January 22, 2025

บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ร่วมกับ ศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พร้อมพันธมิตรชั้นนำ เดินหน้าจัดงาน “Rethink Pink We Care” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ภายใต้แนวคิด “ห่วงใยผู้หญิงไทย ห่างไกลมะเร็งเต้านม” โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักรู้และเฝ้าระวังเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม ครอบคลุมตั้งแต่การตรวจคัดกรอง ไปจนถึงการดูแลตนเองเมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็ง หวังลดจำนวนผู้ป่วยและความรุนแรงของโรคในประเทศไทย งานนี้จัดขึ้น ณ SCBX NEXT STAGE @ NEXT TECH ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน  โดยมีประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยายมากมาย 

แอสตร้าเซนเนก้า ในฐานะบริษัทผู้วิจัยและพัฒนายาระดับโลก เดินหน้าสานต่อกิจกรรม “Rethink Pink We Care” ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 หลังได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนที่เข้าร่วมงานใน 2 ปี 
ที่ผ่านมา โดยกิจกรรมนี้เกิดขึ้นจากการตระหนักถึงความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านมที่มักพบในผู้หญิง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของหญิงไทย มีเป้าหมายเพื่อมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องครอบคลุมตั้งแต่การสังเกตร่างกายเบื้องต้น เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคตั้งแต่เนิ่นๆ ไปจนถึงแนวทางรักษา 
ในปัจจุบันและการดูแลตนเองเพื่อสุขภาวะที่ดี ในการส่งมอบองค์ความรู้เหล่านี้ให้ประชาชน แอสตร้าเซนเนก้าจึงได้ร่วมมือกับศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช และบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมนี้ขึ้น 

 

นายโรมัน รามอส ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย และ Frontier Markets เปิดเผยว่า  
“จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่ามะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งชนิดที่พบบ่อยที่สุดในหญิงไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเก็บสถิติในปี 2565 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจำนวน 38,559 คนจากทั่วประเทศ ปัจจุบันสาเหตุของโรคเกิดได้ทั้งจากพันธุกรรมและพฤติกรรมเสี่ยง แอสตร้าเซนเนก้าตระหนักถึงความสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เราจึงมุ่งทำการศึกษาวิจัย พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อช่วยรักษาผู้ป่วยอย่างตรงจุดและช่วยลดความรุนแรงของโรคในอนาคต ในประเทศไทยเราได้ร่วมมือกับศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช ผ่านโครงการ ““Rethink Pink We Care” เพื่อส่งมอบองค์ความรู้ในการป้องกัน แนวทางการวินิจฉัย การกระตุ้นให้เข้ารับการตรวจคัดกรองแต่เนิ่นๆ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ภารกิจทั้งหมดนี้มีเป้าหมาย เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของบริษัทฯ” 

ศ.นพ. มานพ พิทักษ์ภากร สาขาวิชาเวชพันธุศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า “การตรวจยีนหรือ Genomics  ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการแพทย์ไทยมากขึ้น ตั้งแต่การป้องกันโรค การตรวจคัดกรอง วินิจฉัย รวมไปถึงการรักษา ในกลุ่มโรคที่หลากหลาย ซึ่งโรคมะเร็งถือเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ การนำเทคโนโลยีนี้มาใช้จึงช่วยในการค้นหาความเสี่ยงภายในครอบครัวได้เป็นอย่างดี สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านมเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน  
บีอาร์ซีเอ 1 (BRCA1) และ บีอาร์ซีเอ 2 (BRCA2) จากสถิติพบว่าผู้ที่มียีนกลายพันธุ์กว่า 80% มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเต้านมสูง ซึ่งประโยชน์ของการตรวจคัดกรองด้วยยีนนี้คือมีความแม่นยำสูงหากตรวจพบความเสี่ยงเร็วก็จะช่วยวางแผนการรักษาได้เร็วขึ้น เพิ่มโอกาสรอดชีวิตและลดความรุนแรงของโรคช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นได้ สำหรับรูปแบบการรักษาในปัจจุบันมีอยู่หลากหลาย ทั้งการผ่าตัดซึ่งเป็นวิธีที่ใช้รักษาผู้ป่วยมานาน แต่ด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ที่ทันสมัยในปัจจุบัน หากตรวจพบก้อนเนื้อเร็ว การผ่าตัดก็จะเกิดเพียงแผลขนาดเล็ก ซึ่งเป็นผลดีกับผู้ป่วยในการฟื้นตัว นอกจากนี้ยังมีการใช้เคมีบำบัด การฉายแสง ภูมิคุ้มกันบำบัด และยามุ่งเป้า ซึ่งการเลือกรูปแบบการรักษานี้จะอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาและการตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยด้วย” 

