November 21, 2024

SABINA ย้ำความมั่นใจ ท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นในตลาดช้อปปิ้งออนไลน์ โดยยังคงรักษาตำแหน่งแบรนด์แฟชั่นอันดับหนึ่งในช่องทางขายที่ไม่มีหน้าร้าน (NSR) ได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีผู้เล่นใหม่เข้ามาในตลาด นางสาวดวงดาว มหะนาวานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท เปิดเผยว่า SABINA ไม่ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีจุดแข็งในเรื่องคุณภาพสินค้า ราคา และบริการทั้งก่อนและหลังการขาย ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี

SABINA ใช้ 3 ปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนความสำเร็จ ได้แก่ การพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการลูกค้า การให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว และการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ SABINA ตั้งเป้ายอดขาย NSR เติบโตไม่ต่ำกว่า 15% ในปีนี้

ปัจจุบัน SABINA ขายสินค้าผ่าน 3 ช่องทางหลัก ได้แก่ ช่องทางค้าปลีก (Retail), ช่องทางที่ไม่มีหน้าร้าน (NSR), และรับจ้างผลิต (OEM) ซึ่งในครึ่งปีแรกของปี 2567 ช่องทาง NSR เติบโตถึง 31.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จและความพึงพอใจของลูกค้า

นอกจากนี้ SABINA ยังไม่หยุดที่จะหาช่องทางการตลาดใหม่ ๆ และการพัฒนาธุรกิจในช่องทาง NSR ซึ่งเชื่อว่าจะขยายฐานลูกค้าออนไลน์ได้มากขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ ซึ่งบริษัทได้เข้าถือหุ้นใน Moda ฟิลิปปินส์ ทำให้ยอดขายออนไลน์ในประเทศนั้นเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ จากเดิมไม่ถึง 1% เพิ่มเป็น 8% ในปัจจุบัน ซึ่งยังมีโอกาสเติบโตต่อไป

SABINA ยังคงมุ่งเน้นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าผ่านการให้บริการที่ดีและการรักษาคุณภาพสินค้า ซึ่งช่วยให้แบรนด์ยังคงเป็นที่ยอมรับในตลาดออนไลน์และมีความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว

ผนึกกำลังส่งเสริมความร่วมมือข้ามพรมแดน สนับสนุนการฟื้นฟู การเติบโตของภาค SME และการผนึกกำลังของรัฐบาล

ฟิลิปปินส์ ฟินเทค เฟสติวัล (Philippine FinTech Festival หรือ PFF) ซึ่งมีขึ้นเป็นครั้งแรกและจัดนานตลอดทั้งสัปดาห์ เช่นเดียวกับเวิลด์ ฟินเทค เฟสติวัล (World FinTech Festival หรือ WFF) ณ ฟิลิปปินส์ ได้ชูอาเซียนเป็นมหาอำนาจระดับโลกสำหรับนักนวัตกรรม งานนี้มีผู้นำจากภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกเข้าร่วมถึง 200 ราย โดยฟิลิปปินส์ ฟินเทค เฟสติวัล ได้เปิดฉากอาเซียน ฟินเทค มันธ์ (ASEAN FinTech Month) ซึ่งเป็นไฮไลท์สำคัญของงานสิงคโปร์ ฟินเทค เฟสติวัล (Singapore FinTech Festival) ที่เพิ่งปิดฉากไปเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน งานนี้มีดิจิทัล พิลิพินาส (Digital Pilipinas) ซึ่งเป็นขบวนการภาคเอกชนที่ใหญ่ที่สุดเพื่อยกระดับเทคโนโลยีของชาติ เป็นผู้ดำเนินการประชุมร่วมกับอีเลวานดี (Elevandi) องค์กรที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ก่อตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการหารือระหว่างภาครัฐกับเอกชนสู่การยกระดับฟินเทค

คุณเดวิด อัลมีโรล (David Almirol) ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของฟิลิปปินส์ ให้คำมั่นกับผู้เข้าร่วมงานว่า "รัฐบาลคือพันธมิตรของคุณในการส่งเสริมความยั่งยืนของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล"

คุณซปเนนดู โมฮันตี (Sopnendu Mohanty) ประธานเจ้าหน้าที่ฟินเทคของธนาคารกลางสิงคโปร์ เปิดเผยว่า "การฟื้นฟู" คือหัวใจสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ "ธุรกิจขนาดเล็กที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลจำนวนมาก"

ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีศักยภาพทางดิจิทัลสูงอย่างฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฮังการี อิสราเอล และญี่ปุ่น ได้ก่อให้เกิดความร่วมมือมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์ฝึกอบรมทางการค้าแห่งฟิลิปปินส์ในสังกัดกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมกับพร็อกซ์เทรา (Proxtera) ของธนาคารกลางสิงคโปร์ ไปจนถึงข้อตกลงระหว่างดิจิทัล พิลิพินาส กับโครงการส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางดิจิทัล (Digitális Jólét) ของฮังการี แอฟฟินิดี (Affinidi) และสำนักงานบริการทางการเงินของอินโดนีเซีย

