December 22, 2024

มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย (คีนัน) พร้อมพันธมิตรหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จัดสัมมนา “การบูรณาการทักษะ AI และทักษะสีเขียว สู่การเป็นแรงงานที่ยั่งยืน” ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในอนาคตของเยาวชนไทย เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการสร้างกำลังคน เพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจและอุตสาหกรรมสมัยใหม่ในอนาคตของประเทศไทย จากที่รัฐบาลไทยได้ประกาศวิสัยทัศน์ Thailand Vision  2030 “Ignite Thailand: จุดพลัง รวมใจ ไทยเป็นหนึ่ง” 

เพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมระดับโลก พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน โดยตั้งเป้าประเทศไทยจะก้าวไปเป็นที่ 1 ของภูมิภาค ด้วยข้อได้เปรียบทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว ภูมิอากาศ โครงสร้างที่พร้อมต่อยอด และที่สำคัญ คือ ศักยภาพของคนไทย ซึ่งธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การบูรณาการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในขณะเดียวกันการทำธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือธุรกิจสีเขียว (Green Business) เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่อุตสาหกรรมทั่วโลกกำลังปรับรูปแบบธุรกิจ เข้าสู่อุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด การมีแรงงานที่มีความพร้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการดึงดูดการลงทุนและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

ดังนั้น กำลังคนที่มีทักษะด้านสิ่งแวดล้อมและความเชี่ยวชาญใน AI จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและสร้างอนาคตที่ยั่งยืน พร้อมทั้งได้รับโอกาสการจ้างงานที่มีคุณค่า สามารถเชื่อมโยงจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทางมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย (คีนัน) เล็งเห็นถึงความสำคัญในการหาแนวทางในการพัฒนาทักษะงานให้แก่เยาวชน การแก้ไขช่องว่างด้านทักษะเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะเหล่านี้ไม่เพียงช่วยเพิ่มโอกาสการจ้างงาน แต่ยังสนับสนุนการประกอบธุรกิจและการมีส่วนร่วมในชุมชน และทำให้เยาวชนสามารถเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทางคีนัน จึงได้ร่วมกับพันธมิตรทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และนักวิชาการจากทั้งในและต่างประเทศ จัดสัมมนาในหัวข้อ “การบูรณาการทักษะ AI และทักษะสีเขียว สู่การเป็นแรงงานที่ยั่งยืน (Building AI and Green Skills for a Sustainable Workforce Conference” ซึ่งภายในงานได้รับเกียรติจากนายโรเบิร์ตเอฟ. โกเดค (Robert F. Godec) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ให้เกียรติกล่าวเปิดงานในหัวข้อ “โอกาสและช่องทางในการเร่งพัฒนากำลังคนผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน” และ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ให้เกียรติปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ความจำเป็นในการสร้างความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจใน

อนาคต” นอกจากนี้ ยังมีหัวข้อสำคัญของการสัมมนา อาทิ ภาพรวมของความต้องการและช่องว่างสำหรับกำลังคนยุคใหม่ในประเทศไทย, การนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการพัฒนากำลังคนจากทั้งในประเทศและระดับสากล และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม เป็นต้น

 

คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม ประธานมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า “การสัมมนาครั้งนี้เป็นเวทีสำคัญที่มุ่งหาแนวทางความร่วมมือและสร้างการบูรณาการระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลากหลายภาคส่วน เพื่อสร้างนวัตกรรมและอนาคตที่ยั่งยืน โดยนำเสนอทั้งมุมมองจากระดับสากลและในประเทศ มีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกและสร้างความสำเร็จในอนาคตให้กับเยาวชนไทย ด้วยการเน้นส่งเสริมการพัฒนาทักษะสีเขียว ดิจิทัล และ STEM โดยมุ่งหวังที่จะเป็นตัวเร่งสำคัญในการแก้ไขช่องว่างและตอบสนองความต้องการของเยาวชนอย่างเหมาะสม เพื่อรับมือกับความต้องการทักษะในการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอนาคต คีนันได้ขยายการฝึกอบรมให้ครอบคลุมทักษะด้าน AI และ Green Skills เพื่อเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับความต้องการของอุตสาหกรรมและสังคมสมัยใหม่”

มร.ริชาร์ด เบิร์นฮาร์ด กรรมการอำนวยการ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า “ตลอด 28 ปีที่ผ่านมาคีนันมีโครงการเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ครูมากกว่า 19,000 คน และนักเรียน 3 ล้านคน ความสำเร็จของโปรแกรมฝึก อบรมของคีนัน เกิดจากการผสานความเชี่ยวชาญในท้องถิ่นเข้ากับหลักสูตรและผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ เพื่อได้โปรแกรมที่ตอบสนองต่อความต้องการในระดับท้องถิ่นและระดับชาติได้ งานประชุมครั้งนี้เกิดขึ้นได้ จากการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม ทั้งผู้บรรยาย ผู้นำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ได้สละเวลาแบ่งปันความรู้ และแนวคิดที่สร้างสรรค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนไทย รวมถึงผู้สนับสนุน ได้แก่ มูลนิธิแคทเธอร์พิลลาร์ (Caterpillar Foundation), JPMorganChase, โบอิ้ง, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารออมสิน และ บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ คีนัน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการสัมมนาครั้งนี้ จะช่วยสร้างแนวทางการพัฒนาทักษะงาน เพื่อให้สามารถรับมือกับความท้าทายอันหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานเยาวชน และการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมทุกกลุ่มคนในสังคมอย่างเท่าเทียม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต”

EXIM BANK จับมือมูลนิธิคีนันแห่งเอเซียและทัณฑสถานหญิงกลาง พัฒนาผู้ประกอบการสตรีกลุ่มเปราะบางสู่ธุรกิจส่งออกผ่านช่องทางการค้าออนไลน์ พร้อมจับมือลูกค้าธนาคารที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ประกอบด้วย บริษัท เวสท์เทค เอ็กซ์โพเนนเชียล จำกัด บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) สนับสนุนสินค้าจากสตรีกลุ่มเปราะบาง เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมโดยรวม สานพลังต่อยอดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยและโลกโดยรวม

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) นายริชาร์ด เบิร์นฮาร์ด กรรมการอำนวยการ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย และนางสาวโศรยา ฤทธิอร่าม ผู้อำนวยการ ทัณฑสถานหญิงกลาง ร่วมแถลงผลสำเร็จ “โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการสตรีกลุ่มเปราะบาง” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงานในการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสตรีกลุ่มเปราะบางให้สามารถประกอบธุรกิจ โดยเรียนรู้วิธีพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความแตกต่างและโดดเด่น การทำตลาดผ่านสื่อดิจิทัล และการขายสินค้าออนไลน์ เพื่อจะได้เข้าถึงโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจและขยายธุรกิจในโลกการค้าไร้พรมแดนได้ นำไปสู่การพึ่งพาตนเอง การสร้างรายได้จุนเจือครอบครัว และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม 

โอกาสนี้ กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และกรรมการอำนวยการ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับลูกค้าของ EXIM BANK ประกอบด้วยนายจักร บุญ-หลง ประธานกรรมการ บริษัท เวสท์เทค เอ็กซ์โพเนนเชียล จำกัด นายจอมทรัพย์ โลจายะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นายวรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นายกมลสุทธิ์ ทัพพะรังสี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสและประธานกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) และนายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการสนับสนุนสินค้าของผู้ประกอบการสตรีกลุ่มเปราะบาง สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และขยายตลาดไปต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นในระยะต่อไป โดยมีนายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอนุกรรมการกำกับดูแลการประเมินผลการพัฒนาองค์กรรัฐวิสาหกิจ สาขาสถาบันการเงิน และนางสาวโศรยา ฤทธิอร่าม ผู้อำนวยการ ทัณฑสถานหญิงกลาง ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า EXIM BANK ภายใต้บทบาทธนาคารเพื่อการพัฒนา มุ่งมั่นขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ระดับฐานราก EXIM BANK จึงให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ (CSR in Process) ควบคู่กับการบริหารจัดการด้านการเงินด้วยความรับผิดชอบและการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Society and Environment : ESG) ยึดหลักการ 4P เริ่มต้นจากการดูแลคน (People) เพื่อดูแลโลก (Planet) ด้วยความใส่ใจในประสิทธิภาพ (Productivity) และนำไปสู่กำไร (Profit) ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน แต่เป็นผลสำเร็จของการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในด้านต่าง ๆ EXIM BANK จึงจัดทำโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการสตรีกลุ่มเปราะบาง เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลคนในชุมชนรอบข้าง โดยให้ความสำคัญและสนับสนุนความหลากหลาย (Diversity) ในสังคม ทั้งในมิติเพศ อายุ และความเปราะบางทางสังคม อาทิ เพื่อนผู้พิการ และสตรีกลุ่มเปราะบาง เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนให้ประชาชนในกลุ่มเปราะบางมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เข้าถึงข้อมูลความรู้ โอกาสทางธุรกิจ และแหล่งเงินทุนที่จะประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว

ที่ผ่านมา EXIM BANK ได้จับมือกับพันธมิตรที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ดูแลผู้ประกอบการสตรีในชุมชนรอบ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่เขตพญาไท และเขตจตุจักร กรุงเทพฯ รวมถึงกลุ่มผู้ที่สนใจจากทัณฑสถานหญิงกลาง ให้ได้รับความรู้ในการเริ่มต้นทำธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ รวมไปถึงสามารถนำเครื่องมือดิจิทัลไปใช้ในการทำตลาดและส่งออกผ่านแพลตฟอร์ม อาทิ Facebook และ Shopee นอกจากนี้ EXIM BANK ยังได้สานพลังกับลูกค้าของธนาคารเพื่อต่อยอดโครงการ ฯ ด้วยการเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าของกลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการที่แข่งขันได้เพิ่มมากขึ้นในตลาดการค้าโลกยุคใหม่

