารกิจขยายผล

EDC Trainer ออกแบบแผนการสอนในแบบฉบับของตัวเอง นำความรู้ที่ได้ไปอบรมกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางออนไลน์หรือออฟไลน์

สิทธิประโยชน์สุดพิเศษสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ!

1. ประกาศนียบัตรจาก ETDA

2. ได้เป็น EDC Trainer ในสังกัด ETDA

· ได้รับสิทธิ์การเข้าถึงคลังความรู้และสื่อสารสอนจาก ETDA

· ส่งเสริม สนับสนุน และเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานในเครือข่ายของ ETDA

3. คอนเนกชัน โอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทั้งกับผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลและ EDC Trainer แต่ละรุ่น

เช็กลิสต์คุณสมบัติ

ใครสมัคร EDC Trainer รุ่น 2 ได้บ้าง?

1. สมัครได้ทุกคน ไม่จำกัด อายุ เพศ การศึกษา (คลิกที่นี่เพื่อสมัครออนไลน์)

2. รอบนี้เปิดให้ สมัครเดี่ยว หรือ สมัครเป็นแพ็กคู่ ก็ได้

3. เป็นผู้มีใจรักพร้อมเรียนรู้และฝึกฝนทักษะดิจิทัล รวมถึงแนวทางการใช้โซเชียลอย่างสร้างสรรค์

4. มีความรับผิดชอบ จัดการเวลาได้ดี และกล้าสวมบทบาทผู้สอน (เพราะภารกิจคือการอบรมและนำความรู้ไปถ่ายทอดต่อ)

5. สามารถเข้าร่วมอบรมทางออนไลน์หรือออฟไลน์ได้ครบตามวันและเวลาที่กำหนด

สอบถามเพิ่มเติมโครงการ “ETDA Digital Citizen Trainer” FB Fanpage: ETDA Thailand Line : @edctrainer หรือ E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

X

Right Click

No right click