ไฮไลท์สำคัญ: · อิหร่านเปิดฉากการโจมตีตอบโต้อิสราเอลเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2567 · ผลกระทบคือราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจากความเสี่ยงของการหยุดชะงักของอุปทานน้ำมันจากตะวันออกกลาง · นักลงทุนควรมุ่งเน้นไปยังเป้าหมายทางการเงินระยะยาวด้วยการสร้างพอร์ตโฟลิโอที่แข็งแกร่งด้วย ผ่านการกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ (Multi-asset) และตราสารหนี้คุณภาพดี (Investment grade bond)

จากเหตุการณ์ที่อิสราเอลโจมตีทางอากาศต่อสถานกงสุลอิหร่านในซีเรีย เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ทำให้อิหร่านตอบโต้ด้วยการส่งเครื่องบิน ขีปนาวุธนำวิถี ขีปนาวุธร่อน ตลอดจนโดรนโจมตีรวมมากกว่า 300 ครั้ง ในวันที่ 14 เมษายน 2567 แม้ว่าอิสราเอลและพันธมิตรจะสามารถสกัดกั้นการโจมตี ส่วนใหญ่ได้และแม้ว่าจะมีความเสียหายเพียงเล็กน้อย แต่เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความวิตกถึงความเป็นไปได้ที่ความขัดแย้งจะขยายวงกว้างไปทั่วทั้งตะวันออกกลาง นายกิดอน เจอโรม เคสเซล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์เงินฝากและบริหารการลงทุนบุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้ให้ความเห็นต่อสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการลงทุนดังนี้

สถานการณ์เป็นการตอบโต้เชิงสัญลักษณ์ ซึ่งสร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อย

สหรัฐฯคาดการณ์ถึงการตอบโต้ของอิหร่านเอาไว้ล่วงหน้า โดย Wall Street Journal รายงานถึงการประท้วงที่ใกล้จะเกิดขึ้น ด้วยคำเตือนล่วงหน้านี้ ทำให้เกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อย เนื่องจากอิสราเอลและพันธมิตรสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับการโจมตีของข้าศึกได้

• อิหร่านส่งสัญญาณว่าไม่ต้องการยกระดับความขัดแย้ง โดยกล่าวว่า “ ปฏิบัติการโจมตีอิสราเอลถือว่ายุติลงแล้ว” หลังการโจมตี แต่ยังได้เตือนสหรัฐฯ ให้อยู่ห่างจากความขัดแย้งนี้

สถานการณ์ตึงเครียดจะเลวร้ายลงหรือไม่?

• ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของอิสราเอล แต่สัญญาณเบื้องต้นคบ่งชี้ว่าอิหร่านไม่ต้องการยกระดับความตึงเครียด

• มีรายงานว่าสหรัฐฯ จะไม่เข้าร่วมหรือสนับสนุนปฏิบัติการตอบโต้อิหร่าน แต่จะยังป้องกันเสถียรภาพในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยการปกป้องฐานทัพของอิสราเอล

ผลกระทบต่อการลงทุน

• นักลงทุนมีความระมัดระวังในการลงทุนเพิ่มขึ้นและคาดว่าตลาดจะยังผันผวนในระยะสั้น

~ ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากความเสี่ยงของการหยุดชะงักของอุปทานน้ำมันจากตะวันออกกลาง

~ หากอิหร่านปิดกั้นช่องแคบฮอร์มุซ อาจทำให้เกิดความเสียหายได้ 21 ล้านบาร์เรลต่อวันหรือประมาณ 21% ของการบริโภคทั่วโลก

~ ความไม่แน่นอนทำให้นักลงทุนมองหาสินทรัพย์ปลอดภัย เป็นปัจจัยหนุนต่อราคาทองคำ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (UST) และเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD)

• การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมันอาจส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อและทำให้การลดอัตราดอกเบี้ยล่าช้าออกไป

• อย่างไรก็ตาม ภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้นๆ และความเชื่อมั่นของตลาดก็คาดว่าจะกลับมามีเสถียรภาพได้อีกครั้ง หากความขัดแย้งไม่บานปลาย

