ดร.ธีระชัย พรสินศิริรักษ์ Head of Digital and Innovation - บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) คว้ารางวัล CIO100 Awards ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นรางวัลที่จัดขึ้นโดย IDC (International Data Corporation) และ Foundry ผู้ให้บริการและที่ปรึกษาข้อมูลการตลาดด้านเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ที่มอบให้กับผู้บริหารระดับสูงด้านเทคโนโลยีจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 100 คน ที่ขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมและสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร โดยพิจารณาจากหลักสำคัญด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ทำงานเพื่อสร้างคุณค่าให้กับองค์กร เป็นผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างผลกระทบเชิงบวกที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ บ้านปูได้เดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรด้วยกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) โดยจัดตั้งหน่วยงาน Digital and Innovation (D&I) ซึ่งรวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสาขาต่างๆ ได้แก่ ทีมบ่มเพาะนวัตกรสู่การสร้างนวัตกรรม (Incubation) ทีมวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ทีมปัญญาประดิษฐ์ (AI/Machine Learning) ทีมอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) และทีมดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) เพื่อผลักดันการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทั่วทั้งองค์กร นอกจากนี้ บ้านปูได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น ช่วยในการซื้อขายพลังงาน (Energy Trading) ในประเทศญี่ปุ่น บริหารซัพพลายเชนธุรกิจเหมืองในออสเตรเลีย และใช้ในการเฟ้นหา และพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะหรือความถนัดเฉพาะตัวในงานด้านทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย ประกาศกลยุทธ์ใหม่ “Energy Symphonics” หรือ “เอเนอร์จี ซิมโฟนิกส์” ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ปี 2030 เน้นการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน พร้อมเผยผลประกอบการไตรมาส 3
นายสินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “‘Energy Symphonics’ สื่อถึงแนวทางผสานพลังงานที่หลากหลาย เพื่อสร้างโซลูชันพลังงานใหม่ที่ยั่งยืน ตอบสนองต่อความต้องการพลังงานของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น พร้อมไปกับการดูแลโลกของเรา เรามีความมุ่งมั่นที่จะแก้โจทย์ความท้าทายด้านพลังงานและสร้างมาตรฐานใหม่เพื่อพลังงานที่มีใช้อย่างต่อเนื่อง ราคาสมเหตุสมผล และมีความยั่งยืน”
กลยุทธ์ใหม่ของบ้านปูสะท้อนความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืน โดยมุ่งเน้นที่ 3 เป้าหมายหลัก ได้แก่ ความมั่นคงทางพลังงาน คือการจัดหาพลังงานที่เชื่อถือได้และต่อเนื่อง ความเสมอภาคด้านพลังงาน คือการจัดหาพลังงานที่มีราคาสมเหตุสมผล ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และความยั่งยืนด้านพลังงาน คือการจัดหาพลังงานที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ของบ้านปูเน้นรักษาสมดุลและตอบสามโจทย์ของพลังงาน (Energy Trilemma) ได้แก่ การส่งมอบพลังงานที่เชื่อถือได้และต่อเนื่อง (Energy Security) การจัดหาพลังงานที่มีราคาสมเหตุสมผลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (Energy Equity) และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการจัดหาพลังงาน (Energy Sustainability) โดยกลยุทธ์ใหม่มี 4 ภารกิจสำคัญ ดังนี้:
สำหรับผลประกอบการในไตรมาส 3 บ้านปูมีความคืบหน้าทางธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่
ในไตรมาสที่ 3 นี้ บ้านปูมีรายได้จากการขายรวม 1,339 ล้านเหรียญสหรัฐ (*ประมาณ 46,597 ล้านบาท) กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) รวม 379 ล้านเหรียญสหรัฐ (*ประมาณ 13,204 ล้านบาท) และขาดทุนสุทธิจำนวน 24 ล้านเหรียญสหรัฐ (*ประมาณ 830 ล้านบาท) จากราคาตลาดของถ่านหินและก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลดลงและการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากอัตราแลกเปลี่ยน จากการแข็งค่าของเงินสกุลบาทต่อเงินสกุลเหรียญสหรัฐ
นายสินนท์กล่าวในตอนท้ายว่า “ไม่ว่าเราจะต้องประสบกับความท้าทายของตลาดพลังงานที่ผันผวน บ้านปูเชื่อมั่นว่ากลยุทธ์ Energy Symphonics จะสร้างการเติบโตให้กับบริษัทฯ สร้างคุณค่าระยะยาวให้แก่ผู้ถือหุ้น ในขณะที่ยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมถึงการดูแลโลกใบนี้”
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.banpu.com และ https://www.facebook.com/Banpuofficialth
*หมายเหตุ: คำนวณโดยอ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยไตรมาสที่ 3 ปี 2024 ที่ USD 1: THB 34.8065
บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย พร้อมด้วย สถาบัน ChangeFusion ประกาศผล 3 ผู้ชนะสุดยอดโมเดลกิจการเพื่อสังคมภายใต้แนวคิด “ชุมชนแกร่ง ไทยแกร่ง” (Impactful Locals, National Boost) ในโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม (Banpu Champions for Change: BC4C) ปีที่ 13 โดยไม่เรียงลำดับ ได้แก่ “ชันโรง” กิจการที่สร้างรายได้ให้ชุมชนจากสัตว์เศรษฐกิจพร้อมฟื้นป่าชายเลน จ.กระบี่ “คนทะเล” กิจการที่เน้นฟื้นฟูทะเลประจวบฯ ด้วยแพคเกจเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และ “Karen Design” กิจการที่ใช้ภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยงแก้ปัญหาปากท้องชุมชนในพื้นที่แม่ฮ่องสอน โดยผู้ชนะทั้ง 3 ทีมจะได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 250,000 บาทเพื่อเป็นทุนดำเนินกิจการ
นายรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส – สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ในปีนี้เราเห็นแนวโน้มผู้ประกอบการมีความเข้าใจการทำกิจการเพื่อสังคมมากขึ้น มีทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อโปรโมทสินค้าตัวเองมากขึ้น ทั้งสามทีมมีความโดดเด่นที่พวกเขามีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่หลากหลาย สำหรับสิ่งที่บ้านปูมุ่งมั่นในการสนับสนุนคือระบบนิเวศของกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย เราต้องการสร้างเครือข่ายและประสานพลังกับหลาย ๆ หน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนให้กิจการเพื่อสังคมเติบโตไปสู่ตลาดในกระแสหลัก (Mass Market) เพื่อเพิ่มศักยภาพในเศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำและแก้ปัญหาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ในปีที่ 13 โครงการฯ มาพร้อมคอนเซ็ปต์ “Impactful Locals, National Boost: ชุมชนแกร่ง ไทยแกร่ง” เน้นการผลักดันศักยภาพ SE ในแต่ละพื้นที่ ที่ต่างประสบปัญหาทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยสามทีมที่ชนะสุดยอดโมเดลกิจการเพื่อสังคมในระยะเริ่มต้น (Incubation Program) นั้นสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการฯ ไปใช้ในการทดลองตลาดระยะเวลา 3 เดือน ปรับโมเดลธุรกิจและแนวทางการสร้างอิมแพคต่อชุมชน สามารถพิสูจน์ตัวชี้วัดความสำเร็จได้อย่างชัดเจน โดยได้รับเงินทุนทีมละ 250,000 บาท ไปต่อยอดกิจการ (ไม่เรียงลำดับคะแนน) ดังนี้
“บ้านปู มุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพให้กับเหล่าผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีใจเปี่ยมไปด้วยแพสชันให้สามารถทำกิจการเพื่อสังคมในฝันให้เกิดขึ้นจริงได้ ตลอด 13 ปีที่ผ่านมาได้ให้การสนับสนุนไปมากกว่า 130 กิจการ สร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนและองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 187 แห่ง ครอบคลุมผู้ได้รับผลประโยชน์กว่า 2.5 ล้านคน” นายรัฐพล กล่าวทิ้งท้าย
BKV Corporation (“BKV”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบ้านปูได้แจ้งราคาเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่ให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO Price) จำนวน 15,000,000 หุ้น ที่ราคา 18 เหรียญสหรัฐ ต่อหุ้น และนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนใน New York Stock Exchange (NYSE) โดยหลักทรัพย์ดังกล่าวสามารถทำการซื้อขายผ่าน NYSE เป็นครั้งแรกในวันที่ 26 กันยายน 2567 (ตามเวลาท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกา) โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ “BKV” คาดว่าการปิดรายการการจำหน่ายหุ้น IPO จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในวันที่ 27 กันยายน 2567 หลังจากปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว
คำแถลงการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหุ้น IPO นี้ได้ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา (U.S. SEC) แล้ว และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2567 โดยสามารถดาวน์โหลดหนังสือชี้ชวนจากเว็บไซต์ของ U.S. SEC www.sec.gov โดยค้นหาภายใต้ชื่อ BKV Corporation
นายสินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บ้านปูให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศยุทธศาสตร์ โดยมี BKV เป็นกุญแจสำคัญในการเดินหน้าธุรกิจก๊าซธรรมชาติเพื่ออำนวยประโยชน์ที่ยั่งยืนให้แก่ลูกค้า นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสีย เราภูมิใจและตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งกับก้าวต่อไปที่ยิ่งใหญ่ของบริษัทฯ ทั้งนี้ บ้านปูยังมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนเป้าหมายในการลดคาร์บอน (Decarbonization) เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน และคงความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจด้วยเป้าหมายในการส่งมอบนวัตกรรมโซลูชันพลังงานที่สะอาดและเชื่อถือได้ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก”
ภายใต้การบริหารงานของ BKV ธุรกิจพลังงานของบ้านปูในสหรัฐฯ เติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 เริ่มต้นจากการดำเนินกิจการก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซบาร์เนตต์ (Barnett) ในรัฐเท็กซัส และแหล่งก๊าซมาร์เซลลัส (Marcellus) ในรัฐเพนซิลเวเนีย ต่อยอดสู่บริษัทร่วมทุน BKV-BPP ลงทุนในกิจการของโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I และ Temple II ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (Combined Cycle Gas Turbines: CCGT) นอกจากนี้ BKV ยังดำเนินโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) และการพัฒนาก๊าซธรรมชาติที่มีคาร์บอนเป็นกลาง (Carbon-Sequestered Gas: CSG) ด้วยคุณภาพระดับพรีเมียม รวมทั้งการร่วมทุนกับ BKV-BPP Power ในการจัดสรรพื้นที่ที่มีอยู่เดิมในพื้นที่แหล่งก๊าซบาร์เนตต์ รัฐเท็กซัส ก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Ponder Solar)