November 23, 2024

คนจำนวนมากที่หันมาใช้รถ EV แล้วนึกว่าตัวเองได้ช่วยรักษ์โลกอย่างยิ่งใหญ่ เพราะเลิกใช้พลังงานสกปรกอย่างน้ำมัน หันมาใช้พลังงานสะอาดอย่างไฟฟ้าแทน

คนเหล่านี้คิดผิดไปถนัด

เพราะพวกเขามิได้มองภาพรวม น้อยคนที่ตั้งคำถามกับตัวเองว่า “แล้วพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ชาร์ตแบ็ตรถอีวีนั้นมาจากไหน?” “โรงไฟฟ้าเหล่านั้นใช้พลังงานอะไรในการผลิตไฟฟ้า...ถ่านหิน น้ำมัน เขื่อน ก๊าซธรรมชาติ แสงอาทิตย์จากแผงโซล่า หรือพลังงานลมจากกังหันยักษ์?”

อย่าลืมว่าการทำงานของแผงโซล่าต้องอาศัย Toxic Chemical หลายชนิด และในกระบวนการผลิตก็มีการปล่อย Greenhouse Gas หลายชนิด เช่น Nitrogen Trifluoride และ Sulfur Hexafluoride เป็นต้น
และเมื่อใช้งานเกิน 15 ปี ประสิทธิภาพของแผงโซล่าจะลดลงมาก จนต้องรื้อทิ้งแล้วเปลี่ยนแผงใหม่ และการรื้อทิ้งนี่แหล่ะที่ก่อปัญหามาก เพราะมันรีไซเคิลลำบาก ตอนนี้โลกก็ต้องเผชิญกับขยะโซล่าที่ต้องฝังหรือทิ้งไว้ตามพื้นที่รกร้างต่างๆ กันเป็นจำนวนมาก
อีกทั้งการติดตั้งแผงโซล่านั้นต้องอาศัยพื้นที่ขนาดใหญ่ อย่างโครงการเม็กกะโปรเจ็ก Gemini Solar Project กลางทะเลทรายของรัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกานั้น ต้องใช้พื้นที่ถึงราว 7 พันเอเคอร์ ซึ่งต่อมานักธรรมชาติวิทยาพบว่า มันกระทบกับพฤติกรรมของสัตว์จำนวนมาก และมีความเสี่ยงที่สัตว์หลายชนิดอาจสูญพันธุ์ไปจากแถบนั้นได้ เช่น เต่าทะเลทราย (Desert Tortoise) จิ๊งจอกคิต (Kit Fox) และนกฮูกเบอร์โรวิ่ง (Burrowing Owl) เป็นต้น

โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนยิ่งไม่ต้องพูดถึง ว่ามันกระทบต่อทางเดินของน้ำและระบบนิเวศมากเพียงใด

ไฟฟ้าพลังลมเองก็ต้องอาศัย Wind Farm ที่ติดตั้งเสาสูงพร้อมกังหันลมยักษ์จำนวนมาก ที่อาจกระทบต่อเส้นทางอพยพของนกบางชนิด และวัสดุที่ใช้ทำใบพัดของกังหันก็ต้องเป็นวัสดุพิเศษราคาแพงที่เมื่อหมดอายุใช้งานแล้ว ย่อมก่อปัญหาขยะมลพิษเช่นกัน

น่าเสียดายที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงประเด็นเหล่านี้ เพราะเมื่อดูแบบครบวงจรแล้ว พวกมันล้วนสร้างผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอยู่ดี แม้จะไม่เกิดขึ้นในรอบแรกเหมือนการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกของน้ำมันปิโตรเลียมขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศแบบโต้งๆ แต่ก็ยังแอบปนเปื้อนต่อสภาพแวดล้อมในรอบที่สองและรอบต่อๆ ไปอยู่ดี


