December 23, 2024

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินค่าเงินบาทในช่วงสิ้นปี 2567 มีแนวโน้มผันผวนมากขึ้น โดยจะอยู่ในกรอบ 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศยังคงเปราะบางกว่าในอดีต หลังเศรษฐกิจไทยเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งส่งผลให้ดุลการชำระเงินไม่แข็งแกร่งเหมือนในอดีต ประกอบกับความเสี่ยงจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ขยายตัว ทำให้ค่าเงินบาทยังมีความเสี่ยงอ่อนค่าและผันผวนอยู่ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงในช่วงปลายปีนี้ แนะธุรกิจเตรียมรับมือกับความเสี่ยงจากสถานการณ์ตลาดการเงินที่ยังมีความไม่แน่นอน 

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทโดยรวมปรับอ่อนค่า 7% มากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย เป็นรองเพียงเงินเยนของญี่ปุ่น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐอเมริกา ตลอดจนปัจจัยภายในประเทศ เช่น ฤดูการจ่ายเงินปันผล และความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศที่กดดันการไหลออกของเงินทุนต่างชาติ เป็นต้น  แต่สำหรับในช่วงครึ่งปีหลัง หากพิจารณาจากสถิติในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า ทิศทางค่าเงินบาทมักจะปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้าย ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นอย่างชัดเจนในไตรมาส 4 โดยเฉลี่ยถึง 4.9%  ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฤดูกาลท่องเที่ยวของไทยที่มีความต้องการเงินบาทจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น รวมถึงความต้องการค่าเงินบาทของกลุ่มบริษัทในการปิดงบประมาณสิ้นปี อย่างไรก็ตาม ด้วยภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนมากขึ้นจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ในเชิงการเมืองและการค้า ดังนั้น ttb analytics ได้ประเมินแนวโน้มทิศทางค่าเงินบาทในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 มีแนวโน้มผันผวนมากขึ้นในครึ่งหลังของปี ณ สิ้นปี 2567 ค่าเงินบาทจะอยู่ในกรอบ 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากมุมมองปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทย และการเปลี่ยนแปลงทางการเงินและเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบ โดยมีรายละเอียดดังนี้  

 1) ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) ยังไม่สามารถสนับสนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเหมือนในอดีต 

ตัวที่สะท้อนภาพได้ชัดเจน คือ ดุลบัญชีเดินสะพัด ที่บอกถึงรายรับและรายจ่ายเงินตราต่างประเทศจากการขายสินค้าและบริการ ปัจจุบันไทยมีแนวโน้มเกินดุลบัญชีเดินสะพัดไม่มากเหมือนในอดีต ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกสินค้าของไทยโตได้ช้าลง เนื่องจากเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้างจากกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีเก่าที่มีความต้องการในตลาดโลกน้อยลง และผลจากนโยบายการกีดกันการค้าที่เพิ่มขึ้น สวนทางกับการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น จากการระบายสินค้าของจีน (De-Stocking) เข้ามาในไทยและราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งหากดูตัวเลขดุลการค้า (Trade Balance) ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ไทยเกินดุลเพียง 7.1 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นครึ่งหนึ่งของมูลค่าเกินดุลเฉลี่ยปี 2558-2562 ที่ 14.4 พันล้านดอลลาร์ ในส่วนดุลบริการของไทยครึ่งแรกของปีของปี 2567 การท่องเที่ยวไทยสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวน 0.83 ล้านล้านบาท น้อยลงจากช่วงปี 2562 ที่สูงถึง 1.1 ล้านล้านบาท ผลจากโครงสร้างนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เปลี่ยนไป  ในขณะที่ดุลบริการในส่วนของค่าขนส่งที่ปกติขาดดุลอยู่เดิมมีแนวโน้มติดลบมากขึ้นจากการปรับขึ้นค่าระวางเรือตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจากปัญหาความขัดแยังในตะวันออกกลางที่ยืดเยื้อ  

2) ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (Capital & Financial Account) ยังขาดดุลเพิ่มขึ้น กดดันค่าเงินบาทต่อเนื่อง   
ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายที่สะท้อนการลงทุนโดยตรง และสินทรัพย์ทางการเงินต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยังมีแนวโน้มไหลออกจากปัจจัยโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่ยังเปราะบาง ตลอดจนความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ยังมีอยู่ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนภายในประเทศ และทิศทางของเงินทุนต่างชาติ นอกจากนี้ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงกว้างกว่าในอดีต ยังไม่เอื้อต่อการแข็งค่าของเงินบาท หนึ่งในนั้นคือการที่นักลงทุนภายในประเทศมีความสนใจสินทรัพย์ต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะตราสารหนี้ (Bonds) ที่มีเงินทุนไหลออกกว่า 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงไตรมาสที่ 1 จากผลตอบแทนที่เพิ่มสูงขึ้น ตามวัฏจักรดอกเบี้ยโลกที่อยู่ในระดับสูง ตลอดจนการผ่อนคลายกฎเกณฑ์การไปลงทุนต่างประเทศของนักลงทุนในประเทศ ประกอบกับดอกเบี้ยต่างประเทศที่สูงกว่าทำให้ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะกลุ่มส่งออกมีการฝากเงินสกุลต่างชาติมากขึ้น แทนการแลกเงินสกุลบาททันที เนื่องจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยกับต่างประเทศยังคงกว้างกว่าในอดีตมาก ซึ่งปัจจัยดังกล่าวลดแรงกดดันที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น  

3) แนวโน้มวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงทั่วโลก อาจช่วยสนับสนุนการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ แต่ต้องติดตามปัญหาภูมิรัฐศาสตร์    ในส่วนของปัจจัยต่างประเทศ แม้ว่านักลงทุนส่วนใหญ่จะคาดว่า Fed จะเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงในช่วงปลายปีนี้ หลังเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวมากขึ้น ซึ่งบางส่วนอาจช่วยลดแรงกดดันเงินทุนไหลออกจากประเทศไทยได้บ้าง เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินตลอดทั้งปีนี้  

อย่างไรก็ตาม การดึงดูดเงินทุนต่างชาติเข้าสู่สินทรัพย์ของไทยยังคงจำกัดจากการที่ตลาดหุ้นไทยไม่ได้มีหุ้นกลุ่ม Growth และดอกเบี้ยนโยบายของไทยยังคงต่ำ เมื่อเทียบกับภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความผันผวนให้กับตลาดการเงินโลก และเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับทิศทางการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ในช่วงปลายปีนี้ ตลอดจนความเสี่ยงจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์อื่น ๆ ที่ยังคงมีอยู่ 

จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยถึงสิ้นปีนี้อาจไม่ดีเท่าที่คาดการณ์ โดยเฉพาะการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการค้าโลก ขณะที่ปัจจัยปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ยังกดดันราคาพลังงานและขนส่งสินค้าให้อยู่ในระดับสูงต่อไป ยิ่งไปกว่านั้น วัฏจักรนโยบายการเงินโลกที่ผ่อนคลายมากขึ้น การเปลี่ยนผ่านนโยบายทางการเมืองของสหรัฐฯ จะสร้างความผันผวนและความไม่แน่นอนมากขึ้นให้กับตลาดการเงินโลก ทำให้ ttb analytics มองประเด็นเหล่านี้จะสร้างแรงกดดันให้ค่าเงินบาทผันผวนและอ่อนค่าได้ ทำให้ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับค่าเงินไม่ว่าจะเป็นผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ หรือผู้ที่มีหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศ ควรติดตามข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจการเงินอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ยังควรศึกษาและใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเหมาะสม เพื่อลดความผันผวนและความเสี่ยงของค่าเงินบาท เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ในช่วงเวลาต่อไป 

