กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 – การแสดงความรักกำลังเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลเมื่อเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยวางแผนที่จะซื้อของขวัญทางออนไลน์เพื่อมอบให้คนรักในช่วงวาเลนไทน์ อ้างอิงจากผลการศึกษาฉบับล่าสุดที่จัดทำโดย YouGov ในนามของวีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก โดยการศึกษาฉบับนี้1 มีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคก่อนวันวาเลนไทน์ รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ และการกระทำเช่นใดที่ทำให้คนรักใจละลายได้

หนึ่งในสิ่งที่ท้าทายที่สุดคือการอ่านใจว่าคนรักของคุณต้องการอะไร อ้างอิงจากผลการศึกษาฉบับนี้พบว่า เกือบหนึ่งในสาม (59%) ที่เลือกบอกคนรักไปเลยตรงๆ ว่าอยากได้อะไร โดยวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองคือการใช้เอไอ หรือ ปัญญาประดิษฐ์เป็นตัวช่วย ซึ่ง 27 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามวางแผนที่จะบอกสิ่งที่ตนปรารถนาโดยการกระซิบใส่สมาร์ตโฟนของคู่รัก และอีก 22 เปอร์เซ็นต์ เลือกที่จะบอกใบ้คนรักและหวังว่าพวกเขาจะเข้าใจสิ่งที่อยากสื่อไปในที่สุด

เมื่อต้องตัดสินใจว่าจะเลือกซื้อของขวัญแทนใจสำหรับวันวาเลนไทน์จากที่ไหน เกินกว่าครึ่งของของผู้ตอบแบบสอบถาม (57%) วางแผนที่จะซื้อของจากร้านค้าออนไลน์และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ขณะที่เกือบหนึ่งในห้า (20%) ตั้งใจจะซื้อโดยตรงจากร้านค้าบนสื่อโซเชียลอย่าง อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก ติ๊กต็อก และไลน์

ความรักปี 2567 มาพร้อมสนนราคา จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ราคาและส่วนลด (58%) คือปัจจัยสำคัญให้คนเลือกว่าจะซื้อของขวัญวาเลนไทน์จากที่ใด ตามด้วยความหลากหลายและคุณภาพสินค้า (50%) นอกจากนี้ยังเลือกพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาของโปรโมชันหรือแพ็กเกจ (30%) การมีประสบการณ์ที่ดีในการซื้อครั้งก่อนกับร้านค้า (27%) และชื่อเสียงของแบรนด์ (21%)

นอกจากนี้ การศึกษายังพบอีกว่า เกือบเจ็ดในสิบของผู้ตอบแบบสอบถาม (68%) วางแผนที่จะใช้จ่ายไม่เกิน 1,000 บาท ในขณะที่ 29 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าตั้งใจที่จะใช้จ่ายระหว่าง 1,001 ถึง 10,000 บาท และอีก 3 เปอร์เซ็นต์วางแผนที่จะใช้เงิน 10,000 บาทขึ้นไปกับของขวัญและการฉลองวาเลนไทน์ในปีนี้

เมื่อมาดูในส่วนของประเภทของขวัญที่เลือกซื้อสำหรับวันวาเลนไทน์ พบว่า เกือบหนึ่งในสาม (30%) บอกว่าเครื่องแต่งกาย กระเป๋าถือ และเครื่องประดับแฟชั่นคือตัวเลือกอันดับหนึ่งสำหรับหวานใจของพวกเขา ตามด้วยของขวัญแนวสื่อแทนใจอย่างช็อกโกแลต (25%) และดอกไม้ (12%)

สำหรับหลาย ๆ คน วิธีสื่อความในใจไม่ได้จำกัดเพียงแค่ของขวัญเท่านั้น และความโรแมนติกของจริงยังมีอยู่เมื่อการกระทำที่ชวนให้ใจละลายมากที่สุดคือการได้ใช้เวลาอันมีค่าร่วมกัน (41%) แต่ก็ยังมีอีกหลาย ๆ คู่ที่เลือกซื้อของแทนใจเพื่อแสดงความรักระหว่างกัน โดยของขวัญวาเลนไทน์หรือโปรโมชันที่ได้รับความนิยมที่สุดคือ เซ็ตของขวัญคู่รัก (27%) ซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง (22%) ตามมาด้วยบริการแกะสลักชื่อบนสินค้าฟรี (15%) และบัตรกำนัลสปาที่โรงแรม (12%)