 

ศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับความร่วมมือจากบริษัทชั้นนำ โครงการ และสถาบัน 
เพื่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมากมาย ได้แก่ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด สถานวิทยามะเร็งศิริราช (SiCA) โครงการ Art for Cancer ชมรมผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแห่งประเทศไทย (Thailand Breast Cancer Community) แบรนด์เอนิต้า (ประเทศไทย) จำกัด ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) นอกจากกิจกรรมบนเวทีและการออกบูธนิทรรศการแล้ว ยังได้รับความร่วมมือจาก แบรนด์ลา โรช-โพเซย์ ภายใต้บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีการดำเนินพันธกิจยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัวผ่านโครงการ “ลา โรช-โพเซย์ เคียงข้างผู้ป่วยมะเร็ง” (Cancer Support by La Roche-Posay) โดยร่วมมือกับมูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง มีเป้าหมายช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง การให้คำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังจากผลกระทบจากการรักษา และการบริจาคผลิตภัณฑ์ ลิปิการ์ โบม เอพี+เอ็ม เพื่อดูแลผิวอย่างอ่อนโยนให้กับผู้ป่วยมะเร็ง 

พันธกิจผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแก่ผู้ด้อยโอกาสชาวเนปาลให้พึ่งพาตัวเองได้ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อต่อยอดทางการรักษาอย่างยั่งยืน

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ นำโดย นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (คนที่ 4 จากซ้าย) พร้อมด้วยนายฤทธิรงค์ บุญมีโชติ  ประธานกรรมการบริหารกลุ่มธุรกิจอาหารแช่แข็งและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และนายชู ชง ชาน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านกิจกรรมกลุ่มบริษัท  มอบเงินสมทบทุนในการสร้างศูนย์วิทยาการเวชศาสตร์ผู้สูงอายุศิริราช จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 10 ล้านบาท โดยมี ศาสตราจารย์นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล (คนที่ 5 จากซ้าย)  และ ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช พร้อมด้วยคณะแพทย์ศิริราช เป็นผู้รับมอบ

 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จัดงานเปิดตัว ศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อโบทูลินัมท็อกซิน แห่งแรกในเอเชียอาคเนย์  โดยมี ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เป็นประธานแถลงข่าวร่วมกับ ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ศ.พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา ภาควิชา ตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล รศ.ดร.นพ.ยุทธนา ศรีนวลประเสริฐ ภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล อ.พญ.ยุวดี พิทักษ์ปฐพี ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล และ ภญ.กิตติวรรณ รัตนจันทร์ ผู้บริหารสูงสุดบริษัท เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย

ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวว่า “ในฐานะที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันทางการแพทย์ที่สร้างสรรค์สุขภาวะแก่มวลมนุษยชาติ สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆ ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม ไปสู่การเป็น Smart Hospital ในการดูแลรักษาพยาบาล ตลอดจนเป็นต้นแบบขององค์ความรู้ระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อคุณภาพชีวิตของคนไทย ซึ่งที่ผ่านมาเราได้รับรู้ถึงอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะดื้อโบทูลินัมท็อกซินมาสักระยะหนึ่ง จึงมีเป้าหมายที่จะพัฒนาองค์ความรู้ในการรับมือกับภาวะดื้อยาที่เกิดจากการใช้ ‘โบทูลินัมท็อกซิน’ ในหัตถการความงามอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เพื่อให้ประชาชนในวงกว้างได้เข้าถึงความรู้ และการตรวจวินิจฉัยภาวะที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกันนี้ แพทย์ที่ทำการรักษาก็จะมีความรู้ความเข้าใจถึงการทำหัตถการความงามอย่างถูกวิธีด้วยเช่นกัน เนื่องด้วยประเทศไทยในปัจจุบัน การทำหัตถการความงามอย่างการฉีดสาร ‘โบทูลินัมท็อกซิน’ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ตัดสินใจเข้ารับบริการโดยที่อาจยังไม่มีความรู้ครอบคลุม และนำมาสู่ความเสี่ยงเกิดภาวะดื้อโบได้ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงทางด้านสาธารณสุขในกรณีที่ผู้ป่วยอาจมีความต้องการใช้โบทูลินัมท็อกซินเพื่อการรักษาโรคทางระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อในอนาคต”

จากความท้าทายของตัวเลขเคสดื้อโบที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา ศ.พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา อาจารย์ประจำภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ร่วมกับ รศ.ดร.นพ.ยุทธนา ศรีนวลประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จึงพยายามที่จะแก้ไขวิกฤตของผู้บริโภคที่สงสัยเรื่องภาวะดื้อโบ ด้วยการริเริ่มก่อตั้งศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อโบทูลินัมท็อกซิน โดยการคิดหาวิธีทดสอบวัดปริมาณแอนติบอดี หรือ ภูมิคุ้มกันในเลือดผู้ป่วยที่ส่งผลให้การรักษาด้วยโบทูลินัมท็อกซินเกิดความล้มเหลว รวมไปถึงพัฒนาชุดความรู้ใหม่ให้กับแพทย์ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยป้องกันการรักษาที่อาจทำให้ร่างกายผู้ป่วยประสบภาวะดื้อโบทูลินัมท็อกซินมากกว่าเดิม

 

ศ.พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา ภาควิชา ตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า “ภาวะดื้อโบทูลินัมท็อกซินเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้วแต่ยังไม่ได้เป็นที่จับตาในวงการแพทย์เท่าไรนัก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการที่ส่วนประกอบในโครงสร้างของโบทูลินัมท็อกซินกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อต้าน ซึ่งจากตัวเลขข้อมูลล่าสุดจากการส่งตรวจเลือดของคนไข้ที่สงสัยว่าจะมีภาวะดื้อโบในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2565 จำนวน 137 ราย พบว่ามีคนไข้จำนวน 79 รายที่มีผลการตรวจเป็นบวก และยืนยันว่ามีภาวะดื้อโบ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 58% ทั้งนี้ ในตัวเลขดังกล่าว สามารถจำแนกได้ว่าผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อโครงสร้างโปรตีน 2 รูปแบบ โดยมีคนไข้ที่มีภาวะดื้อต่อ Core neurotoxin (โครงสร้างหลักในการออกฤทธิ์) อยู่ที่ 48% ดื้อต่อสาร Complexing proteins (โครงสร้างเสริมที่ไม่จำเป็นต่อการออกฤทธิ์) อยู่ที่ 18% และดื้อทั้ง Core neurotoxin และ Complexing proteins อยู่ที่ 8% จากผลการศึกษาพบว่า บางรายที่ดื้อต่อ Complexing proteins อาจจะยังสามารถใช้โบที่มีความบริสุทธิ์สูงที่ปราศจาก Complexing proteins ได้เห็นผลอยู่ แต่ในเคสส่วนใหญ่พบว่าดื้อต่อ Core neurotoxin นั้นต้องรอเวลาให้ระดับแอนติบอดีลดลงเท่านั้น ในฐานะแพทย์ จึงอยากแนะนำให้คนไข้เลือกเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและคลินิกที่มีคุณภาพ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดื้อโบในอนาคต”

