ลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทย จับมือพันธมิตรเดินหน้าพัฒนาต่อยอดโครงการจัดจ้างผู้ขาดโอกาสทางสังคม (Inclusive Sourcing Program) เป็นปีที่ 11 มอบโอกาสที่เท่าเทียมทางอาชีพให้แก่ผู้ขาดโอกาสทางสังคม มุ่งเน้นการกระจายโอกาสในการทำงาน การสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้กับกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชน พร้อมจัดงาน “Partnership Day” มอบรางวัลยกย่องพันธมิตรทั้งเก่าและใหม่ ที่ร่วมกันดำเนินโครงการอย่างเต็มกำลัง
และมุ่งขยายโครงการฯ ไปยังพันธมิตรทางธุรกิจให้มากขึ้น เพื่อช่วยสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ผู้ขาดโอกาสเพิ่มขึ้นในประเทศไทย นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการอัปเดตการดำเนินงานด้านความยั่งยืนภายในประเทศ ตามวิสัยทัศน์ L’Oréal For The Future ที่มุ่งเร่งเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้คำนึงถึงขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก และร่วมแก้ไขปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วนโดยทีมงานลอรีอัลด้วยเช่นกัน
นายแพทริค จีโร กรรมการผู้จัดการ ลอรีอัล ประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชากล่าวว่า “ในฐานะบริษัทผู้นำด้านความงามระดับโลกที่มีเป้าหมายในการสร้างความงามที่ขับเคลื่อนโลก ลอรีอัล ให้ความสำคัญในการทำงานที่ช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในทุกชุมชนที่เราดำเนินธุรกิจไปพร้อมๆ กับการเติบโตทางธุรกิจ นอกจากนั้น เรายังตระหนักดีถึงความหนักหนาของปัญหาที่โลกและสังคมกำลังเผชิญ และความจำเป็นที่ทุกๆ ฝ่ายต้องเข้ามามีส่วนร่วม เราจึงมุ่งส่งเสริมให้พันธมิตรทางธุรกิจของเรา ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโอกาสให้กลุ่มคนที่ขาดโอกาสทางสังคมผ่านโครงการจัดจ้างผู้ขาดโอกาสทางสังคม (Inclusive Sourcing Program) ซึ่งถือเป็นหนึ่งโครงการสำคัญ โดยลอรีอัล กรุ๊ป ได้ตั้งเป้าในการช่วยผู้ขาดโอกาสทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีก 100,000 คนภายในปี 2030”
จากเป้าหมายของลอรีอัล กรุ๊ปในการช่วยผู้ขาดโอกาสทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีก 100,000 คนภายในปี 2030 นั้น ในปี 2023 ได้ดำเนินโครงการไปแล้วทั้งสิ้น 429 โครงการครอบคลุมพื้นที่ 1,069 แห่งใน 67 ประเทศ และช่วยให้คนกว่า 93,165 คนให้สามารถเข้าถึงงานได้ โดยการทำงานครอบคลุมทั้งในด้าน การจ้างงานผู้ขาดโอกาส และการจัดซื้อวัตถุดิบจากชุมชน ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการ Inclusive Sourcing และการให้โอกาสทางอาชีพผ่านการอบรบทักษะอาชีพเสริมสวยภายใต้โครงการ Beauty for a Better Life
“ในส่วนของลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทยนั้น เริ่มดำเนินโครงการ Inclusive Sourcing จัดจ้างผู้ขาดโอกาสทางสังคมมาตั้งแต่ปี 2014 จากจุดเริ่มต้นที่มีผู้ขาดโอกาสทางสังคมที่ได้รับประโยชน์ผ่านโครงการนี้ 6 คนในปีแรก มาเป็น 234 คนในปี 2024 และยังมีการขยายโครงการในการสร้างรายได้ให้บริษัทรายเล็กกลุ่ม SMEs และบริษัทสตรีเป็นเจ้าของ เรายังคงมุ่งหน้าผลักดันความร่วมมือกับพันธมิตรของเรา พร้อมกับการมองหาพันธมิตรใหม่ที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการเส้นทางการสร้างความงามที่ขับเคลื่อนโลก ตามพันธกิจเพื่อความยั่งยืนของเรา