ทีทีบี มอบความคุ้มค่าช่วงโค้งสุดท้ายของปี พร้อมเป็นอีกทางเลือกสำหรับลูกค้าที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์เพื่อลดหย่อนภาษี ในแคมเปญ “เทศกาลลดหย่อนภาษี ดีเวอรรร์!!” พบกับผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษี อาทิ ประกันชีวิตและสุขภาพ ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ประกันชีวิตบำนาญ จากพรูเด็นเชียล ประเทศไทย และกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี มาพร้อมกับโปรโมชันคุ้มเกินต้านส่งท้ายปี รับเงินคืนสูงสุด 32% พร้อมสิทธิพิเศษถึง 3 คุ้ม และรับของสมนาคุณต่าง ๆ มากมาย ณ บูธกิจกรรม ‘เทศกาลลดหย่อนภาษี ดีเวอรรร์!!’ ที่ ทีทีบี ตลอดเดือนธันวาคม 2566 นี้

ลูกค้าที่สมัครผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตจาก พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ที่ร่วมรายการผ่าน ทีทีบี ทุกสาขา หรือแอป ttb touch จะได้รับโปรโมชันพิเศษตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2566 ดังต่อไปนี้

รับเงินคืนเข้าบัญชีเงินฝาก สูงสุด 32% ได้แก่

  • รับเงินคืนเข้าบัญชีเงินฝาก สูงสุด 26% ของเบี้ยประกันภัยรายปี ปีแรก
  • รับเงินคืนเพิ่ม 5% สำหรับลูกค้าบัญชีเงินเดือน ทีทีบี
  • รับเพิ่ม! เงินคืน 1% ของค่าเบี้ยประกันรายปี ปีแรก เมื่อซื้อประกันภัยที่ร่วมรายการ และมียอดซื้อสะสมกองทุน SSF RMF ttb smart port SSF ขั้นต่ำ 10,000 บาท / เดือน ภายในเดือนเดียวกับที่ซื้อประกัน

รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติมอีก 3 คุ้ม

  • คุ้มที่ 1 ชำระผ่านบัตรเครดิต ทีทีบี รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 15% หรือรับคะแนนสะสม ttb rewards plus สูงสุด 10 เท่า และรับสิทธิแบ่งชำระเบี้ยประกัน 0% นาน 6 เดือน
  • คุ้มที่ 2 รับ iPhone 15 Pro Max มูลค่า 48,900 บาท หรือ iPhone 15 Plus มูลค่า 41,900 บาท หรือบัตรกำนัลจากเครือ BDMS สูงสุด 7,500 บาท
  • คุ้มที่ 3 รับดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด25% ต่อปี

นอกจากนี้ สำหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ทีทีบี อีแวลู เซฟเวอร์ 12/5 (ttb e-value saver 12/5) ผ่านแอป ทีทีบี ทัช โดยชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบรายปี ปีแรก พร้อมรับโปรโมชันและของสมนาคุณต่าง ๆ มากมาย โดยระยะเวลาโปรโมชันตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2566

  • ยอดชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต ตั้งแต่ 30,000-59,999 บาท รับบัตรกำนัลโลตัส มูลค่า 1,000 บาท
  • ยอดชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต ตั้งแต่ 60,000-99,999 บาท รับลำโพง Marshall Willen สีดำ มูลค่า 3,990 บาท
  • ยอดชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต ตั้งแต่ 100,000-199,999 บาท รับ Huawei Smart Watch GT4 (46mm) สีน้ำตาล มูลค่า 7,990 บาท
  • ยอดชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต ตั้งแต่ 200,000-499,999 บาทขึ้นไป รับ Apple Watch Series 9 (45mm) สี Starlight มูลค่า 16,900 บาท
  • ยอดชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต ตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป รับมือถือ Samsung Z Flip มูลค่า 39,900 บาท

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมทาง https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/ba-tax-festival-2023 หรือ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/e-value-saver-12-5 หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ ttb contact center 1428

X

Right Click

No right click