November 25, 2024

กรุงเทพฯ (26 กันยายน 2567) - ทรูมันนี่ และ แอสเซนด์ นาโน เตือนภัยประชาชนให้ระวังมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อบริษัทฯ โลโก้ หรือชื่อสินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อหลอกลวงให้ประชาชนสมัครบริการสินเชื่อปลอม แนะนำวิธีสังเกตบริการสินเชื่อที่ถูกต้องบนแอปทรูมันนี่ของจริงว่ามีเพียงบริการ Pay Next / Pay Next Extra โดยบริษัท แอสเซนด์ นาโน จำกัด และวงเงินพร้อมใช้สบายเป๋าที่บริษัทฯ ให้บริการร่วมกับพันธมิตร ณ จุดขาย โดยผู้ที่สนใจต้องสมัครและส่งเอกสารผ่านแอปทรูมันนี่ ที่ดาวน์โหลดจาก App Store และ Google Play Store เท่านั้น ทั้งนี้ จุดสังเกตข้อที่สำคัญคือ ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ ในการสมัครทุกกรณี บริษัทฯ มีความห่วงใยและขอแนะนำประชาชนให้ระมัดระวังและตรวจสอบก่อนทำธุรกรรมทางการเงินทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

 

ทั้งนี้ ทรูมันนี่ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรักษาความปลอดภัยอย่างไม่หยุดยั้ง อาทิ ระบบป้องกันการดูดเงิน 3 ชั้น TrueMoney 3X Protection ที่ ตรวจ-จับ-หยุด ธุรกรรมที่น่าสงสัยแบบเรียลไทม์ ซึ่งทำงานโดยผสานการทำงานของปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และเทคโนโลยีการอ่านชีวมิติ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ผู้ใช้ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการทำธุรกรรมในระดับสูงสุด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับต่างๆ อย่างใกล้ชิด รวมถึงมีสายด่วน 1240 กด 6 เพื่อรับแจ้งเหตุต้องสงสัยด้านภัยทางการเงิน และแจ้งอายัดบัญชี ตลอด 24 ชั่วโมง

ช่วงนี้นอกจากข้าวของแพง เงินทองหายากแล้ว ชีวิตยังต้องลำบากกับการรับมือกลโกงมิจฉาชีพที่ระบาดหนักขึ้นทุกวัน แถมรูปแบบการหลอกลวงก็มีความหลากหลายและแนบเนียนขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งช่องทางพื้นฐาน ไปจนถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ทำให้ใครหลาย ๆ คน ถูกดูดเงินออกจากกระเป๋าไปง่าย ๆ เพียงเพราะความประมาท ขาดสติ และเท่าไม่ทันกลโกง วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จึงอยากชวนรู้ทันกันโกงของเหล่านักโจรกรรมทางการเงิน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ  

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราสะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทางไปธนาคารเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน แต่หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ก็อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ ดังนั้น อย่าหลงเชื่อ เพราะเพียงแค่มีโลโก้ชื่อธนาคารหลอกให้ทำธุรกรรมปลอม หรือปล่อยสินเชื่อ  

โดยมีวิธีการตรวจสอบง่าย ๆ ดังนี้ 

  • กลโกงมิจฉาชีพ ปลอม! ระวังมิจฉาชีพปลอมเป็นเพจ หรือเว็บไซต์ แอบอ้างเป็นธนาคาร หลอกให้ทำธุรกรรมเท็จ หรือให้คลิกลิงก์เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว เพราะธนาคารไม่มีนโยบายส่งลิงก์ให้กับลูกค้าในการทำธุรกรรม 
  • กลโกงมิจฉาชีพ ปลอม! ระวังมิจฉาชีพปลอมเป็นพนักงานธนาคารหลอกให้โอนเงิน ก่อนได้รับการอนุมัติสินเชื่อ เพราะธนาคารไม่มีนโยบายให้ลูกค้าโอนเงินก่อนการพิจารณาสินเชื่อ 
  • กลโกงมิจฉาชีพ ปลอม! ระวังมิจฉาชีพปลอมเอกสารธนาคารเพื่อล่อลวงให้ขอสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ สุดท้ายมาหลอกให้โอนเงินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จ่ายค่าธรรมเนียม ค่าโอน ฯลฯ เพราะธนาคารไม่มีนโยบายเก็บค่าธรรมเนียมลูกค้าในการขออนุมัติสินเชื่อ 