ยังไม่นับว่าพลังงานประเภท Renewable Energy เหล่านี้ ยังต้องอาศัยแหล่งเก็บพลังงานสำรอง (เช่นแบ็ตเตอรี่) ที่ทรงประสิทธิภาพสูงอีกด้วย (เก็บไว้ใช้ในช่วงที่แสงแดดน้อยหรือลมพัดเอื่อยๆ) อย่างกรณีของแผงโซล่านั้น เทคโนโลยีปัจจุบันส่วนใหญ่สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าได้เพียงประมาณ 15-18% เท่านั้นเอง แม้ในวันที่แสงแดดแรงกล้าก็ตาม


ดังนั้นการวางยุทธศาสตร์ระยะยาวเกี่ยวกับพลังงานสะอาด หรือ Clean Energies นั้น เราต้องคิดให้ลึกและรอบคอบ ต้องมองภาพรวมให้ออกว่า พลังงานแต่ละประเภทผลิตขึ้นมาได้อย่างไร ต้องเกี่ยวข้องกับวัสดุและเคมีชนิดใดบ้าง และเมื่อหมดอายุใช้งานแล้วจะก่อเกิดขยะที่เป็นปัญหาหรือไม่ อย่างไร ?

ประเด็นเหล่านี้นำเรามาสู่พลังงานนิวเคลียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Nuclear Fusion ซึ่งน่าจะเป็นอนาคตของพลังงานสะอาดที่แท้จริง เพราะพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยา Nuclear Fusion (ต่างกับ Nuclear Fission) จะปราศจากกากนิวเคลียร์ (Radioactive Waste) และปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่น้อยมากๆ เมื่อเทียบกับการผลิตพลังงานสะอาดประเภทอื่น

วิสัยทัศน์ของเราคือในอนาคตจะมีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น โดยการใช้เตาปฏิกรณ์หรือเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็กหรือขนาดกลาง (Compact Nuclear Reactor) กระจายกันไปในหลายพื้นที่ ตามแต่ความต้องการการใช้พลังงานในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วโลก  เป็นการผลิตพลังงานแบบกระจายศูนย์หรือ Decentralized Energy Production และราคาถูก นั่นเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในขณะนี้ แต่ทิศทางของเทคโนโลยีและการทดลองในโลกล้วนบ่งชี้ว่าจะเป็นไปในแนวนั้น ไม่ว่าจะเป็น Joint European Torus (JET) laboratory (ผู้ผลิตเตาปฏิกรณ์ ITER) Commonwealth Nuclear Fusion Systems และ TAE Technologies
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Zap Energy ที่คิดค้นระบบ Z-pinch และได้รับความสนใจจากบรรดา Venture Capitalist เบอร์สำคัญๆ เพราะเมื่อเร็วๆ นี้สามารถระดมทุนในรอบ Series C ได้ถึง 270.4 ล้านเหรียญฯ ทั้งๆ ที่การระดมทุนครั้งก่อนหน้า (Series B) ได้มาเพียง 27.5 ล้านเหรียญฯ เท่านั้น แสดงว่าบรรดานักลงทุนมองวิธีการสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบ Z-pinch ว่าอาจจะมาปฏิวัติวงการนี้ก็ได้
Zap Energy แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีแบบ Z-pinch ทำงานด้วยแนวคิดง่ายๆ เฉกเช่น “การจุดไฟในขวด” (Creates Lightening in a Bottle) ดังรูปประกอบข้างล่างนี้

Zap Energy’s Approach to Fusion

Source: ARPA-E
กล่าวแบบรวบรัดคือ ทีมงานจะค่อยๆ ฉีดพลาสม่าลงไปในห้องว่างที่เป็นสูญญากาศ แล้วจุดไฟเผาพลาสม่าให้ร้อนในห้องสูญญากาศนั้นบรรจุไว้ด้วยธาตุที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชั่น ซึ่งเมื่อพลาสม่าร้อนถึงระดับที่เหมาะสม จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นขึ้น และนิวตรอนที่ทรงพลังงานศักย ก็จะคายพลังงานออกมา โดยนิวตรอน (หรือตอนนี้เป็นพลังงาน) เหล่านั้นจะถูกจับไว้โดย Jacket โลหะที่ห่อหุ้มแกนกลางของชุดปฏิกรณ์นี้อยู่ (ที่เป็นรูปตัว U คว่ำในภาพ) โดยขณะนั้นอุณหภูมิก็จะเย็นลง พลังงานที่ได้จะถูกนำไปใช้เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าในที่สุด ซึ่งวิธีการนี้นับว่าใช้พลังงานเริ่มต้น (ในการเผาพลาสม่า) น้อยกว่าวิธีอื่น (เช่นของ ITER เป็นต้น)

สำหรับผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐาน เราขอสรุปให้ฟังอย่างง่ายว่า Nuclear Fusion Technology เป็นเทคโนโลยีของดวงอาทิตย์ เชื่อกันว่าดวงอาทิตย์เปล่งความร้อนด้วยวิธีนี้ นั่นคือการรวมตัวของนิวเคลียสจากสองให้เหลือเพียงหนึ่ง ภายใต้อุณหภูมิที่สูงมากๆ โดยกระบวนการนี้จะเปล่งพลังงานออกมาจำนวนมากด้วย

มีการทดลองกับธาตุหลายชนิด แต่ที่น่าสนใจคือ Proton-boron (pB-11) เพราะผลลัพธ์ที่ได้ติดมาแค่ฮีเลียม (Helium) เพียง 3 นิวเคลียส ที่เหลือล้วนเป็นพลังงานสะอาด ปราศจากกากกัมมันตภาพรังสี หรือ Radioactive Waste แม้แต่น้อย สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ในระยะห้องทดลอง แต่ก็มีพัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ ความก้าวหน้าทางด้านวัสดุศาสตร์และ AI น่าจะช่วยสร้างสนามแม่เหล็กที่สามารถควบคุมปฏิกิริยาพลาสม่าในเตาปฏิกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนสามารถนำมาใช้งานจริงได้ในเร็ววัน

เทคโนโลยีนี้ จะช่วยให้นักต่อต้านนิวเคลียร์ทั้งหลาย คลายความกังวลลงได้ ทั้ง NGO นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นักการเมือง และผู้กุมอำนาจรัฐบางส่วน

เทคโนโลยีที่ใช้กับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในโลกปัจจุบันทั้งหมดเป็นแบบ Nuclear Fission Technology พูดแบบง่ายๆ คือใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาทำการแยกนิวเคลียสของอะตอม (โดยทั่วไปใช้ธาตุยูเรเนียมเป็นวัตถุดิบ) จากหนึ่งให้เป็นสองหรือมากกว่านั้น ซึ่งในกระบวนการนี้เราจะได้พลังงานจำนวนหนึ่ง ที่เรียกว่าพลังงานนิวเคลียร์ นั่นเอง แล้วค่อยเอาพลังงานความร้อนอันนี้ไปต้มน้ำเพื่อใช้ไอน้ำไปปั่นเครื่องปั่นไฟ แล้วค่อยนำกระแสไฟฟ้าไปใช้ในบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อดีของพลังงานแบบนี้คือมันสะอาด ไม่ปล่อยคาร์บอนและสารพิษสู่อากาศ มีเสถียรภาพ ผลิตไฟได้มากและไม่ขาดสาย แม้โรงงานและเครื่องปฏิกรณ์ (Nuclear Reactor) จะแพง แต่พลังงานที่ได้มีราคาถูก ในระยะยาวจะประหยัดกว่ามาก

ส่วนข้อเสียคือมันจะเกิดขยะกัมมันตภาพรังสี แม้จะมีเพียงจำนวนน้อย แต่ถ้าจัดเก็บไม่ดี หรือกำจัดไม่ถูกวิธี มันจะเป็นอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อมทั้งมวล การที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่เป็นที่นิยมของมหาชนเพราะเมื่อมันเกิดอุบัติเหตุ ขยะกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล ส่งผลร้ายแรงต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม ก็มักจะเป็นข่าวคึกโครม ดังตัวอย่างที่เชอร์โนบิลและฟูกูชิมา ทว่าในความเป็นจริงแล้ว เครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Third-generation Reactor มีระบบความปลอดภัยสูงมาก และการออกแบบโรงไฟฟ้าสมัยนี้ ก็คำนึงถึงอุบัติเหตุจากภัยธรรมชาติ เช่น ซึนามิและแผ่นดินไหว ซึ่งเคยทำให้เครื่องปฏิกรณ์ที่ฟูกูชิมาแตกมาแล้ว
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์รุ่น 3 อยู่ในจีนและอินเดีย จำนวนเกือบ 10 โรง