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, วันที่ 2 พฤษภาคม 2566: วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ประกาศความร่วมมือกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด (T2P) บริษัทฟินเทคชั้นนำของประเทศไทย เปิดให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศแบบดิจิทัลสำหรับลูกค้าทั่วไปเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ด้วยโซลูชัน วีซ่าไดเร็ค (Visa Direct) ลูกค้าสามารถโอนเงินข้ามประเทศเข้าบัตรเดบิตวีซ่าภายในเวลาอันรวดเร็วเกือบจะเรียลไทม์1

ผู้ส่งเงินในประเทศไทย สามารถโอนเงินไปยังผู้รับในต่างประเทศได้อย่างง่ายดาย เพียงกรอกเลขบัตรเดบิต 16 หลักของผู้รับเงินในแอปพลิเคชัน DeepPocket ของทีทูพี เงินจะถูกโอนไปยังบัตรของผู้รับโดยตรงภายในเวลาไม่ถึง 30 นาที2 และสามารถนำเงินที่โอนผ่านระบบนี้ไปใช้ได้ในร้านค้าเครือข่ายของวีซ่าที่มีมากกว่า 70 ล้านแห่งทั่วโลก

“เรามีความยินดีที่ได้ร่วมกับ ทีทูพี ในการเปิดตัว วีซ่าไดเร็ค ที่จะทำให้การโอนเงินข้ามประเทศมีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยนวัตกรรมโซลูชันการชำระเงินที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน การเปิดตัววีซ่าไดเร็คในครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยเติมเต็มทั้งด้านความคาดหวังที่เพิ่มสูงขึ้น และความต้องการที่แปรเปลี่ยนไปของผู้บริโภค ที่มองหาวิธีการเคลื่อนย้ายเงินแบบไร้รอยต่อ และปลอดภัยในทุกที่ทุกเวลาที่พวกเขาต้องการ” ซีรีน เกย์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

ทวีชัย ภูรีทิพย์ ประธานบริหาร บริษัท ทีทูพี จำกัด กล่าวว่า "จากการเพิ่มขึ้นของการชำระเงินถึงกันได้โดยตรงผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์แบบทันทีในประเทศ (instant domestic peer-to-peer payment) เราจึงอยากทำให้การส่งเงินระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับลูกค้า โดยพัฒนาโซลูชันที่ทั้งสะดวก คล่องตัว และปลอดภัย และเพื่อทำตามคำมั่นสัญญานี้ เราจึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับวีซ่าในการเปิดใช้โซลูชัน วีซ่าไดเร็ค บนแอป DeepPocket ของเรา ที่ช่วยให้สมาชิก

ในครอบครัวสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ในเรื่องของการเงินไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลก นอกเหนือจากฟังก์ชันที่ง่ายต่อการใช้งาน แอปพลิเคชันยังแสดงให้เห็นถึงอัตราแลกเปลี่ยนแบบเรียลไทม์ และช่วยให้ทั้งผู้โอนและผู้รับทราบจำนวนเงินที่แน่นอนซึ่งจะได้รับในบัตรเดบิตของวีซ่าอีกด้วย”

การโอนเงินแบบดิจิทัลกำลังได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก จากผลการวิจัยของ Money Travel: 2023 Remittance Landscape3 พบว่า ระหว่าง 60-70% ของกลุ่มตัวอย่างในอเมริกาเหนือเคยใช้บริการชำระเงินดิจิทัลผ่านแอปเพื่อโอนหรือรับเงินข้ามประเทศ โดยมีเพียง 10-15% ของกลุ่มตัวอย่างที่ยังพึ่งพาการโอนเงินด้วยเงินสด เช็ค และธนาณัติ

ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศหลักด้านบริการโอนชำระเงินในฝั่งของผู้โอน พบว่า สามในห้าของผู้บริโภคที่ร่วมตอบแบบสอบถาม (61%) เลือกใช้บริการแบบดิจิทัลเท่านั้นในการโอนเงินระหว่างประเทศ โดยให้เหตุผลในเรื่องของความสะดวกในการใช้งานและความปลอดภัย (53%) นอกจากนี้ จากการศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคฉบับล่าสุดของวีซ่า4 ยังแสดงให้เห็นว่าเกือบครึ่งของผู้บริโภคชาวไทย (48%) กล่าวว่าการโอนเงินแบบดิจิทัลเป็นการทำธุรกรรมที่มีความปลอดภัยมากกว่า

สำหรับโซลูชัน วีซ่าไดเร็ค บนแอป DeePocket นี้ ลูกค้าสามารถโอนเงินได้สูงสุดถึง 2,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อการทำธุรกรรมหนึ่งครั้ง5

“สิ่งนี้ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมการชำระเงินของประเทศไทย ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทยที่กำลังมองหาวิธีการส่งเงินไปให้คนที่พวกเขารักในต่างแดน วีซ่ายังจะมุ่งมั่นสร้างแพลตฟอร์มการชำระเงินที่ครอบคลุมและเข้าถึงได้มากขึ้นสำหรับทุกคน ทุกที่ และทุกเวลา” ซีรีน กล่าวสรุป

- จำนวนดังกล่าวยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด

- ความเชื่อมั่นในการเดินทางฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์ เป็นผลจากการเปิดพรมแดนระหว่างประเทศและความอัดอั้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

- การยื่นคำร้องขอวีซ่าในปี 2565(1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) มีจำนวนเพิ่มขึ้นราว 600% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2564 เป็นผลจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นโดยไม่คาดคิดจากการเปิดพรมแดนระหว่างประเทศและเที่ยวบินระหว่างประเทศกลับมาเปิดให้บริการตามปกติในหลายเส้นทาง

- บริการพิเศษเฉพาะบุคคลเป็นที่ยอมรับมากขึ้น การยื่นคำร้องแบบบริการพรีเมียม (บริการเสริม) เช่น การยื่นคำร้องขอวีซ่านอกสถานที่ (Visa at Your Doorstep - VAYD) มีจำนวนเพิ่มขึ้นสองเท่าจากปี 2562

- ปลายทางที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร (ไม่ได้จัดรียงตามลำดับ)

ประเทศไทยสร้างปรากฎการณ์การยื่นคำร้องขอวีซ่าเพิ่มขึ้นห้าเท่าในปี 2565 สะท้อนถึงความมั่นใจในการเดินทางที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว จากข้อมูลของวีเอฟเอส โกลบอล ผู้นำระดับโลกด้านบริการเอาต์ซอร์สและบริการเทคโนโลยีสำหรับรัฐบาลและคณะผู้แทนทางการทูต การยื่นคำร้องขอวีซ่าทุกประเภทในปี 2565 (1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) เติบโตราว 576% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2564 เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นโดยไม่คาดคิดจากการเปิดพรมแดนระหว่างประเทศและการที่สายการบินระหว่างประเทศกลับมาให้บริการตามปกติในหลายเส้นทาง แต่จำนวนดังกล่าวยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด

"ปริมาณการยื่นคำร้องขอวีซ่าที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทยบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นของนักเดินทางที่ฟื้นกลับมาเร็วกว่าที่คาดการณ์ ฤดูท่องเที่ยวต่างประเทศช่วงที่ได้รับความนิยมสูงสุดน่าจะเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม และเราเชื่อว่าแนวโน้มดังกล่าวจะเติบโตต่อเนื่อง ทำให้ผู้ที่วางแผนเดินทางออกนอกประเทศไทยต้องยื่นคำร้องขอวีซ่าล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงความเร่งรีบก่อนถึงกำหนดเดินทาง" นายเกาซิค กอช หัวหน้าภูมิภาคออสเตราเลเซีย วีเอฟเอส โกลบอล กล่าว

