November 21, 2024

ซีบร้า เทคโนโลยีส์ คอร์ปอเรชั่น (NASDAQ: ZBRA) ผู้ให้บริการโซลูชันดิจิทัลชั้นนำที่ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อข้อมูล สินทรัพย์ และผู้คนได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น รายงานผลการสำรวจ 2024 Manufacturing Vision Study ซึ่งแสดงให้เห็นว่า 61% ของผู้ผลิตทั่วโลกคาดหวังว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะผลักดันการเติบโตของธุรกิจมากขึ้นภายในปี 2029 เพิ่มขึ้นจาก 41% ในปี 2024

เมื่อมองลึกลงมาในระดับภูมิภาค 68% ของผู้ผลิตในเอเชีย-แปซิฟิกคาดหวังว่า AI จะผลักดันการเติบโตของธุรกิจมากขึ้นภายในปี 2029 เพิ่มขึ้นจาก 46% ในปี 2024 ทั้งนี้การนำ AI มาปรับใช้ที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึง 92% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก และ 87% ของผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชีย-แปซิฟิกที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (digital transformation) มากที่สุด ตอกย้ำให้เห็นถึงความตั้งใจของผู้ผลิตที่จะปรับปรุงการจัดการข้อมูล และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เพิ่มทัศนวิสัยในซัพพลายเชน (visibility) รวมถึงคุณภาพ ตลอดกระบวนการผลิต 

 

แม้ว่า digital transformation จะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ผลิต แต่ 30% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก และ 40% ของผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชีย-แปซิฟิกทราบดีว่าเส้นทางสู่ digital transformation นั้นเต็มไปด้วยอุปสรรค เช่น ต้นทุนแรงงาน จำนวนแรงงานที่ใช้งานได้ การนำโซลูชันเทคโนโลยีมาปรับใช้ และการรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับเทคโนโลยีด้านการดำเนินงาน (IT/OT convergence) 

Visibility เป็นก้าวแรกสู่การเปลี่ยนแปลง โดยการนำ AI และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อระบุ ตอบสนองต่อ และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และโครงการได้ดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพตลอดกระบวนการผลิต เพื่อที่ผลลัพธ์จะได้ออกมาดีที่สุด 

นายศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์, ผู้จัดการประจำประเทศไทย, ซีบร้า เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “ผู้ผลิตหลายรายกำลังเผชิญกับปัญหาในการใช้ข้อมูลของตัวเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งพวกเขาทราบดีว่าต้องนำ AI และโซลูชันเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ มาปรับใช้ เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว และประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ซีบร้าช่วยให้ผู้ผลิตดำเนินงานได้ง่ายขึ้นด้วยเครื่องมือที่มาพร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น Fixed Industrial Scanning และ Machine Vision FX90 ultra-rugged fixed RFID readers และ ATR7000 RTLS readers ซึ่งจะยกระดับขั้นตอนการทำงานให้มีความเป็นอัตโนมัติมากขึ้น ส่งผลให้แรงงาน และเทคโนโลยีดำเนินงานไปด้วยกันได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น” 

ปิดช่องว่างทางทัศนวิสัยในซัพพลายเชน 

ถึงแม้ว่าผู้ผลิตส่วนมากบอกว่า digital transformation เป็นเรื่องสำคัญ แต่การทำให้การทำงานในโรงงานเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์นั้นยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย Visibility ถือเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพในกระบวนการผลิต อย่างไรก็ปัญหาช่องว่างทางทัศนวิสัยในซัพพลายเชน (visibility gap) ก็ยังคงมีอยู่ มีเพียง 16% ของผู้นำด้านการผลิตทั่วโลกที่สามารถติดตามการดำเนินงานตลอดกระบวนการผลิตแบบเรียลไทม์ได้ ส่วนในเอเชีย-แปซิฟิกมี 25% ของผู้นำด้านการผลิตที่ทำได้ 