พันธมิตรทางธุรกิจคือกุญแจความสำเร็จในการดำเนินโครงการนี้ของเรา Partnership Day ถือเป็นวันสำคัญที่ลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทย จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2016 เพื่อเชิดชูเกียรติพันธมิตรทางธุรกิจ ที่มีวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นร่วมกัน ในการขับเคลื่อนสังคมอย่างยั่งยืน” นางสาวอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กรและสื่อสารสัมพันธ์ ลอรีอัล ประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา กล่าวเสริม
ในปีนี้ ลอรีอัล กรุ๊ป ได้มอบรางวัลยกย่องพันธมิตรทั้งเก่าและใหม่ ที่ร่วมกันดำเนินโครงการอย่างเต็มกำลัง พันธมิตรประเภท Silver ได้แก่ บริษัท ฟรองค์ อินเตอร์เทรด จำกัด, พันธมิตรประเภท Gold ได้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.รีแพ็ค และพันธมิตรประเภท Platinum ได้แก่ บริษัท พีเอ็มจี อินทิเกรทเต็ด คอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด และยังได้ต้อนรับบริษัท SMEs และบริษัทที่มีสตรีเป็นเจ้าของที่ได้รับโอกาสการจ้างงานจากบริษัทฯ และในเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้
นอกจากการมอบรางวัลยกย่องพันธมิตรแล้ว ลอรีอัล กรุ๊ปยังอัปเดตการดำเนินการตามวิสัยทัศน์เพื่อความยั่งยืน L’Oréal For The Future ซึ่งมีการดำเนินงานจริงจังในหลากหลายมิติ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของกรุ๊ป ครอบคลุมในเรื่องของการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Fighting Climate Change), การจัดการน้ำอย่างยั่งยืน (Manage Water Sustainably), เคารพความหลากหลายทางชีวภาพ (Respecting Biodiversity) และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (Preserving Natural Resources) โดยในส่วนของลอรีอัล ประเทศไทยนั้น มีการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การเริ่มนำรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า (EV Truck) มาใช้สำหรับการขนส่งสินค้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และการใช้มาตรการเข้มงวดในการลดการขนส่งสินค้าทางอากาศ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ อันเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการทำงานในด้านการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ
ภายในงาน ลอรีอัล ยังได้เสริมความเข้าใจร่วมกันในเป้าหมายด้านความยั่งยืนภายใต้ L’Oréal For The Future โดยเน้นในการทำงานในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางพันธมิตร เพื่อให้การทำงานร่วมกันเป็นไปตามเป้าหมายด้านความยั่งยืน อาทิ การออกแบบและสร้างจุดวางสินค้าและร้านค้าบนหลักการความยั่งยืนที่คำนึงถึงการเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลหรือสามารถนำไปรีไซเคิลได้เมื่อสิ้นอายุการใช้งาน การจัดงานอีเว้นท์ที่คำนึงถึงการใช้วัสดุและการลดขยะสิ้นเปลือง การทำการสื่อสารการตลาดบนกล่องบรรจุภัณฑ์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
นายนิโคลา ฮิโรนิมุส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลอรีอัล กรุ๊ป กล่าวถึงตัวเลขผลประกอบการดังกล่าวว่า “ในสถานการณ์ตลาดความงามที่คึกคักกว่าเดิม ลอรีอัล กรุ๊ปมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น และสามารถเสริมความแข็งแกร่งในฐานะผู้นำระดับโลกช่วงครึ่งปีแรกได้มากขึ้น ธุรกิจเติบโตในวงกว้างในทุก ๆ แผนก ภูมิภาค กลุ่มผลิตภัณฑ์ และช่องทางการขาย ซึ่งถือเป็นการพิสูจน์อีกครั้งถึงรูปแบบการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการที่เน้นความหลากหลายและสร้างสมดุลของเรา