ดังนั้นบริการพิเศษเฉพาะบุคคลจึงได้รับการตอบรับอย่างดีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จะเห็นได้จากการยื่นคำร้องขอวีซ่าในปี 2565 โดยวีเอฟเอส โกลบอล พบว่าบริการพิเศษ เช่น บริการยื่นคำร้องขอวีซ่านอกสถานที่ (Visa at Your Doorstep - VAYD) มี

ผู้ใช้บริการมากขึ้น เพราะทำให้ผู้ยื่นคำร้องสามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกสบายทั้งจากที่บ้านหรือสถานที่ใดก็ตามโดยครบถ้วนทุกขั้นตอนการยื่นคำร้องขอวีซ่า บริการพิเศษดังกล่าวรองรับการยื่นคำร้อง ลงทะเบียนข้อมูลไบโอเมตริก และจัดส่งหนังสือเดินทางกลับคืนถึงสถานที่ที่ต้องการ การจองบริการ VAYD ในปี 2565 (1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) เพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อเทียบกับปี 2562 และเติบโตจากปี 2564 ถึง 27% ทั้งนี้บริการ VAYD พร้อมให้บริการสำหรับการเดินทางไปออสเตรีย โครเอเชีย เดนมาร์ก ฟินแลนด์ อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก และสหราชอาณาจักร

"จำนวนนักเดินทางที่ให้ความสนใจบริการพิเศษเฉพาะบุคคลแบบไร้การสัมผัสหลังสถานการณ์โรคระบาดมีเพิ่มมากขึ้น ความกังวลเรื่องสุขภาพกลายเป็นปัจจัยสำคัญข้อหนึ่งในการเดินทางต่างประเทศ ผู้ยื่นคำร้องจำนวนมากจึงต้องการบริการอย่าง VAYD หรือห้องรับรองพิเศษที่มอบประสบการณ์ด้านการยื่นคำร้องขอวีซ่าที่สะดวกสบายโดยไม่ต้องยืนรอคิว ไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้บริการในยุคดิจิทัลที่ปรับเปลี่ยนรุดหน้าอย่างรวดเร็วทำให้เราคาดว่าบริการพรีเมียมดังกล่าวจะได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าที่ให้ความสำคัญต่อการเดินทางที่อย่างปลอดภัย" นายกอซ กล่าวเสริม

ทั้งนี้วีเอฟเอสโ กลบอล รับหน้าที่ให้บริการยื่นคำร้องอวีซ่าแก่รัฐบาล 23 ประเทศจากในประเทศไทย ประกอบด้วย ออสเตรเลีย ออสเตรีย แคนาดา สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฟินแลนด์ อินเดีย อิตาลี เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สิงคโปร์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร

คำแนะนำการเดินทางในฤดูการท่องเที่ยว

วีเอฟเอส โกลบอล แนะนำให้ผู้ใช้บริการยื่นคำร้องขอวีซ่าตั้งแต่ช่วงเดียวกับที่จองตั๋วเครื่องบินและที่พัก ปัจจุบันหลายประเทศอนุญาตให้ยื่นคำร้องขอวีซ่าล่วงหน้าได้ถึง 90 วัน (3 เดือน) ก่อนวันที่เดินทาง ขณะที่ระเบียบวีซ่าเชงเกนฉบับปรับปรุงที่มีผลเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 อนุญาตให้ยื่นคำร้องขอวีซ่าเชงเกนก่อนวันที่เดินทางได้ถึง 6 เดือน ดังนั้นเราจึงแนะนำให้ผู้ยื่นคำร้องรีบดำเนินการขอวีซ่าเป็นการล่วงหน้าโดยเร็วที่สุดโดยเฉพาะในปีนี้ที่มีความต้องการเดินทางสูงและมีช่วงเวลานัดหมายที่จำกัด