คุณเว่ย โจว (Wei Zhou) ซีอีโอของ Coins.ph กล่าวว่า "ฐานผู้ใช้ของ PFF ตลอดจนเงินทุนและโครงการต่าง ๆ จะช่วยผลักดัน" ความร่วมมือของอาเซียน

ฟิลิปปินส์ ฟินเทค เฟสติวัล มีผู้เข้าร่วมรวมกันกว่า 5,000 ราย โดยได้หารือเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสต่าง ๆ เกี่ยวกับความร่วมมือทางดิจิทัล บิ๊กดาต้าและปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีประกันภัย การเงินสีเขียว การเงินแบบเปิด NFT อีวอลเล็ต และสกุลเงินดิจิทัล ไปจนถึงเทคโนโลยีการศึกษา ความมั่งคั่ง การตลาด การเกษตร และอสังหาริมทรัพย์

ผู้มีส่วนร่วมในงานฟิลิปปินส์ ฟินเทค เฟสติวัล ประกอบด้วยผู้นำเสนอร่วมอย่าง Coins.ph และผู้ร่วมจัดงานอย่างอีติกา ฟิลิปปินส์ (Etiqa Philippines); อังคัส (Angkas); เพย์มองโก (Paymongo), ยูเนียนแบงก์แห่งฟิลิปปินส์ (UnionBank); ดิจิคูป (digiCOOP); แอนวานซ์ เอไอ (ADVANCE.AI); นินจาแวน ฟิลิปปินส์ (NinjaVan Philippines); เคพีเอ็มจี (KPMG) สาขาฟิลิปปินส์; ยูโน ดิจิทัล แบงก์ (UNO Digital Bank); ครีเอเดอร์ (Creador); โกลบ (Globe); พรูไลฟ์ ยูเค (PruLife UK); อะคิวบ์ ลอว์ (ACUBELAW); กอร์ริซตา แอฟริกา คอชัน แอนด์ ซาเวดรา (Gorriceta Africa Caution & Saavedra); บรังกาส (Brankas); จีแคช (GCash); ซีโอแอล ไฟแนนเชียล (COL Financial) และเซ็นดิต ฟิลิปปินส์ (Xendit Philippines) รวมถึงพันธมิตรรายอื่น ๆ ได้แก่ เทค เอ็กแซกลี (Tech Exactly); สตาร์ทอัพ วิลเลจ (StartUp Village); เบานซ์แบ็ค ฟิลิปปินส์ (Bounce Back Philippines); สมาคมฟินเทคฟิลิปปินส์ (Fintech Philippines Association); ฟินสกอร์ (FinScore); มหาวิทยาลัยมาปัว (Mapua University) และไกเซอร์มากลาง (GeiserMaclang)

ส่วนพันธมิตรภาคสื่อมวลชนประกอบด้วยกลุ่มบริษัทอินไควเรอร์ (Inquirer Group); อินไควเรอร์ โมไบล์ (Inquirer Mobile); อินไควเรอร์ ดอตเน็ต (Inquirer.Net); ฟิลิปปิน เดลีย์ อินไควเรอร์ (Phillipine Daily Inquirer); เดอะ ฟิลิปปิน สตาร์ (The

Phillipine Star); มะนิลา บูลเลติน (Manila Bulletin); ยูไนเต็ด นีออน (United Neon) คอยน์เวสตาซี (Coinvestasi) และคอยน์กีค (CoinGeek)

ผู้นำภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมต่างมีมุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของอาเซียนในฐานะมหาอำนาจทางดิจิทัลระดับโลก

 

ออมอร์ มากลาง (Amor Maclang) ผู้จัดงาน "ดิจิทัล พิลิพินาส" และ "ฟิลิปปินส์ ฟินเทค เฟสติวัล" (Philippine Fintech Festival) คว้ารางวัลผู้นำด้านฟินเทคประจำภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Fintech Leader Award)

เป็นครั้งแรกในนามของประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นการยกย่องความพยายามในการสร้างความร่วมมือข้ามพรมแดนที่แข็งแกร่งทั่วทั้งภูมิภาค

งานโกลบอล ฟินเทค อวอร์ดส์ (Global FinTech Awards) จัดขึ้นในฐานะส่วนหนึ่งของงานสิงคโปร์ ฟินเทค เฟสติวัล (Singapore FinTech Festival) ในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการรวมตัวของบริษัทชั้นนำด้านฟินเทคและเศรษฐกิจดิจิทัลทั่วโลก