คำแนะนำสำหรับนักลงทุน

• ทบทวนพอร์ตการลงทุน เพื่อพิจารณาความเสี่ยงว่ามีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่กระจุกตัวมากเกินไปหรือไม่

• มุ่งเน้นไปที่การบรรลุเป้าหมายทางการเงินในระยะยาวโดยการสร้างพอร์ตการลงทุนที่แข็งแกร่ง ผ่านสินทรัพย์กลุ่ม Core Investment

• แนะนำกลยุทธ์กระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์ (Multi-Asset) ที่มีการลงทุนหลากหลายสินทรัพย์ , ภูมิภาค และอุตสาหกรรม เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน

• พิจารณากองทุนตราสารหนี้และตราสารหนี้คุณภาพดี (Investment Grade) ที่จะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับพอร์ตการลงทุนในช่วงตลาดผันผวน ตราสารหนี้ยังมีอัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจและมีโอกาสได้กำไรด้านราคา หากธนาคารกลางเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปลายปีนี้

• สำหรับนักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ ลองพิจารณาธีมการลงทุนด้านการดูแลสุขภาพระดับโลก (Global Healthcare) , เอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่น และอาเซียน และสามารถทยอยสะสมการลงทุนในหุ้นคุณภาพดีที่มีการเติบโต (quality growth) และหุ้นปันผล ในช่วงที่ตลาดปรับตัวลง

• นักลงทุนสามารถใช้ฟีเจอร์ Wealth ใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวใน UOB TMRW จะช่วยให้นักลงทุนสามารถซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยนกองทุนรวมได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถจัดการความมั่งคั่งผ่านโทรศัพท์มือถือได้ง่ายแค่ปลายนิ้ว

ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2567 เป็นต้นไป นักลงทุนจะสามารถเข้าถึงกองทุนต่างประเทศได้โดยตรง ทำให้สามารถลงทุนโดยตรงในกองทุนรวมที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศจากบริษัทจัดการกองทุนที่มีชื่อเสียงถึง 14 แห่ง อาทิ Blackrock, PIMCO, JPMorgan และ Fidelity สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยนกองทุนรวมผ่านแอป UOB TMRW ได้ที่นี่

ปีใหม่เป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับนักลงทุนในการประเมินกลยุทธ์การลงทุนของตนเองใหม่ โดยพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เหตุผลหลักสามประการที่ทำให้นักลงทุนรู้สึกถึงปัจจัยบวก ประการแรกคืออัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ประการที่สองสืบเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่จะลดลง ธนาคารกลางอาจลดอัตราดอกเบี้ยประมาณกลางปี สุดท้ายนี้คือความเป็นไปได้ที่จะไม่มีภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่นักลงทุนต้องระมัดระวัง อาทิ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอัตราเงินเฟ้อ ข้อกังวลอีกประการหนึ่งคือธนาคารกลางอาจยังคงอัตราดอกเบี้ยที่สูงเอาไว้ เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจ ปัจจัยเหล่านี้อาจนำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกต่อเนื่อง

สำหรับประเทศไทย เศรษฐกิจไทยคาดว่าน่าจะเติบโตร้อยละ 2.8 ในปีนี้ โดยมีแรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการท่องเที่ยว รัฐบาลตั้งเป้าที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 40 ล้านคน และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้ได้ 3.5 ล้านล้านบาทภายในปี 2567 แม้จะมีความท้าทายจากปัจจัยภายนอกอย่างต่อเนื่อง เช่น อัตราเงินเฟ้อที่สูง และความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ยังก่อให้เกิดความเสี่ยงจากต่างประเทศซึ่งนักลงทุนจะต้องจับตาดูอย่างระมัดระวัง

นายกิดอน เจอโรม เคสเซล ได้แบ่งปันกลยุทธ์การลงทุนเพื่อให้นักลงทุนรับมือกับปีที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนอีกครั้ง “ปี 2567 เป็นปีที่มีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยเสี่ยง สิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุนคือต้องคำนึงถึงวงจรของตลาด เหตุการณ์การเมืองและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ยูโอบีแนะนำให้กระจายพอร์ตการลงทุนเพื่อลดความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นและมองหารายได้ที่มั่นคงด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย” เขากล่าว

