บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้นำอุตสาหกรรมอาหารทะเลชั้นนำระดับโลก เปิดบ้านต้อนรับกลุ่มนักธุรกิจ Food Tech Startup 12 ราย จากประเทศอิสราเอล และคณะทำงานจากสถานฑูตอิสราเอล เข้าเยี่ยมชม ศูนย์นวัตกรรมไทยยูเนี่ยน หรือ Global Innovation Center (GIC) เพื่อดูงานด้านการวิจัยและพัฒนาด้านอาหารแบบยั่งยืนและหลากหลายภายใต้กลยุทธ์ SeaChange®2030 พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมอาหารจากผู้เชี่ยวชาญ โดยมี ดร.ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการ และนายธวัช สุธาสินีนนท์ รองผู้อำนวยการ ดร.คริสโตเฟอร์ ออแรนด์ หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมแบบเปิดไทยยูเนี่ยนและคณะกรรมการโครงการ สเปซ-เอฟ ให้การต้อนรับ ณ อาคารเอสเอ็ม ทาวเวอร์

กรุงเทพฯ 28 มีนาคม 2566 - สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) ร่วมกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด เปิดตัว 20 สตาร์ทอัพ ภายใต้โครงการ SPACE-F รุ่นที่ 4 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โครงการ SPACE-F นั้น มุ่งเน้นให้สตาร์ทอัพในธุรกิจเทคโนโลยีอาหารได้พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม รองรับกับความท้าทายในปัจจุบันและอนาคตที่ต้องเผชิญในอุตสาหกรรม สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมจะได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ โอกาสในการเข้าถึงเครือข่ายและแหล่งเงินทุน เพื่อการเติบโตของธุรกิจ

นอกจากนี้ สตาร์ทอัพทุกทีมที่เข้าร่วมโครงการยังมีโอกาสเข้าใช้สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงโอกาสในการสร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดร่วมกับ Thai Union Group PCL หนึ่งในผู้ผลิตอาหารทะเลชั้นนำที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ในปีนี้ เรามีสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 4 ทั้งสิ้น 20 ราย แบ่งออกเป็น 10 ราย จาก 3 ประเทศ เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ (Incubator program) และ 10 ราย จาก 6 ประเทศ เข้าร่วมโครงการเร่งการเติบโต (Accelerator program)

ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ Group Director, Global Innovation บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานเปิดตัวโครงการว่า ประเทศไทย เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ที่สุดโลก จนได้รับการขนานนามว่า “ครัวของโลก” แต่หากมองในมุมการสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านอาหาร หรือสตาร์ทอัพที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ ก็จะพบว่าประเทศไทยเมื่อ 5 ปีที่แล้วไม่ได้มีความโดดเด่นทางด้านนี้เลย ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นจุดเริ่มที่ทำให้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จึงจับมือกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) และมหาวิทยาลัยมหิดล สร้างแพลตฟอร์มที่ดึงดูดสตาร์ทอัพที่พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านอาหาร ที่น่าสนใจมาบ่มเพาะ และเร่งการเติบโตของสตาร์ทอัพในประเทศไทยผ่าน SPACE-F Global FoodTech Incubator and Accelerator ที่มีการเตรียมการระบบนิเวศ และความเชี่ยวชาญให้เพรียบพร้อม เพื่อผลักดันให้สตาร์ทอัพเติบโตและประสบผลสำเร็จได้เร็ว สร้างอิมแพคให้อุตสาหกรรมได้ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มของเราได้มีการสนับสนุนสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมอย่างเต็มที่ โดยวันนี้เรามีสตาร์ทอัพกว่า 90% ที่ยังคงมีการเติบโตทางธุรกิจ และสร้าง

คุณค่าต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิสัยทัศน์และความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน เราเชื่อว่าประเทศไทยจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านอาหารของโลก เป็นศูนย์กลางเพื่อสร้าง บ่มเพาะ เร่งการเติบโตเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านอาหารระดับโลก”

 

FoodTech startups 10 ราย เข้าร่วม Incubator program

1. ImpacFat (Singapore): Enhancing nutrition and taste of alternative meats with fish cell-based fat

2. Marina Biosciences (Singapore): cultivate seafood delicacies to make exquisite foods more exquisite, whilst saving the lives of animals

3. Mycovation (Singapore): Transforming Mycelium into novel ingredients using fermentation technology

4. Nutricious (Thailand): Egg White Protein-Rich Beverage

5. Plant Origin (Thailand): Egg Alternative from Rice Bran Protein

6. PROBICIENT (Singapore): the world’s first probiotics beer

7. Rak THAIs by Angkaew Lab (Thailand): Fermented espresso cold brew coffee

8. The Kawa Project (United States): sustainable alternative to cocoa powder

9. Trumpkin (Thailand): non-dairy cheese from pumpkin seed

10. Zima Sensors (Singapore): Package Leak Detection, made seamless

FoodTech startups 10 ราย เข้าร่วม Accelerator program

1. Genesea (Israel): Seaweed food tech company, producing alternative protein extraction & ingredients from macro-algae

2. Lypid (United States): Alternative fat solutions

3. NovoNutrients (United States): The low-cost, globally scalable solution for making alternative protein by capturing carbon

4. TeOra (Singapore): Building the future of sustainable food for 10 billion humans

5. AlgaHealth (Israel): We put healthy into food!

6. Seadling (Malaysia): Seaweed Functional Nutrition

7. MOA (Spain): healthy food for a sustainable future

8. Pullulo (Singapore): ACHIEVING A SUSTAINABLE FUTURE WITH MICROBIAL PROTEIN

9. The Leaf Protein Co. (Australia): Unlocking Earth’s most abundant source of protein

10. AmbrosiaBio (Israel): Enabling a healthy lifestyle without compromising the product's taste

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ SPACE-F สามารถเข้าชมได้ที่ https://www.space-f.co

คาร์กิลล์ ประเทศไทย นำโดย นายสุเกียรติ กิตติธรรมโชติ (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้อำนวยการฝ่ายภาพลักษณ์และองค์กรสัมพันธ์ บริษัท คาร์กิลล์ สยาม จำกัด ร่วมงาน Agro FEX 2022 งานแสดงสินค้าเทคโนโลยีเกษตรและอาหารแปรรูป ซึ่งจัดโดยสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานเอกชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดในภาคอีสาน โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (ที่ 3 จากซ้าย) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี (ซ้ายสุด) รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายเกรียงไกร เธียรนุกุล (ที่ 3 จากขวา) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (ที่ 2 จากขวา)  อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และนางธิดารัตน์ รอดอนันต์ (ขวาสุด) ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา

ภายในงาน คาร์กิลล์ ประเทศไทยได้จัดแสดงบูธนิทรรศการบอกเล่าถึงการพัฒนาไอเดียใหม่ๆ เพื่อยกระดับและสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านอาหารและสินค้าเกษตรด้วยการยึดหลัก BCG โมเดล หรือเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อสร้างความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน และแสดงความมุ่งมั่นของคาร์กิลล์ในการดำเนินธุรกิจอย่างปลอดภัย มีความรับผิดชอบและส่งเสริมความยั่งยืน โดยงานจัดขึ้น ณ โคราช ฮอลล์ (Korat Hall) ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช เมื่อเร็วๆ นี้

X

Right Click

No right click