November 21, 2024

คนจำนวนมากที่หันมาใช้รถ EV แล้วนึกว่าตัวเองได้ช่วยรักษ์โลกอย่างยิ่งใหญ่ เพราะเลิกใช้พลังงานสกปรกอย่างน้ำมัน หันมาใช้พลังงานสะอาดอย่างไฟฟ้าแทน

คนเหล่านี้คิดผิดไปถนัด

เพราะพวกเขามิได้มองภาพรวม น้อยคนที่ตั้งคำถามกับตัวเองว่า “แล้วพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ชาร์ตแบ็ตรถอีวีนั้นมาจากไหน?” “โรงไฟฟ้าเหล่านั้นใช้พลังงานอะไรในการผลิตไฟฟ้า...ถ่านหิน น้ำมัน เขื่อน ก๊าซธรรมชาติ แสงอาทิตย์จากแผงโซล่า หรือพลังงานลมจากกังหันยักษ์?”

อย่าลืมว่าการทำงานของแผงโซล่าต้องอาศัย Toxic Chemical หลายชนิด และในกระบวนการผลิตก็มีการปล่อย Greenhouse Gas หลายชนิด เช่น Nitrogen Trifluoride และ Sulfur Hexafluoride เป็นต้น
และเมื่อใช้งานเกิน 15 ปี ประสิทธิภาพของแผงโซล่าจะลดลงมาก จนต้องรื้อทิ้งแล้วเปลี่ยนแผงใหม่ และการรื้อทิ้งนี่แหล่ะที่ก่อปัญหามาก เพราะมันรีไซเคิลลำบาก ตอนนี้โลกก็ต้องเผชิญกับขยะโซล่าที่ต้องฝังหรือทิ้งไว้ตามพื้นที่รกร้างต่างๆ กันเป็นจำนวนมาก
อีกทั้งการติดตั้งแผงโซล่านั้นต้องอาศัยพื้นที่ขนาดใหญ่ อย่างโครงการเม็กกะโปรเจ็ก Gemini Solar Project กลางทะเลทรายของรัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกานั้น ต้องใช้พื้นที่ถึงราว 7 พันเอเคอร์ ซึ่งต่อมานักธรรมชาติวิทยาพบว่า มันกระทบกับพฤติกรรมของสัตว์จำนวนมาก และมีความเสี่ยงที่สัตว์หลายชนิดอาจสูญพันธุ์ไปจากแถบนั้นได้ เช่น เต่าทะเลทราย (Desert Tortoise) จิ๊งจอกคิต (Kit Fox) และนกฮูกเบอร์โรวิ่ง (Burrowing Owl) เป็นต้น

โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนยิ่งไม่ต้องพูดถึง ว่ามันกระทบต่อทางเดินของน้ำและระบบนิเวศมากเพียงใด

ไฟฟ้าพลังลมเองก็ต้องอาศัย Wind Farm ที่ติดตั้งเสาสูงพร้อมกังหันลมยักษ์จำนวนมาก ที่อาจกระทบต่อเส้นทางอพยพของนกบางชนิด และวัสดุที่ใช้ทำใบพัดของกังหันก็ต้องเป็นวัสดุพิเศษราคาแพงที่เมื่อหมดอายุใช้งานแล้ว ย่อมก่อปัญหาขยะมลพิษเช่นกัน

น่าเสียดายที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงประเด็นเหล่านี้ เพราะเมื่อดูแบบครบวงจรแล้ว พวกมันล้วนสร้างผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอยู่ดี แม้จะไม่เกิดขึ้นในรอบแรกเหมือนการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกของน้ำมันปิโตรเลียมขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศแบบโต้งๆ แต่ก็ยังแอบปนเปื้อนต่อสภาพแวดล้อมในรอบที่สองและรอบต่อๆ ไปอยู่ดี


ยังไม่นับว่าพลังงานประเภท Renewable Energy เหล่านี้ ยังต้องอาศัยแหล่งเก็บพลังงานสำรอง (เช่นแบ็ตเตอรี่) ที่ทรงประสิทธิภาพสูงอีกด้วย (เก็บไว้ใช้ในช่วงที่แสงแดดน้อยหรือลมพัดเอื่อยๆ) อย่างกรณีของแผงโซล่านั้น เทคโนโลยีปัจจุบันส่วนใหญ่สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าได้เพียงประมาณ 15-18% เท่านั้นเอง แม้ในวันที่แสงแดดแรงกล้าก็ตาม


ดังนั้นการวางยุทธศาสตร์ระยะยาวเกี่ยวกับพลังงานสะอาด หรือ Clean Energies นั้น เราต้องคิดให้ลึกและรอบคอบ ต้องมองภาพรวมให้ออกว่า พลังงานแต่ละประเภทผลิตขึ้นมาได้อย่างไร ต้องเกี่ยวข้องกับวัสดุและเคมีชนิดใดบ้าง และเมื่อหมดอายุใช้งานแล้วจะก่อเกิดขยะที่เป็นปัญหาหรือไม่ อย่างไร ?

