รัฐบาลประชาชนมณฑลกุ้ยโจว

กุ้ยหยาง, จีน, 17 เมษายน 2567 /ซินหัว-เอเชียเน็ท/ดาต้าเซ็ต

เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567 การประชุมว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมณฑลกุ้ยโจว ครั้งที่ 18 (18th Guizhou Tourism Industry Development Conference) โดยรัฐบาลประชาชนมณฑลกุ้ยโจว ในหัวข้อ “ส่งเสริมการบูรณาการวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวในเชิงลึก และสร้างจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวระดับโลก” ได้จัดขึ้นที่เมืองซิงอี้ มณฑลกุ้ยโจว ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน บนพื้นฐานของ “ความเรียบง่าย ความละเอียดอ่อน ความเอาใจใส่ และความปลอดภัย”

เพื่อเป็นการเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของมณฑลกุ้ยโจว พร้อมกับบ่มเพาะให้กลายเป็นอุตสาหกรรมหลัก การประชุมว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมณฑลกุ้ยโจวจึงจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีนับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา โดยจัดหมุนเวียนไปทั่วทุกเมืองและเขตในมณฑลกุ้ยโจว และประสบความสำเร็จในการจัดงานมาแล้ว 17 ครั้ง

ทั้งนี้ เขตปกครองตนเองชนชาติปู้อีและแม้ว เฉียนซีหนาน (Qianxinan Bouyei and Miao Autonomous Prefecture) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลกุ้ยโจว มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งที่ยอดเยี่ยม อีกทั้งยังมีชื่อเสียงจากทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามและได้รับการอนุรักษ์เอาไว้เป็นอย่างดี รวมถึงวัฒนธรรมอันรุ่มรวยของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเทือกเขา วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ และโบราณวัตถุทางประวัติศาสตร์ โดยภูมิประเทศแบบคาร์สต์ (Karst) ก่อให้เกิดจุดชมวิวที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง ได้แก่ หุบเหวน้ำตกร้อยสายหม่าหลิงเหอ (Maling River Canyon), ป่าหมื่นยอดภูผาว่านเฟิงหลิน (Wanfeng Forest), ทะเลสาบว่านเฟิง (Wanfeng Lake) และกลุ่มหินหลงหัว (Guizhou Longhua Stone Group) นอกจากนั้นยังมีศิลปะการร้องเพลงพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ปู้อีที่เรียกว่า “Eight-Note Seated Singing” อีกด้วย

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เขตปกครองตนเองเฉียนซีหนานได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยบูรณาการเข้ากับทรัพยากรการท่องเที่ยวภูเขาที่มีอยู่เดิม โดยมีการเปิดตัวโครงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหลายโครงการ รวมถึงเส้นทางการท่องเที่ยวคุณภาพเยี่ยมหลายเส้นทาง เพื่อดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ใส่ใจสุขภาพโดยเฉพาะ

 

ที่มา: รัฐบาลประชาชนมณฑลกุ้ยโจว

 นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2567 นักท่องเที่ยวกำลังมองหาการท่องเที่ยวระดับพรีเมียม ที่ผนวกรวมทริปเดินทางเชิงธุรกิจ (Business) และการพักผ่อน (Leisure) เพื่อต่อยอดการเข้าพักในกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่ยาวนานขึ้น พร้อมทั้งเฟ้นหาอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ระดับพรีเมียม ตอบโจทย์แนวโน้มเพื่อฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวของไทย

เทรนด์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยเฉพาะวัฒนธรรมท้องถิ่น คือ สิ่งที่น่าจับตามอง อ้างอิงจากข้อมูลของ Skyscanner นักท่องเที่ยวจำนวนมากให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมท้องถิ่น การมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เข้าเยี่ยมชมสถานที่ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรายการโทรทัศน์ และการลิ้มลองรสชาติอาหารท้องถิ่นแท้ๆ คือ ปัจจัยสำคัญที่นักท่องเที่ยวมองหานอกเหนือจากการเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมทั่วไป นอกจากนี้ ทาง Skift ยังแชร์ข้อมูลเพิ่มเติมว่านักท่องเที่ยวชาวจีนให้ความสนใจกับการท่องเที่ยวที่ยกระดับหรือสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ โดยให้ความสำคัญของโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงลึกที่มีคุณภาพ โดยมีเวลาดื่มด่ำในวัฒนธรรมและสถานที่ สามารถใช้เวลาในการท่องเที่ยวแต่ละจุดยาวนานมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนสถานที่หรือร้านต่างๆ ที่ต้องแวะชมหรือเช็คอินในปริมาณมากๆ หลายๆจุด การให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในการส่งเสริมวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศผ่านซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งรวมถึงการยกระดับเทศกาลมหาสงกรานต์ตลอดเดือนเมษายนนี้สู่สายตาโลก

เทรนด์การท่องเที่ยวแบบ "BLEISURE" คือ เทรนด์ที่กำลังมาแรง โดยเป็นการผสมผสานระหว่างทริปเดินทางเชิงธุรกิจ (Business) และการพักผ่อน (Leisure) หรือที่เรียกว่า เนื่องจากผู้คนจำนวนมากขึ้นหันมาใช้ชีวิตแบบดิจิทัล โนแมด และหลายๆ บริษัทจำนวนก็เปิดโอกาสให้ทำงานจากที่ไหนก็ได้ ทำให้นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะคนรุ่น Gen Z กำลังได้รับการจับตามองส่งผลให้เกิดการจองห้องพักในรูปแบบของลองเสต์ หรือการเข้าพักที่ยาวนานขึ้น เพื่อสัมผัสและสนุกสนานกับการท่องเที่ยวที่มีความหมายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับไลฟ์สไตล์และการลิ้มลองอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาแฮปปี้ อาวร์หรือช่วงเวลาหลังเลิกงาน

คุณมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า “ขณะที่ประเทศไทยยังคงเดินหน้าเปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยโปรโมทและดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาใช้จ่ายที่ไทยเพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อเข้าใจความต้องการใหม่ๆ ของผู้บริโภค เราสังเกตเห็นว่านักท่องเที่ยวที่พักอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานานขึ้น โดยยกระดับประสบการณ์การรับประทานอาหารและวัฒนธรรมของอาหารไทยสู่การรับประทานอาหารในระดับพรีเมี่ยม มองหาตัวเลือกด้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพสูงขึ้น ไม่ใช่การดื่มแบบหักโหม ทำให้เราจำเป็นต้องรักษามาตราฐานด้านอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ของเราอย่างต่อเนื่องเพื่อดึงดูดนักเดินทางที่กำลังมองหาคุณภาพการใช้ชีวิตในระดีบพรีเมียม

ดร.ญาณี เลยวานิชเจริญ เลขาสมาคมธุรกิจร้านอาหารกลางคืน กล่าวว่า “เราเห็นว่าผู้บริโภครุ่นใหม่ กำลังเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเนื่องจากมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น การดื่มไวน์มากขึ้นซึ่งเหมาะสำหรับการดื่มร่วมกันในสังคมและจับคู่กับอาหาร เราเชื่อว่าประเทศไทยสามารถเดินหน้าโปรโมทด้านสถานบันเทิงยามค่ำคืนที่มีชีวิตชีวาเพื่อมอบประสบการณ์ที่หลากหลายและมีคุณภาพให้กับนักท่องเที่ยวในขณะที่พวกเขาใช้เวลาในการพักผ่อนได้ยาวนานที่ประเทศไทยมากขึ้น”

เทรนด์การท้องเที่ยวอันดับ 3 คือ “เที่ยวแบบพรีเมียม” โดยความต้องการของนักท่องเที่ยวมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการซื้อสินค้าคุณภาพสูงในระดับพรีเมียม รวมถึงเครื่องดื่มไวน์และสุราจากต่างประเทศ ตามรายงานการวิจัยฉบับใหม่โดย Oxford Economics ซึ่งเปิดตัวในประเทศไทยเมื่อเดือนที่แล้ว