เช็กให้ชัวร์! ก่อนตกเป็นเหยื่อ 

  1. ตรวจสอบให้ดีก่อนให้รายละเอียดหรือข้อมูลส่วนตัว หากเป็นเพจหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้สังเกตว่าเป็น official platform หรือไม่  2
  2. ธนาคารไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมก่อนได้รับอนุมัติสินเชื่อ 3
  3. หากได้รับเอกสารที่ไม่คุ้นเคย หรือไม่แน่ใจว่าเป็นพนักงานตัวจริงหรือตัวปลอม ควรตรวจสอบโดยตรงกับธนาคาร  

ยุคสมัยที่เทคโนโลยีพัฒนาไปไกล มิจฉาชีพก็ขยันหาวิธีหลอกลวงใหม่ ๆ มาใช้มากมาย โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ ซึ่งนอกจากปลอมเป็นธนาคารแล้ว ยังมีวิธีต่าง ๆ อาทิ ล่อด้วยของรางวัลน่าสนใจ และส่ง URL หลอกให้คลิกลิงก์ผ่านทางข้อความ SMS, E-mail ที่สามารถหลอกดูดเงินได้อีกหลายทาง หรือกลโกงอีกแบบที่น่ากลัวคือ แฝงตัวมาบนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ แอบอ้างเป็นแบรนด์ดัง และทำการซื้อโฆษณาเพื่อเชื่อมโยงไปเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกเอาข้อมูล หรือสามารถสวมรอยเพื่อดูดเงินในบัญชีได้ เป็นต้น 

หากไม่อยากตกเป็นเหยื่อของภัยทางการเงินป้องกันได้! อย่าเปิดโอกาสให้คนร้ายใช้จุดอ่อนมากระตุ้นให้หลงเชื่อ เพราะภัยที่เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่มักเกิดจากอารมณ์ “โลภ” และ “กลัว” จนขาดสติ ดังนั้น ควรระมัดระวังและตั้งสติทุกครั้ง ไม่หลงเชื่อใครง่าย ๆ ท่องไว้ว่า อย่ากด อย่าโอน อย่าแชร์ข้อมูลให้ใคร จะช่วยเป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุด อย่ากลัวเทคโนโลยีที่เข้ามาอำนวยความสะดวกสบาย ขอแค่ให้ใช้อย่างสติ รับรองว่าห่างไกลภัยทางการเงินได้ไม่ยาก 

 

นายคมกริช สาคริก ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง กล่าวว่า MEA มีความห่วงใยเตือนประชาชนระมัดระวังกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงผู้ใช้ไฟฟ้า แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ MEA ให้บริการเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า หรือแอบอ้างว่าเป็นตัวแทนให้บริการต่าง ๆ และเรียกเก็บเงินค่าบริการผ่านช่องทางโซเชียล หรือช่องทางอื่นที่ไม่ใช่ช่องทางบริการของ MEA แนะให้ฉุกคิดก่อนจะทำธุรกรรมใด ๆ และขอยืนยันว่า ปัจจุบัน MEA ไม่มีนโยบายให้พนักงาน หรือตัวแทนพนักงาน รับชำระค่าไฟฟ้า หรือค่าบริการใด ๆ นอกสถานที่ทำการฯ ทุกกรณี