ประเด็นเหล่านี้นำเรามาสู่พลังงานนิวเคลียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Nuclear Fusion ซึ่งน่าจะเป็นอนาคตของพลังงานสะอาดที่แท้จริง เพราะพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยา Nuclear Fusion (ต่างกับ Nuclear Fission) จะปราศจากกากนิวเคลียร์ (Radioactive Waste) และปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่น้อยมากๆ เมื่อเทียบกับการผลิตพลังงานสะอาดประเภทอื่น

วิสัยทัศน์ของเราคือในอนาคตจะมีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น โดยการใช้เตาปฏิกรณ์หรือเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็กหรือขนาดกลาง (Compact Nuclear Reactor) กระจายกันไปในหลายพื้นที่ ตามแต่ความต้องการการใช้พลังงานในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วโลก  เป็นการผลิตพลังงานแบบกระจายศูนย์หรือ Decentralized Energy Production และราคาถูก นั่นเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในขณะนี้ แต่ทิศทางของเทคโนโลยีและการทดลองในโลกล้วนบ่งชี้ว่าจะเป็นไปในแนวนั้น ไม่ว่าจะเป็น Joint European Torus (JET) laboratory (ผู้ผลิตเตาปฏิกรณ์ ITER) Commonwealth Nuclear Fusion Systems และ TAE Technologies
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Zap Energy ที่คิดค้นระบบ Z-pinch และได้รับความสนใจจากบรรดา Venture Capitalist เบอร์สำคัญๆ เพราะเมื่อเร็วๆ นี้สามารถระดมทุนในรอบ Series C ได้ถึง 270.4 ล้านเหรียญฯ ทั้งๆ ที่การระดมทุนครั้งก่อนหน้า (Series B) ได้มาเพียง 27.5 ล้านเหรียญฯ เท่านั้น แสดงว่าบรรดานักลงทุนมองวิธีการสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบ Z-pinch ว่าอาจจะมาปฏิวัติวงการนี้ก็ได้
Zap Energy แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีแบบ Z-pinch ทำงานด้วยแนวคิดง่ายๆ เฉกเช่น “การจุดไฟในขวด” (Creates Lightening in a Bottle) ดังรูปประกอบข้างล่างนี้

Zap Energy’s Approach to Fusion

Source: ARPA-E
กล่าวแบบรวบรัดคือ ทีมงานจะค่อยๆ ฉีดพลาสม่าลงไปในห้องว่างที่เป็นสูญญากาศ แล้วจุดไฟเผาพลาสม่าให้ร้อนในห้องสูญญากาศนั้นบรรจุไว้ด้วยธาตุที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชั่น ซึ่งเมื่อพลาสม่าร้อนถึงระดับที่เหมาะสม จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นขึ้น และนิวตรอนที่ทรงพลังงานศักย ก็จะคายพลังงานออกมา โดยนิวตรอน (หรือตอนนี้เป็นพลังงาน) เหล่านั้นจะถูกจับไว้โดย Jacket โลหะที่ห่อหุ้มแกนกลางของชุดปฏิกรณ์นี้อยู่ (ที่เป็นรูปตัว U คว่ำในภาพ) โดยขณะนั้นอุณหภูมิก็จะเย็นลง พลังงานที่ได้จะถูกนำไปใช้เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าในที่สุด ซึ่งวิธีการนี้นับว่าใช้พลังงานเริ่มต้น (ในการเผาพลาสม่า) น้อยกว่าวิธีอื่น (เช่นของ ITER เป็นต้น)

สำหรับผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐาน เราขอสรุปให้ฟังอย่างง่ายว่า Nuclear Fusion Technology เป็นเทคโนโลยีของดวงอาทิตย์ เชื่อกันว่าดวงอาทิตย์เปล่งความร้อนด้วยวิธีนี้ นั่นคือการรวมตัวของนิวเคลียสจากสองให้เหลือเพียงหนึ่ง ภายใต้อุณหภูมิที่สูงมากๆ โดยกระบวนการนี้จะเปล่งพลังงานออกมาจำนวนมากด้วย

มีการทดลองกับธาตุหลายชนิด แต่ที่น่าสนใจคือ Proton-boron (pB-11) เพราะผลลัพธ์ที่ได้ติดมาแค่ฮีเลียม (Helium) เพียง 3 นิวเคลียส ที่เหลือล้วนเป็นพลังงานสะอาด ปราศจากกากกัมมันตภาพรังสี หรือ Radioactive Waste แม้แต่น้อย สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ในระยะห้องทดลอง แต่ก็มีพัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ ความก้าวหน้าทางด้านวัสดุศาสตร์และ AI น่าจะช่วยสร้างสนามแม่เหล็กที่สามารถควบคุมปฏิกิริยาพลาสม่าในเตาปฏิกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนสามารถนำมาใช้งานจริงได้ในเร็ววัน

เทคโนโลยีนี้ จะช่วยให้นักต่อต้านนิวเคลียร์ทั้งหลาย คลายความกังวลลงได้ ทั้ง NGO นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นักการเมือง และผู้กุมอำนาจรัฐบางส่วน

เทคโนโลยีที่ใช้กับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในโลกปัจจุบันทั้งหมดเป็นแบบ Nuclear Fission Technology พูดแบบง่ายๆ คือใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาทำการแยกนิวเคลียสของอะตอม (โดยทั่วไปใช้ธาตุยูเรเนียมเป็นวัตถุดิบ) จากหนึ่งให้เป็นสองหรือมากกว่านั้น ซึ่งในกระบวนการนี้เราจะได้พลังงานจำนวนหนึ่ง ที่เรียกว่าพลังงานนิวเคลียร์ นั่นเอง แล้วค่อยเอาพลังงานความร้อนอันนี้ไปต้มน้ำเพื่อใช้ไอน้ำไปปั่นเครื่องปั่นไฟ แล้วค่อยนำกระแสไฟฟ้าไปใช้ในบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อดีของพลังงานแบบนี้คือมันสะอาด ไม่ปล่อยคาร์บอนและสารพิษสู่อากาศ มีเสถียรภาพ ผลิตไฟได้มากและไม่ขาดสาย แม้โรงงานและเครื่องปฏิกรณ์ (Nuclear Reactor) จะแพง แต่พลังงานที่ได้มีราคาถูก ในระยะยาวจะประหยัดกว่ามาก