รศ.ดร.นพ.ยุทธนา ศรีนวลประเสริฐ ภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวเสริมว่า “การทดสอบเพื่อตรวจวัดปริมาณแอนติบอดีต่อโบทูลินัมท็อกซินนั้นได้ผ่านกระบวนการพัฒนา และการตรวจสอบความถูกต้องทางคลินิก จนสามารถนำมาให้บริการทางคลินิกในการช่วยเหลือคนไข้ได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการเปิดศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อโบทูลินัมท็อกซิน ซึ่งศูนย์ฯ ดังกล่าวเป็นการบูรณาการระหว่างคลินิกและปรีคลินิก เพื่อดูแลรักษาคนไข้โดยใช้ข้อมูลทางด้านคลินิก เช่น ประวัติการฉีดโบทูลินัมท็อกซินของคนไข้ว่าเคยฉีดชนิดใดบ้าง ปริมาณมากน้อยเพียงใด ลักษณะการไม่ตอบสนอง เพื่อหาแนวทางการรักษาของคนไข้แต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนการทำงานของแพทย์ในการเลือกวิธีรักษาหรือเลือกโบทูลินัมท็อกซินได้ อย่างเหมาะสม ทำให้คนไข้สามารถกลับมาฉีดได้อีกครั้งอย่างปลอดภัย”

ในการก่อตั้งศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อโบทูลินัมท็อกซิน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้จับมือร่วมกับ เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย บริษัทชั้นนำระดับโลก ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องอัลเทอร่า และเวชภัณฑ์สำหรับใช้ในคลินิกเสริมความงาม ในการริเริ่ม “โครงการส่งตรวจภาวะดื้อโบ” เพื่อเพิ่มช่องทางให้คนไทยได้เข้าถึงการรักษาภาวะดื้อโบได้ง่ายขึ้น ซึ่งนอกจากการมารับการทดสอบที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแล้ว ทางบริษัทยังได้อำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วย โดยร่วมมือกับพันธมิตรคลินิกความงามมากกว่า 40 แห่งทั่วกรุงเทพมหานคร ในการสร้างเครือข่ายในการช่วยเก็บข้อมูล และตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยที่สงสัยว่าตัวเองจะมีภาวะดื้อโบ รวมถึงการนำส่งตัวอย่างเลือดไปตรวจที่ศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อโบทูลินัมท็อกซินในขั้นตอนถัดไป และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเพื่อบรรเทาความกังวลและช่วยลดความรุนแรงของภาวะดื้อโบได้อีกด้วย ทั้งนี้ ยังตั้งเป้าหมายจำนวนคลินิกร่วมโครงการให้ถึง 100 คลินิก ในปีถัดไปอีกด้วย

 

ภญ.กิตติวรรณ รัตนจันทร์ ผู้บริหารสูงสุดบริษัท เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย กล่าวว่า “เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการประสานงานจัด “โครงการส่งตรวจภาวะดื้อโบ” ร่วมกับศิริราชพยาบาล ซึ่งเกิดขึ้นจากความห่วงใยของเราต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป ที่ปัจจุบันความนิยมเข้ารับการทำหัตถการฉีดโบทูลินัมท็อกซินเพื่อเสริมความงามเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจึงอยากมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการตระหนักรู้เกี่ยวกับภาวะดื้อโบออกสู่วงกว้างมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เมิร์ซ เอสเธติกส์ ยังเปิดช่องทางการสื่อสารใหม่เพื่อให้ความรู้เรื่องภาวะดื้อโบและคำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป หากสงสัยว่าตนเองมีภาวะดื้อโบทูลินัมท็อกซิน