ผู้นำด้านการผลิตเกือบ 6 ใน 10 (57% ทั่วโลก, 63% ในเอเชีย-แปซิฟิก) คาดว่าจะสามารถเพิ่ม visibility ในทุกขั้นตอนการผลิต และในซัพพลายเชนได้ภายในปี 2029 แต่ประมาณ 1 ใน 3 (33% ทั่วโลก, 38% ในเอเชีย-แปซิฟิก) บอกว่าความไม่ลงรอยกันระหว่าง IT และ OT เป็นอุปสรรคที่สำคัญในเส้นทางสู่ digital transformation นอกจากนี้ 86% ของผู้นำการผลิตทั่วโลกยอมรับว่ากำลังเผชิญปัญหาในการตามนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทัน รวมไปถึงการนำอุปกรณ์ เซ็นเซอร์ และเทคโนโลยีรวมเข้ากับโรงงาน/สำนักงานและซัพพลายเชน ซึ่ง 82% ของผู้นำด้านการผลิตในเอเชีย-แปซิฟิกก็กำลังเผชิญปัญหาเดียวกัน ทั้งนี้บริษัท และองค์กรต่าง ๆ สามารถนำโซลูชันของซีบร้าไปพัฒนาการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพได้ เพิ่มการรักษาความปลอดภัยและการจัดการให้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งนำข้อมูลจากการวิเคราะห์มาใช้ยกระดับธุรกิจต่อ 

เสริมทักษะแรงงาน พร้อมยกระดับคุณค่า และประสิทธิภาพ 

ผลการสำรวจของซีบร้าเผยให้เห็นว่า ผู้ผลิตกำลังปรับกลยุทธ์สำหรับการเติบโต ด้วยการนำ AI และเทคโนโลยีอื่น ๆ มาปรับใช้ เพื่อปรับโฉมการผลิต พร้อมสร้างเสริมทักษะของแรงงานภายใน 5 ปี ข้างหน้า เกือบ 3 ใน 4 (73%) ของผู้นำด้านการผลิตทั่วโลกวางแผนที่จะฝึกแรงงานใหม่ให้มีทักษะด้านการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ส่วนใน ขณะที่ 7 ใน 10 คาดว่าจะนำเทคโนโลยีที่เน้นความคล้องตัวในการใช้งานเป็นหลักมาช่วยพัฒนาแรงงาน ส่วนในเอเชีย-แปซิฟิกมี 76% ของผู้นำด้านการผลิตที่วางแผน และคาดการณ์เช่นเดียวกัน 

 

เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ผู้นำด้านการผลิตทั่วโลกกำลังปรับใช้ มีทั้งแท็บเล็ต (51% ทั่วโลก, 52% ในเอเชีย-แปซิฟิก), คอมพิวเตอร์พกพา (55% ทั่วโลก, 53% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และซอฟต์แวร์สำหรับจัดการแรงงาน (56% ทั่วโลก, 62% ในเอเชีย-แปซิฟิก) นอกจากนี้ 6 ใน 10 ของผู้นำการผลิต (61% ทั่วโลก, 65% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ก็วางแผนที่จะนำคอมพิวเตอร์พกพาแบบสวมได้มาใช้เสริมประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานด้วย 

ผู้นำด้านการผลิตที่เป็นผู้บริหารระดับสูง รวมไปถึงในสาย IT และ OT ทราบดีว่าการพัฒนาแรงงานต้องทำมากกว่าแค่นำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ 6 ใน 10 ของผู้นำด้านการผลิตทั่วโลก และ 66% ของผู้นำด้านการผลิตในเอเชีย-แปซิฟิก ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแรงงานอย่างต่อเนื่อง การสร้างเสริมทักษะใหม่ให้พนักงาน (69% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และการพัฒนาสานอาชีพ (56% ในเอเชีย-แปซิฟิก) เพื่อดึงดูดแรงงานที่มีความสามารถสูงในอนาคตมากที่สุด 