ส่วนข้อเสียคือมันจะเกิดขยะกัมมันตภาพรังสี แม้จะมีเพียงจำนวนน้อย แต่ถ้าจัดเก็บไม่ดี หรือกำจัดไม่ถูกวิธี มันจะเป็นอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อมทั้งมวล การที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่เป็นที่นิยมของมหาชนเพราะเมื่อมันเกิดอุบัติเหตุ ขยะกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล ส่งผลร้ายแรงต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม ก็มักจะเป็นข่าวคึกโครม ดังตัวอย่างที่เชอร์โนบิลและฟูกูชิมา ทว่าในความเป็นจริงแล้ว เครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Third-generation Reactor มีระบบความปลอดภัยสูงมาก และการออกแบบโรงไฟฟ้าสมัยนี้ ก็คำนึงถึงอุบัติเหตุจากภัยธรรมชาติ เช่น ซึนามิและแผ่นดินไหว ซึ่งเคยทำให้เครื่องปฏิกรณ์ที่ฟูกูชิมาแตกมาแล้ว
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์รุ่น 3 อยู่ในจีนและอินเดีย จำนวนเกือบ 10 โรง

ปัจจุบันการออกแบบและผลิตเตาปฏิกรณ์โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ (Fourth-generation Reactor) เช่น sodium-cooled fast reactors (SFRs), gas-cooled fast reactors (GFRs), very high temperature reactors (VHTRs), and molten salt reactors (MSRs) ก็พบว่าทดลองแล้วได้ผลดี

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์แบบกระทัดรัด ที่เรียกว่า SMR (Small Modular Reactor) นั้น จะปลอดภัยยิ่งขึ้นไปอีก และจะลดต้นทุนได้มาก เพราะราคาถูกลงแยะ ซึ่งผู้พัฒนาได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ เรียบร้อยแล้ว (MBA เราได้อธิบายไว้ในบทความและคลิปที่ออนไลน์ไปแล้วด้วย)
เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ช่วยให้มหาชนในบางประเทศวางใจต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากขึ้น ทำให้นักการเมืองกล้าตัดสินใจอนุมัติให้สร้างโรงใหม่ๆ ได้ เพราะความต้องการไฟฟ้าในโลกปัจจุบันเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ถ้าไม่เร่งสร้าง อาจเกิดขาดแคลนได้ในอนาคตอันใกล้ และพลังงานนิวเคลียร์นี่แหล่ะที่จะช่วยปิดสวิสต์โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลทั้งหลาย และจะช่วยให้โลกสะอาดขึ้นและเย็นลง
การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ขับขี่รุ่นใหม่ ที่หันมาใช้รถยนต์ EV แทนรถยนต์แบบสันดาบภายใน การอุบัติขึ้นของ Generative AI ในนาม ChatGpt ส่งผลให้องค์กรทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐทั่วโลกวางแผนที่จะนำ AI มาประยุกต์ใช้กับงานของตนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน การเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดย AI ในภาคการผลิตและภาคบริการ กระแสความนิยมขององค์กรภาคธุรกิจและภาครัฐต่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลและซอฟท์แวร์ขึ้นไปอยู่บน Cloud Computer (เทรนด์นี้เรียกว่า Digital Transformation) ตลอดจนขนาดของการสร้าง เคลื่อนย้าย และจัดเก็บ ข้อมูลในยุค 5G, 6G, 7G…..
เหล่านี้ย่อมต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะคอมพิวเตอร์ต้องเพิ่ม หน่วยความจำและหน่วยประมวลผลต้องเพิ่ม ศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center และ จุดชาร์ตแบตเตอรี่รถยนต์และพาหนะ EV ทั้งปวง ก็ต้องเพิ่ม และจะเป็นการเพิ่มแบบก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้เสียด้วย เพราะ Adoption Rate ของ EV และ AI เพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นและกำลังจะ Take-of ดังนั้น การหันมาใช้แหล่งพลังงานสะอาดจึงจำเป็นต่อการอนุรักษ์โลก ทว่า การวางยุทธศาสตร์พลังงานสะอาดในระยะยาว ก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยแบบครบวงจรที่กล่าวข้างต้นด้วย

โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว / Editor in Chief _MBA magazine

20/01/2567

 

เคทีซี  หนึ่งในธุรกิจสินเชื่อชั้นแนวหน้าของประเทศไทย จับกระแสรักษ์โลก จัดงานเสวนา KTC FIT Talks ครั้งที่ 10 ในหัวข้อ “ถึงเวลาพลังงานทางเลือก เป็นพลังงานทางรอด” เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน

โดยเชิญตัวแทนภาครัฐและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน ร่วมเปิดมุมมองต่อพลังงานทางเลือก แนวโน้มของการใช้งานรถพลังงานไฟฟ้าและโซลาเซลล์ในประเทศไทย รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงพลังงานทางเลือกในระดับครัวเรือน และสิทธิพิเศษเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายสมาชิกบัตรเครดิตและผู้บริโภค

