×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

กรุงเทพฯ 17 มกราคม 2567 – โรงพยาบาลวิมุต โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำใจกลางกรุงเทพฯ เปิดศักราชใหม่ปี 2567 ประกาศเดินหน้ายกระดับการดูแลรักษาสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุม ภายใต้กลยุทธ์ “Outside In” มุ่งเน้นการขับเคลื่อนธุรกิจเฮลท์แคร์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และความต้องการของผู้ใช้บริการยิ่งขึ้น ตลอดจนเทรนด์สุขภาพยุคใหม่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ “แอมิลิ (AMILI)” บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพด้านจุลชีพในลำไส้ จากความร่วมมือครั้งนี้ รพ.วิมุต พร้อมนำนวัตกรรมในการตรวจ “ไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหาร” มาใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีการดูแลเชิงป้องกันที่กำลังมาแรงและเป็นความหวังใหม่ในการป้องกันโรคร้ายในอนาคต นอกจากนี้ รพ. วิมุต ยังเผยตัวเลขการเติบโตของตลาดไมโครไบโอม มั่นใจนวัตกรรมใหม่ช่วยยกระดับบริการทางการแพทย์ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น พร้อมร่วมเป็นหนึ่งกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสุขภาพของไทย คาดรายได้ปี 2567 ของศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลวิมุตจะเติบโตกว่า 30% จากการเดินหน้าพัฒนาธุรกิจให้บริการสุขภาพแบบองค์รวมที่ครอบคลุมทั้งการป้องกัน รักษา และฟื้นฟู

ไมโครไบโอม (Microbiome) คือชื่อเรียกระบบนิเวศของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งรวม โพรไบโอติกทั้งตัวดีและไม่ดีที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยหากไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหาร (Gut Microbiome) มีความสมดุล กล่าวคือ มีจุลินทรีย์ดีหลากหลายสายพันธุ์ในจำนวนมากพอ ก็จะช่วยทำหน้าที่ย่อยอาหาร เสริมการเผาผลาญ ดูแลระบบภูมิคุ้มกัน สังเคราะห์วิตามิน และช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย สมอง และอารมณ์ได้ โดยไมโครไบโอมได้รับการศึกษาวิจัยมาอย่างต่อเนื่องและพบว่าการรักษาสมดุลของไมโครไบโอมในลำไส้ เป็นวิธีที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโดยรวมเพื่อป้องกันโรคร้ายและสร้างสุขภาพกายและใจที่ดีในระยะยาว ปัจจุบัน วงการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และความงามทั่วโลกให้ความสนใจการดูแลสุขภาพด้วยการปรับสมดุลจุลินทรีย์ให้ร่างกายทั้งภายในและภายนอก

 

นายแพทย์พิชิต กังวลกิจ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลวิมุต จำกัด กล่าวว่า “ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รพ. วิมุต เล็งเห็นถึงการตื่นตัวของคนไทยและทั่วโลกในเรื่องการดูแลสุขภาพก่อนล้มป่วย ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยวิเคราะห์ไมโครไบโอมในลำไส้กำลังเป็นเทรนด์สุขภาพมาแรง โดย Research Reports World (RRW) เผยว่าตลาดไมโครไบโอมทั่วโลกมีมูลค่าถึง 743.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 และจะแตะ 3,523.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2571 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตแบบทบต้น (CAGR) ที่ 29.61%

“รพ. วิมุต มุ่งเสาะหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาเสริมทัพบริการด้านสุขภาพให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดภายใต้กลยุทธ์ Outside-In เดินหน้าพัฒนาธุรกิจจากมุมมองของผู้ใช้บริการ เราได้ลงนามร่วมทุนกับแอมิลิ (AMILI) บริษัทเฮลท์เทคชั้นนำจากสิงคโปร์ที่พัฒนาเทคโนโลยีด้านจุลชีพในลำไส้ เพื่อเปิดตัว Gut Microbiome Test โปรแกรมตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้เฉพาะบุคคลที่โรงพยาบาล พร้อมมุ่งช่วยให้คนไทยเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างตรงจุด ช่วยให้แพทย์สามารถแนะนำการปรับสมดุลจุลินทรีย์ให้เหมาะกับแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในอนาคต รพ. วิมุต มีแผนจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัย

ด้านไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหารแห่งแรกในไทยร่วมกับ AMILI ช่วยยกระดับการศึกษาไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหารจากกลุ่มตัวอย่างคนไทยเพื่อนำข้อมูลไปใช้พัฒนาการรักษาโรคและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับคนไทยโดยเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างพัฒนาอาหารเสริมโพรไบโอติกส์เพื่อเสริมการรักษาโรคทางเดินอาหาร ลำไส้แปรปรวน และโรคอ้วน” นายแพทย์พิชิต กังวลกิจ กล่าวเสริม

 

