วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยวิชาเอกการสื่อสารเพื่อเศรษฐศาสตร์ จัดงาน “Econ-Commu 2023: The Innovation fun(d) day” เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 25566 ที่ผ่านมา ณ หอดนตรีและการแสดงอโศกมนตรี 1 ชั้น 4 อาคารนวัตกรรม: ศาสตราจารย์ดร.สาโรช บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ที่สามารถเข้าถึงได้ ให้คนรุ่นใหม่ คนทั่วไป ที่ติดตามเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจสมัยใหม่ ได้เข้าถึงสารที่ง่ายขึ้นด้วยศาสตร์แห่งการสื่อสารและนวัตกรรม
โดยครั้งนี้จัดขึ้นด้วยพลังของนิสิตในวิชาเอกสื่อสารเพื่อเศรษฐศาสตร์ที่ ที่ได้ใช้พื้นที่ของกิจกรรมบริการวิชาการนี้เป็นโอกาสในการฝึกฝนการทำงานในสนามจริง โดยแบ่งเป็น 5 ส่วนงาน ได้แก่
1.) Fun(d)amental ที่เป็นการเข้าใจหลักการและที่มาของการสื่อสารเพื่อเศรษฐศาสตร์ โดย ผศ.ดร.นพดล อินทร์จันทร์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม และ ผศ.ดร.อดุลย์ ศุภนัท คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ร่วมเปิดงานและได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ในการพัฒนานิสิตจากการให้นิสิตได้ทำงานจริง ๆ กับมืออาชีพ การเชื่อมต่อองค์ความรู้จาก 2 ศาสตร์ คือ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร เพื่อสร้างบุคลากรเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ
2.) Fun(d) Innovation ที่เป็นการอัพเดทนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางเศรษฐกิจ โดย ตัวแทนจาก 3 หน่วยงาน ได้แก่ คุณจารุชา คูสมิทธิ์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คุณภคณัฐ ทาริยะวงศ์ บรรณาธิการ เพจ Future Trends และ คุณวนะชัย รัศมีพลังสันติ Ocean Sky Network (Mandala AI) ซึ่งจากการเสวนา ทั้ง 3 ท่านมีความเห็นในทิศทางเดียวกันว่า การเข้ามาของ AI จะทำให้มนุษย์ทำงานได้มีประสิทธิภาพและง่ายขึ้น แต่ AI ยังไม่สามารถทดแทนการทำงานของมนุษย์ได้ สิ่งที่คนทำงานรุ่นใหม่ต้องปรับตัว คือการใช้เทคโนโลยีให้เป็น นอกจากนี้ ความสามารถในการสื่อสารยังจำเป็นต่อการทำงานทุกองค์กร
3.) Fun(d) Talk ว่าด้วยการแปลงข้อมูลเศรษฐศาสตร์ให้เข้าถึงได้จากผู้มีประสบการณ์ที่หลากหลาย ได้แก่ คุณสุพริศร์ สุวรรณิก หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยป๋วย อึ๊งภากรณ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยป๋วย อึ๊งภากรณ์ (PIER) ธนาคารแห่งประเทศไทย กับหัวข้อ “เศรษฐศาสตร์: เข้าใจไม่ยากอย่างที่คิด” คุณศิรัถยา อิศรภักดี Founder WEALTH ME UP, Host THE STANDARD WEALTH ในหัวข้อ “เศรษฐสื่อ” และ คุณศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนา นักแสดงและประธานกรรมการบริหาร สังกัด IDOL idol Factory ในหัวข้อ “เศรษฐศาสตร์กับการจัดการความบันเทิงเพื่อคนรุ่นใหม่”
4.) Fun(d) Fair เป็นฐานกิจกรรมที่หน่วยงานภาคีมาร่วมให้ความรู้ และสร้างพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนกับนิสิต ผู้ร่วมงาน จำนวน 6 ฐานกิจกรรม ได้แก่ บูธธนาคารแห่งประเทศไทย บูธธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บูธ Future Skill บูธ Mandala AI บูธ BeTask และบูธวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม/การสื่อสารเพื่อเศรษฐศาสตร์
5.) Fun(d) Game กิจกรรมสนุกสาน โดย นิสิตการสื่อสารเพื่อเศรษฐศาสตร์
ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับบุคคลภายนอกและต่อยอดความรู้ให้กับนิสิตวิชาเอกการสื่อสารเพื่อเศรษฐศาสตร์ ได้ฝึกฝนประสบการณ์ในการทำงานจริงร่วมกับองค์กรภายนอกอย่างมืออาชีพ และความรู้จากผู้มีประสบการณ์ที่ได้มาถ่ายทอดเรื่องราวของเศรษฐศาสตร์ในโลกของการทำงานจริง ให้นิสิตและผู้ที่สนใจเข้าฟัง ได้เตรียมความพร้อมต่อไปในอนาคตของการทำงาน
เมื่อเร็วๆ นี้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคมโดย นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และ นายกาจผจญ อุดมธรรมภักดี รองผู้ว่าการฝ่ายกลยุทธ์และแผนงานได้ลงนาม ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (Memorandum of Understanding : MOU) ด้านการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และผลิตบุคลากรทางด้านนวัตกรรมดิจิทัล ร่วมกับวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชยกฤต อัศวธิตานนท์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพพล ตั้งจิตพรหม ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมและการแปรรูปทางดิจิทัล ร่วมลงนาม
วิทยาลัยนวัตกรรม เป็นสถาบันการศึกษาด้านนวัตกรรมที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Digital Transformation and Innovation ในระดับประเทศ เป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ที่มีองค์ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งการดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงฯ ฉบับนี้ ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาความรู้ ของนักศึกษา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์และเข้าใจกระบวนการทำงานของ กทพ. เพื่อสร้างความร่วมมือและก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม ด้านดิจิทัล และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับสถาบันการศึกษาและการดำเนินงานของ กทพ.
ในขณะเดียวกัน ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันจัดทำ Business Model เพื่อให้สามารถสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผน ITS Next 10 Years ในการรองรับสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charger Station) ในเขตทางพิเศษ ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับการเดินทางบนทางพิเศษที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้