หลักการลงทุนโดยคำนึงถึงความเสี่ยงของธนาคารยูโอบี (Risk-First Approach) เน้นการลงทุนพื้นฐานเป็นรากฐานสำหรับการวางแผนความมั่งคั่ง (Core Allocation) กลยุทธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องความมั่งคั่งของนักลงทุนด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่มีความผันผวนต่ำ และสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการทางการเงินในระยะยาว ก่อนที่จะเพิ่มพูนความมั่งคั่งผ่าน Tactical Allocation ลงทุนโดยดูภาวะตลาดเพื่อคว้าโอกาสทางการตลาดที่เกิดขึ้น

 

กลยุทธ์การลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ (Multi-asset) และตราสารหนี้ระดับลงทุน (Investment grade) เป็นองค์ประกอบสำคัญของ Core Allocation เพราะมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ช่วยลดความเสี่ยง และมีศักยภาพในการจ่ายเงินปันผลเป็นประจำทุกเดือน การลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายช่วยให้นักลงทุนมั่นใจถึงผลตอบแทนที่สม่ำเสมอตลอดระยะเวลาโดยมีความผันผวนน้อยที่สุด เราแนะนำการลงทุน (tactical call) ในตราสารหนี้ที่มีระยะเวลายาวขึ้น (duration plays) ซึ่งเป็นโอกาสและมีแนวโน้มที่จะทำผลตอบแทนได้ดีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของทิศทางดอกเบี้ย

ตราสารหนี้ระดับลงทุนมีแนวโน้มว่าจะมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งในปีนี้จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อชะลอตัว และคาดว่าธนาคารกลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ยูโอบีคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในกลางปี 2567 นอกจากได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่น่าสนใจในปัจจุบัน ยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (capital gain) จากการลงทุนในตราสารหนี้ได้ นักลงทุนควรลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นถึงระยะกลางในช่วงต้นปี ก่อนที่จะเปลี่ยนไปลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวเมื่อตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับการออกตราสารหนี้ลง

สำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ การลงทุนใน Tactical Allocation ตามอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น กลุ่มสุขภาพทั่วโลกและภูมิภาคต่างๆ เช่น เอเชียไม่รวมญี่ปุ่น และอาเซียน, หุ้นกลุ่มสุขภาพทั่วโลก (Global Healthcare) ที่มีความอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจต่ำ และโอกาสในการเติบโต บวกกับแรงหนุนจากการเติบโตของรายได้จากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ในระยะยาว ผลประกอบการทางเศรษฐกิจของเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาเซียน ซึ่งคาดว่าจะโดดเด่นกว่าของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ด้วยการจ่ายเงินปันผลและการประเมินมูลค่าหุ้นในอัตราที่น่าดึงดูด

ฟีเจอร์ Wealth ใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวใน UOB TMRW จะช่วยให้นักลงทุนสามารถซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยนกองทุนรวมได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถจัดการความมั่งคั่งผ่านโทรศัพท์มือถือได้ง่ายแค่ปลายนิ้ว และตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป นักลงทุนจะสามารถเข้าถึงกองทุนต่างประเทศได้โดยตรง ทำให้สามารถลงทุนโดยตรงในกองทุนรวมที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศจากบริษัทจัดการกองทุนที่มีชื่อเสียงถึง 14 แห่ง อาทิ Blackrock, PIMCO, JPMorgan และ Fidelity สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยนกองทุนรวมผ่านแอป UOB TMRW ได้ที่นี่

 

บทความ   นายกิดอน  เจอโรม เคสเซล  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณธ์ เงินฝากและบริหารการลงทุนบุคคลธนกิจ  ธนาคารยูโอบี

 

บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โบรกเกอร์สัญชาติไทยแห่งแรกที่ออก HSI DW หรือ DW อ้างอิงดัชนีฮั่งเส็ง จัดงานสัมมนาหัวข้อ “เปิดโลกการลงทุนในตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงกับ HSI DW06” ให้กับนักลงทุนที่สนใจ โดยมีนายพงศธร ลีลาประชากุล นักวิเคราะห์การลงทุนตราสารทุนต่างประเทศ ฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน วิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจจีนและฮ่องกง ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดหุ้น กลยุทธ์การลงทุน และโอกาสในการลงทุนในหุ้นกลุ่มต่างๆ และนายปวริศวร์ ภูริเวทย์คุณากร ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ ฝ่ายค้าหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แนะนำการเริ่มต้นลงทุนใน HSI DW06 อาทิ กลไกการทำงาน ความเสี่ยง วิธีการซื้อขาย และกลยุทธ์การลงทุน นอกจากนั้นยังมี Boy DW Trader หรือนายธนภัทร ดวงจิตร จากเพจ DW Trader หุ้นใหญ่ กราฟสวย กูรูด้านการลงทุน DW มาร่วมให้มุมมองเกี่ยวกับเทคนิคการวิเคราะห์ กลยุทธ์การเข้าซื้อ-ขาย และการบริหารความเสี่ยง ณ หอประชุมศุกรีย์ แก้วเจริญ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา

SCB WEALTH ถอดบทเรียนการลงทุนในปีที่ผ่านมา พบ 3 ประเด็นหลักส่งผลให้นักลงทุนพลาดโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดี คือ 1 )การจับจังหวะลงทุนและเก็งกำไรตลอดเวลา ไม่ใช่เรื่องที่เหมะสม 2)การกระจายความเสี่ยงเป็นสิ่งทื่ดีที่สุดในการลงทุน และ3)ไม่หลีกหนี Stay Invested แนะนักลงทุนแบ่งการลงทุนเป็นCore Portfolio ที่ควร Stay Invested และลงทุนระยะกลางถึงยาวได้ อีกส่วนเป็นOpportunistic เพื่อมองหาโอกาสทำกำไร มั่นใจหากนักลงทุนจัด Asset Allocation แม้ตลาดผันผวนไปในทิศทางใด ก็ยังมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจได้

นายรุ่งโรจน์ เสกสรรค์วิริยะ ผู้อำนวยการอาวุโส Investment Product Selection and Partnership ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า การลงทุนในปี 2566 พบ 3 ประเด็นสำคัญที่สามารถนำมาถอดบทเรียนเพื่อนำมาปรับใช้กับการลงทุนในปี 2567 เพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีเสถียรภาพ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้แม้ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน ได้แก่ 1) การจับจังหวะลงทุนและเก็งกำไรตลอดเวลา ไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม จากการพิจารณาดัชนี S&P500 เทียบกับมูลค่าการซื้อขายในแต่ละวัน พบว่า ในวันที่หุ้นปรับขึ้นมาก มูลค่าการซื้อขายจะสูงขึ้น สะท้อนว่ามีการเข้าไปซื้อขายเพื่อเก็งกำไรสูงขึ้น ซึ่งการจับจังหวะช่วงที่ตลาดขึ้นสูง มีโอกาสเผชิญความผันผวนได้มากกว่าช่วงที่ตลาดย่อตัวลงมา ดังนั้น การลงทุนควรพิจารณาลงทุนในช่วงที่ตลาดปรับตัวลง ซึ่งมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีได้มากกว่า