ปัจจุบันการออกแบบและผลิตเตาปฏิกรณ์โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ (Fourth-generation Reactor) เช่น sodium-cooled fast reactors (SFRs), gas-cooled fast reactors (GFRs), very high temperature reactors (VHTRs), and molten salt reactors (MSRs) ก็พบว่าทดลองแล้วได้ผลดี

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์แบบกระทัดรัด ที่เรียกว่า SMR (Small Modular Reactor) นั้น จะปลอดภัยยิ่งขึ้นไปอีก และจะลดต้นทุนได้มาก เพราะราคาถูกลงแยะ ซึ่งผู้พัฒนาได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ เรียบร้อยแล้ว (MBA เราได้อธิบายไว้ในบทความและคลิปที่ออนไลน์ไปแล้วด้วย)
เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ช่วยให้มหาชนในบางประเทศวางใจต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากขึ้น ทำให้นักการเมืองกล้าตัดสินใจอนุมัติให้สร้างโรงใหม่ๆ ได้ เพราะความต้องการไฟฟ้าในโลกปัจจุบันเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ถ้าไม่เร่งสร้าง อาจเกิดขาดแคลนได้ในอนาคตอันใกล้ และพลังงานนิวเคลียร์นี่แหล่ะที่จะช่วยปิดสวิสต์โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลทั้งหลาย และจะช่วยให้โลกสะอาดขึ้นและเย็นลง
การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ขับขี่รุ่นใหม่ ที่หันมาใช้รถยนต์ EV แทนรถยนต์แบบสันดาบภายใน การอุบัติขึ้นของ Generative AI ในนาม ChatGpt ส่งผลให้องค์กรทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐทั่วโลกวางแผนที่จะนำ AI มาประยุกต์ใช้กับงานของตนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน การเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดย AI ในภาคการผลิตและภาคบริการ กระแสความนิยมขององค์กรภาคธุรกิจและภาครัฐต่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลและซอฟท์แวร์ขึ้นไปอยู่บน Cloud Computer (เทรนด์นี้เรียกว่า Digital Transformation) ตลอดจนขนาดของการสร้าง เคลื่อนย้าย และจัดเก็บ ข้อมูลในยุค 5G, 6G, 7G…..
เหล่านี้ย่อมต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะคอมพิวเตอร์ต้องเพิ่ม หน่วยความจำและหน่วยประมวลผลต้องเพิ่ม ศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center และ จุดชาร์ตแบตเตอรี่รถยนต์และพาหนะ EV ทั้งปวง ก็ต้องเพิ่ม และจะเป็นการเพิ่มแบบก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้เสียด้วย เพราะ Adoption Rate ของ EV และ AI เพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นและกำลังจะ Take-of ดังนั้น การหันมาใช้แหล่งพลังงานสะอาดจึงจำเป็นต่อการอนุรักษ์โลก ทว่า การวางยุทธศาสตร์พลังงานสะอาดในระยะยาว ก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยแบบครบวงจรที่กล่าวข้างต้นด้วย

โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว / Editor in Chief _MBA magazine

20/01/2567

 

มนุษย์เราอยู่รอดได้ด้วย 3 สิ่ง คือ อาหาร น้ำ และพลังงาน

ที่เหลือมนุษย์ล้วนผลิตขึ้นมาได้  ยิ่งพลังงานด้วยแล้ว ถ้ามีมากและใช้ให้เป็น ก็จะนำมาช่วยผลิตอาหารและน้ำได้จนเพียงพอแก่การบริโภค

 