ผู้ยื่นคำร้องขอวีซ่าควรระมัดระวังบุคคลที่คิดค่าธรรมเนียมลูกค้าในการนัดหมายหรือการให้บริการต่างๆ ทั้งที่แอบอ้างชื่อวีเอฟเอส โกลบอล หรือชื่ออื่นใดก็ดี เราไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมสำหรับการนัดหมายแต่อย่างใด หากต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใดก็ตาม โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ของเราหรือส่งอีเมลมาที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

สัมผัสกับบริการเสริมเพื่อความสะดวกสบายในการยื่นคำร้องขอวีซ่า ได้แก่

· ห้องรับรองพิเศษ: สัมผัสประสบการณ์ในการยื่นคำร้องขอวีซ่าแบบส่วนตัวที่ทั้งรวดเร็ว ปลอดภัย และสะดวกสบาย

· บริการกรอกแบบฟอร์ม: ให้เจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญคอยช่วยเหลือคุณกรอกคำร้องขอวีซ่าทางโทรศัพท์หรือ ณ ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า

· บริการจัดส่งเอกสาร: เรามีบริการจัดส่งหนังสือเดินทางและเอกสาร ที่ทั้งรวดเร็ว ปลอดภัย และสะดวกสบาย

· ประกันภัยค่ารักษาพยาบาลระหว่างการเดินทาง: ขอรับความคุ้มครองจากการประกันภัยค่ารักษาพยาบาลระหว่างการเดินทางภาคบังคับซึ่งรวมถึงการครอบคลุมโควิด-19 จากผู้รับประกันภัยชั้นนำระดับโลก

· บริการแจ้งเตือนทาง SMS: แจ้งสถานะล่าสุดของการยื่นคำร้องขอวีซ่าของคุณ

โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมที่: https://www.vfsglobal.com/en/individuals/solutions.html

วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ประกาศปรับเลื่อนตำแหน่งผู้บริหารอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสองท่าน

 

วีซ่า (VISA) ผู้ให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ประกาศเปิดตัว Google Wallet สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตวีซ่าในประเทศไทยที่ออกโดยธนาคารกรุงเทพ และบัตรกรุงไทย (เคทีซี) โดยผู้ถือบัตรสามารถใช้จ่ายได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยด้วย Google Wallet ที่ติดตั้งบนอุปกรณ์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ Android และ WearOS ไม่ว่าจะในร้านค้า การช้อปออนไลน์ ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ และยังสามารถจัดเก็บบัตรเครดิตไว้ภายใน Google Wallet ได้อีกด้วย

การเปิดตัวในครั้งนี้สอดรับกับพฤติกรรมการใช้จ่ายผู้บริโภคชาวไทยที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเปิดรับวิธีการชำระเงินแบบดิจิทัลและลดการใช้เงินสดลง จากการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปีของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study)1 เผยให้เห็นว่าเกือบเก้าในสิบ (88%) ของชาวไทยในปัจจุบันที่ไม่ได้ชำระเงินแบบโมบายคอนแทคเลสต่างรับทราบเกี่ยวกับการชำระเงินด้วยวิธีนี้ และมีถึง 87% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่สนใจที่จะเริ่มใช้การชำระเงินในรูปแบบดังกล่าว

พิภาวิน สดประเสริฐ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “การเกิดโรคระบาดเป็นตัวขับเคลื่อนการชำระเงินแบบคอนแทคเลส เพราะผู้บริโภคต่างมองหาช่องทางที่ปลอดภัยและสะดวกในการใช้จ่าย อุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ ได้กลายมาเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของผู้คนทั้งในเรื่องการติดต่อ ทำธุรกิจ และให้ความบันเทิงไปในตัว เป้าหมายของวีซ่าคือการเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการชำระและรับเงินสำหรับทุกคน การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นส่วนหนึ่งในดีเอ็นเอของเรา และเราเองภูมิใจที่ได้ส่งมอบประสบการณ์การชำระเงินที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคชาวไทย ถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับเราที่ได้ร่วมสนับสนุนกูเกิ้ล ธนาคารกรุงเทพ และเคทีซี เพื่อมอบ Google Wallet และอีกหนึ่งประสบการณ์การชำระเงินที่ไร้รอยต่อและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการช้อปปิ้งออนไลน์หรือแตะอุปกรณ์สวมใส่ของพวกเขาที่จุดรับชำระเงิน”