MEA จึงขอเตือนอย่าตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพดังกล่าว หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆได้แก่  Facebook : การไฟฟ้านครหลวง MEA, Line : MEA Connect(@MEAthailand) ของแท้จะมีโล่สีเขียว นำหน้าชื่อ MEA Connect เท่านั้น, X : @mea_news, และศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง MEA Call Center Online 1130 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้หากผู้ใช้ไฟฟ้าพบกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างหลอกลวงทำให้เสียทรัพย์ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ รวมถึงระมัดระวังการรับข้อมูลจากช่องทางการสื่อสารในสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งอาจมีการนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

ธนาคารไทยพาณิชย์ ตระหนักถึงภัยทางการเงินที่มีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น โดยจากสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 12 - 18 มีนาคม 2566 มีการรับแจ้งความออนไลน์ จากคดีหลอกลวงทางโทรศัพท์ที่เป็นขบวนการ หรือ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” จำนวน 529 เคส มูลค่าความเสียหายกว่า 65 ล้านบาท ขณะที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานว่ามีภัยทุจริตทางการเงิน เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์, SMS หลอกลวง, แอปดูดเงิน ฯลฯ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแอปดูดเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในเดือน มิถุนายน 2566 ที่มีรายงานความเสียหายจากแอปดูดเงินในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (ธันวาคม 2565 - มิถุนายน 2566) อยู่ที่ 1,152 ล้านบาท

 

แม้ว่าจะมีมาตรการต่างๆ ออกมาป้องกันอย่างเข้มข้นแล้วก็ตาม แต่เพราะมิจฉาชีพมีการปรับปรุงเทคนิคการหลอกลวงและพัฒนาเครื่องมือใหม่ๆ ที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ธนาคารจึงเดินหน้าสานต่อโครงการ “แก้ เกม กล โกง” เปิดตัวเว็บไซต์ศูนย์รวมคอนเทนต์คู่มือป้องกันมิจฉาชีพยุคใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยให้คนไทย ตื่นตัว รับรู้ เข้าใจ และรู้ทันวิธีป้องกันภัยทุจริตทางการเงิน และภัยคุกคามทางไซเบอร์ด้วยตนเอง ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับภัยจากมิจฉาชีพทั้งภาคธุรกิจ และผู้บริโภคภายใต้ 3 แกนหลัก ได้แก่ 1. อัปเดตกลโกง 2. วิธีป้องกันกลโกง 3. ถ้าโดนโกงแล้วต้องทำอย่างไร รวมถึงการแจ้งข่าวสาร ประกาศจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับภัยมิจฉาชีพ พร้อมส่ง “น้องเอ๊ะ เดอะซีรีส์” ผู้ช่วยเตือนภัยยุคใหม่ มาพร้อมคาแรกเตอร์ที่น่าเชื่อถือและเป็นกันเอง ถ่ายทอดประสบการณ์ภัยจากมิจฉาชีพจากการรับเคสต่างๆ ที่ลูกค้าเจอเป็นหลัก รวมถึงเคสจริงจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ธปท. และข่าวบนโซเชียลมีเดีย นำมากลั่นกรองและนำเสนอผ่านวีดีโอคอนเทต์ที่เข้าใจง่าย มุ่งหวังสร้างความตระหนักรู้แก่คนไทยให้เท่าทันภัยมิจฉาชีพ

ธนาคารให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงิน และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า โดยมีการพัฒนายกระดับความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและจัดการภัยทางการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้ จะสามารถสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนให้รู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพได้ อย่างไรก็ตาม ลูกค้าและประชาชน ควรต้องติดตามข้อมูลและปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันภัยทางการเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงการตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ

สามารถติดตามเนื้อหาป้องกันภัยจากมิจฉาชีพจากเว็บไซต์โครงการ “แก้ เกม กล โกง” ได้ที่ https://link.scb/49pv2cw รวมถึง Social media ของธนาคารไทยพาณิชย์ และ The Standard ทุกช่องทาง ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