ประเทศไทยเราโชคดีที่มีอาหารและน้ำเหลือเฟือ แต่พลังงานนั้นเป็นปัญหามาโดยตลอด 

เพราะเราต้องนำเข้าพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าส  และราคาของเหล่านี้ มักขึ้นต่อ Geopolitics หรือการเมืองของโลก  รัสเซียบุกยูเครน ราษฏรของเราก็ต้องซื้อข้าวแพงขึ้น

OPEC ลดการผลิต เราก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และปีหน้าก็ต้องเติมน้ำมันแพงขึ้นอีก

นี่ยังไม่รู้ว่าฮามาสรบกับอิสราเอล จะส่งผลระยะยาวอย่างไรต่อราคาพลังงาน

แต่เชื่อเถอะ ไม่ดีต่อเราแน่ๆ !

คงไม่เฉพาะแต่เรา ประเทศส่วนใหญ่ในโลกที่ผลิตพลังงานเองไม่ได้ หรือได้ไม่พอใช้ ย่อมต้องเจอผลกระทบทางลบทั้งสิ้น

แล้วทำไมเรายังต้องแขวนชะตากรรมของเรากับ Geopolitics แบบนี้ ซึ่งวุ่นวายอยู่ได้ด้วยน้ำมือผู้นำเพียงไม่กี่กลุ่ม และอดีตก็พิสูจน์มาแล้วว่า แหล่งพลังงานมักเป็นเป้าหมายของการรบพุ่งกัน และมันก็คงจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันไปไม่สิ้นสุดในอนาคต

แต่ละครั้ง พวกเราก็ต้องพลอยลำบากไปด้วย เหมือนถูกเขาจับเป็นตัวประกัน ทั้งๆ ที่หาได้เกี่ยวข้องได้เสียอันใดไม่

เราต้องปลดแอก! 

เราต้องวางแผนให้การผลิตพลังงานของเราในอนาคต มีลักษณะไม่รวมศูนย์ หรือ Decentralize ตีตัวออกห่างจากการเมืองในลักษณะ Geopolitics ของโลก ซึ่งในอนาคตจะเข้มข้นขึ้นเมื่อจีนเข้ามาเป็นผู้เล่นเต็มตัว

 ทางเดียวที่จะทำได้คือต้องหันไปหาพลังงานนิวเคลียร์ เพราะมันสะอาด สอดคล้องกับการแก้ปัญหาโลกร้อน อีกทั้งยังผลิตได้ทีละมากๆ และเริ่มจะถูกลงและปลอดภัยขึ้นแล้วด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ

 

พลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นอุดมคติคือ Nuclear Fusion ซึ่งขณะนี้มนุษย์สามารถพัฒนา Reactor ขึ้นมาได้แล้วในระดับห้องทดลองแต่ในระดับ Commercial นั้นยังต้องรอต่อไป

Nuclear Fusion Technology เป็นเทคโนโลยีของดวงอาทิตย์ เชื่อกันว่าดวงอาทิตย์เปล่งความร้อนด้วยวิธีนี้

 นั่นคือการรวมตัวของนิวเคลียสจากสองให้เหลือเพียงหนึ่ง ภายใต้อุณหภูมิที่สูงมากๆ โดยกระบวนการนี้จะเปล่งพลังงานออกมาจำนวนมากด้วย

มีการทดลองกับธาตุหลายชนิด แต่ที่น่าสนใจคือ Proton-boron (pB-11) เพราะผลลัพธ์ที่ได้ติดมาแค่ฮีเลียม (Helium) เพียง 3 นิวเคลียส ที่เหลือล้วนเป็นพลังงานสะอาด ปราศจากกากกัมมันตภาพรังสี หรือ Radioactive Waste แม้แต่น้อย

สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ในระยะห้องทดลอง แต่ก็มีพัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ ความก้าวหน้าทางด้านวัสดุศาสตร์และ AI น่าจะช่วยสร้างสนามแม่เหล็กที่สามารถควบคุมปฏิกิริยาพลาสม่าในเตาปฏิกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนสามารถนำมาใช้งานจริงได้ในเร็ววัน

 