นำ automation มาช่วยเพิ่มคุณภาพให้ถึงขั้นสุด 

ปัจจุบันผู้ผลิตในแต่ละภาคส่วนให้ความสำคัญกับจัดการคุณภาพมาก แต่ต้องเผชิญกับปัญหาทรัพยากรที่ลดลง ผลสำรวจของซีบร้าชี้ให้เห็นว่า ปัญหาหลักในด้านการจัดการคุณภาพที่ผู้นำด้านการผลิตต้องเผชิญ ประกอบไปด้วยการติดตามการดำเนินงานในซัพพลายเชนได้แบบเรียลไทม์ (33% ทั่วโลก, 40% ในเอเชีย-แปซิฟิก), การปฏิบัติตามมาตรฐาน และกฎระเบียบใหม่ (29% ทั่วโลก, 30% ในเอเชีย-แปซิฟิก), การผสานรวมข้อมูล (27% ทั่วโลก, 31% ในเอเชีย-แปซิฟิก), และการรักษาสถานะของการตรวจสอบย้อนกลับให้คงที่ (27% ทั่วโลก และในเอเชีย-แปซิฟิก) 

ในอีก 5 ปีข้างหน้า แผนการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ของผู้นำด้านการผลิตจะสามารถรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้ เช่น วิทยาการหุ่นยนต์ (65% ทั่วโลก, 72% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ระบบตรวจสอบคุณภาพการผลิต หรือ machine vision (66% ทั้งทั่วโลก และในเอเชีย-แปซิฟิก) RFID (66% ทั่วโลก, 72% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และ fixed industrial scanners (57% ทั่วโลก, 62% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ผู้นำด้านการผลิตส่วนมากเห็นตรงกันว่าการโซลูชัน automation เหล่านี้มีหลายปัจจัยเป็นตัวขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะสูงให้กับแรงงาน (70% ทั่วโลก, 75% ในเอเชีย-แปซิฟิก) การบรรลุข้อตกลงด้านระดับการบริการ (69% ทั่วโลก, 70% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และการเพิ่มความยืดหยุ่นพื้นที่ (64% ทั่วโลก, 66% ในเอเชีย-แปซิฟิก) 

ผลการสำรวจที่สำคัญของแต่ละภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (APAC) 

  • แม้ตอนนี้มีเพียง 30% ของผู้นำด้านการผลิตในเอเชีย-แปซิฟิกที่ใช้ machine vision ในพื้นที่ผลิต แต่ในอีก 5 ปี ข้างหน้า 67% ของผู้ผลิตนั้นกำลังปรับใช้ machine vision หรือวางแผนที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ 

ยุโรป, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา (EMEA) 

  • การเสริมทักษะการใช้ข้อมูล และเทคโนโลยีให้ดีขึ้นให้แรงงาน คือกลยุทธ์ขับเคลื่อนการเติบโตอันดับหนึ่งที่ 46% ของผู้นำด้านการผลิตใช้ในปัจจุบัน และ 71% ของผู้นำด้านการผลิตจะค่อย ๆ ใช้ในอีก 5 ปี ข้างหน้า 

ละตินอเมริกา (LATAM) 

  • ในปัจจุบันมีเพียงแค่ 24% ของผู้นำด้านการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีระบบติดตามสินค้า อย่างไรก็ตาม 74% ของผู้นำด้านการผลิตกำลังปรับใช้ หรือวางแผนที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ในอีก 5 ปี ข้างหน้า 

อเมริกาเหนือ 

  • 68% ของผู้นำด้านการผลิตให้ความสำคัญกับโปรแกรมพัฒนาทักษะแรงงานมากที่สุด 

YDM Thailand ถอดกลยุทธ์คอนเทนต์ครีเอเตอร์ เทรนด์มาร์เก็ตติ้งมาแรงปี 2024 ขานรับดีมานด์ตลาดโต เผยกลเม็ดสร้างแบรนด์ แนะทริคสร้างคอนเทนต์ทรงพลังเพิ่ม Engagement สตอรี่เทลลิ่งผ่านไลฟ์สไตล์ พลิกเกมธุรกิจคว้าโอกาสท่ามกลางการแข่งขันในตลาด โชว์เคสหนุนธุรกิจ Streaming Platform ดึง KOLอินฟลูเอนเซอร์ ผสมคอนเทนต์ครีเอทีฟ สร้าง Engagement เพิ่ม 50% เพิ่มยอด New streaming สูงที่สุดใน South East Asia ในระยะเวลา 1 เดือน

นายธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด เผยว่า เทรนด์มาร์เก็ตติ้งปีนี้ การสื่อสารแบรนด์อาจไม่ได้จบเพียงแค่สื่อโฆษณาผ่านทีวี ออนไลน์ หรือป้ายโฆษณา แต่ถึงยุคที่แบรนด์ต้องปรับตัวใช้กลยุทธ์คอนเทนต์ครีเอเตอร์ KOL และอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งเป็นเทรนด์มาร์เก็ตติ้งมาแรงในปี 2567 โดยพบว่าผู้บริโภคมากกว่า 46% เลือกเชื่อข้อมูลแนะนำ หรือการรีวิวใช้จริงในออนไลน์จากผู้บริโภคคนอื่น พอ ๆ กับการเชื่อคำแนะนำจากคนใกล้ชิดหรือครอบครัว ซึ่งสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้เวลาแต่ละวันมากกว่า 5 ชั่วโมงไปกับโซเชียลมีเดีย โดยแต่ละกลุ่มเจเนอเรชั่นต่างเลือกเสพสื่อบนแต่ละแพลตฟอร์มที่ต่างกัน อาทิ ในกลุ่ม Gen X ใช้แพลตฟอร์ม Facebook รองลงมาคือ Youtube, Tiktok Gen Y เลือกใช้แพลตฟอร์ม Facebook รองลงมาคือ Youtube, Instagram, Tiktok และกลุ่ม Gen Z ใช้แพลตฟอร์ม Tiktok มากที่สุด รองลงมาคือ Instagram และ Youtube

 

เมื่อผู้บริโภคเข้าถึงโซเชียลมีเดียบนหลากหลายแพลตฟอร์ม ทำให้มีพื้นที่สื่อสาร สร้างสตอรี่เทลลิ่ง แสดงความคิดเห็นที่เป็นตัวเองมากขึ้น นำไปสู่โอกาส พลิกบทบาทจากผู้เล่นโซเชียลสู่การเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์เพิ่มขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยมีคอนเทนต์ครีเอเตอร์มากกว่า 2 ล้านคน ซึ่งยังไม่นับรวมคนไทยที่ใช้งานโซเชียลมีเดีย เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสาร และเพื่อความบันเทิง ทั้งในรูปแบบแสดงความคิดเห็น พูดคุยกันในกลุ่มชุมชนของตนเอง ทำให้แบรนด์จำเป็นต้องเข้าถึงแก่นแท้ของกลเม็ดในการใช้คอนเทนต์ครีเอเตอร์เพื่อการสร้างแบรนด์ ซึ่งการใช้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ให้ทรงประสิทธิภาพที่สุด วายดีเอ็ม แนะ 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดเป้าหมายแบรนด์ให้ชัดเจน ต้องรู้ตำแหน่งของแบรนด์ในตลาด และกำหนดความต้องการของแบรนด์ในการสื่อสารสู่เป้าหมายให้ชัดเจน เช่น ต้องการสื่อสารกับผู้บริโภคเพื่อสร้างการรับรู้ เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สร้างการมีส่วนร่วม หรือเพื่อสร้างยอดขาย เป็นต้น

2. ทำความเข้าใจคอนเทนต์ครีเอเตอร์ โดยเฉพาะบทบาทของคอนเทนต์ครีเอเตอร์แต่ละกลุ่ม ที่มีจุดแข็งต่างกัน เช่น อินฟลูเอนเซอร์ แค่ชูผลิตภัณฑ์ก็สามารถทำให้สินค้าเป็นที่ต้องการจนทำให้ขาดในตลาด และ KOL เน้นมุมมองการแสดงความเห็นอันทรงพลัง พูดอะไรคนก็เชื่อถือ หรือคอนเทนต์ครีเอเตอร์สร้างคอนเทนต์

