February 22, 2025

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย คว้ารางวัลอันทรงเกียรติด้านทรัพยากรบุคคลในปี 2567 ถึง 31 รางวัลจากสื่อและสำนักพิมพ์ทางการเงินชั้นนำระดับโลก ซึ่งรางวัลเหล่านี้สะท้อนถึงความพยายามในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงาน การเสริมสร้างความผูกพันให้กับคนในองค์กร และตอกย้ำความมุ่งมั่นของธนาคารในการเป็นนายจ้างดีเด่น

นางสาวศศิวิมล อารยวัฒนาพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทรัพยากรบุคคล ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวถึงความสำเร็จครั้งนี้ว่า “รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับการยอมรับด้านการดูแลพนักงานจากองค์กรชั้นนำผ่านทั้ง 31 รางวัลในปี 2567 รางวัลเหล่านี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของธนาคารที่ให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นอันดับต้นๆ และเป็นแรงบันดาลใจให้เราตั้งใจที่จะเป็นองค์กรที่พนักงานภาคภูมิใจที่ได้ทำงานด้วย และพร้อมที่จะสร้างสรรค์สถานที่ทำงานที่พนักงานสามารถเติบโตได้อย่างเต็มที่”

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย มุ่งเน้นที่การบริหารจัดการบุคลากรอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ผ่านวัฒธรรมในการทำงานแบบ UOB Way กรอบการทำงานที่รวมเอาคุณค่า ความมุ่งหวัง และปรัชญาในการดูแลบุคลากรของธนาคารเอาไว้ เพื่อช่วยให้พนักงานแต่ละคนได้รับการฝึกอบรม คำแนะนำ โอกาส และความยืดหยุ่นในการทำงานในระยะยาวอย่างยั่งยืน ในขณะที่ช่วยให้พวกเขารักษาสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานที่ดีโดยมีเวลาเพียงพอสำหรับครอบครัวและความสนใจของตน

31 รางวัลด้านทรัพยากรบุคคลที่ธนาคารได้รับ ได้แก่:

7 รางวัลด้านนายจ้างยอดเยี่ยม

- WorkVenture - 50 อันดับบริษัทที่ดีที่สุดในประเทศไทย 2024 - อันดับที่ 43
- ABF-รางวัลนายจ้างแห่งปี
- HR Fest - นายจ้างที่พนักงานเลือก
- HR Excellence - นายจ้างแห่งปี (เหรียญเงิน)
- HR Asia - บริษัทที่ดีที่สุดในเอเชีย 2024
- Employer Branding Institute - รางวัลแบรนด์นายจ้างที่ดีที่สุดในประเทศไทย 2024
- World HRD Congress - รางวัลแบรนด์นายจ้างที่ดีที่สุดระดับโลก 2024

6 รางวัลด้านความยั่งยืน

- Employer Branding Institute - การพัฒนายุทธศาสตร์ที่ยั่งยืน
- Employer Branding Institute - รางวัลผลกระทบด้านความหลากหลาย
- HR Asia - รางวัลความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วม
- HR Asia - รางวัลด้านความยั่งยืน
- ESG Business Awards - รางวัลความเท่าเทียมทางเพศและส่งเสริมสตรีในการทำงาน
- Organization in Supporting the Employment of Persons with Disabilities Awards 2024 - องค์กรดีเด่นในการสนับสนุนการจ้างงานคนพิการ

5 รางวัลด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

- Employee Experience - รางวัลรูปแบบการทำงานแบบผสมผสานที่ดีที่สุด (เหรียญทองแดง)
- ABF - รางวัลด้านสุขภาพและความเป็นอยู่
- ESG Business Awards - โปรแกรมสุขภาพในที่ทำงาน
- HR Asia - รางวัลบริษัทที่ดูแลพนักงานดีที่สุด
- Thailand Association of the Blind - รางวัลองค์กรที่ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนตาบอด

4 รางวัลด้านการฝึกอบรมและพัฒนา

- The Digital Banker - รางวัลโปรแกรมฝึกอบรมพนักงานยอดเยี่ยม
- RBI - รางวัลความเป็นเลิศในการพัฒนาผู้นำ
- Employee Experience - รางวัลยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะยอดเยี่ยม (เหรียญทองแดง)
- ACCOM Group - รางวัลความเป็นเลิศในด้านการโค้ชและการให้คำปรึกษา