2.การกระจายความเสี่ยงเป็นสิ่งทื่ดีที่สุดในการลงทุน หากย้อนกลับไปช่วงต้นปี 2566 จะพบว่า ตลาดมีการคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและการลงทุน โดยมองว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ปรับขึ้นดอกเบี้ยแรง และคงอยู่ในระดับสูง จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีความผันผวน จากต้นทุนดอกเบี้ยของบริษัทต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบต่อผลประกอบการของบริษัท และสะท้อนมาที่ดัชนีในตลาดต่างๆ ของสหรัฐ อาจจะยังไม่น่าสนใจสำหรับการลงทุน แต่ปรากฏว่า ในปลายปี 2566 ดัชนี S&P 500 ปรับเพิ่มขึ้น 24.7% ดัชนี Nasdag เพิ่มขึ้น 44.5% และ ดัชนี Dow Jones Industrial (DJI) เพิ่มขึ้น 13.70% ทางด้านตลาดหุ้นจีนมองว่าจะได้รับผลดีจากการเปิดประเทศ จะส่งผลให้ภาคบริโภคฟื้นตัว แต่ปรากฎว่าดัชนี CSI 300 ผลตอบแทน -11.7% ส่วนเศรษฐกิจไทยคาดการณ์ว่าจะดีจากอานิสงส์ที่จีนเปิดประเทศ และการท่องเที่ยวไทยจะบูม แต่ปรากฏว่าดัชนีหุ้นไทย -15.6% ด้านราคาทองคำคาดว่าดอกเบี้ยที่สูงจะกดดันราคาทองคำให้ลดลง แต่ปรากฏว่าราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้น 12% ในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้จากสถานการณ์ดังกล่าว นักลงทุนควรยึดมั่นอยู่ในหลักการสำคัญคือ การกระจายความเสี่ยงลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย สำหรับ Core Portfolio เพื่อให้การลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจได้ ไม่ว่าตลาดจะผันผวนไปในทิศทางใดก็ตาม

3.ไม่หลีกหนี Stay Invested หากในปีที่ผ่านมาผู้ลงทุนยังคงเชื่อมั่นศักยภาพ และเศรษฐกิจของสหรัฐการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ไม่ได้มีการปรับพอร์ต หรือลดสัดส่วนลง เชื่อว่าผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนที่ดี แต่ทั้งนี้จากสถิติในปี 2566 การลงทุนในกองทุนประเภท Money market เพิ่มสูงขึ้น ทำให้สะท้อนว่านักลงทุนส่วนใหญ่เมื่อตลาดหุ้นมี

ความผันผวนก็จะปรับพอร์ตหรือปรับสัดส่วนการลงทุน ( Not stay invested) ทั้งนี้ คาดว่า หากอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางหลายแห่งปรับตัวลดลง นักลงทุนอาจหันกลับเข้ามาทยอยลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป

ทั้งนี้ หลังจากการถอดบทเรียนในปี 2566 เพื่อนำมาปรับสำหรับจัดพอร์ตในปี 2567 SCB WEALTH มองพอร์ตการลงทุนควรแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1) การสร้างพอร์ตการลงทุนแกนกลาง ( Core portfolio ) ที่ผสมผสานระหว่างสินทรัพย์หลากหลายประเภทเพื่อกระจายความเสี่ยง ทั้งตราสารหนี้ หุ้น และสินทรัพย์ทางเลือก โดยตั้งเป้าหมายการลงทุนระยะกลางถึงยาว (ประมาณ 3-5 ปี) และไม่จับจังหวะเข้าออกมากเกินไป โดยสอนทรัพย์ที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนได้แก่ กองทุน SCBGA ที่มีผู้จัดการกองทุนปรับน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ให้อยู่แล้ว ส่วนตราสารหนี้ แนะนำ กองทุน SCBDBOND(A) ซึ่งผู้จัดการกองทุนปรับสัดส่วนและน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ตามภาวะตลาดที่เหมาะสม สำหรับลูกค้ากลุ่มที่มีความมั่งคั่งระดับสูง (Ultra High Net Worth) อาจแบ่งเงินส่วนหนึ่งใน Core Portfolio ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกนอกตลาด ประเภท Private Asset เช่น BCRED-O เป็นต้น

2 ) Opportunistic การจัดแบ่งเงินลงทุนบางส่วน เพื่อลงทุนตามมุมมองของที่ปรึกษาการลงทุนต่างๆ โดยอาจคัดเลือกกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่ากองทุน แกนกลางได้บ้าง เพื่อหวังผลตอบแทนที่ดีในระยะสั้น ทั้งนี้ หากเกิดผลลบต่อการลงทุนและไม่เป็นไปตามคาดหวัง สัดส่วนเงินลงทุนที่น้อยจะไม่กระทบกับความคาดหวังการลงทุนระยะยาวในสินทรัพย์แกนกลาง ในส่วนนี้ SCB WEALTH ขอแนะนำ การลงทุนในกองทุน KT-INDIA ที่มีผลการดำเนินงานค่อนข้างสม่ำเสมอ และมีนโยบายลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นอินเดีย ส่วนการลงทุนในผลิตภัณฑ์ตราสารอนุพันธ์ (Structure product) และDual Currency Note Pricing (DCI) ที่จะให้ผลตอบแทนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนที่ลูกค้าต้องการแลก รวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ที่น่าสนใจ ผู้ลงทุนสามารถติดต่อตัวแทนของธนาคารเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ก่อนตัดสินใจลงทุน

คำเตือน

· การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

· ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

· เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

· การลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อนสูงมีความแตกต่างจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนทั่วไป ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทำการลงทุน

· ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมเพิ่มเติมได้จาก website ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไทยพาณิชย์ จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม กรุงไทย จำกัด(มหาชน)

· สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 02-777-7777

บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) จัดงานสัมมนา An Afternoon with Howard Marks: Navigating Market Realities Through Sea Change ฉายภาพการลงทุนท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ (Sea Change) ผ่านมุมมองกูรูการลงทุนระดับโลกอย่าง Howard Marks และ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ นักเศรษฐศาสตร์ชั้นแนวหน้าของประเทศ โดยงานสัมมนานี้จัดขึ้นสำหรับกลุ่มลูกค้า Wealth Management แบบเอกซ์คลูซีฟ เพื่อยกระดับการลงทุนและการบริหารความมั่งคั่งไปสู่โอกาสระดับโลก ณ โรงแรมวอลดอร์ฟ แอสโทเรีย กรุงเทพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา

นาย Howard Marks ผู้ก่อตั้งร่วมและประธานร่วม บริษัท โอ๊คทรี แคปิตอล แมเนจเมนท์ บริษัทจัดการสินทรัพย์ผู้นำด้านการลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) ของโลกกล่าวว่าปัจจุบันตลาดทุนอาจกำลังประสบกับ “การเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่” (Sea Change) ครั้งที่ 3 การเปลี่ยนผ่านครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงปี 1970-1980 ที่นักลงทุนได้เปิดรับแนวคิดว่าสามารถลงทุนในคุณภาพสินทรัพย์ระดับใดก็ได้ภายใต้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับความเสี่ยง การเปลี่ยนผ่านครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในช่วงปี 1980-1990 หลังจากอัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูง และธนาคารกลางสหรัฐต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงร้อยละ 20 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ก่อนจะปรับลดก่อให้เกิดยุคของอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่อง และทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างก้าวกระโดดมากว่า 40 ปี สำหรับในปัจจุบัน สภาวะเงินเฟ้อระดับสูง และอัตราดอกเบี้ยสูงอาจนับเป็นการเปลี่ยนผ่านสำคัญครั้งใหญ่ครั้งที่ 3 ที่นักลงทุนจำต้องปรับแนวคิดต่างไปจากเดิม อัตราส่วนระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เปลี่ยนไปสำหรับสินทรัพย์ทุกประเภท ทำให้กลยุทธ์การลงทุนในตราสารหนี้ (Debt Investing) มีความน่าสนใจ และบ่งบอกว่ากลยุทธ์การลงทุนที่สามารถใช้ได้ดีในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา อาจจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนในอนาคตอีกต่อไป

ด้าน ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่าผลกระทบของการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ระดับโลกที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ล้วนส่งผลกระทบมาถึงไทยไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากประเด็นการเปลี่ยนผ่านระดับโลก ประเทศไทยยังมีความท้าทายเฉพาะตัว อันเนื่องมาจากอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ลดลง การพึ่งพาอุปสงค์จากภายนอกที่มากขึ้น และความสามารถในการแข่งขันลดลง ดังนั้น การรับมือกับปัจจัยภายนอกอย่างประเด็นภูมิรัฐศาสตร์โลก การทวงคืนตลาดการส่งออก การฟื้นคืนจำนวนนักท่องเที่ยว ตลอดจนการบริหารอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี และการปฏิรูปเชิงโครงสร้างในด้านการศึกษา พลังงาน สิ่งแวดล้อม การเกษตร การเมือง หรือโครงสร้างประชากรจึงเป็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องพิจารณาเพื่อเตรียมรับกับการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้น

 

Page 1 of 6
X

Right Click

No right click