สตอรี่เทลลิ่งผ่านไลฟ์สไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ และ Mix บางคนเป็นหลายอย่าง เป็นทั้ง KOL + คอนเทนต์ครีเอเตอร์ นำเสนอเรื่องราวยาก ๆ ผ่านการทำคอนเทนต์แนวเล่าให้ง่าย สนุก ไปพร้อม ๆ กัน

3. ใช้เทคโนโลยีช่วยเลือก การดึงเทคโนโลยี AI ช่วยวิเคราะห์เลือกใช้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ หรือแคมเปญที่ตอบโจทย์เหมาะกับแบรนด์ ทั้งไลฟ์สไตล์ รูปแบบคอนเทนต์ มีฐานแฟนคลับหรือผู้ติดตามที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารเดียวกับแบรนด์ โดย YDM มองเห็นบทบาทความสำคัญในส่วนนี้ ในการพัฒนาเครื่องมือ AI ช่วยวิเคราะห์การเลือกใช้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ เพื่อขับเคลื่อนทุกแคมเปญการตลาดให้กับทุกแบรนด์พาร์ทเนอร์อย่างมีศักยภาพที่สามารถวัดผลได้ในระยะเวลาที่กำหนด

4. คอนเทนต์สร้าง Trust ต้องไม่ยัดเยียด ให้พื้นที่คอนเทนต์ครีเอเตอร์ได้สร้างเรียลคอนเทนต์ บนสตอรี่เทลลิ่งผ่านคาแรกเตอร์และไลฟ์สไตล์ของตัวเองอย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ตีกรอบหรือยัดเยียดคอนเทนต์แบรนด์เข้าไปในการสื่อสารมากเกินไป เพราะอาจทำให้กลบจุดเด่นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ไม่เป็นตัวเอง คอนเทนต์ก็จะไม่สนุก และอาจจะส่งผลต่อ Engagement

5. วัดผลให้ได้ กำหนดตัวชี้วัดเกณฑ์ความสำเร็จที่ชัดเจน เช่น online วัดผลผ่านการแทรค Offline ต้องทำ Correlation เพื่อหาความสัมพันธ์ในการใช้ KOL กับยอดขาย ส่วน KOL ไม่ใช่ one time marketing แต่จำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอจึงวัดผลได้ และที่สำคัญแบรนด์ไม่ควรมองข้ามการลงทุนกับอินฟลูเอนเซอร์กระแสที่มีค่าตัวสูง แม้จะกระตุ้นยอดขายได้เพียงครั้งเดียว ซึ่งหลายแบรนด์อาจมองว่าเหมือนจะไม่คุ้ม หรือขาดทุน แต่ทางกลับกัน การลงทุนดังกล่าวเป็นหนึ่งในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทำให้คนรู้จัก จดจำแบรนด์ได้ เปิดใจทดลองผลิตภัณฑ์ เพิ่มโอกาสการซื้อซ้ำ

 