นายวัชรินทร์ บุญฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้เผยถึงประเด็นว่า  กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ดำเนิกนการส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2580 (AEDP 2018) โดยกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนที่ร้อยละ 30 ภายในปี พ.ศ. 2580 และมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานทดแทน ทั้งในส่วนของพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง ซึ่งขับเคลื่อนผ่านมาตรการต่างๆ”

นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานยังจัดทำแผนพลังงานชาติฉบับใหม่ ที่มีเป้าหมายการมุ่งสู่ Carbon Neutrality 2050 หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งหมายถึงการลด ดูดซับ หรือชดเชยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในปริมาณที่เท่ากับการปล่อย CO2 ตามกรอบแผนพัฒนาพลังงานชาติ (National Energy Plan) ซึ่งกำหนดเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนไว้ที่สัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยมุ่งเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน ส่งเสริมการประหยัดพลังงานให้เข้มข้นมากขึ้น รวมทั้งมีนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ภายใต้ขอบเขตของการร่วมมือในการพัฒนาส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกระหว่างภาครัฐและเอกชนที่สามารถร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนสังคม พร้อมส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในบริบทต่างๆ เช่น การส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจสีเขียว การใช้พลังงานสะอาดให้มากขึ้น รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญและมุมมองความต้องการในเชิงธุรกิจ”

นายสุวัฒน์ เทพปรีชาสกุล ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า “เคทีซีเป็นสถาบันการเงินไทยโดยคนไทยเพื่อคนไทย เราตระหนักและให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจภายใต้ ESG หรือแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืนมาตลอด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเรื่องของการร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับสังคมไทยเพื่อส่งต่อให้กับคนรุ่นหลัง และพลังงานทางเลือกจากธรรมชาติกำลังเป็นความจำเป็นที่เข้ามาทดแทนพลังงานแบบเดิม เราจึงพยายามวางแผนกลยุทธ์การตลาดต่างๆ เพื่อร่วมขับเคลื่อนให้คนไทยและสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่สนใจเรื่องของพลังงานทดแทน สามารถเข้าถึงและจับต้องได้ โดยจากการศึกษาพบว่าตลาดรถยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ และฐานข้อมูลการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีในหมวดรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า (Electronic Vehicle – EV) ตั้งแต่ ต้นปี 2566 ถึงปัจจุบัน ยังพบว่ามีการเติบโตต่อเนื่องถึง 60% และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ EV / เครื่องชาร์จระบบรถยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนประกันภัย สำหรับรถยนต์ EV โดยเฉพาะ และพร้อมมองหาโอกาสในการต่อยอดเพื่อเป็นหนึ่งในการสรรค์สร้างสังคมสู่ความยั่งยืนต่อไป”

 

นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Smart System Solution Business ในธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี กล่าวว่า “จากเมกะเทรนด์ ที่ผลักดันให้ระบบโซลาร์ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความต้องการใช้รถไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประสิทธิภาพของวัสดุอุปกรณ์ของระบบดียิ่งขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนของระบบโซลาร์ต่ำลงและเข้าถึงง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันระบบโซลาร์แบบออนกริด (On-Grid) ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจาก คืนทุนรวดเร็วที่สุด และสามารถขายคืนการไฟฟ้าในโครงการโซลาร์ภาคประชาชน หากต้องการติดตั้งระบบโซลาร์ นอกเหนือจากพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของเจ้าของบ้านแล้ว ควรพิจารณาถึงมาตรฐานของอุปกรณ์ในระบบ ผู้ให้บริการติดตั้งที่เชื่อถือได้ เพื่อการดูแลในระยะยาว”

“เอสซีจี โซลาร์รูฟ โซลูชัน ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมระบบหลังคาโซลาร์สำหรับที่พักอาศัย พร้อมโซลูชันครบวงจร เรามุ่งมั่นพัฒนาสินค้านวัตกรรมให้มีคุณภาพ โดยเฉพาะระบบการยึดติดแผงโซลาร์โดยไม่ต้องเจะหลังคา เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องหลังคารั่วด้วย Solar FIX การให้บริการแบบครบวงจร และการรับประกันตลอด 25 ปีโดยเอสซีจี ตลอดจนพัฒนาสินค้าและบริการให้เข้ากับทุกไลฟ์สไตล์การใช้ไฟฟ้าในบ้านอย่างครอบคลุมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนและผลักดันให้พลังงานสะอาดสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายยิ่งขึ้น”

นายณัฐสิทธิ์ สุนทราณู ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือในการทำการตลาดเพื่อร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในสังคมไทย “อีกมุมหนึ่งของการดำเนินธุรกิจที่เคทีซีคำนึงถึงมาโดยตลอด คือการบูรณาการกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ภายใต้กรอบความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจต่างๆ ที่มีการดำเนินงานให้สอดคล้องสนับสนุนในทุกมิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรรมาภิบาล โดยเคทีซีได้คัดสรรสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม คุ้มค่าและตรงกับความต้องการของสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีเป็นสำคัญ ซึ่งเรื่องของที่พักอาศัยถือเป็นปัจจัยหลักพื้นฐานของมนุษย์ เคทีซีจึงจัดเตรียมสิทธิพิเศษที่ช่วยตอบโจทย์แนวคิดและวิถีชีวิตไลฟ์สไตล์ส่วนใหญ่ของสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่เป็นคนรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมองหาความคุ้มค่าในการใช้จ่ายอย่างชาญฉลาด เพื่อให้สมาชิก เคทีซีและผู้บริโภคสามารถเข้าถึงพลังงานทางเลือกได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผลิตภัณฑ์โซลาร์รูฟ และการเข้าถึงผลิตภัณฑ์โซลาร์รูฟได้ง่ายขึ้น โดยในช่วงปีพ.ศ.2564 - 2566 ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีในการติดตั้ง โซลาร์รูฟเติบโตเฉลี่ย 10%”