3 รางวัลผู้นำหน่วยงานทรัพยากรบุคคล

- Employer Branding Institute - CHRO แห่งปี
- HR Fest - ผู้นำหน่วยงานทรัพยากรบุคคลที่ดีที่สุด
- HR Excellence - ผู้นำหน่วยงานทรัพยากรบุคคลแห่งปี (เหรียญทองแดง)

2 รางวัลด้านการสรรหาบุคลากร

- Employee Experience - ทีมสรรหาภายในที่ดีที่สุด (เหรียญทองแดง)
- HR Excellence - ความเป็นเลิศในการสรรหาบุคลากร (เหรียญเงิน)

2 รางวัลด้านการบริหารพนักงานที่มีศักยภาพและการสืบทอดตำแหน่ง

- Employee Experience - ยุทธศาสตร์การวางแผนสืบทอดตำแหน่งที่ดีที่สุด (เหรียญเงิน)
- Employer Branding Institute - รางวัลการบริหารพนักงานที่มีศักยภาพ

2 รางวัลด้านการชื่นชมพนักงาน

- RBI - ความเป็นเลิศในการชื่นชมพนักงาน
- Employee Experience - โปรแกรมรางวัลและการชื่นชมที่ดีที่สุด (เหรียญทอง)

 

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เพื่อสนับสนุนการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ และเสริมสถานะให้ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางชั้นนำสำหรับนักลงทุนต่างชาติ พร้อมช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศ ผ่านเครือข่ายธนาคารยูโอบี ที่ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน

ภายใต้ความร่วมมือนี้ ธนาคารยูโอบี และ สกพอ. จะนำความเชี่ยวชาญและทรัพยากรที่มีมาร่วมนำเสนอโซลูชันทางการเงินและบริการให้คำปรึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนต่างชาติ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการลงทุนให้ราบรื่นยิ่งขึ้น ยกระดับความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ และส่งเสริมอุตสาหกรรมหลักตามกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย อันได้แก่ ยานยนต์ยุคใหม่ การแพทย์และสุขภาพ ดิจิทัลและนวัตกรรม รวมถึงเศรษฐกิจสีเขียวและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นายริชาร์ด มาโลนี่ย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “การร่วมมือระหว่างธนาคารยูโอบี และ สกพอ. แสดงถึงความมุ่งมั่นของเราในการมีส่วนร่วมในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเราจะให้การสนับสนุนแบบครบวงจรแก่นักลงทุนทั้งในประเทศ ภูมิภาค และระดับนานาชาติ เพื่อให้ประเทศไทยยังคงเป็นศูนย์กลางชั้นนำด้านนวัตกรรมและการพัฒนาในภูมิภาคนี้ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของ สกพอ.”

ความร่วมมือครั้งนี้จะครอบคลุมโครงการต่างๆ ที่จะดำเนินการร่วมกัน อาทิ แคมเปญส่งเสริมการลงทุน การจัดโรดโชว์สำหรับนักลงทุน และการสนับสนุนผ่านหน่วยงานที่ปรึกษาการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDIA) ของธนาคาร ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2563 หน่วยงาน FDIA ของยูโอบีได้สนับสนุนให้บริษัทกว่า 450 แห่งขยายธุรกิจเข้าสู่ประเทศไทย โดยคาดว่าสร้างมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศกว่า 45,000 ล้านบาท และสร้างโอกาสการจ้างงานให้กับคนไทยมากกว่า 31,000 ตำแหน่ง

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า “การร่วมมือกับธนาคารยูโอบี สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการขับเคลื่อนเป้าหมายทางเศรษฐกิจของไทย การดำเนินงานที่แข็งแกร่งของธนาคารยูโอบีในประเทศไทย และเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน จะมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับนักลงทุนที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ ความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมความสามารถของ สกพอ. ในการเสนอโซลูชันทางการเงินแบบครบวงจร ไม่เพียงแต่สำหรับโครงการในประเทศเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกับฐานลูกค้าที่หลากหลายและขยายตัวเพิ่มขึ้นของธนาคารยูโอบี โดยทั้งสององค์กรมุ่งมั่นดึงดูดการลงทุนมูลค่าสูงที่ส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนและสร้างโอกาสให้กับชุมชนในประเทศไทย”

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา กลายเป็นศูนย์กลางการลงทุนที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยทำเลที่ตั้งเชิงกลยุทธ์ โครงสร้างพื้นฐานระดับโลก และนโยบายที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมสร้างปัจจัยบวกให้ประเทศไทย โดยนักลงทุนจะได้รับบริการธนาคารที่ราบรื่นไร้รอยต่อ คำแนะนำด้านการลงทุนที่ครอบคลุมทุกมิติ และการเข้าถึงสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ เป็นต้น