“พร้อมกันนี้ แนวคอนเทนต์ทรงพลังเพิ่ม Engagement ให้แบรนด์คือหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญมากในการร่วมงานกับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ซึ่งแนวคิดที่แบรนด์ควรตระหนักคือ 1. ครีเอทีฟคอนเทนต์ที่ไม่เหมือนใคร แตกต่างอย่างมีไลฟ์สไตล์ 2. ตามเทรนด์ กระแสที่ถูกพูดถึงในช่วงเวลานั้น เทรนด์มาต้องทำเลย ก่อนตกเทรนด์ ไม่ว่าจะเป็น แอคติ้ง เพลง แฮชแท็ก กระแสต่าง ๆ ในโซเชียลแพลตฟอร์ม แต่ข้อควรระวัง คือต้องวิเคราะห์ภาพลักษณ์และความเหมาะสม เพราะไม่ใช่ทุกเทรนด์ที่แบรนด์จะเกาะกระแสได้ 3. Unknown fact การนำเสนอคอนเทนต์แบบที่คนไม่เคยรู้มาก่อน จะสร้างความน่าสนใจ 4. Build Discussion เช่น ทานหมี่หยก “ทีมลวก/ไม่ลวก” คอนเทนต์ที่ให้คนมาแสดงความคิดเห็นหรือถกเถียงกันต่อ และ 5. คอนเทนต์เหมาะกับ Platform เช่น Tiktok ต้องเสนอเป็นวิดีโอสั้น ๆ ดูเรียล Facebook เสนอเป็นภาพหรือ Photo album หรือ IG เน้นรูปสวย Reels ดูดีมีระดับตั้งแต่ภาพแรก” นายธนพล กล่าวเสริม

อย่างไรก็ดี หากแบรนด์ดำเนินกลยุทธ์การตลาดอย่างถูกต้อง จะสามารถขับเคลื่อนธุรกิจสู่ผลลัพธ์ตามเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างโชว์เคสของ YDM จากกลุ่มธุรกิจ Streaming Platform ดึง KOLอินฟลูเอน

เซอร์ ผสมคอนเทนต์ครีเอทีฟ สามารถสร้างผลลัพธ์เพิ่ม Engagement มากขึ้น 50% และเพิ่มยอด New streaming สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระยะเวลา 1 เดือน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกี่ยวกับการศึกษาและแนวทางการใช้กลยุทธ์คอนเทนต์ครีเอเตอร์ ที่สอดรับกับเทรนด์มาร์เก็ตติ้งในปี 2567 ได้ที่วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) https://www.ydmthailand.com

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ร่วมกับ และเดอะ ฟินแล็บ หน่วยงานบ่มเพาะผู้ประกอบการเพื่อพัฒนานวัตกรรมภายใต้ธนาคารยูโอบี สนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไทยมากกว่า 250 รายในการปรับธุรกิจสู่ดิจิทัล ภายใต้โครงการ Smart Business Transformation หรือ SBTP ของธนาคารยูโอบี ประจำปี 2565

โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการต่างได้รับประโยชน์หลายประการ อาทิ การพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจ ลดต้นทุนการดำเนินงาน มีการบริหารองค์กรที่ดีขึ้น และปรับปรุงความพร้อมสำหรับการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืนได้อย่างบูรณาการ โดยผลลัพธ์เหล่านี้สอดคล้องกับผลสำรวจ ASEAN SME Transformation Study 2022 ของธนาคารยูโอบี ซึ่งพบว่าร้อยละ 50 ของ SMEs ในภูมิภาคอาเซียนมีมุมมองในแง่บวกต่อการฟื้นฟูกิจการของพวกเขา โดยร้อยละ 50 ของ SMEs ไทยยังตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การขับเคลื่อนสู่แนวทางความยั่งยืน และการมีส่วนร่วมของลูกค้าเนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไป

นางสาวสิรินันท์ จิรดิลก ผู้อำนวยการอาวุโส Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “นอกจากการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ดิจิทัลแล้ว แนวคิดเรื่องความยั่งยืนก็ส่งผลต่อวิธีคิดในด้านแนวทางการดำเนินงานของ SMEs ด้วยเช่นกัน จากผลสำรวจระบุว่า 2 ใน 3 หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ของ SMEs ไทย มองว่าแนวทางความยั่งยืนกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญที่จะส่งผลต่อธุรกิจของพวกเขา”

นับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ SBTP ในปี 2562 เราได้ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการในประเทศไทยมากกว่า 900 รายให้เกิดการพัฒนาและการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลมากยิ่งขึ้น เราเสริมความพร้อมให้กับ SMEs ด้วยทักษะทางดิจิทัลและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องเพื่อที่ให้พวกเขาสามารถแข่งขันในตลาดได้ อีกทั้งพวกเขายังเรียนรู้วิธีการบูรณาการความยั่งยืนให้เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจของตนเองและได้รู้จักกับระบบการเงินสีเขียวเพื่อความสำเร็จในระยะยาวได้”