การเติบโตยังคงได้แรงขับเคลื่อน 2 จากปัจจัย คือ ปริมาณและมูลค่า ซึ่งพิสูจน์ความสำเร็จด้านนวัตกรรมและความต้องการในผลิตภัณฑ์ของเรา เพื่อให้วงจรการดำเนินงานที่ดีของเราดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เราสามารถทำกำไรได้ดีขึ้น ขณะเดียวกันก็เพิ่มการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญในแบรนด์ต่าง ๆ ของเรา พร้อมกันนี้ เรายังได้ลงทุนอย่างต่อเนื่องกับการเปลี่ยนโฉมสู่การดำเนินงานที่มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายทั้งด้านผลประกอบการและความยั่งยืน เพื่อสร้างมูลค่าในระยะยาว ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยังไม่มีความแน่นอน เรายังคงตั้งเป้าสูงต่อไป มองแนวโน้มตลาดความงามสดใส เชื่อมั่นในความสามารถที่จะเติบโตเหนือตลาดต่อไป และทำให้ยอดขายและผลกำไรในปี 2566 เติบโตยิ่งขึ้นไปอีก”
สรุปผลการดำเนินงานตามแผนก
แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ เติบโต 7.6%
การเติบโตในตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมขับเคลื่อนด้วยแบรนด์เคราสตาส (Kérastase) โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มขจัดรังแคซิมไบโอส (Symbiose) รวมทั้งแบรนด์ลอรีอัล โปรเฟสชั่นแนล (L’Oréal Professionnel) ที่ประสบความสำเร็จจากเมทัล ดีท็อกซ์ (Metal Detox) แผนกนี้ยังทำผลงานได้ดีในกลุ่มผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมด้วยเชดส์ อีคิว (Shades EQ) ไลน์ผลิตภัณฑ์ระดับตำนานโดยเรดเคน (Redken) และอินัว (Inoa) โดยลอรีอัล โปรเฟสชันแนล แผนกนี้ยังคงเดินหน้าเปิดตัวโครงการ “แฮร์สไตลิสต์เพื่ออนาคต” ซึ่งสนับสนุนช่างทำผมพันธมิตรเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แผนกผลิตภัณฑ์อุปโภค เติบโต 15.0%
แต่ละแบรนด์เติบโตในระดับตัวเลขสองหลัก โดยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมีความคึกคักมากที่สุดด้วยแรงหนุนจากฟอล์สซี่ เซอร์เรียล มาสคาร่า (Falsies Surreal Mascara) จาก เมย์เบลลีน นิวยอร์ก (Maybelline New York) เทเลสโคปิค ลิฟต์ มาสคาร่า (Telescopic Lift Mascara) จาก ลอรีอัล ปารีส (L’Oréal Paris) ส่วนผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมได้อานิสงส์จากกลยุทธ์ในการสร้างความพรีเมียมของแผนก โดยเฉพาะการเปิดตัวเอลวีฟ บอนด์ รีแพร์ (Elvive Bond Repair) ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ส่วนกลุ่มสกินแคร์ก็เติบโตในระดับตัวเลขสองหลักจากรีไวทัลลิฟต์ คลินิคัล วิตามิน ซี เอสพีเอฟ50+ (Revitalift Clinical Vitamin C SPF50+) ฟลูอิด ผลิตภัณฑ์ใหม่ของลอรีอัล ปารีส และเอเอชเอ บีเอชเอ (AHA BHA) ไลน์ผลิตภัณฑ์ป้องกันสิวตัวใหม่ของการ์นิเยร์ (Garnier)
แผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง เติบโต 7.6%