นายแพทย์เจเรมี ลิมป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง AMILI กล่าวว่า “AMILI มีฐานข้อมูลและตัวอย่างไมโคร ไบโอมจากคนหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งยังเป็นธนาคารไมโครไบโอมแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราได้พัฒนา "AMILI PRIME" เครื่องมือวิเคราะห์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ที่ทำการทดสอบ วินิจฉัย ทำนายอัลกอริธึม และปรับเปลี่ยนไมโครไบโอมได้อย่างแม่นยำ ความร่วมมือครั้งนี้แสดงถึงความมุ่งมั่นของ รพ.วิมุตในการยกระดับบริการสุขภาพขึ้นไป อีกขั้นผ่านนวัตกรรมการตรวจไมโครไบโอม เราจะร่วมกันนำเสนอการตรวจสอบสุขภาพลำไส้และการนำวิธีปลูกถ่ายเชื้อจุลินทรีย์ในอุจจาระ (Fecal Microbiota Transplantation: FMT) เข้าสู่ตลาดประเทศไทย AMILI พร้อมทำงานร่วมกับโรงพยาบาลเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง ตามความตั้งใจของ รพ. วิมุตในการดูแลให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน”

 

นายแพทย์กุลเทพ รัตนโกวิท แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบทางเดินอาหารและตับระบบประสาทและการเคลื่อนไหวทางเดินอาหาร หัวหน้าศูนย์ทางเดินอาหารและตับ กล่าวว่า “หลายคนอาจไม่ทราบว่าการดูแลสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการทำงานที่เป็นปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย หากจุลินทรีย์ในลำไส้เกิดภาวะไม่สมดุล เราอาจเผชิญกับอาการเจ็บป่วยต่างๆ อาทิ ลำไส้แปรปรวน ท้องผูก ท้องเสียเป็นประจำ ระบบการเผาผลาญไม่ดี อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้ง่าย ๆหรือมีปัญหาเรื่องระบบภูมิคุ้มกันโดยไม่ทราบสาเหตุ Gut Microbiome Test ที่ รพ.วิมุต ช่วยตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้ผ่านการตรวจอุจจาระ เพื่อให้แพทย์สามารถวิเคราะห์ความสมดุล (Balance) และความหลากหลาย (Diversity) ของจุลินทรีย์ในลำไส้ และวางแผนการปรับสมดุลในลำไส้ ซึ่งรวมถึงการปรับการรับประทานอาหารและปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้คนไข้แต่ละคนได้อย่างตรงจุด นอกจากนี้ อาจแนะนำให้รับประทานโพรไบโอติกส์ที่มีสูตรและสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เหมาะกับสุขภาพลำไส้ตามผลการตรวจจุลินทรีย์เฉพาะบุคคล เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากโพรไบโอติกส์”

สำหรับผู้ที่สนใจโปรแกรม Gut Microbiome Test ตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ สามารถติดต่อศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต ถนนพหลโยธิน พร้อมพบกับโปรโมชันพิเศษช่วงเปิดตัวโปรแกรม ในราคาเริ่มต้น 18,000 บาท สามารถโทรนัดหมาย 02-079-0034 เวลา 07.00-17.00 น. หรือใช้บริการ Telemedicine ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ผ่าน ViMUT App คลิก https://bit.ly/372qexX

บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับโรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆจัดกิจกรรม AXA Hearts in Action สื่อใจเพื่อน้อง” เพ้นท์กระเป๋าผ้ารักษ์โลก เพราะแอกซ่าเชื่อมั่นในพลังของทุกคนจึงส่งเสริมให้นักเรียนเชื่อมั่นในพลังของตัวเอง ซึ่งสอดคล้องกับพันธสัญญาของแบรนด์ “Know You Can” ที่คอยสนับสนุนและสร้างความมั่นใจให้ทุกคนก้าวเดินต่อไปในชีวิตและประสบความสำเร็จได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

กิจกรรมนี้ นอกจากน้องๆ จะรู้สึกภาคภูมิใจกับการเพ้นท์กระเป๋าผ้าฝีมือตนเองที่มีเพียงใบเดียวในโลกแล้ว ยังเป็นการช่วยลดการใช้ถุงพลาสติก ซึ่งตรงกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมและการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ รวมถึงแอกซ่ายังได้บริจาคทุนการศึกษาและเลี้ยงอาหารแก่นักเรียน จำนวน 60 คน ซึ่งแสดงออกถึงความใส่ใจและปรารถนาดีต่อชุมชน

แอกซ่ามุ่งบำเพ็ญประโยชน์ใน ด้านหลัก ได้แก่ 1. ด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Environment and climate change) 2. ด้านสุขภาพและการป้องกันโรค (Health and disease prevention) และ 3. ด้านความไม่เท่าเทียมและการมีส่วนร่วมในสังคม (Inequalities and social inclusion)

 

X

Right Click

No right click