“เคทีซียังได้เตรียมสิทธิพิเศษในรูปแบบต่างๆ กับพันธมิตรชั้นนำเกี่ยวกับการติดตั้งโซลาร์รูฟ ทั้งการผ่อนชำระ 0% หรือรับเครดิตเงินคืนเพิ่มเติม เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี โดยสามารถติดต่อและหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-123-5000 หรือ โซลาร์ รูฟ (ktc.co.th) เราเชื่อว่าวันนี้พลังงานทางเลือกเป็นเรื่องสำคัญและจะได้รับความสนใจมากขึ้นจากกระแสของการรักษ์โลกและความยั่งยืน เคทีซีจึงต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่นำเสนอความคุ้มค่าให้กับสมาชิกเคทีซี นึกถึงโซลาร์รูฟ นึกถึงบัตรเครดิตเคทีซี นอกจากนี้ ยังเปิดรับธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทางเลือก และสนใจจะเป็นพันธมิตร คู่ค้าร่วมกับเคทีซีในการมอบสิทธิพิเศษให้กับสมาชิก โดยร้านค้าที่สนใจใช้บริการรับชำระของเคทีซี (KTC Merchant Acquiring) สามารถสมัครได้ที่ www.ktc.co.th/merchant หรือติดต่อ Call Center ธุรกิจร้านค้าเคทีซี โทร. 0-2123-5700”

นายสุวัฒน์กล่าวปิดท้าย “สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจจะเปลี่ยนรถจากพลังงานแบบเดิม มาใช้รถพลังงานไฟฟ้า หรือรถ EV เคทีซียินดีมอบสิทธิพิเศษที่ครบวงจรสำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี อาทิ ผ่อนชำระ 0% ค่าจองรถ และค่าดาวน์รถยนต์ EV รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 16% หรือ รับคะแนนสะสมพิเศษสูงถึง 1,000,000 คะแนน เป็นต้น ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โปรโมชั่นบัตรเครดิต KTC รับเครดิตเงินคืน ส่วนลด ของแถม โปร KTC เพียบ หรือโทร. 0-2123-5000”

มนุษย์เราอยู่รอดได้ด้วย 3 สิ่ง คือ อาหาร น้ำ และพลังงาน

ที่เหลือมนุษย์ล้วนผลิตขึ้นมาได้  ยิ่งพลังงานด้วยแล้ว ถ้ามีมากและใช้ให้เป็น ก็จะนำมาช่วยผลิตอาหารและน้ำได้จนเพียงพอแก่การบริโภค

 

ประเทศไทยเราโชคดีที่มีอาหารและน้ำเหลือเฟือ แต่พลังงานนั้นเป็นปัญหามาโดยตลอด 

เพราะเราต้องนำเข้าพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าส  และราคาของเหล่านี้ มักขึ้นต่อ Geopolitics หรือการเมืองของโลก  รัสเซียบุกยูเครน ราษฏรของเราก็ต้องซื้อข้าวแพงขึ้น

OPEC ลดการผลิต เราก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และปีหน้าก็ต้องเติมน้ำมันแพงขึ้นอีก

นี่ยังไม่รู้ว่าฮามาสรบกับอิสราเอล จะส่งผลระยะยาวอย่างไรต่อราคาพลังงาน

แต่เชื่อเถอะ ไม่ดีต่อเราแน่ๆ !

คงไม่เฉพาะแต่เรา ประเทศส่วนใหญ่ในโลกที่ผลิตพลังงานเองไม่ได้ หรือได้ไม่พอใช้ ย่อมต้องเจอผลกระทบทางลบทั้งสิ้น

แล้วทำไมเรายังต้องแขวนชะตากรรมของเรากับ Geopolitics แบบนี้ ซึ่งวุ่นวายอยู่ได้ด้วยน้ำมือผู้นำเพียงไม่กี่กลุ่ม และอดีตก็พิสูจน์มาแล้วว่า แหล่งพลังงานมักเป็นเป้าหมายของการรบพุ่งกัน และมันก็คงจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันไปไม่สิ้นสุดในอนาคต

แต่ละครั้ง พวกเราก็ต้องพลอยลำบากไปด้วย เหมือนถูกเขาจับเป็นตัวประกัน ทั้งๆ ที่หาได้เกี่ยวข้องได้เสียอันใดไม่

เราต้องปลดแอก! 