คุณมากลาง กล่าวว่า "ฟินเทคเป็นหนึ่งในเสาหลักที่สามารถทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลของเรามีภูมิคุ้มกันต่อความเปราะบาง ไม่ใช่เพียงแค่มีความยืดหยุ่นเท่านั้น รางวัลนี้ไม่เพียงเป็นการตอกย้ำถึงความสนใจทั่วโลกที่มีต่ออนาคตของดิจิทัล พิลิพินาส แต่ยังรวมถึงความเป็นดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนโดยรวม ท้ายที่สุดแล้ว ฟินเทคที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั่นไม่ใช่บริษัทเดียว แต่เป็นอาเซียนโดยรวม เราได้ร่วมแบ่งปันสิ่งนี้ร่วมกับสุดยอดผู้นำด้านฟินเทคทั่วทั้งภูมิภาค ผู้ซึ่งทำงานร่วมกันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย"

อนึ่ง งานโกลบอล ฟินเทค อวอร์ดส์ เปิดตัวในปี 2564 โดยถือเป็นรางวัลสูงสุดในอุตสาหกรรมด้านนวัตกรรมฟินเทค ร่วมจัดโดยองค์การเงินตราแห่งประเทศสิงคโปร์ (MAS), สมาคมฟินเทคแห่งประเทศสิงคโปร์ (SFA) และสมาคมธนาคารสิงคโปร์ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากพีดับบลิวซี สิงคโปร์ (PwC Singapore) เพื่อยกย่องนวัตกรรมฟินเทคที่ล้ำสมัยของบริษัทฟินเทค สถาบันการเงิน และบริษัทเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังมอบรางวัลแก่บุคคลและบริษัทที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ ๆ เพื่อพลิกโฉมแนวทางปฏิบัติในอุตสาหกรรมฟินเทคและส่งเสริมการเปิดกว้างทางการเงิน

ในแถลงการณ์ คุณซปเนนดู โมฮันตี (Sopnendu Mohanty) ประธานเจ้าหน้าที่ฟินเทคของ MAS กล่าวว่า ผู้ชนะในปีนี้ "ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่แข็งแกร่งในการแก้ไขปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง ในขณะเดียวกันยังสามารถทำให้ภาคการเงินได้ใช้ประโยชน์มหาศาลจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากมายในการเดินทางสู่อนาคตโลกดิจิทัลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น"

คุณชาดับ ไทยาบิ (Shadab Taiyabi) ประธานสมาคมฟินเทคแห่งประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า รางวัลนี้เป็นการยกย่องบุคคลและองค์กรต่าง ๆ "ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่ออีโคซิสเต็มของฟินเทค และในขณะเดียวกัน ยังส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมที่มีความต่อเนื่องภายในภาคส่วนฟินเทคอีกด้วย"

คุณมากลางเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวด้านฟินเทคในภูมิภาคอาเซียน สร้างความร่วมมือข้ามพรมแดนและการทำงานระหว่างหน่วยงานระดับภูมิภาคและระดับชาติ, ผู้นำอุตสาหกรรม, สถาบันการศึกษา, ผู้กำหนดนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน

นอกจากนี้ คุณมากลางยังได้กระตุ้นและสร้างแพลตฟอร์มด้านฟินเทคให้เติบโตในประเทศในฐานะผู้จัดงานฟิลิปปินส์ ฟินเทค เฟสติวัล ตั้งขบวนการ วัน อาเซียน ฟินเทค (One ASEAN Fintech Movement) และเป็นตัวแทนของฟิลิปปินส์ในสมาคมบล็อกเชนประจำภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Blockchain Consortium) ปัจจุบัน คุณมากลางดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารและผู้ดูแลผลประโยชน์ประจำสมาคมฟินเทคแห่งประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทเกย์เซอร์มากลาง (GeiserMaclang) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านอีโคซิสเต็มเทคโนโลยีใหม่ชั้นนำ

นอกเหนือจากคุณมากลางแล้ว ผู้ที่ได้รับรางวัลจากเวทีเดียวกันนี้ยังประกอบด้วยคุณเดวิด เฉิน (David Chen) จากอาโตมี ไฟแนนเชียล (Atome Financial), คุณเอดดี้ หว่อง (Eddy Wong) จากวีชัวร์กรุ๊ป (VSure Group), คุณซาลิม ดานานิ (Salim Dhanani) จากบิ๊กเพย์ (BigPay) และคุณโซฮินิ ราโจลา (Sohini Rajola) จากเวสเทิร์น ยูเนี่ยน (Western Union)

ธีมของรางวัลประจำปี 2565 ได้แก่ "Embracing Digital, Charting the New Normal (โอบรับดิจิทัล สำรวจโลกนิวนอร์มัล) เพื่อให้ตระหนักถึงความรวดเร็วของการทำให้เป็นดิจิทัลในธุรกิจต่าง ๆ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ผู้ชนะจะถูกคัดเลือกโดยคณะกรรมการระดับนานาชาติที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมจากหลายภาคส่วน และตัดสินตามเกณฑ์ของผลลัพธ์ นวัตกรรม และคุณูปการที่มีต่ออีโคซิสเต็มฟินเทค

X

Right Click

No right click