นายริชาร์ด เบิร์นฮาร์ด กรรมการอำนวยการ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในระดับภูมิภาคที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทยมานานถึง 27 ปี มุ่งมั่นสร้างองค์ความรู้และทักษะความชำนาญให้กับประชากรกลุ่มเปราะบางผ่านโครงการกว่า 1,000 โครงการในไทย เวียดนาม และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนในการทำโครงการต่าง ๆ จากภาครัฐ ภาคพหุภาคีและภาคเอกชน ซึ่งมูลนิธิได้ปรับเปลี่ยนการดำเนินโครงการต่าง ๆ เป็นรูปแบบที่ผสมผสานระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้นในปัจจุบัน จนปัจจุบัน มูลนิธิคีนันเป็นผู้ให้บริการฝึกอบรมโครงการ Meta Boost ที่ได้รับการรองรับรองจาก Facebook ประเทศไทยเพียงรายเดียวในประเทศไทย จึงมีความพร้อมที่จะขยายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้ง EXIM BANK เพื่อเสริมสร้างโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการจำหน่ายสินค้าสู่ตลาดสากลผ่านแพลต์ฟอร์มออนไลน์ โดยเฉพาะ SMEs และกลุ่มเปราะบางทางสังคมที่ฐานทุนน้อย โดยใช้เครื่องมือดิจิทัลง่าย ๆ อาทิ Smart Phone หรือ Tablet โดยมีเป้าหมายเพื่อร่วมกันยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม เพื่อให้เกิดชุมชนและสังคมที่เข้มแข็ง เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืนต่อไป

 

นางสาวโศรยา ฤทธิอร่าม ผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงกลาง กล่าวว่า กลุ่มผู้ต้องขังสตรียังขาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลความรู้เพื่อพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะการประกอบอาชีพอิสระภายหลังจากพ้นโทษแล้ว โครงการความร่วมมือกับ EXIM BANK และมูลนิธิคีนันแห่งเอเซียจึงตอบโจทย์การพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเปราะบางนี้อย่างมากในโลกการค้ายุคดิจิทัล ที่ผ่านมา ทางทัณฑสถานหญิงกลางได้คัดเลือกและส่งผู้ต้องขังสตรีเข้าร่วมอบรมภายใต้โครงการนี้แล้วกว่า 50 คน ซึ่งผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจอย่างมาก ทำให้ผู้ต้องขังได้รับการพัฒนาพฤตินิสัย เสริมสร้างวินัย และเพิ่มพูนทักษะในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้มากขึ้น  เช่น การเย็บกระเป๋าลายสม็อค หรือการจีบรูดเพื่อให้เนื้อผ้าเกิดรอยย่นอันเป็นลวดลายที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็นหนึ่งในสินค้างานฝีมือของผู้ต้องขังสตรีที่ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อจำนวนมาก ภายใต้โครงการนี้ ผู้ต้องขังสตรียังได้รับคำแนะนำจากตัวแทนผู้ส่งออกในการพัฒนารูปแบบกระเป๋าสม็อคเป็นสินค้าส่งออกต่อไป

นายชลัช รัตนบุญนิธิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ดร.วิชัย ลิมปิติกรานนท์ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการพัฒนาธุรกิจและเศรษฐกิจ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย และนางประภัสสร ชูทอง ประธานชุมชนหลัง ว.ค.จันทรเกษม เขตจตุจักร ร่วมพิธีเปิดอบรมโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการสตรีกลุ่มเปราะบาง เพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการสตรีในชุมชนรอบ EXIM BANK ประกอบด้วยพื้นที่เขตพญาไทและเขตจตุจักร ด้วยการให้ความรู้ในการประกอบธุรกิจ การตลาดในยุคดิจิทัล การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความแตกต่างและการขายสินค้าออนไลน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการสตรีกลุ่มเปราะบางสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งสร้างโอกาสในการพัฒนาธุรกิจสู่การส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศต่อไป ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น กรุงเทพมหานคร เมื่อเร็ว ๆ นี้

นายอนุทิน ชาญวีรกูล (กลาง) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค (ถัดมา) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ให้เกียรติร่วมงานและกล่าวปาฐกถาพิเศษ เนื่องในวันสตรีสากล ซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัท ออร์กานอน (ประเทศไทย) จำกัด และมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ในโอกาสที่ออร์กานอนให้ทุนสนับสนุนมูลนิธิคีนันฯ เพื่อผลักดันนโยบายครอบครัวคุณภาพ ในการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่เด็กผู้หญิงและผู้หญิงในไทย โดยมี ดร. ซูซี่ ฟิดเล่อร์ (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารธุรกิจ บริษัท ออร์กานอน จำกัด ร่วมด้วย มร. คุง คาเรล เคราท์บ๊อช (ขวาสุด) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออร์กานอน (ประเทศไทย) จำกัด และนายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ (ถัดมา)  ประธานอำนวยการ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ให้การต้อนรับ ณ โรงแรมคิมป์ตัน มาลัย กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้

ประเทศไทยกำลังประสบความท้าทายด้านประชากร

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click