เคทีซีตอกย้ำจุดยืนความปลอดภัยของสมาชิกเป็นสำคัญ พร้อมพัฒนาระบบป้องกันภัยทุจริต อย่างต่อเนื่องและติดตามข้อมูลการใช้จ่ายหากผิดปกติแจ้งสมาชิกทันทีเพื่อป้องกันมิจฉาชีพบนออนไลน์ พร้อมแนะนำ 6 ข้อต้องรู้ก่อนทำธุรกรรม

นายไรวินทร์ วรวงษ์สถิตย์ ผู้บริหารสูงสุดสายงานควบคุมงานปฏิบัติการและปฏิบัติการร้านค้า “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลโกงมิจฉาชีพที่หลอกดูดเงินได้ปรับเปลี่ยนวิธีการตลอด มีทั้งการหลอกให้โอนเงินหรือสวมสิทธิ์ในแอปพลิเคชันเพื่อหลอกดูดเงินจากบัตรเครดิตทำให้ยังมีผู้ตกเป็นเหยื่อโดยไม่ทันระวัง ถึงแม้เทคโนโลยีการเงินในปัจจุบันจะพัฒนาระบบให้สอดรับกับผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการทำธุรกรรม

“ลักษณะมิจฉาชีพที่ติดต่อเข้ามามีหลายช่องทาง ทั้งสร้างเรื่องให้มีความกลัว เช่นหลอกว่าเราได้รับของผิดกฎหมายหรือของค้างอยู่ที่กรมศุลกากร ถ้ามีลักษณะที่ต้องสงสัยว่าเราไปทำอะไรผิดมา แต่ไม่ได้ทำก็อย่าหลงเชื่อ หรือ การหลอกโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันที่เราใช้อยู่ ต้องมีการใส่รหัสผ่านที่ใช้เพียงครั้งเดียว หรือ OTP (One Time Password) ถ้าเราไม่ทันระวังให้รหัสไป มิจฉาชีพก็จะนำไปใช้ได้” นายไรวินทร์กล่าว

เคทีซีในฐานะผู้ให้บริการบัตรเครดิตที่ดำเนินการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมได้ศึกษาและพัฒนาระบบบริหารการป้องกันภัยทุจริตให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าเป็นสำคัญและมีทีมงานที่ดูแลตรวจสอบการใช้จ่ายของสมาชิกเมื่อพบสิ่งผิดปกติ จะรีบติดต่อสมาชิกผู้ถือบัตรทันทีเพื่อป้องกันมิจฉาชีพได้อย่างทันท่วงที พร้อมแนะนำ 6 วิธีป้องกันภัยจากมิจฉาชีพออนไลน์ ดังนี้

1. ตั้งสติและอย่าหลงเชื่อข้อมูลตามที่มิจฉาชีพแจ้ง

2. ไม่กดลิงค์ต่างๆ ที่ได้รับโดยไม่รู้จักแหล่งที่มา

3. กำหนดรหัสผ่าน (Password) ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมการเงินให้มีความหลากหลาย อย่าใช้รหัสซ้ำเพื่อป้องกันการคาดเดาและนำไปใช้ต่อจากผู้ไม่หวังดี

4. ไม่แจ้งรหัสผ่าน และ OTP ให้ผู้อื่นทราบอย่างเด็ดขาด และ ต้องอ่านข้อความให้ชัดเจนทุกครั้งเมื่อได้รับ OTP เช่น การระบุชื่อร้านค้าต้องถูกต้อง รายละเอียดสินค้าต้องตรงกับที่สมาชิกซื้อ เพื่อการกรอกข้อมูลที่ถูกต้อง

5. หากพบข้อสงสัยว่าจะถูกมิจฉาชีพหลอกข้อมูล ควรโทรศัพท์หรือติดต่อสอบถามหน่วยงานที่ถูกอ้างอิง

6. โหลดแอปพลิเคชันที่ช่วยระบุหมายเลขที่ไม่รู้จัก เช่น Whoscall เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ

หากพบข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE โทรศัพท์ 02 123 5000 หรือ https://www.ktc.co.th สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีสามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ https://ktc.today/apply-card หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ 

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click