ตลอดระยะเวลา 3 เดือนของการเข้าร่วมโครงการ ผู้ประกอบการไทยได้นำโซลูชันดิจิทัลไปปรับใช้ รวมถึงแนวทางการทำธุรกิจและแนวคิดด้านความยั่งยืน ภายใต้คำแนะนำของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย และพันธมิตรในโครงการ ที่คอยช่วยพวกเขาให้สามารถเดินหน้ากระบวนการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจเพื่อรองรับความท้าทายใหม่ได้

สำหรับโซลูชันที่ผู้ประกอบการนำไปใช้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูล สามารถช่วยจัดการความท้าทายต่างๆ ที่ธุรกิจเผชิญอยู่ อาทิ การวิเคราะห์และจัดการข้อมูลภายในที่เก็บบันทึกมา เพื่อทำความเข้าใจกับลูกค้าทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและลูกค้าใหม่ได้ดียิ่งขึ้น การปรับปรุงการตลาดดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาขั้นตอนการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ และการจัดการต้นทุนที่ดีขึ้น

ผู้ประกอบการไทย เผยผลลัพธ์เชิงบวกที่ได้รับจากโครงการ Smart Business Transformation โดย SMEs ที่เข้าร่วมโครงการ SBTP ประจำปี 2565 เปิดเผยว่าพวกเขาสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้สูงขึ้น และการมีส่วนร่วมจากลูกค้าเพิ่มขึ้นได้ด้วยการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพิ่มยอดขายได้มากขึ้นจากการใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัล ในขณะที่ต้นทุนด้านการตลาดและการปฏิบัติงานนั้นลดลง อีกทั้งพวกเขายังสามารถสร้างความเข้าใจ และความมุ่งมั่นในการเปิดรับแนวทางความยั่งยืนของทั้งองค์กร จากผู้บริหาร เจ้าของธุรกิจ และผู้มีอำนาจในการตัดสินใจได้ด้วย

นายชลวัส เรืองปรีชาเวช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คลินตันอินเตอร์เทรด จำกัด ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าและปั๊มน้ำ กล่าวว่า “โครงการ SBTP ประจำปี 2565 ช่วยผลักดันการเปลี่ยนผ่านธุรกิจของเราสู่ดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว เราเลือกใช้งาน SAP B1 ซึ่งเป็นหนึ่งในซอฟต์แวร์สำคัญในการบริหารจัดการและนำข้อมูลที่ถูกจัดเก็บมาจัดสรรได้อย่างเหมาะสม ทำให้เราสามารถปรับปรุงการดำเนินงานเอกสารต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และการเห็นข้อมูลแบบเรียลไทม์นี้ ก็ช่วยให้การรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นได้ทันที นอกจากนี้หนึ่งในพันธมิตรของโครงการ SBTP ก็ยังให้คำแนะนำแก่เราในเรื่องการจัดการช่องหว่างระหว่างเจนเนอเรชันในที่ทำงาน ที่เราเชื่อว่าจะช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างผลงานให้กับเราได้เป็นอย่างดี”

นายคุณากร ธนสารสมบัติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานไทยแลนด์นิตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อยืดตราห่านคู่ กล่าวว่า “ห่านคู่เข้าร่วมโครงการ SBTP เป็นระยะเวลา 2 ปีแล้ว โดยเห็นผลเชิงบวกตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีที่สองที่เราเริ่มนำโซลูชันเทคโนโลยีอย่าง SAP B1 เข้ามาใช้ ซึ่งช่วยเราพัฒนาการบริหารจัดการต้นทุนและการจัดเก็บข้อมูลทางธุรกิจ โดยข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมมานี้ ก็ทำให้เราสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้มากกว่าเดิมในสายการผลิตของเรา ช่วยพาเราเดินหน้าผันตัวสู่การเป็นผู้ผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้เรายังนำโซลูชันทางธุรกิจอย่าง UOB mCollect มาช่วยลดภาระในส่วนงานการเรียกเก็บและชำระเงิน ส่งผลให้พนักงานขายของเรา สามารถทุ่มเทให้กับการบริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น”