กลุ่มน้ำหอมเติบโตแซงหน้าตลาด เติบโตในระดับตัวเลขสองหลักในทุกภูมิภาค จากผลการดำเนินงานที่โดดเด่นจากแบรนด์ระดับกูตูร์ เช่น อีฟส์ แซงต์ โลรองต์ (Yves Saint Laurent), พราด้า (Prada) และวาเลนติโน (Valentino) ส่วนในกลุ่มสกินแคร์นั้น แผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูงยังคงก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องด้วยความสำเร็จที่โดดเด่นของแบรนด์เฮเลนา รูบินสไตน์ (Helena Rubinstein) และการฟื้นตัวของแบรนด์ลังโคม (Lancôme) ในอเมริกาเหนือ ผนวกกับความสำเร็จของทาคามิ (Takami) ในญี่ปุ่น และล่าสุดในจีน กลุ่มเครื่องสำอางก็เติบโตด้วยเช่นกันจากความสำเร็จของอีฟส์ แซงต์ โลรองต์(Yves Saint Laurent) และผลการดำเนินงานที่น่าพอใจจากแบรนด์ระดับผู้เชี่ยวชาญอย่างเออร์เบิน ดีเคย์ (Urban Decay) และชู อูเอมูระ (Shu Uemura) ส่วนแบรนด์เอสอป (Aēsop) จะได้รวมข้อมูลในช่วงครึ่งปีหลังเมื่อได้รับการอนุมัติตามขั้นตอน
แผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอาง เติบโต 29.0%
ได้รับแรงขับเคลื่อนจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของแผนก ประกอบกับการเดินหน้าในการทำงานกับแพทย์และเภสัชกร โดยทุกแบรนด์เติบโตสองหลัก ทั้งลา โรช-โพเซย์ (La Roche-Posay) ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ผลักดันการเติบโตเบอร์หนึ่งของแผนกก็ยังคงรักษาความแข็งแกร่งของแบรนด์ไว้ได้ จากผลิตภัณฑ์เอฟฟาคลาร์ (Effaclar), ซิคาพลาส (Cicaplast) และยูวีมูน 400 (UVmune 400) ส่วนเซราวี (CeraVe) ก็ยังคงเป็นแบรนด์ที่มีความคึกคักมากในอเมริกาเหนือ และเติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่งในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก วิชี่ (Vichy) ได้จากความสำเร็จของเดอร์คอส (Dercos) และกลุ่มผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด ส่วนผลิตภัณฑ์สกินซูติคัลส์ (SkinCeuticals) ก็ยังคงเป็นแบรนด์ที่มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และสกินเบทเทอร์ ไซเอนซ์ (SkinBetter Science) ที่เพิ่งซื้อกิจการมานั้น ก็เริ่มต้นได้อย่างมีศักยภาพ
สรุปผลการดำเนินงานของภูมิภาค SAPMENA-SSA (เอเชียแปซิฟิกใต้, ตะวันออกกลาง, แอฟริกาเหนือ, แอฟริกาใต้ซาฮารา) เติบโตขึ้น 23.6%1
ภูมิภาค SAPMENA ยังคงเติบโตทั้งปริมาณและมูลค่าอย่างโดดเด่นในระดับตัวเลขสองหลักในทุก ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์และทุกแผนก กลุ่มสกินแคร์เป็นผลิตภัณฑ์หลักที่ขับเคลื่อนภูมิภาคนี้ จากการเติบโตของแบรนด์เซราวี และการเติบโตที่แข็งแกร่งของผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดของลา โรช-โพเซย์ เครื่องสำอางเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เติบโตเร็วที่สุดจากการฟื้นตัวของเมย์เบลลีน นิวยอร์ก ในขณะที่ผลิตภัณฑ์น้ำหอมก็ทำผลงานได้อย่างแข็งแกร่งในวงกว้างอีกครั้ง
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลอรีอัลสามารถทำยอดขายได้อย่างแข็งแกร่ง และเติบโตโดดเด่นในประเทศไทย, มาเลเซีย และสิงคโปร์ ส่วนแผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคในเวียดนามก็ได้รับแรงหนุนจากการขยายช่องทางอี-คอมเมิร์ซ ในขณะที่กลุ่มกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับมีการเติบโตที่ดีเยี่ยมในช่วงวันหยุดทางศาสนา และทุกประเทศในแอฟริกาใต้ซาฮารามีการเติบโตในระดับตัวเลขสองหลัก
เหตุการณ์สำคัญด้านนวัตกรรมและ ESG ของลอรีอัลเมื่อเร็ว ๆ นี้
การวิจัย, บิวตี้ เทค และดิจิทัล
· ลอรีอัล กรุ๊ปได้เปิดตัวโครงการริเริ่มด้านไบโอเทคที่สำคัญ ๆ หลายโครงการ โดยกองทุนบีโอแอลดี (BOLD) ซึ่งเป็นกองทุนร่วมทุนของลอรีอัลได้ลงทุนในบริษัทเดบูท์ (Debut) บริษัทไบโอเทคของสหรัฐเพื่อร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มที่ประกอบไปด้วยส่วนผสมที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และมีความยั่งยืนมากขึ้นกว่า 7,000 รายการ