เราต้องวางแผนให้การผลิตพลังงานของเราในอนาคต มีลักษณะไม่รวมศูนย์ หรือ Decentralize ตีตัวออกห่างจากการเมืองในลักษณะ Geopolitics ของโลก ซึ่งในอนาคตจะเข้มข้นขึ้นเมื่อจีนเข้ามาเป็นผู้เล่นเต็มตัว

 ทางเดียวที่จะทำได้คือต้องหันไปหาพลังงานนิวเคลียร์ เพราะมันสะอาด สอดคล้องกับการแก้ปัญหาโลกร้อน อีกทั้งยังผลิตได้ทีละมากๆ และเริ่มจะถูกลงและปลอดภัยขึ้นแล้วด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ

 

พลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นอุดมคติคือ Nuclear Fusion ซึ่งขณะนี้มนุษย์สามารถพัฒนา Reactor ขึ้นมาได้แล้วในระดับห้องทดลองแต่ในระดับ Commercial นั้นยังต้องรอต่อไป

Nuclear Fusion Technology เป็นเทคโนโลยีของดวงอาทิตย์ เชื่อกันว่าดวงอาทิตย์เปล่งความร้อนด้วยวิธีนี้

 นั่นคือการรวมตัวของนิวเคลียสจากสองให้เหลือเพียงหนึ่ง ภายใต้อุณหภูมิที่สูงมากๆ โดยกระบวนการนี้จะเปล่งพลังงานออกมาจำนวนมากด้วย

มีการทดลองกับธาตุหลายชนิด แต่ที่น่าสนใจคือ Proton-boron (pB-11) เพราะผลลัพธ์ที่ได้ติดมาแค่ฮีเลียม (Helium) เพียง 3 นิวเคลียส ที่เหลือล้วนเป็นพลังงานสะอาด ปราศจากกากกัมมันตภาพรังสี หรือ Radioactive Waste แม้แต่น้อย

สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ในระยะห้องทดลอง แต่ก็มีพัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ ความก้าวหน้าทางด้านวัสดุศาสตร์และ AI น่าจะช่วยสร้างสนามแม่เหล็กที่สามารถควบคุมปฏิกิริยาพลาสม่าในเตาปฏิกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนสามารถนำมาใช้งานจริงได้ในเร็ววัน

 

ส่วนพัฒนาการของ Nuclear Fission Reactor นั้น เครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Third-generation Reactor ก็ได้เพิ่มระบบความปลอดภัยที่สูงมาก และการออกแบบโรงไฟฟ้าสมัยนี้ ก็คำนึงถึงอุบัติเหตุจากภัยธรรมชาติ เช่น ซึนามิและแผ่นดินไหว ซึ่งเคยทำให้เครื่องปฏิกรณ์ที่ฟูกูชิมาแตกมาแล้ว

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์รุ่น 3 อยู่ในจีนและอินเดีย จำนวนเกือบ 10 โรง  ปัจจุบันการออกแบบและผลิตเตาปฏิกรณ์โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ (Fourth-generation Reactor) เช่น sodium-cooled fast reactors (SFRs), gas-cooled fast reactors (GFRs), very high temperature reactors (VHTRs), and molten salt reactors (MSRs) ก็พบว่าทดลองแล้วได้ผลดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์แบบกระทัดรัด ที่เรียกว่า SMR (Small Modular Reactor) นั้น จะปลอดภัยยิ่งขึ้นไปอีก และจะลดต้นทุนได้มาก เพราะราคาถูกลงแยะ และผลิตได้ทีละมากๆ ขนย้ายไปติดตั้งได้ง่าย ซึ่งผู้พัฒนา (NuScale) ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ เรียบร้อยแล้ว


การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ขับขี่รุ่นใหม่ ที่หันมาใช้รถยนต์ EV แทนรถยนต์แบบสันดาบภายใน การอุบัติขึ้นของ Generative AI ในนาม ChatGpt ส่งผลให้องค์กรทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐทั่วโลกวางแผนที่จะนำ AI มาประยุกต์ใช้กับงานของตนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน การเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดย AI ในภาคการผลิตและภาคบริการ กระแสความนิยมขององค์กรภาคธุรกิจและภาครัฐต่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลและซอฟท์แวร์ขึ้นไปอยู่บน Cloud Computer (เทรนด์นี้เรียกว่า Digital Transformation) ตลอดจนขนาดของการสร้าง เคลื่อนย้าย และจัดเก็บ ข้อมูลในยุค 5G, 6G, 7G…..

เหล่านี้ย่อมต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะคอมพิวเตอร์ต้องเพิ่ม หน่วยความจำและหน่วยประมวลผลต้องเพิ่ม ศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center และ จุดชาร์ตแบตเตอรี่รถยนต์และพาหนะ EV ทั้งปวง ก็ต้องเพิ่ม และจะเป็นการเพิ่มแบบก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้เสียด้วย เพราะ Adoption Rate ของ EV และ AI เพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นและกำลังจะ Take-off

 สิ่งเหล่านี้เป็นคำตอบอยู่ในตัวว่าไทยเรายังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล และทุกข์ของเราจะไม่หมดไป ถ้ายังไม่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง

โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว / Editor in Chief _MBA magazine

09/10/2566

ถาม: ทำไมไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ถึงมีความสำคัญมากในอนาคต ทั้งๆ ที่คนส่วนใหญ่คิดว่ามันอันตราย แต่ MBA ยังบอกว่ามันควรเป็น Investment Theme ที่น่าจับตานับแต่นี้?