โดยอ้างอิงจากรายงานที่ชื่อว่า "International Wine and Spirits in ASEAN: The Economic Contribution of the International Wine and Spirits Value Chain in Thailand and Vietnam" จัดทำโดย Oxford Economics และได้รับมอบหมายจาก Asia Pacific International Spirits and Wine Alliance (APISWA) เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของการขายและจัดจำหน่ายไวน์และสุราต่างประเทศในสองประเทศเศรษฐกิจสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทยและเวียดนาม

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 23 มกราคม พ.ศ. 2567 – อโกด้า แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว เผยข้อมูลการจองห้องพักช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2024 นี้ พบกรุงเทพฯ เป็นจุดหมายปลายทางต่างประเทศยอดฮิตอันดับ 1 ของนักท่องเที่ยว และไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางต่างประเทศยอดฮิตอันดับ 2 อีกด้วย โดยเป็นรองเพียงญี่ปุ่นเท่านั้น

ข้อมูลการจองห้องพักของอโกด้ายังแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และญี่ปุ่นเป็น 5 อันดับแรกที่มาท่องเที่ยวในไทยมากที่สุดตามลำดับ นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2019 ที่จีนกลับเข้ามาอยู่ใน 5 อันดับแรก ส่วนจุดหมายปลายทางยอดฮิตในไทย 5 อันดับแรกสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต หาดใหญ่ พัทยา และเชียงใหม่ตามลำดับ

แม้การเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการจะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2024 แต่ปกติแล้วเทศกาลตรุษจีนมักขยายเวลาเป็นวันหยุดยาวในหลายประเทศทั่วทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในจีน ญี่ปุ่น (วันหยุดฤดูใบไม้ผลิ) และเวียดนาม (เต๊ด) ที่หยุดนานถึง 1 สัปดาห์ เทศกาลตรุษจีนถือเป็นช่วงเวลาท่องเที่ยวยอดนิยมช่วงหนึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวจีน ปีนี้นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2019 ที่จีนติดอันดับ 3 ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด และกลับเข้ามาอยู่ใน 5 อันดับแรกของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางไปอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย และเวียดนาม

นักท่องเที่ยวไทยเองก็ให้ความสนใจกับจุดหมายปลายทางต่างประเทศไม่น้อย โดยญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง และเวียดนามเป็นประเทศยอดฮิต 5 อันดับแรก ส่วนเมืองยอดฮิต 5 อันดับแรก ได้แก่ โตเกียว ไทเป โซล โอซาก้า และฮ่องกง

 

คุณเอนริก คาซาลส์, Associate Vice President Southeast Asia, อโกด้า กล่าวว่า “เทศกาลตรุษจีนเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญที่ผู้คนออกไปท่องเที่ยว และปีนี้ก็ไม่ต่างกัน ตั้งแต่ปี 2019 มา โรงแรมและจุดหมาย

ปลายทางต่าง ๆ ก็สร้างตัวเลือกให้ตัวเองน่าสนใจมากขึ้นในสายตานักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เช่น การไม่ต้องขอวีซ่า และสิ่งจูงใจอื่น ๆ ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาไม่ต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวจากแค่ประเทศเดียว และดึงดูดนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นได้ด้วยในขณะเดียวกัน แต่ในปีนี้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นตั้งตารอต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีนมากขึ้นแน่นอน”

ในระดับภูมิภาค นักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนมากมาจากเกาหลีใต้ สิงคโปร์ จีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น โดยประเทศที่ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเหล่านี้มากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม แสดงให้เห็นความหลากหลายของวัฒนธรรมและการพักผ่อน ส่วนเมืองต่าง ๆ เช่น กรุงเทพฯ โตเกียว โซล และโอซาก้า ยังคงมีเสน่ห์ในสายตานักท่องเที่ยว ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเป็นเมืองอันอุดมสมบูรณ์ของภูมิภาค

แพลตฟอร์มของอโกด้ามีที่พักมากกว่า 3.9 ล้านแห่ง ตั๋วเครื่องบิน และกิจกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ มากมาย ตอบโจทย์ความต้องการด้านการเดินทางท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้คนได้อย่างดีเยี่ยม อโกด้าพร้อมมอบประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ราบรื่นให้นักท่องเที่ยวทุกคนช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นในไทย หรือประเทศอื่น ๆ