โครงการพัฒนาร่วมกันระหว่างลอรีอัล และเดบูท์มีเป้าหมายเพื่อเร่งระยะเวลาในการเปิดตัวสินค้าสู่ตลาด นอกจากนี้ ลอรีอัลยังได้ประกาศการเป็นพันธมิตรกับบาการ์ แล็บส์ (Bakar Labs) โครงการบ่มเพาะด้านไบโอเทคระดับบุกเบิกแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ซึ่งเป็นความร่วมมือที่ทำให้สตาร์ทอัพของบาการ์ แล็บส์มีช่องทางที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงโมเดลผิวพรรณที่สร้างขึ้นมาใหม่ในรูปแบบ 3 มิติของลอรีอัล ซึ่งเป็นเครื่องมือด้านนวัตกรรมสำหรับการทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่ปราศจากการทดสอบกับสัตว์
· ในงานวีว่า เทคโนโลยี 2566 (Viva Technology 2023) ลอรีอัล กรุ๊ปเปิดตัวนวัตกรรมบิวตี้ เทคใหม่ล่าสุด ได้แก่ โซลูชั่นเพื่อรองรับความหลากหลายทุกรูปแบบ เช่น แฮปตา (HAPTA) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวมือสามารถแต่งหน้าได้ เครื่องมือสำหรับวินิจฉัย ได้แก่ สปอตสแกน (SPOTSCAN), เมตา โปรไฟเลอร์ (META PROFILER™), เค-สแกน K-SCAN) โซลูชั่นเพื่อการสร้างสรรค์ความงามเฉพาะบุคคล ได้แก่ ทรีดี ชู:บราว (3D shu:brow) และโซลูชั่นเพื่อความยั่งยืน เช่น วอเตอร์ เซฟเวอร์ (WATER SAVER) ของลอรีอัล โปรเฟสชั่นแนล ซึ่งช่วยประหยัดการใช้น้ำไปมากกว่า 66 ล้านลิตรแล้วจนถึงปัจจุบัน
· ลอรีอัล และเวริลี (Verily) บริษัทเทคโนโลยีสุขภาพแบบพุ่งเป้าในเครืออัลฟาเบท (Alphabet) ประกาศการเปิดตัวมาย สกิน แอนด์ แฮร์ เจอร์นีย์ (My Skin & Hair Journey) ซึ่งเป็นโครงการศึกษาสุขภาพผิวพรรณและเส้นผมระยะเวลาหลายปีที่มีความหลากหลายที่สุด และครั้งใหญ่ที่สุดในโลก โดยการศึกษาซึ่งมีผู้หญิงในสหรัฐเข้ามามีส่วนร่วมนับพันคนนี้ จะช่วยให้นักวิจัยเข้าใจปัจจัยทางชีวภาพ, คลินิก และสิ่งแวดล้อมซึ่งมีส่วนสนับสนุนสุขภาพผิวพรรณและเส้นผมได้ดีขึ้น
· ในการประชุมแพทย์ผิวหนังโลก (World Congress of Dermatology - WCD) ที่สิงคโปร์ ลอรีอัลเปิดเผยรายงานวิจัยชิ้นใหม่ว่าด้วยภาวะผิดปกติของเม็ดสีผิว และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่มีต่อผิวและหนังศีรษะของผู้หญิง
ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
· ลอรีอัลได้รับการรับรองจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส โกลบอล สำหรับผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน โดยได้คะแนนด้านสิ่งแวดล้อม, สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) 85 คะแนนจาก 100 คะแนน ตอกย้ำถึงการเปลี่ยนโฉมที่ยั่งยืนของลอรีอัลไปสู่รูปแบบธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ และตอบรับความหลากหลายมากขึ้นด้วยการดำเนินการตามกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน
· ในงานมอบรางวัลนานาชาติเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 25 ของลอรีอัล-ยูเนสโก นักวิทยาศาสตร์หญิง 5 คนได้รับการยกย่องสำหรับผลงานที่โดดเด่น และมีการมอบเหรียญเกียรติยศ รวมทั้งทุนให้แก่นักวิจัย 3 คนที่ถูกสถานการณ์บีบให้ต้องหลบหนีออกจากประเทศ และแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ ความอดทน และความมุ่งมั่นที่มีต่อวิทยาศาสตร์อย่างน่ายกย่อง