สำหรับประชาชนทั่วไปที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับภาวะดื้อโบ สามารถติดต่อได้ผ่านช่องทาง เมิร์ซ บิวตี้คอนเน็กท์ เบอร์โทรศัพท์ 02-026-1111 หรือ ไลน์ไอดี @merzbeautyconnect เพื่อเข้ารับการปรึกษาในเบื้องต้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ศิริราช เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนม.ปลาย แพทย์จบใหม่ และผู้สนใจ เข้าร่วมงาน “Siriraj Education Expo 2021” ในรูปแบบออนไลน์ ภายใต้แนวคิด Exploring the Journey in Healthcare วันที่ 11 ธ.ค. 2564 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 17.00 น. เปิดลงทะเบียนล่วงหน้า วันนี้จนถึงวันที่ 10 ธ.ค.นี้

พลาดไม่ได้ !! งานนี้จัดเพื่อน้อง ๆ ที่สนใจเรียนสาย Healthcare มาค้นหาตัวเองและความฝันรวมถึงผู้ปกครอง ครู พบทุกหลักสูตรพร้อมอาจารย์แพทย์ รุ่นพี่ ตอบทุกคำถามที่อยากรู้ ทั้งเรื่องเรียน การใช้ชีวิต ทุนการศึกษา รวมทั้งเรื่องชิค ๆ ชีล ๆ ที่แสนอบอุ่นในรอบรั้วริมน้ำ จาก 6 โซน

โซน 1 มีอะไรบ้างในงาน“Siriraj Education Expo 2021” สัมผัสเรื่องราวที่น่าค้นหาและท้าทายที่อาจไม่เคยเห็น แนะนำข้อมูลของโซนต่างๆ และวิธีการเข้าถึง

โซน 2 “รู้..พร้อม..ก่อนเรียนศิริราช” บอกเล่าการเรียนการสอนหลักสูตรแพทย์ “Hybrid 6 ยกกำลัง1” ที่ออกแบบเพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ทุนการศึกษา ชีวิตความเป็นอยู่ กิจกรรมภายในศิริราช และรอบรั้วมหิดล

โซน 3 “จบหมอแล้วไปต่อไหนดี” สามารถเรียนต่อยอด ทั้งปริญญาโท-เอก ฯลฯ รับรองว่าเส้นทางข้างหน้ายังมีความก้าวหน้าในสายวิชาชีพแน่นอน

โซน 4 “ศิริราชไม่ใช่มีแค่หมอ” ยังมีหลักสูตรให้เลือกเรียน ทั้งหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาขากายอุปกรณ์ แห่งเดียวในไทย แห่งแรกในอาเซียน หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หลักสูตรสาขาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ และหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล ที่รอน้องๆ เยี่ยมชม

โซน 5 “ริมน้ำล้ำนะ” พบนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการรักษาและวิจัย ที่อาจสร้างแรงบันดาลใจ

โซน 6 “สดจากริมน้ำ” แชร์ประสบการณ์กับน้องๆ คุยสดตลอดงาน พบอาจารย์ รุ่นพี่ ตอบทุกข้อสงสัย พร้อมข้อมูลคลุกวงใน เช่น เตรียมตัวเรียนหมอศิริราช ตามติดชีวิตหมอ น้องถามพี่ตอบ จบแล้วไปไหนต่อ เครียดได้หายเป็น ฯลฯ

*Lucky Draw ในงาน ลุ้นรับของรางวัลรวมมูลค่ามากกว่า 200,000 บาท มาแจกน้องๆ เช่น iPad Air10.9นิ้ว 64 GB, Huawei Y6 P1, True Smart P1 Prime และแพ็คเน็ตเต็มสปีด 5 GB 7 วัน *สงวนสิทธิ์การจับรางวัลตามเงื่อนไขที่ผู้จัดงานกำหนด

ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด น้องๆ สามารถ ค้น-คว้า-หา-ทำ ในงาน “Siriraj Education Expo 2021” รู้ก่อน พร้อม กว่า สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2419 6410 และ 0 2419 7646-50 ในวันเวลาราชการ อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. และเว็บไซต์: https://www.si.mahodol.ac.th สามารถลงทะเบียน วันนี้ ถึง 11 ธ.ค. 2564 ได้ที่ ลิ้งก์ https://bit.ly/3jXMXPh Official Trailer : https://www.youtube.com/watch?v=W41CJL7MDGg

X

Right Click

No right click