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เพื่อสนับสนุนการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ และเสริมสถานะให้ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางชั้นนำสำหรับนักลงทุนต่างชาติ พร้อมช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศ ผ่านเครือข่ายธนาคารยูโอบี ที่ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน

ภายใต้ความร่วมมือนี้ ธนาคารยูโอบี และ สกพอ. จะนำความเชี่ยวชาญและทรัพยากรที่มีมาร่วมนำเสนอโซลูชันทางการเงินและบริการให้คำปรึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนต่างชาติ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการลงทุนให้ราบรื่นยิ่งขึ้น ยกระดับความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ และส่งเสริมอุตสาหกรรมหลักตามกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย อันได้แก่ ยานยนต์ยุคใหม่ การแพทย์และสุขภาพ ดิจิทัลและนวัตกรรม รวมถึงเศรษฐกิจสีเขียวและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นายริชาร์ด มาโลนี่ย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “การร่วมมือระหว่างธนาคารยูโอบี และ สกพอ. แสดงถึงความมุ่งมั่นของเราในการมีส่วนร่วมในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเราจะให้การสนับสนุนแบบครบวงจรแก่นักลงทุนทั้งในประเทศ ภูมิภาค และระดับนานาชาติ เพื่อให้ประเทศไทยยังคงเป็นศูนย์กลางชั้นนำด้านนวัตกรรมและการพัฒนาในภูมิภาคนี้ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของ สกพอ.”

ความร่วมมือครั้งนี้จะครอบคลุมโครงการต่างๆ ที่จะดำเนินการร่วมกัน อาทิ แคมเปญส่งเสริมการลงทุน การจัดโรดโชว์สำหรับนักลงทุน และการสนับสนุนผ่านหน่วยงานที่ปรึกษาการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDIA) ของธนาคาร ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2563 หน่วยงาน FDIA ของยูโอบีได้สนับสนุนให้บริษัทกว่า 450 แห่งขยายธุรกิจเข้าสู่ประเทศไทย โดยคาดว่าสร้างมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศกว่า 45,000 ล้านบาท และสร้างโอกาสการจ้างงานให้กับคนไทยมากกว่า 31,000 ตำแหน่ง

 

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า “การร่วมมือกับธนาคารยูโอบี สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการขับเคลื่อนเป้าหมายทางเศรษฐกิจของไทย การดำเนินงานที่แข็งแกร่งของธนาคารยูโอบีในประเทศไทย และเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน จะมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับนักลงทุนที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ ความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมความสามารถของ สกพอ. ในการเสนอโซลูชันทางการเงินแบบครบวงจร ไม่เพียงแต่สำหรับโครงการในประเทศเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกับฐานลูกค้าที่หลากหลายและขยายตัวเพิ่มขึ้นของธนาคารยูโอบี โดยทั้งสององค์กรมุ่งมั่นดึงดูดการลงทุนมูลค่าสูงที่ส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนและสร้างโอกาสให้กับชุมชนในประเทศไทย”

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา กลายเป็นศูนย์กลางการลงทุนที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยทำเลที่ตั้งเชิงกลยุทธ์ โครงสร้างพื้นฐานระดับโลก และนโยบายที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมสร้างปัจจัยบวกให้ประเทศไทย โดยนักลงทุนจะได้รับบริการธนาคารที่ราบรื่นไร้รอยต่อ คำแนะนำด้านการลงทุนที่ครอบคลุมทุกมิติ และการเข้าถึงสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ เป็นต้น

ปี 2567 พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นปีที่โดดเด่นสำหรับสินทรัพย์เสี่ยง แม้จะเผชิญกับความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และการเลือกตั้งในหลายประเทศทั่วโลก ดัชนี MSCI World ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24 แม้แต่จีนที่ยังคงเผชิญกับความตึงเครียดทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา หุ้นจีนก็สามารถพลิกฟื้นจากการขาดทุนในปีก่อนหน้า โดยปิดการซื้อขายด้วยผลตอบแทนร้อยละ 20

ปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง

แม้ว่าดัชนี S&P 500 จะปรับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62 นับตั้งแต่ต้นปี 2566 แต่ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นในปี 2568 สำหรับภาวะเศรษฐกิจ ยังคงแข็งแกร่งอย่างน่าประหลาดใจ แม้ในช่วงเวลาของนโยบายการเงินที่เข้มงวด ธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve) ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 1 ครั้ง ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ และจะคงอัตราดอกเบี้ยไปตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นการปรับนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเงินเฟ้อและการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ทรัมป์ 2.0: โอกาสและความเสี่ยง

การได้รับเลือกตั้งอีกครั้งของประธานาธิบดีทรัมป์ โดยได้รับการสนับสนุนจากเสียงข้างมากของพรรครีพับลิกันทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา คาดว่าจะสร้างแรงหนุนเพิ่มเติมให้กับเศรษฐกิจ โดยมีนโยบายสำคัญๆ ได้แก่ มาตรการลดภาษี การผ่อนคลายกฎระเบียบ  การกำหนดภาษีศุลกากร และการปฏิรูปการเข้าเมือง พระราชบัญญัติการลดภาษีและการจ้างงาน หรือที่รู้จักกันในชื่อ "การลดภาษีของทรัมป์" มีแนวโน้มว่าอาจจะได้นำกลับมาใช้ใหม่ในช่วงปลายปี 2568 ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเติบโตของผลประกอบการบริษัทและการลงทุนในสหรัฐฯ นอกจากนี้การผ่อนคลายกฎระเบียบจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมในภาคพลังงานและการเงิน อย่างไรก็ตาม บางส่วนของพระราชบัญญัติการลดเงินเฟ้อที่ให้เงินอุดหนุนพลังงานหมุนเวียนอาจถูกยกเลิก

การใช้มาตรการกำแพงภาษีศุลกากรซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของรัฐบาลทรัมป์สมัยแรกจะขยายวงกว้างขึ้น ทรัมป์ได้ส่งสัญญาณจัดเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 25 สำหรับเม็กซิโกและแคนาดา และเพิ่มภาษีนำเข้าจากจีนอีกร้อยละ 10 ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี  ทรัมป์ได้เสนอให้เก็บภาษีนำเข้าจากจีนในอัตราร้อยละ 60 และร้อยละ 10 สำหรับสินค้านำเข้าจากประเทศอื่นๆ การบังคับใช้กำแพงภาษีแบบครอบคลุมนี้จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เนื่องจากไม่สามารถทดแทนการนำเข้าทั้งหมดได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภค อันเป็นต้นทุนทางการเมือง ดังนั้น การบังคับใช้ขั้นสุดท้ายน่าจะมีความละเอียดอ่อนและทยอยดำเนินการมากกว่า

มาตรการภาษีศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้าจากจีนจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากสหรัฐฯ มองว่าจีนเป็นภัยคุกคามสำคัญ ในปี 2566 สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีนมากกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้การใช้มาตรการภาษีศุลกากรเพื่อลดการขาดดุลการค้ากับจีนตั้งแต่ปี 2561 ยังไม่สามารถลดขาดดุลได้อย่างมีนัยสำคัญ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการสินค้าของสหรัฐฯ รวมถึงมีมาตรการยกเว้นภาษีหลายประการ อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าการขาดดุลการค้าดังกล่าวอาจสูงมากขึ้น หากพิจารณาผลกระทบจากการเบี่ยงเบนการค้าของจีนที่ส่งออกผ่านประเทศอื่นๆ ไปยังสหรัฐฯ เช่น เม็กซิโกและเวียดนาม

ความแข็งแกร่งของสหรัฐฯ: ผลกระทบที่กระจายไปยังกลุ่มล่างน้อยลง

จากสถิติที่ผ่านมา ในช่วงที่สหรัฐฯ เติบโตอย่างแข็งแกร่งมักจะส่งผลดีต่อประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเอเชียที่เน้นการผลิต แต่สถานการณ์นี้อาจเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากนโยบาย "อเมริกามาก่อน" ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์จะส่งผลให้ภาษีศุลกากรสูงขึ้น และกระตุ้นการผลิตภายในประเทศ ส่งผลให้ประเทศที่พึ่งพาการส่งออกและมีการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ เช่น จีน เยอรมนี เวียดนาม และเม็กซิโก จะเผชิญความเสี่ยงมากขึ้น