แจ็คกี้ หวาง Country Director, Google ประเทศไทย กล่าวว่า “จากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ e-Conomy SEA 2022 พบว่าการชำระเงินแบบดิจิทัลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าการชำระเงินแบบดิจิทัลในไทยจะมีมูลค่าธุรกรรมรวม (Gross Transaction Value: GTV) สูงถึง 1.61 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 เนื่องจากปัจจุบันคนไทยหลายล้านคนนิยมชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ เราจึงรู้สึกตื่นเต้นที่ได้นำ Google Wallet มาให้บริการในประเทศไทย ด้วย Google Wallet ผู้ใช้งานในไทยสามารถแตะเพื่อจ่ายเงินในร้านค้า หรือเช็คเอาท์ผ่านช่องทางออนไลน์ รวมทั้งเข้าถึงบอร์ดดิ้งพาสสำหรับการเดินทางที่เร่งรีบในช่วงเทศกาลวันหยุดส่งท้ายปลายปีได้อย่างง่ายดาย เปรียบเสมือนการรวมทุกกระเป๋าไว้ในที่เดียวในทุกการเดินทาง ซึ่งทั้งสะดวกและปลอดภัย

แจ็คกี้ หวาง (ซ้าย) Country Director, Google ประเทศไทย และ พิภาวิน สดประเสริฐ (ขวา) ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย

วิธีการชำระเงินผ่านโมบายคอนแทคเลสไม่ต่างจากการชำระแบบผ่านบัตรคอนแทคเลส ที่ผู้บริโภคเพียงแค่แตะเพื่อจ่ายด้วยสมาร์ตโฟนที่เครื่องอ่าน ณ จุดรับชำระเงิน  ซึ่งจากข้อมูลพบว่าผู้บริโภคชาวไทยบอกว่าข้อดีห้าอันดันแรกของการชำระเงินผ่านโมบายคอนแทคเลส คือ   ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดต่อของเชื้อไวรัสโควิด (68%) ไม่จำเป็นต้องพกเงินสด (65%) เป็นรูปแบบการชำระเงินที่ทันสมัย (59%) ง่ายต่อการใช้งานและติดตั้งระบบ (58%) และไม่จำเป็นต้องพกบัตรเพื่อการชำระเงิน (56%)2

Google Wallet ได้รับการออกแบบมาเพื่อสร้างประสบการณ์การชำระเงินที่รวดเร็วและปลอดภัย แอปจะทำงานโดยมีหน่วยประมวลผลร่วมที่ช่วยให้การชำระเงินมีความปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วยระบบการรักษาความปลอดภัยแบบหลายชั้นที่ออกแบบให้สามารถเก็บข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ Google Wallet ยังใช้โทเค็น ซึ่งเป็นชุดข้อมูลชั่วคราวแทนข้อมูลเลขบัญชีจริงที่จะช่วยรักษาข้อมูลของเจ้าของบัตรให้ปลอดภัย โดยชุดข้อมูลจะถูกสร้างขึ้นเมื่อมีการเพิ่มบัตรไปที่ Google Pay หรือในแอปของธนาคารที่ติดตั้ง เพื่อให้ข้อมูลของผู้บริโภคนั้นถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ในขณะที่ชุดข้อมูลตัวเลขโทเค็นที่สร้างขึ้นมาทดแทนเลขบัญชีจริงจะถูกส่งไปยังร้านค้าแทน

ผู้ถือบัตรวีซ่า จะสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ บนอุปกรณ์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ Android และ WearOS ตั้งแต่เวอร์ชั่น Android 5.2 เป็นต้นไป โดยสามารถดาวน์โหลดแอป Google Wallet ได้ที่ Play Store

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Google Wallet สามารถดูได้ที่ https://wallet.google. และสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการชำระเงินแบบคอนแทคเลสของวีซ่าได้ที่ www.visa.co.th

Page 2 of 3
X

Right Click

No right click