“เอ็ดดูพลอยส์” (EduPLOYS) ผู้ให้บริการด้านนวัตกรรมบอร์ดเกมเพื่อเสริมทักษะและความรู้ อย่างครบ วงจร ชู “เอแม็ท” (A-MATH) เกมต่อเลขคำนวณคณิตศาสตร์, “ครอสเวิร์ดเกม” เกมต่อศัพท์ภาษาอังกฤษ และ “คำคม” เกมต่อศัพท์ภาษาไทย สินค้าบอร์ดเกมเพื่อการศึกษาเรือธง ตอบรับดีมานด์กำลังซื้อตลาดของเล่นเสริมพัฒนาการที่ยังมีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง สมาคมการค้าของเล่นและผลิตภัณฑ์เด็กไทยคาดการณ์ปี 2566 ตลาดจะโตกว่า 10 % มูลค่าตลาดรวม 4,000-5,000 ล้านบาท พร้อมเดินหน้ากลยุทธ์สร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์ EduPLOYS กับกลุ่มผู้บริโภคทุกวัย ผ่านกิจกรรมการแข่งขัน “เอ็ดดูพลอยส์ ครอสเวิร์ดเกม เอแม็ท คำคม และซูโดกุ ชิงแชมป์ประเทศไทย” ที่มีการแข่งขันตลอดทั้งปี พร้อมผลักดันยกระดับ “EdSport เกมกีฬาทางปัญญา” ให้กลายเป็นกีฬาสากลระดับชาติ

 

นางสาวลักษณ์สิดี พลอยแสงงาม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ดดูพลอยส์ เกมแอนด์ทอย จำกัด หรือ EduPLOYS เปิดเผยว่า EduPLOYS เดินหน้าสร้างการรับรู้และทำการตลาดผลิตภัณฑ์เรือธงในกลุ่มสินค้าบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา ได้แก่ “เอแม็ท” (A-MATH) เกมต่อเลขคำนวณคณิตศาสตร์ ,“ครอสเวิร์ดเกม” เกมต่อศัพท์ภาษา อังกฤษ และ “คำคม” เกมต่อศัพท์ภาษาไทย อย่างต่อเนื่อง ตอบรับกระแสความต้องการของตลาดจากการเปิดภาคการศึกษาใหม่ และจากกระแสการจับจ่ายของกลุ่มผู้ปกครองที่ต้องการรัดเข็มขัด โดยมองหาของเล่นที่คุ้มค่า ในราคาที่จับต้องได้ รวมถึงเป็นของเล่นที่เล่นได้สนุก ทั้งช่วยเสริมทักษะความรู้ เป็นของเล่นที่สามารถเล่นได้หลากหลายวัย รองรับสมาชิกในครอบครัวให้สามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้

สมาคมการค้าของเล่นและผลิตภัณฑ์เด็กไทย ได้คาดการณ์ว่าปี 2566 ตลาดของเล่นเด็กจะเติบโตกว่า 10 % มูลค่าตลาดรวม 4,000-5,000 ล้านบาท และมองว่ากลุ่มผู้ปกครองยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลลูกและนิยมซื้อของเล่นเด็กที่เสริมพัฒนาการ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นโอกาสของ “เอแม็ท” (A-MATH) เกมต่อเลขคำนวณคณิตศาสตร์ ,“ครอสเวิร์ดเกม” เกมต่อศัพท์ภาษาอังกฤษ และ “คำคม” เกมต่อศัพท์ภาษาไทย ที่จะสามารถเข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับผู้ปกครอง และทุกคนที่กำลังมองหาของเล่นที่ตอบโจทย์ ทั้งในด้านความสนุกสนาน เสริมทักษะความรู้ และราคาเข้าถึงได้ทุกคน