ธีมการลงทุนสำคัญสำหรับปี 2568

นายกิดอน เจอโรม เคสเซล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์เงินฝากและบริหารการลงทุนบุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “การกลับมาของทรัมป์และชัยชนะของพรรครีพับลิกันในทั้ง 2 สภา จะยิ่งสนับสนุนให้เศรษฐกิจสหรัฐฯเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ช่วงปีที่ผ่านมาหุ้นขนาดใหญ่ (mega-caps) ในสหรัฐฯ เป็นตัวหลักที่ผลักดันผลตอบแทนของดัชนีโดยรวม ในปี 2568 นักลงทุนอาจพิจารณาโอกาสลงทุนในหุ้นอื่นๆที่ไม่ใช่กลุ่มหุ้นขนาดใหญ่เพื่อผลตอบแทนที่ดีกว่า เนื่องจากหุ้นเหล่านั้นมีมูลค่าที่ถูกกว่าและมุ่งเน้นตลาดในประเทศมากกว่า โดยมีการปรับประมาณการผลประกอบการในหุ้นที่ไม่ใช่กลุ่ม 'Magnificent Seven' เพิ่มขึ้น เนื่องจากคาดว่าผลกำไรจะกระจายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จะทำให้หุ้นนอกเหนือจากหุ้นขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้น เช่น หุ้นขนาดเล็กของสหรัฐฯ รวมไปถึงกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์จากการยกเลิกกฎระเบียบต่างๆ ได้แก่ กลุ่มการเงิน เทคโนโลยี และพลังงาน”

นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ได้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภาคเทคโนโลยี โดยเพิ่มมูลค่าตลาดกว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับบริษัทชั้นนำ 5 แห่ง ผู้ได้รับประโยชน์อันดับต้นๆ เช่น Nvidia ได้รับการปรับเพิ่มประมาณการรายได้ทันทีจากการแข่งขันเพื่อฝึกโมเดลต่างๆ ที่ต้องการพลังการคำนวณมหาศาล อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าผู้นำในอุตสาหกรรมในที่สุดจะขยายไปยังบริษัทที่สามารถเพิ่มมูลค่าผ่านแอปพลิเคชัน เช่น บริษัทซอฟต์แวร์ เป็นต้น ภาคส่วนที่สำคัญต่อการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพในระยะยาวที่จะมีเห็นยอดขายที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภค เป็นต้น

สำหรับเศรษฐกิจนอกสหรัฐฯ นักลงทุนควรให้ความสำคัญกับประเทศที่มีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ น้อยลง ในขณะที่จีนยังคงเผชิญกับแรงกดดันจากภาวะเงินฝืดและความเสี่ยงจากกำแพงภาษี แม้ว่าตลาดมีการปรับตัวจากปัจจัยเหล่านี้ไปบางส่วนแล้ว รัฐบาลจีนยังสามารถผ่อนคลายและกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มการบริโภคในประเทศได้ แต่จนถึงขณะนี้ การกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนยังคงดำเนินการด้วยความระมัดระวัง นักลงทุนที่ต้องการลงทุนในจีนควรมุ่งเน้นไปยังภาคอุตสาหกรรมเชิงกลยุทธ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งมีความผันผวนต่ำ เน้นการบริโภคภายในประเทศ และจ่ายเงินปันผลสูง

แนวโน้มตลาดหุ้นเอเชียยังส่งสัญญาณที่ไม่ชัดเจน แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนจากความตึงเครียดทางการค้าและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนที่ไม่แน่นอน แต่มูลค่าตลาดหุ้นเอเชียยกเว้นญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับที่น่าสนใจ รายได้ของบริษัทต่างๆยังมีแนวโน้มแข็งแกร่ง และเมื่อรวมกับความเป็นไปได้ในการออกมาตรการการกระตุ้นทางการคลังเพิ่มเติมของจีนอาจช่วยจำกัดความเสี่ยงขาลง นักลงทุนควรเน้นความคล่องตัวและเชิงรุกในการลงทุนในหุ้นเอเชียและจีนเพื่อคว้าโอกาสและลดความผันผวนของพอร์ตโฟลิโอ หุ้นปันผลคุณภาพสูงของเอเชียยังให้รายได้ที่น่าสนใจ นอกจากนี้ นักลงทุนยังสามารถพิจารณาการกระจายการลงทุนไปเพิ่มเติมในหุ้นอาเซียน

ท่ามกลางการเติบโตของเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่ง การปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังคงจำกัด แต่อย่างไรก็ตาม ตราสารหนี้ยังคงมีบทบาทสำคัญในพอร์ตการลงทุน หลายนโยบายมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเติบโตอย่างชัดเจน แต่บางนโยบาย เช่น การเนรเทศแรงงานผิดกฎหมายจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของสหรัฐฯ และทำให้เงินเฟ้อในภาคบริการสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงนโยบายเชิงโครงสร้างมักนำมาซึ่งความผันผวน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปีที่ร้อยละ 4.6 อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยระยะยาว การลงทุนในตราสารหนี้จะช่วยกระจายความเสี่ยงจากหุ้นในขณะที่ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม นักลงทุนอาจพิจารณาลงทุนในตราสารหนี้กลุ่มที่ใช้ในการระดมทุนของธนาคาร เช่น ตราสารหนี้ประเภท AT1, T2 และ Senior TLAC เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตการลงทุนตราสารหนี้ที่หลากหลาย เรายังคงแนะนำให้จัดสรรการลงทุนในทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยง เนื่องจากทองคำมีผลการดำเนินงานที่ดีในปี 2567 และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและการเข้าซื้อทองคำจากธนาคารกลางของประเทศต่างๆ จะยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนอยู่

โดยรวมแล้ว เราคาดว่าตลาดจะยังคงมีแรงหนุนให้เติบโตในปี 2568 อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรเตรียมพร้อมสำหรับช่วงเวลาของความผันผวนจากความไม่แน่นอนจากนโยบาย แม้ว่าผลตอบแทนจากตลาดหุ้นโดยรวมจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น แต่คาดว่าอัตราผลตอบแทนไม่น่าจะสูงเท่ากับสองปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ เรายังคาดว่าผลตอบแทนจากหุ้นจะกระจายตัวมากขึ้น และหมายถึงโอกาสในการทำผลตอบแทนที่ดีกว่าให้กับนักลงทุนด้วย

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ประกาศความร่วมมือกับบริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ชั้นนำในประเทศไทย ในโครงการผลิตภัณฑ์เงินฝากสีเขียวของยูโอบี ความร่วมมือครั้งนี้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนระยะยาวของบริษัทฯ

นางวีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Deputy CEO และ Wholesale Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ผลิตภัณฑ์เงินฝากสีเขียวของยูโอบี ได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนสอดคล้องกับทางธนาคาร เรามีความยินดีที่ได้ต้อนรับบริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ เป็นพันธมิตรในโครงการนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ร่วมมือกันในเส้นทางเพื่อการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น”

ในการเข้าร่วมโครงการผลิตภัณฑ์เงินฝากสีเขียวนี้ บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) ได้ฝากเงินจำนวนมากกับธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ซึ่งจะถูกจัดสรรไปยังโครงการที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตามกรอบการให้บริการทางการเงินอย่างยั่งยืนของธนาคาร เงินทุนเหล่านี้จะสนับสนุนโครงการยั่งยืนต่างๆ ได้แก่ พลังงานทดแทน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การก่อสร้างอาคารเขียว และโครงการอื่นๆ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs)

นายอภิเศรษฐ ธรรมมโนมัย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมมือกับธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ในโครงการผลิตภัณฑ์เงินฝากสีเขียวนี้ ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเราต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบ ความร่วมมือนี้ทำให้บริษัทฯ มั่นใจว่าสินทรัพย์ทางการเงินของเราจะถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการดูแลโลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น”

ในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมเบเกอรี่ บริษัทฯ มุ่งมั่นยกระดับโภชนาการและคุณภาพชีวิตของคนไทย ตลอดจนดำเนินงานให้มีผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือกับยูโอบีนี้จึงสะท้อนถึงกลยุทธ์ ESG ที่ครอบคลุมของบริษัทฯ ซึ่งรวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลดขยะ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชน และการพัฒนาพนักงานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้รวมรายละเอียดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ผลิตภัณฑ์เงินฝากของบริษัทฯ ได้ให้การสนับสนุนผ่านโครงการการให้บริการทางการเงินอย่างยั่งยืนของยูโอบีไว้ในรายงานประจำปี

คุณวีระอนงค์กล่าวเสริมว่า “ข้อมูลนี้ถือเป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่าสำหรับบริษัทฯ ในการนำไปรวมในรายงานความยั่งยืน และยกระดับความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในเรื่องความโปร่งใสและการรับผิดชอบในความพยายามด้าน ESG พร้อมรับผลตอบแทนที่มั่นคง”

Page 1 of 13
X

Right Click

No right click