นายปิติพัฒน์ มงคลอริยนันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคเอ็มพี พาร์ทเนอร์ จำกัด ผู้ประกอบการให้คำปรึกษาด้านงานก่อสร้าง กล่าวว่า “เราได้เรียนรู้การนำเอาแนวคิดลูกค้าคือศูนย์กลาง (customer centric) มาปรับใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันของเรา ทำให้แอปพลิเคชันสามารถระบุถึงความต้องการของลูกค้าได้ ทำให้ฐานลูกค้าของเราขยายตัวขึ้นจาก 20 เป็น 700 ราย นอกจากนี้เราต้องขอบคุณ SBTP ที่แนะนำ Zaviago ซึ่งเป็นโซลูชันด้านการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการระบุเป้าหมายของสื่อออนไลน์ สิ่งนี้ทำให้เราสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราได้ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด”

นายจักกเดช อัศวโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอราเมง จำกัด กล่าวว่า “ข้อมูลทางธุรกิจและข้อมูลของลูกค้าเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญสูงที่สุดเสมอ และโครงการ SBTP ช่วยให้เราสามารถติดตั้งเครื่องมือในการบริหารจัดการข้อมูลได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าได้ ช่วยให้เราลดต้นทุนและเพิ่มยอดขาย ขณะเดียวกันก็มอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า ที่สำคัญ SBTP ยังช่วยปูเส้นทางให้เราในการมุ่งสู่การทำธุรกิจแบบ Zero Waste ตามนโยบายการทำธุรกิจที่ยั่งยืนด้วย โดยเรามีแผนของเราจะเริ่มจากการทำครัวกลางในปี 2566 นี้ด้วย”

นายพาวรอวัชระ ยุวนะศิริ กรรมการผู้จัดการ RainForest Green Community กล่าวว่า “เป้าหมายของเราคือการสร้างโครงการคอมมูนิตี้มอลของเราให้เป็น ‘ชุมชนสีเขียว’ โดยสิ่งที่เราได้รับจากโครงการไม่ได้มีแค่คำแนะนำเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น แต่ทำให้เราได้รู้จักโซลูชันทางการเงินที่ยั่งยืนจากธนาคารยูโอบีอย่าง U-Solar ที่เรามองว่าเป็นโอกาสของเราในการนำพลังงานสะอาดเข้ามาใช้ในคอมมูนิตี้มอลของเราอีกด้วย โครงการ SBTP ได้แนะนำให้เรารู้จักกับพันธมิตรของโครงการ ที่เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีส่วนช่วยในการลดค่าใช้จ่ายและลดการใช้พลังงานเมื่อเราติดตั้งโซลูชันสำเร็จ ในด้านปรับองค์กรสู่ดิจิทัล เราเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในการบริหารจัดการต้นทุน การจัดการภาษีองค์กร กระบวนการทำงาน จากการที่เรานำ PEAKaccount ซึ่งเป็นโซลูชันการทำบัญชีออนไลน์และบริหารจัดการต้นทุนที่ช่วยในด้านการบริหารจัดการข้อมูลมาใช้งาน”

โครงการ SBTP เปิดรับเจ้าของธุรกิจ SMEs หรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ที่พร้อมเปิดรับแนวคิดใหม่ในการทำธุรกิจ มีความกระตือรือร้นในการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีและความพร้อมในการลงทุนด้านเครื่องมือดิจิทัล และสามารถให้เวลากับโครงการได้อย่างเต็มที่ตลอดระยะเวลาสามเดือนของโครงการ 

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU)

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click