 

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ปิดท้ายปี 2566 อย่างงดงามด้วยเทศกาลรับลมหนาวหรือ Thailand Winter Festival แบ่งเป็น 5 กิจกรรมเชิงวัฒนธรรม อาทิ การจัด ‘กิจกรรมสีสันแห่งสายน้ำ’ ส่งเสริมมหกรรมลอยกระทง รวมไปถึงการจัดงานวิจิตรเจ้าพระยา 2566, อะเมซิ่ง ไทยแลนด์ พาสปอร์ต พรีวิลเลจ, อเมซิ่ง ไทยแลนด์ มาราธอน แบงค็อก 2566, และอเมซิ่ง ไทยแลนด์ เคาท์ดาวน์ 2567 เพื่อจัดแสดงกิจกรรมต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ สะท้อนความรุ่งเรืองและงดงามของวัฒนธรรมไทย

 

เทศกาลรับลมหนาวในประเทศไทยนำเสนอเอกลักษณ์ของไทยผ่านมหกรรม ศิลปะ แสงสี การแสดงดนตรี และการเฉลิมฉลองเทศกาลวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ที่มีชื่อเสียงของกรุงเทพฯ ททท. มองว่าการจัดเทศกาลนี้เป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมเมืองหลวงแห่งวัฒนธรรมของประเทศอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

อีเว้นต์และเทศกาลในประเทศไทยส่วนใหญ่ถูกสืบทอดมาหลายศตวรรษ โดยส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากประเพณีท้องถิ่น คติชน และวิถีชีวิตแบบไทย สองเทศกาลเชิงวัฒนธรรมในไทยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเป็นที่รู้จักในสากล คือเทศกาลสงกรานต์ (ปีใหม่ไทย) และเทศกาลลอยกระทง

กิจกรรมอื่น ๆ รวมไปถึง งานไหว้ครูมวยไทยโลกซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ประเพณีปอยส่างลอง พิธีอุปสมบทโบราณที่จัดขึ้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเทศกาลบุญบั้งไฟอันเลื่องชื่อ ซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในหลายจังหวัดทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อาทิ ร้อยเอ็ด ยโสธร และกาฬสินธุ์

กิจกรรมในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่เพิ่งปิดฉากไปโดยผสมผสานวัฒนธรรมไทยในทุกองค์ประกอบของงานอย่าง ศึกโมโตจีพี โออาร์ ไทยแลนด์ กรังด์ปรีซ์ หนึ่งในกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมทั่วโลกได้สัมผัสกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างแท้จริง โดยผู้จัดงานได้เลือก ‘หนุมาน’ พญาวานรจากวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์ให้เป็นทูตวัฒนธรรมและธีมในการแข่งขัน

อิโก้ พูเทร่า (Iko Putera) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงาน Transport ของ Traveloka กล่าวว่า "เรามองว่างานไทยแลนด์ กรังด์ปรีซ์ และการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมเป็นอีกช่องทางสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ในระหว่างการแข่งขันปี 2566 ที่ผ่านมา Traveloka มองเห็นความต้องการด้านที่พักและเที่ยวบินขาเข้ากรุงเทพฯ และบุรีรัมย์เพิ่มขึ้น จากข้อมูลภายในของเราธุรกรรมการจองโรงแรมเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าในช่วงสัปดาห์ของการแข่งขัน โดยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่วันที่ 27 ถึง 28 ตุลาคม 2566 และความต้องการส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่บุรีรัมย์ โดยเฉพาะอำเภอนางรอง”

 

ในส่วนของเที่ยวบิน Traveloka เห็นแนวโน้มเชิงบวกในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเที่ยวบินภายในประเทศ โดยมีบุรีรัมย์เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางหลัก และดอนเมืองเป็นต้นทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในช่วงสัปดาห์การแข่งขัน

(27-29 ตุลาคม 2566) พร้อมกับเที่ยวบินภายในประเทศโดยรวมสู่กรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นพร้อมกับจุดหมายปลายทางอื่น ๆ ในประเทศ เช่น ขอนแก่น อุบลราชธานี หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี

ททท. ยังคงตั้งเป้าให้จุดหมายปลายทางที่กำลังพัฒนากลายเป็นปลายทางยอดนิยม เช่น บุรีรัมย์ เพื่อชูสุดยอดรสมือด้านการทำอาหารของประเทศไทย โดยได้ร่วมมือกับภาคเอกชนเปิดตัวแคมเปญ “เมนูเปิดประสบการณ์ใหม่ เมืองรองมิรู้ลืม”เพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองรองอย่างบุรีรัมย์ และสัมผัสประสบการณ์เมนูอาหารท้องถิ่นไทยในระดับภูมิภาค

อีเว้นต์ต่างๆ ช่วยให้ประเทศไทยมีการฟื้นตัวของท่องเที่ยวที่แข็งแกร่งในช่วงปี 2566 และตั้งเป้าที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวไปอีกขั้นในปี 2567 งานไทยแลนด์ กรังด์ปรีซ์ 2566 ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงบวกด้านความต้องการที่พักและเที่ยวบิน ในขณะที่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว เช่น ร้านค้า ธุรกิจค้าปลีก ร้านอาหาร และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นก็ได้รับประโยชน์จากการเข้าชมที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

Traveloka ดำเนินงานเพื่อก้าวนำเทรนด์ของตลาดและความต้องการของลูกค้า โดยบริการทางเลือกการเดินทางที่ง่ายและยืดหยุ่นพร้อมวิธีการชำระเงินที่หลากหลาย ช่วยให้บริษัทสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับธุรกิจท่องเที่ยวไทยที่ได้รับประโยชน์จากการแข่งขัน ไทยแลนด์ กรังด์ปรีซ์ 2566 ที่จัดขึ้นก่อนเริ่มฤดูกาลท่องเที่ยวตามปกติของประเทศไทย

"Traveloka ให้บริการนักเดินทางจำนวนหลายล้านคนทุกวัน และมีส่วนในการช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยด้วยการขับเคลื่อนนวัตกรรม เรายังเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนการเติบโตและสร้างงานให้กับธุรกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองรอง โดยมอบประสบการณ์การเดินทางที่ผสมผสานระหว่างอีเวนต์ระดับนานาชาติกับการท่องเที่ยวและมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลายของประเทศ” อิโก้ กล่าวเสริม

เคทีซีร่วมกับสายการบินแอร์ อัสตานา จัดเวิร์คช้อป Kazakhstan, at your first sight. . . "VERY NICE!" กิจกรรมวาดภาพสะท้อนความงดงามผ่านสถานที่ท่องเที่ยวไฮไลท์ของสาธารณรัฐคาซัคสถาน พร้อมรังสรรค์โปรแกรม “Explore Kazakhstan” ตอบโจทย์เทรนด์ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม มอบประสบการณ์การเดินทางที่สะดวกและคุ้มค่า ผ่านบริการจาก KTC World Travel Service เพื่อให้สมาชิกบัตรฯ ได้เข้าถึงธรรมชาติที่แตกต่าง รวมถึงเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นกับโปรแกรมสุดเอ็กซ์คลูซีฟ

 