ส่วนพัฒนาการของ Nuclear Fission Reactor นั้น เครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Third-generation Reactor ก็ได้เพิ่มระบบความปลอดภัยที่สูงมาก และการออกแบบโรงไฟฟ้าสมัยนี้ ก็คำนึงถึงอุบัติเหตุจากภัยธรรมชาติ เช่น ซึนามิและแผ่นดินไหว ซึ่งเคยทำให้เครื่องปฏิกรณ์ที่ฟูกูชิมาแตกมาแล้ว

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์รุ่น 3 อยู่ในจีนและอินเดีย จำนวนเกือบ 10 โรง  ปัจจุบันการออกแบบและผลิตเตาปฏิกรณ์โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ (Fourth-generation Reactor) เช่น sodium-cooled fast reactors (SFRs), gas-cooled fast reactors (GFRs), very high temperature reactors (VHTRs), and molten salt reactors (MSRs) ก็พบว่าทดลองแล้วได้ผลดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์แบบกระทัดรัด ที่เรียกว่า SMR (Small Modular Reactor) นั้น จะปลอดภัยยิ่งขึ้นไปอีก และจะลดต้นทุนได้มาก เพราะราคาถูกลงแยะ และผลิตได้ทีละมากๆ ขนย้ายไปติดตั้งได้ง่าย ซึ่งผู้พัฒนา (NuScale) ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ เรียบร้อยแล้ว


การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ขับขี่รุ่นใหม่ ที่หันมาใช้รถยนต์ EV แทนรถยนต์แบบสันดาบภายใน การอุบัติขึ้นของ Generative AI ในนาม ChatGpt ส่งผลให้องค์กรทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐทั่วโลกวางแผนที่จะนำ AI มาประยุกต์ใช้กับงานของตนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน การเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดย AI ในภาคการผลิตและภาคบริการ กระแสความนิยมขององค์กรภาคธุรกิจและภาครัฐต่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลและซอฟท์แวร์ขึ้นไปอยู่บน Cloud Computer (เทรนด์นี้เรียกว่า Digital Transformation) ตลอดจนขนาดของการสร้าง เคลื่อนย้าย และจัดเก็บ ข้อมูลในยุค 5G, 6G, 7G…..

เหล่านี้ย่อมต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะคอมพิวเตอร์ต้องเพิ่ม หน่วยความจำและหน่วยประมวลผลต้องเพิ่ม ศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center และ จุดชาร์ตแบตเตอรี่รถยนต์และพาหนะ EV ทั้งปวง ก็ต้องเพิ่ม และจะเป็นการเพิ่มแบบก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้เสียด้วย เพราะ Adoption Rate ของ EV และ AI เพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นและกำลังจะ Take-off

 สิ่งเหล่านี้เป็นคำตอบอยู่ในตัวว่าไทยเรายังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล และทุกข์ของเราจะไม่หมดไป ถ้ายังไม่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง

โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว / Editor in Chief _MBA magazine

09/10/2566

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และนายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ร่วมฉลองความสำเร็จในการสนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan : SLL) ของ EXIM BANK จำนวน 500 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการผลิตแบตเตอรี่สำหรับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าของ EA ในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จากเดิมผลิตได้ 1 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมง เป็น 4 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมง ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566

การสนับสนุนของ EXIM BANK ในครั้งนี้เพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ EA โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกํากับดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social and Governance : ESG) ครอบคลุมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด ได้แก่ สถานีอัดประจุ ยานยนต์ไฟฟ้า เรือโดยสารไฟฟ้า แบตเตอรี่ และระบบกักเก็บพลังงาน ซึ่งบริษัทจดทะเบียนอยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment : THIS) 5 ปีติดต่อกัน ได้รับรางวัลและการยอมรับด้านความยั่งยืนจากองค์กรในประเทศและระดับสากล สอดคล้องกับเป้าหมายของ EXIM BANK ในการเป็น ‘Green Development Bank’ โดยมุ่งสู่การเป็น Carbon Neutral Organization ภายในปี 2573 ภายใต้นโยบายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Finance) เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่เป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) อันเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับการเติบโตของภาคธุรกิจ ควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยและโลกโดยรวม

X

Right Click

No right click