ตอบ: เทคโนโลยีที่ใช้กับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ปัจจุบันทั้งหมดเป็นแบบ Nuclear Fission Technology
พูดแบบง่ายๆ คือใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาทำการแยกนิวเคลียสของอะตอม (โดยทั่วไปใช้ธาตุยูเรเนียมเป็นวัตถุดิบ) จากหนึ่งให้เป็นสองหรือมากกว่านั้น ซึ่งในกระบวนการนี้เราจะได้พลังงานจำนวนหนึ่ง ที่เรียกว่าพลังงานนิวเคลียร์ นั่นเอง
แล้วค่อยเอาพลังงานความร้อนอันนี้ไปต้มน้ำเพื่อใช้ไอน้ำไปปั่นเครื่องปั่นไฟ แล้วค่อยนำกระแสไฟฟ้าไปใช้ในบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม
ข้อดีของพลังงานแบบนี้คือมันสะอาด ไม่ปล่อยคาร์บอนและสารพิษสู่อากาศ มีเสถียรภาพ ผลิตไฟได้มากและไม่ขาดสาย แม้โรงงานและเครื่องปฏิกรณ์ (Nuclear Reactor) จะแพง แต่พลังงานที่ได้มีราคาถูก ในระยะยาวจะประหยัดกว่ามาก
ส่วนข้อเสียคือมันจะเกิดขยะกัมมันตภาพรังสี แม้จะมีเพียงจำนวนน้อย แต่ถ้าจัดเก็บไม่ดี หรือกำจัดไม่ถูกวิธี มันจะเป็นอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อมทั้งมวล
การที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่เป็นที่นิยมของมหาชนเพราะเมื่อมันเกิดอุบัติเหตุ ขยะกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล ส่งผลร้ายแรงต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม ก็มักจะเป็นข่าวคึกโครม ดังตัวอย่างที่เชอร์โนบิลและฟูกูชิมา
ทว่าในความเป็นจริงแล้ว เครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Third-generation Reactor มีระบบความปลอดภัยสูงมาก และการออกแบบโรงไฟฟ้าสมัยนี้ ก็คำนึงถึงอุบัติเหตุจากภัยธรรมชาติ เช่น ซึนามิและแผ่นดินไหว ซึ่งเคยทำให้เครื่องปฏิกรณ์ที่ฟูกูชิมาแตกมาแล้ว
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์รุ่น 3 อยู่ในจีนและอินเดีย จำนวนเกือบ 10 โรง
ปัจจุบันการออกแบบและผลิตเตาปฏิกรณ์โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ (Fourth-generation Reactor) เช่น sodium-cooled fast reactors (SFRs), gas-cooled fast reactors (GFRs), very high temperature reactors (VHTRs), and molten salt reactors (MSRs) ก็พบว่าทดลองแล้วได้ผลดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์แบบกระทัดรัด ที่เรียกว่า SMR (Small Modular Reactor) นั้น จะปลอดภัยยิ่งขึ้นไปอีก และจะลดต้นทุนได้มาก เพราะราคาถูกลงแยะ ซึ่งผู้พัฒนาได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ เรียบร้อยแล้ว (เราได้อธิบายไว้ในบทความและคลิปที่ออนไลน์ไปแล้วด้วย)
เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ช่วยให้มหาชนในบางประเทศวางใจต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากขึ้น ทำให้นักการเมืองกล้าตัดสินใจอนุมัติให้สร้างโรงใหม่ๆ ได้ เพราะความต้องการไฟฟ้าในโลกปัจจุบันเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ถ้าไม่เร่งสร้าง อาจเกิดขาดแคลนได้ในอนาคตอันใกล้ และพลังงานนิวเคลียร์นี่แหล่ะที่จะช่วยปิดสวิสต์โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลทั้งหลาย และจะช่วยให้โลกสะอาดขึ้นและเย็นลง


การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ขับขี่รุ่นใหม่ ที่หันมาใช้รถยนต์ EV แทนรถยนต์แบบสันดาบภายใน การอุบัติขึ้นของ Generative AI ในนาม ChatGpt ส่งผลให้องค์กรทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐทั่วโลกวางแผนที่จะนำ AI มาประยุกต์ใช้กับงานของตนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน การเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดย AI ในภาคการผลิตและภาคบริการ กระแสความนิยมขององค์กรภาคธุรกิจและภาครัฐต่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลและซอฟท์แวร์ขึ้นไปอยู่บน Cloud Computer (เทรนด์นี้เรียกว่า Digital Transformation) ตลอดจนขนาดของการสร้าง เคลื่อนย้าย และจัดเก็บ ข้อมูลในยุค 5G, 6G, 7G…..
เหล่านี้ย่อมต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะคอมพิวเตอร์ต้องเพิ่ม หน่วยความจำและหน่วยประมวลผลต้องเพิ่ม ศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center และ จุดชาร์ตแบตเตอรี่รถยนต์และพาหนะ EV ทั้งปวง ก็ต้องเพิ่ม และจะเป็นการเพิ่มแบบก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้เสียด้วย เพราะ Adoption Rate ของ EV และ AI เพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นและกำลังจะ Take-off
สิ่งเหล่านี้เป็นคำตอบอยู่ในตัวว่าทำไมโลกยังต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และในฐานะนักลงทุน เราต้องจับตาต่อเทรนด์นี้อย่างไม่กระพริบตา
และที่น่าจับตาต่อยอดจากเทรนด์นี้ไปอีก คือพัฒนาการของเทคโนโลยี Fusion
Nuclear Fusion Technology เป็นเทคโนโลยีของดวงอาทิตย์ เชื่อกันว่าดวงอาทิตย์เปล่งความร้อนด้วยวิธีนี้
นั่นคือการรวมตัวของนิวเคลียสจากสองให้เหลือเพียงหนึ่ง ภายใต้อุณหภูมิที่สูงมากๆ โดยกระบวนการนี้จะเปล่งพลังงานออกมาจำนวนมากด้วย