นางสาวอุรฉัท ปัญญาวุธ ผู้จัดการ สายการบินแอร์ อัสตานาประจำประเทศไทยและกัมพูชา กล่าวว่า “สายการบินแอร์อัสตานา เป็นสายการบินแห่งชาติสาธารณรัฐคาซัคสถาน ปัจจุบันให้บริการทั้งเส้นทางในประเทศและเส้นทางระหว่างประเทศมากกว่า 60 เส้นทาง และเป็นสายการบินเดียวที่บินตรงจากประเทศไทยสู่สาธารณรัฐคาซัคสถาน ด้วยระยะเวลาบินเพียงแค่ 6 – 7 ชั่วโมง โดยปัจจุบันสายการบินได้มีการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ และภูเก็ตไปยังเมืองอัลมาตีเป็น 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวของสาธารณรัฐคาซัคสถาน โดดเด่นด้วยวิวธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์และสวยงาม รวมถึงสถาปัตยกรรมที่หลากหลายที่ยังรอคอยการมาเยือนของนักท่องเที่ยว อาทิ ทะเลสาบบิ๊กอัลมาตี้ (Big Almaty Lake ทะเลสาบที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองอัลมาตี / ชารีน แคนยอน (Charyn Canyon แกรนด์แคนยอนขนาดใหญ่ รวมถึงหอคอยเบย์เทเรค (Bayterek Tower) อาคารทรงกระบอกที่มียอดเป็นวัตถุทรงกลมสีทอง ถือเป็นสัญลักษณ์ของการเกิดใหม่ของประเทศ นับเป็นส่วนผสมลงตัวที่เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักท่องเที่ยวที่กำลังมองหาจุดหมายปลายทางแห่งใหม่ที่มีความพร้อมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ และความทันสมัยของตัวเมือง ด้วยความร่วมมือกับเคทีซีจัดกิจกรรมวาดภาพเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว รวมถึงโปรแกรม “Explore Kazakhstan” ที่ให้บริการผ่าน KTC World Travel Service ในครั้งนี้ จะเป็นการเปิดประสบการณ์การท่องเที่ยวสุดประทับใจและเป็นอีกจุดหมายที่มีเรื่องราวหลากหลายมิติ รอคอยการมาเยือนของนักท่องเที่ยวได้อีกครั้ง”

 

นางสาวพัทธ์ธีรา อนันต์โชติพัชร ผู้บริหารสูงสุด KTC World Travel Service และการตลาดท่องเที่ยวหมวดสายการบิน กล่าวว่า “สำหรับในปีนี้ ยอดการใช้จ่ายของสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่ใช้บริการผ่าน KTC World Travel Service ศูนย์บริการการเดินทางและท่องเที่ยวสำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี มี

ทิศทางที่ดีขึ้น อีกทั้งพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวได้มีการปรับเปลี่ยนสอดรับกับเทรนด์ของนักท่องเที่ยวที่นิยมวางแผนการเดินทางไปยังสถานที่พักผ่อนที่ใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น (Slow Travel) มองหาประสบการณ์ในเส้นทางที่แปลกใหม่ รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Eco Tourism) รวมถึงกระแสการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม (A Taste of Culture) ที่ผสมผสานในหลากมิติ ทั้งด้านอาหาร ขนบธรรมเนียมท้องถิ่น และภาษา เป็นจุดหมายปลายทางหนึ่งที่นักท่องเที่ยวเริ่มมองหาและปักหมุดการเดินทาง”

“KTC World Travel Service จึงได้ร่วมมือกับสายการบินแอร์ อัสตานา จัดกิจกรรมเวิร์คช้อปวาดภาพ Kazakhstan, at your first sight. . . "VERY NICE!" ให้กับสื่อมวลชนและอินฟลูเอนเซอร์ ได้ร่วมสะท้อนความงดงามผ่านการวาดภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นไฮไลท์ และรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวเส้นทางใหม่กับโปรแกรม “Explore Kazakhstan” เพื่อให้สมาชิกได้เปิดประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยวที่ไม่ซ้ำใคร เข้าถึงธรรมชาติที่แตกต่าง รวมถึงเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น ด้วยการเดินทางที่สะดวกและคุ้มค่าผ่านโปรแกรมสุดเอ็กซ์คลูซีฟ 5 วัน 3 คืน ในราคาเริ่มต้นท่านละ 72,000 บาท พร้อมมอบสิทธิพิเศษ สมาชิกรับคะแนน KTC FOREVER 2 เท่า ตลอดโปรแกรม (เพียง 2 ท่านก็เดินทางได้) สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC World Travel Service โทรศัพท์ 02 123 5050 หรือที่เว็บไซต์ www.ktc.co.th/ktcworld จองแพ็กเกจได้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 - วันที่ 15 มีนาคม 2567 ระยะเวลาเดินทาง 18 พฤศจิกายน 2566 – วันที่ 31 มีนาคม 2567”

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click