· เนื่องในวันคุ้มครองโลก ลอรีอัลได้ประกาศ 3 โครงการใหม่ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูธรรมชาติ (Fund For Nature Regeneration) ของบริษัท ได้แก่ โครงการเน็ทซีโร่ (NetZero), รีฟอเรสเทอร์รา (ReforesTerra) และแมงโกรฟส์ (Mangroves) โครงการเหล่านี้ได้รับคัดเลือกเนื่องจากวิธีการที่เป็นนวัตกรรมในการกักเก็บคาร์บอนในดิน, การปลูกป่า และการฟื้นฟูป่าชายเลน รวมทั้งศักยภาพในการสร้างผลกระทบเชิงบวกในวงกว้างต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนท้องถิ่น
· ลอรีอัลได้รับการจัดอันดับจากฟาสต์ คอมพานี (Fast Company) ให้เป็นหนึ่งในสถานที่ทำงานที่ดีที่สุด100 อันดับแรกสำหรับนวัตกร ประจำปี 2566 ซึ่งยกย่ององค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมในทุกระดับ
ทีม THE THREE MUSKETEERS จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน “ลอรีอัล แบรนด์สตอร์ม 2019” ครั้งที่ 16 ในประเทศไทย นำเสนอกลยุทธ์และพัฒนาแผนการตลาดดิจิทัล ภายใต้โจทย์ “INVENT THE FUTURE SKINCARE EXPERIENCE FOR HEALTH-CONSCIOUS CONSUMERS” หรือ “การสร้างสรรค์ประสบการณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวแห่งอนาคต เพื่อผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพ” ให้กับแผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอาง เน้นการเข้าถึงและสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ผ่านการใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน “ลอรีอัล แบรนด์สตอร์ม 2019” ระดับโลก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในเดือน พฤษภาคม 2562 ลุ้นชิงรางวัลประสบการณ์การทำงานที่ฝรั่งเศส ณ Station F ฮับสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ทีม THE THREE MUSKETEERS จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชนะเลิศ “ลอรีอัล แบรนด์สตอร์ม 2019” ของประเทศไทย ประกอบด้วย นายนพรุจ กรุงไกรเพชร นางสาววราลี ธนะนิวิฐ และ นางสาวพิมพ์พัชร จันเทรมะ นักศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ชั้นปีที่ 4 เปิดเผยว่า “สำหรับผลงานอุปกรณ์ดูแลรักษาผิว SkinActiv นั้น มาจากการค้นคว้าของเรา และพบว่า 87% ของผู้หญิงไทยยังเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวได้ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไม่ตอบโจทย์กับสภาพผิวของพวกเขา ซึ่งอุปกรณ์ดูแลรักษาผิว SkinActiv นี้ มาพร้อมกับวิธีการใช้ 2 โหมด คือโหมด Diagnosis ซึ่งมีเซนเซอร์วินิจฉัยสภาพผิวของผู้ใช้ และโหมด Treatment ที่จะช่วยผ่อนคลาย ฟื้นฟูผิวหน้า และสามารถรักษาสิว ลดริ้วรอย และเปิดรูขุมขนเพื่อการเปิดรับผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันบนมือถือ เราคาดหวังว่าอุปกรณ์ SkinActiv จะทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการดูแลผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกสบายยิ่งขึ้น ด้วยการวิเคราะห์สภาพผิว ให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและวิธีการรักษาที่เหมาะกับสภาพผิวของผู้ใช้มากที่สุด”
“พวกเรารู้สึกดีใจมากที่ชนะการแข่งขัน “ลอรีอัล แบรนด์สตอร์ม 2019” ขอขอบคุณบริษัทลอรีอัล ที่เปิดโอกาสให้พวกเราได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ และใช้ทักษะรอบด้านในการออกแบบแผนการตลาดและนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาประยุกต์ใช้ และขอขอบคุณสำหรับการผลักดันให้พวกเราก้าวข้ามขีดจำกัด และกรอบการนำเสนอเดิมๆ เพื่อที่จะเอาชนะใจกรรมการให้ได้ภายในเวลาเพียงแค่ 5 นาทีอีกด้วย นี่คือความท้าทายที่คนเจนเนอเรชั่นเรามองหา” ทีม THE THREE MUSKETEERS กล่าว