“EduPLOYS เดินกลยุทธ์แผนการตลาดในระยะยาว โดยหนึ่งพันธกิจของบริษัท ฯ นั่นคือการผลักดันยกระดับ “EdSport เกมกีฬาทางปัญญา” ให้กลายเป็นกีฬาสากลระดับชาติ ด้วยการจัดกิจกรรมการแข่งขัน “เอ็ดดูพลอยส์

ครอสเวิร์ดเกม เอแม็ท คำคม และซูโดกุ ชิงแชมป์ประเทศไทย” ที่มีการแข่งขันตลอดทั้งปี โดยจัดทัวร์นาเมนท์การแข่งขันตั้งแต่ในระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค ไปจนถึงระดับประเทศ เพื่อสร้างการรับรู้และปลุกกระแสความนิยมให้กับสาธารณะชนว่าการเล่นแข่ง เอแม็ท” (A-MATH) เกมต่อเลขคำนวณคณิตศาสตร์ ,“ครอสเวิร์ดเกม” เกมต่อศัพท์ภาษา อังกฤษ และ “คำคม” เกมต่อศัพท์ภาษาไทย ไม่ได้เป็นเพียงกิจกรรมเพื่อความผ่อนคลายในยามว่าง แต่เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ที่ต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนทักษะ บ่มเพาะความชำนาญในการคิดวิเคราะห์วางแผน และคอยเก็บเกี่ยวประสบการณ์จนมีความเชี่ยวชาญ เหมือนกับกีฬาชนิดอื่นเช่นเดียวกัน และเยาวชนหรือผู้เล่นที่ชนะและเชี่ยวชาญก็เปรียบเสมือนนักกีฬา โดยเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการตลาดที่สร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์ EduPLOYS กับกลุ่มผู้บริโภคทุกวัย และเกิดความคุ้นเคยใกล้ชิดระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายที่ได้เล่นเกมกระดานตั้งแต่เด็ก จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็ยังสามารถเล่นได้” นางสาวลักษณ์สิดี กล่าวสรุป

 

สำหรับสินค้า เอแม็ท (A-MATH) เกมต่อเลขคำนวณคณิตศาสตร์ ถือเป็นนวัตกรรมด้านการศึกษาที่ประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาโดยคนไทย ประสบความสำเร็จในการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวิธีการเล่น ด้วยการผสมตัวเลขให้เกิดเป็นสมการคณิตศาสตร์ วางเชื่อมกับสมการที่อยู่บนกระดานเพื่อสร้างสมการใหม่ ก็จะได้รับคะแนน เมื่อจบเกมสรุปคะแนนที่ได้ ฝ่ายใดได้คะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ โดยแบ่งสินค้าออกเป็น 3 รุ่นได้แก่ รุ่นอนุบาล, รุ่นประถม และรุ่นทั่วไป โดยวิธีการเล่นจะโดนออกแบบ มาให้เหมาะสมแก่พัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย

ครอสเวิร์ดเกม เกมต่อศัพท์ภาษาอังกฤษ และ “คำคม” เกมต่อศัพท์ภาษาไทย เป็นเกมกระดานที่ช่วยเสริมทักษะภาษาอังกฤษ และภาษาไทย, ความจำ, ความช่างสังเกต, การคิดวิเคราะห์และการวางแผน ซึ่งมีวิธีการเล่นโดยผสมตัวอักษรให้เกิดเป็นคําศัพท์ วางเชื่อมกับคําศัพท์ที่อยู่บนกระดาน เพื่อสร้างคําศัพท์ใหม่ก็จะได้คะแนน ฝ่ายใดได้คะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ โดยแบ่งสินค้าออกเป็น 3 รุ่นได้แก่ รุ่นอนุบาล รุ่นประถม และรุ่นทั่วไป เช่นกัน

บริษัท บ้านปู (จำกัด) มหาชน อัปเดตความคืบหน้าของการประกวดออกแบบบอร์ดเกมในโครงการ “Energy On Board by BANPU B-Sports Thailand” กับหัวข้อ “Driving Thailand’s E-mobility : เดิน(บอร์ด)เกมขับเคลื่อนอนาคตยานยนต์ไฟฟ้าประเทศไทย” ภายใต้ความร่วมมือกับบอร์ดเกมไนท์ หรือ BGN รายการแคสต์บอร์ดเกมที่มีผู้ชมสูงที่สุดในประเทศไทย โดยหลังจากทีมที่ผ่านเข้ามาถึงรอบสุดท้ายทั้งหมด 9 ทีม ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนนิสิตนักศึกษา 27 คน จาก 11 มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปเพื่อติดอาวุธความรู้เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาและออกแบบบอร์ดเกม โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งจากสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งประเทศไทย บริษัท ฮ้อปคาร์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์มและให้บริการคาร์แชร์ริ่งแห่งแรกในประเทศไทย พร้อมด้วยทีมงานจากหน่วยงานธุรกิจยานพาหนะไฟฟ้าของบ้านปู และผู้เชี่ยวชาญในวงการบอร์ดเกม เพื่อให้ทุกทีมได้เก็บเกี่ยวความรู้และแรงบันดาลใจไปพัฒนาผลงานบอร์ดเกมของแต่ละทีมกันอย่างเต็มที่

 ล่าสุดน้องๆ ทั้ง 9 ทีมได้นำผลงานบอร์ดเกมต้นแบบ (Prototype) มาร่วมกิจกรรม First Impression Review เพื่อให้ทีมบ้านปูและผู้เชี่ยวชาญทางด้านบอร์ดเกมได้ทดลองเล่นผ่านเว็บไซต์ Tabletopia ซึ่งแต่ละทีมสามารถตีโจทย์การออกแบบบอร์ดเกมในประเด็นการขับเคลื่อนอนาคตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยได้อย่างหลากหลาย อาทิ ในมุมมองของการเป็นผู้ผลิตและการเป็นผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การทำธุรกิจและบริการเกี่ยวกับการคมนาคมและการขนส่ง เป้าหมาย นโยบาย และมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ และกลไกอุปสงค์อุปทาน ซึ่งพี่ๆ ก็ได้ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะกลับไป ทั้งในเรื่องของกลไกและวิธีการเล่นเกม การเล่าเรื่องราวของเกมให้น่าสนใจ รวมถึงมุมมองเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เพื่อให้ทุกทีมได้นำไปปรับปรุงและพัฒนาบอร์ดเกมของตนเองให้มีความน่าสนใจและใช้ข้อมูลที่สะท้อนข้อเท็จจริงมากยิ่งขึ้น ก่อนกลับมาพบกันอีกครั้งในกิจกรรม Playtest เพื่อให้คณะกรรมการได้ทดลองเล่นเกมที่ได้พัฒนาเพิ่มเติมกันอีกครั้ง ซึ่งเห็นได้ชัดว่าหลายทีมได้นำคำแนะนำที่ได้รับไปพัฒนาบอร์ดเกมจนสามารถสื่อสารเรื่องการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยสู่ผู้เล่นได้อย่างครบมิติมากขึ้น

 ไม่ว่าจะเป็นผลงานของน้องๆ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทีม TU Next กับเกม “EV City” ซึ่งภารกิจหลักของเกมคือการผลักดันให้ยานยนต์ในประเทศไทยมากกว่าร้อยละ 30 เป็นยานยนต์ไฟฟ้า โดยผู้เล่นจะผลัดกันรับบทเป็นทั้งรัฐบาลและบริษัทเอกชน เพื่อร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ในแต่ละตาผู้เล่นจะต้องตอบสนองอุปสงค์ของผู้บริโภคที่มาพร้อมกับเงื่อนไขที่มีความแตกต่างกันออกไปของกลุ่มลูกค้า โดยผู้เล่นจะได้เรียนรู้เรื่องชนิดของยานยนต์ไฟฟ้า การผลิต การบริหารจัดการทรัพยากร รวมถึงความรู้เรื่องภาษีและนโยบายจากภาครัฐไปพร้อมๆ กัน

 เกม Delivery Road จากทีม Derm Derm Party ผลงานของน้องๆ ที่รวมตัวกันจาก 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยเป็นเกมที่สร้างขึ้นในมุมมองของบริษัทขนส่งสินค้าที่เชื่อมโยงกับนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและการคมนาคมของภาครัฐ โดยผู้เล่นจะต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของนโยบายและราคาเชื้อเพลิงที่ผันผวนตามความต้องของผู้บริโภค เกมนี้จึงสะท้อนถึงความเชื่อมโยงของทุกภาคส่วนในการผลักดันให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ในประเทศ

 หรือเกม The Driver จากทีม Baby Driver ผลงานของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ผู้เล่นจะได้รับบทเป็นเจ้าของบริษัทที่ให้บริการรับส่งสินค้าและผู้โดยสาร โดยในเกมได้สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับ นโนบาย 30/30 ซึ่งกำหนดว่าภายในปี ค.ศ. 2030 ยานยนต์ที่ผลิตภายในประเทศร้อยละ 30 จะต้องเป็นยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ หรือ Zero Emission Vehicle (ZEV) นอกจากนี้ เกมยังได้แบ่งการเล่นออกเป็น 3 เฟสตามแบบฉบับของนโยบาย 30/30 และได้จำลองเหตุการณ์ต่างๆ มาเป็นตัวกำหนดสถานการณ์ในเกมให้มีความท้าทายมากยิ่งขึ้น โดยผู้เล่นจะต้องบริหารการจัดส่งสินค้าและผู้โดยสาร ไปพร้อมกับการควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

 นายรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสาย - สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความคืบหน้าของการประกวดออกแบบบอร์ดเกมในปีนี้ว่า “หลังจากกิจกรรมเวิร์คช็อปและการได้ดูการนำเสนอบอร์ดเกมของน้องๆ 9 ทีมสุดท้ายแล้ว เห็นได้ชัดว่าทุกทีมสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านบอร์ดเกมไปต่อยอดรวมทั้งได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ จนสามารถออกแบบบอร์ดเกมที่ทั้งสนุกและเปิดโอกาสให้ผู้เล่นได้เรียนรู้เรื่องราวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าได้ในหลากหลายมิติ ซึ่งบ้านปูในฐานะผู้จัดโครงการนี้ เรามีความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้บอร์ดเกมเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ รวมไปถึงการให้คนรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วมในการรับรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในอนาคต พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความสามารถและดึงศักยภาพที่มีในตัวออกมาใช้อย่างเต็มที่ในการผลิตสื่อที่ใช้ในการสื่อสารในประเด็นดังกล่าวอย่างสร้างสรรค์ จากนี้ต้องรอติดตามกันต่อไปในโค้งสุดท้ายของโครงการกับกิจกรรม Final Day ว่าทีมไหนจะก้าวไปเป็นผู้ชนะของการประกวดปีนี้”

 นักศึกษาทีมไหนจากมหาวิทยาลัยใดจะได้แชมป์การประกวดออกแบบบอร์ดเกม Energy on Board by BANPU B-Sports Thailand ในปีนี้ไปครอบครอง ต้องรอติดตามชมกันต่อไป ระหว่างนี้ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและติดตามข่าวสารจากโครงการได้ที่เฟซบุ๊ก BANPU B-Sports Thailand: https://www.facebook.com/BanpuBSportsThailand

พร้อมชวนผู้ที่สนใจ ร่วมประกวดออกแบบบอร์ดเกม ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 300,000 บาท

ขับเคี่ยวกันมาอย่างเข้มข้นตลอดทุกรอบการแข่งขันสำหรับกิจกรรม Energy on Board” การประกวดออกแบบบอร์ดเกมในหัวข้อ Energy Sustainability

X

Right Click

No right click