มีการทดลองกับธาตุหลายชนิด แต่ที่น่าสนใจคือ Proton-boron (pB-11) เพราะผลลัพธ์ที่ได้ติดมาแค่ฮีเลียม (Helium) เพียง 3 นิวเคลียส ที่เหลือล้วนเป็นพลังงานสะอาด ปราศจากกากกัมมันตภาพรังสี หรือ Radioactive Waste แม้แต่น้อย
สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ในระยะห้องทดลอง แต่ก็มีพัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ ความก้าวหน้าทางด้านวัสดุศาสตร์และ AI น่าจะช่วยสร้างสนามแม่เหล็กที่สามารถควบคุมปฏิกิริยาพลาสม่าในเตาปฏิกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนสามารถนำมาใช้งานจริงได้ในเร็ววัน
เทคโนโลยีนี้ จะช่วยให้นักต่อต้านนิวเคลียร์ทั้งหลาย คลายความกังวลลงได้ ทั้ง NGO นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นักการเมือง และผู้กุมอำนาจรัฐบางส่วน
ภาพลักษณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์น่าจะดีขึ้นแยะ
ก่อนจะจบ ข้อมูลอย่างนึงที่คนมักไม่สนใจคือ แผงโซล่าเซลที่ใช้สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้านั้น อันที่จริงก็มีส่วนผสมจากสารเคมีที่เป็นพิษต่อธรรมชาติ และเมื่อเราใช้แผงเหล่านี้ไปเรื่อยๆ ผ่านไปสัก 15 ปี ประสิทธิภาพมันก็จะลดลง เหมือนกับแบตเตอรี่รถ EV ซึ่งเสื่อมเร็วกว่านั้นมาก
พวกมันจำเป็นต้องปลดระวาง และเปลี่ยนอันใหม่มาใช้แทน
ขยะเหล่านั้น คุณคิดว่ามันจะไปไหน?

โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว / Editor in Chief _MBA magazine

05/10/2566

นายปิยะ ประยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า “พฤกษา มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ด้วยการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม ควบคู่กับความใส่ใจและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Heart to Earth)  พฤกษาจึงดำเนินการในหลากหลายมิติ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน  ซึ่งการเลือกใช้พลังงานทางเลือก (Renewable Energy) ด้วยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นหนึ่งในแนวทางเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เนื่องจากเห็นว่าเมืองไทยเป็นเมืองร้อน และมีแดดแรงเกือบตลอดปี  จึงได้นำแผงโซล่าเซลล์มาติดตั้งในส่วนกลางของโครงการที่อยู่อาศัยของบริษัทฯ แม้ว่าจะใช้การลงทุนติดตั้งที่ค่อนข้างสูง แต่หากมองในระยะยาวก็จะเป็นประโยชน์ต่อลูกบ้านในการประหยัดค่าไฟฟ้า และรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย โดยพฤกษาได้เริ่มทะยอยติดตั้งโซล่าเซลล์ในโครงการบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์มาแล้วตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งหมดราว 100 โครงการ  โดยได้แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้บริเวณ บ่อบำบัดน้ำเสีย ไฟสวนสาธารณะ คลับเฮาส์ และสำนักงานนิติบุคคล เป็นต้น

จากการเก็บข้อมูลในปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่าในบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ 12 โครงการ ที่ได้มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในพื้นที่ส่วนกลางของโครงการ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปได้ถึง 85% และ ประหยัดการใช้ไฟฟ้าไปได้ถึง 239,940 กิโลวัตต์ต่อปี  (คิดเป็น 62%)   ในปีนี้จึงมีแผนขยายการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในพื้นที่ส่วนกลางของโครงการอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็นโครงการทาวน์เฮาส์ 13 โครงการ โครงการบ้านเดี่ยว 7 โครงการ พร้อมทั้งขยายการติดตั้งการใช้พลังงานสีเขียวนี้ไปยังโครงการคอนโดมิเนียมอีก 7 โครงการด้วย

เพราะปัญหาโลกร้อนในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องไกลตัวของเราอีกต่อไป นอกจากการใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสังคมคุณภาพแล้ว ในเรื่องการอยู่อาศัยที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน นอกจากการติดตั้งโซล่าเซลล์ในโครงการแล้ว พฤกษายังมีโครงการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกหลายโครงการที่ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ โครงการ “วน @PRUKSA”  เชิญชวนลูกบ้านร่วมกันคัดแยกพลาสติกที่ยืดได้ รวบรวมและนำกลับมารีไซเคิลใหม่, โครงการการลดการเผาขยะในไซต์ก่อสร้าง เพื่อลดการเกิดมลภาวะฝุ่นละออง PM 2.5 และโครงการใช้โบรชัวร์ทางอิเลคทรอนิก (E-Brochure) เพื่อลดการใช้กระดาษ สร้างขยะให้กับสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในบ้านที่ช่วยลดการใช้พลังงาน เช่น หลอดไฟ LED ก็อกและโถสุขภัณฑ์ประหยัดพลังงาน เป็นต้น ซึ่งพฤกษาจะดำเนินโครงการเหล่านี้อย่างต่อเนื่องเรื่อยไปตามนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ตั้งไว้”

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click