นายธนยศ ครุฑระเบียบ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “โครงการ ลอรีอัล แบรนด์สตอร์ม เป็นโครงการสำหรับคนรุ่นใหม่ที่มองหาความท้าทาย ที่ต้องการพัฒนาทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการนำเทคโนโลยีและดิจิทัลโซลูชั่นส์ใหม่ๆ มาตอบโจทย์ทางธุรกิจ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทีม THE THREE MUSTKETEERS เป็นผู้ตอบโจทย์ได้สมบูรณ์แบบที่สุด
และจะเป็นตัวแทนประเทศไทย ไปแข่งต่อที่เวทีโลกเพื่อชิงรางวัลชนะเลิศที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมี เป็นครั้งแรก คือ ประสบการณ์การทำงานที่ฝรั่งเศส ณ Station F ฮับสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในโลก พาร์ทเนอร์ของลอรีอัล เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ความตั้งใจของโครงการในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และส่งเสริมแนวคิดการทำงานแบบผู้ประกอบการอย่างแท้จริง”
รูปแบบการแข่งขันลอรีอัล แบรนด์สตอร์มจะกำหนดให้นักศึกษานำเสนอผลงานทุกรอบ ในสไตล์ “Pitching” หรือ การขายไอเดียแบบธุรกิจสตาร์ทอัพ โดย 5 ทีมที่มีผลงานโดดเด่น จะได้นำเสนอผลงานบนเวทีในรอบสุดท้าย เพื่อชิงรางวัลชนะเลิศต่อหน้าคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อันประกอบไปด้วย คุณอินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ และ คุณวิภาวี ทับสกุล ผู้จัดการทั่วไป แผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอาง บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการสำนักงาน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ พญ.ขวัญจิรา วงศ์เกียรติขจร แพทย์เฉพาะทางผิวหนัง
ผลการตัดสินการแข่งขันโครงการ “ลอรีอัล แบรนด์สตอร์ม 2019” ประเทศไทย คือ ทีม THE THREE MUSTKETEERS จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับผลงานนำเสนอภายใต้คอนเซ็ปต์ “ผลงานอุปกรณ์ดูแลรักษาผิว SkinActiv” รับรางวัลเงินสดจำนวน 100,000 บาท และเป็นตัวแทนประเทศไทยแข่งขันกับตัวแทนจาก 65 ประเทศทั่วโลก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนพฤษภาคม 2562 ทีม BART HEART จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชนะรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับรางวัลเงินสด 50,000 บาท และทีม S’OREAL จากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร ชนะรางวัล CSR Award รับเงินสด 30,000 บาท
นางอินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวสรุปว่า “วัตถุประสงค์ของโครงการฯ คือการเป็นมากกว่าการแข่งขันแผนการตลาด แต่เป็น “Project and Talent Incubator” ซึ่งตอกย้ำวิสัยทัศน์การเป็นผู้บุกเบิกด้าน Beauty Tech ของบริษัท ทุกๆ ปีความคิดสร้างสรรค์ และไอเดียในการรังสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ จากนักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะแปลกใหม่ มีความน่าสนใจเสมอ เรามีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการมอบประสบการณ์ที่มีค่าให้แก่นักศึกษาไทย เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้พัฒนาศักยภาพที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำงานจริง เพื่อการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต”