December 22, 2024

ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษา โครงการศึกษา “Thailand Digital Outlook” ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมีนางสาวพลอยรวี เกริกพันธุ์กุล ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กล่าวรายงาน ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมงาน ณ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การดำเนินโครงการศึกษา Thailand Digital Outlook ประจำปี พ.ศ. 2567 ดำเนินการศึกษาตัวชี้วัดด้านการขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลของประเทศไทย โดยอิงข้อมูลจาก OECD Going Digital toolkit และ กรอบ Measuring the Digital Transformation ของ OECD ซึ่งมีการสำรวจทั้งสิ้น 8 มิติ ประกอบด้วย 1) การเข้าถึง 2) การใช้งาน 3) นวัตกรรม 4) อาชีพ 5) สังคม 6) ความน่าเชื่อถือ 7) การเปิดเสรีของตลาด และ 8) การเติบโตและสภาพความเป็นอยู่ สำหรับในปี พ.ศ. 2567 มีการนำเสนอตัวชี้วัดทั้งหมด 102 ตัวชี้วัด ซึ่งมีวิธีการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถาม โดยสำรวจจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และหน่วยบริการปฐมภูมิรวมจำนวน 51,187 ตัวอย่าง รวมทั้งรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งสิ้น 35 หน่วยงาน

ทั้งนี้ ดร.เวทางค์ ฯกล่าวเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจพบว่าตัวชี้วัดด้านดิจิทัลของประเทศส่วนใหญ่ดีขึ้นในทุกมิติ คือ

· การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของครัวเรือนในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 90.3 (21.7 ล้านครัวเรือน) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ร้อยละ 89.5 (21.0 ล้านครัวเรือน)

· ประชากรช่วงอายุ 16 – 74 ปี มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตคิดเป็นร้อยละ 90.7 (50.1 ล้านคน) เพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ร้อยละ 89.5 (49.2 ล้านคน)

· แรงงานดิจิทัลที่ทักษะเฉพาะทางเพิ่มสูงขึ้นจาก 2.63 แสนราย เป็น 2.78 แสนราย โดยมีผู้ปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นในอาชีพ โปรแกรมเมอร์ และ ช่างเทคนิคปฏิบัติการด้าน ICT

· ประชาชนกลุ่มเปราะบาง (บุคคลทั่วไปที่มีระดับรายได้ครัวเรือนอยู่ในช่วงร้อยละ 25 ที่ต่ำที่สุด) มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ร้อยละ 74.60 (12.12 ล้านคน) เพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ ร้อยละ 69.90 (11.23 ล้านคน)

· สัดส่วนจำนวนนักศึกษาจบใหม่ระดับอุดมศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ร้อยละ 33.26 (101,411 ราย จากจำนวน 304,925 ราย) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ร้อยละ 23.69

“นอกจากนั้นแล้วพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 9 ชั่วโมง 20 นาที เพิ่มจากปีก่อนหน้าที่เฉลี่ยวันละ 7 ชั่วโมง 25 นาที โดยพบว่า ส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการติดต่อสื่อสาร และการทำธุรกรรมทางการเงิน และการพักผ่อน/บันเทิง สำหรับพฤติกรรมการซื้อสินค้า/บริการออนไลน์ของประชาชน เพิ่มสูงขึ้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่ซื้อสินค้าออนไลน์จะมีการซื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และมีมูลค่าการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จากเดิม 375 บาท/ครั้ง เป็น 428 บาท/ครั้ง โดยมีสินค้าที่เป็นที่นิยมสูงสุดสามอันดับแรก

คือ เสื้อผ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และหนังสือ ตามลำดับ โดยช่องทางการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่ E-Marketplace เช่น Shopee Lazada ซึ่งผู้ซื้อสินค้าออนไลน์นิยมใช้ช่องทางนี้สูงถึงร้อยละ 95.98 (16,501 ราย จากผู้ตอบ 17,193 ราย) ตามมาด้วย Social Commerce ได้แก่ Tiktok Line Facebook อยู่ที่ ร้อยละ 47.18 (8,111 ราย จากผู้ตอบ 17,193 ราย)” ดร.เวทางค์ฯ กล่าวทิ้งท้าย

พร้อมกันนี้ ภายในงานได้จัดเวทีเสวนา ภายใต้หัวข้อ “การขับเคลื่อนดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand)” โดยวิทยากรรับเชิญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.)

สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งได้ร่วมกันพูดคุยหารือเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สำคัญ สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม และสู่การเป็นดิจิทัลไทยแลนด์” ต่อไปในอนาคต

ชวนประชาชนร่วมตอบแบบสำรวจเพื่อพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศ พร้อมลุ้นรางวัลใหญ่

พร้อมดันงบสนับสนุนเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลผ่านการให้คูปองดิจิทัลโดยมี ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นที่ปรึกษาโครงการ

สดช.เร่งเครื่องยกระดับคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC เปิดตัว 10 แอปฯนำร่อง Marketplace สนับสนุน ซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์มให้กับหน่วยงานบนระบบคลาวด์กลางฯ  มุ่งเป้าเพิ่มศักยภาพขับเคลื่อนงานดิจิทัลและบิ๊กดาต้าภาครัฐ

นายภุชพงค์ โนดไธสง  เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สดช.) เปิดเผยว่า สดช.ในฐานะหน่วยงานกำกับนโยบายการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลภาครัฐ ได้มอบหมาย บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) ดำเนินการโครงการระบบคลาวด์กลางภาครัฐหรือ GDCC (Government Data Center and Cloud service) รวมถึงต่อยอดบริการดิจิทัลของโครงการ GDCC อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้หลังจากประสบความสำเร็จเกินเป้าหมายจากการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์คอมพิวติ้งที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูงเพื่อจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลภาครัฐด้วยคอมพิวเตอร์เสมือนจำนวนรวมกว่า 20,000 VM โดยได้โอนย้ายระบบงานรัฐขึ้นบนคลาวด์แล้วกว่า 3,000 ระบบงาน  ล่าสุดโครงการฯ GDCC ได้ให้ความสำคัญในการบริการระดับแพลตฟอร์ม โดยพัฒนาต่อยอดให้บริการ GDCC Marketplace เป็นศูนย์รวมบริการคลาวด์ในระดับแพลตฟอร์มให้กับหน่วยงานภาครัฐเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลที่คล่องตัวยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีดิจิทัลมีความสำคัญมากขึ้นในการทำงานขององค์กรภาครัฐที่มุ่งเน้นการบริการประชาชนด้วยความรวดเร็ว โครงการ GDCC จึงพัฒนาบริการ Marketplace ขึ้นเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานรัฐได้ประยุกต์ใช้บริการด้านซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์มออนไลน์ที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบงานและบริการต่างๆ รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรของหน่วยงานรัฐทุกระดับโดยที่สามารถเชื่อมโยงกับประชาชนมากขึ้น ซึ่งและนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่สอดคล้องและบูรณาการตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ    

ปัจจุบัน GDCC ได้เปิดให้หน่วยงานภาครัฐสามารถขอใช้บริการ GDCC Marketplace โดยจะพิจารณาคัดเลือกหน่วยงานเข้าใช้ตามลำดับหลักเกณฑ์ อาทิ เป็นการใช้งานที่สามารถนำประโยชน์ด้านดิจิทัลไปพัฒนาต่อยอดหรือสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจ หรือเป็นการให้บริการสาธารณะ (Public service) แก่ภาครัฐภาคเอกชนและภาคประชาชน หรือเป็นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการทำงานหรือการให้บริการภาครัฐ

สำหรับบริการ GDCC Marketplace ระยะแรกได้เปิดนำร่อง 10 บริการ โดยกลุ่มบริการเด่นที่มุ่งเน้นการเสริมประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐและเพิ่มพื้นที่รองรับการเก็บเอกสารภาครัฐในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น อาทิ OCR (Optical Character Recognition) บริการแปลงภาพตัวอักษรเป็นข้อความ  ซึ่งช่วยลดขั้นตอนกระบวนการทำงานด้านเอกสารในการแปลงเอกสารดิจิทัลของภาครัฐ  โดยข้อมูลตัวอักษรในเอกสารหรือหนังสือราชการที่เป็นรูปภาพเช่นไฟล์ JPG หรือไฟล์เอกสาร PDF จะถูกแปลงให้เป็นข้อความและจัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลอย่างเป็นระบบด้วยความถูกต้องแม่นยำปลอดภัย และเชื่อมต่อ API กับระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้   พร้อมทั้งบริการ GDCC Space อีกหนึ่งแอปพลิเคชันในช่วงนำร่องที่ตอบโจทย์การทำงานสำหรับองค์กรด้วยระบบ Chat, Online Conference, Screen Sharing, File Sharing และ Drive เก็บข้อมูล โดยใช้งานร่วมกันในองค์กรได้อย่างอิสระ มีความปลอดภัย และไฟล์ที่ส่งในแชทไม่มีหมดอายุ

นอกจากนี้บริการของ GDCC Marketplace ยังรวมถึงบริการกลุ่ม Big Data services ครบวงจรที่ให้การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์บิ๊กดาต้าภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น  บริการด้านฐานข้อมูลเปิดแบบสร้างอัตโนมัติ (Database as a Service) ช่วยให้หน่วยงานพัฒนาฐานข้อมูลได้สะดวกด้วยซอฟต์แวร์โปรแกรมในรูปแบบ SQL โดยไม่ต้องทำการติดตั้งโปรแกรมเอง,  บริการระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog Platform)  สำหรับจัดแสดงรายการคำอธิบาย และจัดกลุ่มประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานต่างๆ เพื่อความสะดวกในการสืบค้นและร้องขอข้อมูล รวมถึงบริการ Data Analytic Platform/Tools ที่เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก

“สดช. มีความมั่นใจว่า GDCC Marketplace ได้รวมการพัฒนาบริการซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์มที่ครบครัน เพื่อให้ภาครัฐสามารถใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์มต่างๆ ในการพัฒนางานดิจิทัลขององค์กรอย่างครอบคลุม โดยมีเป้าหมายเพื่อรองรับการทำงานของหน่วยภาครัฐที่เปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัล” นายภุชพงค์ กล่าว

ดร.ยุทธศาสตร์  นิธิไพจิตร ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจคลาวด์และบิ๊กดาต้า บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) ในฐานะหน่วยงานผู้ดำเนินงานโครงการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC กล่าวว่า NT มั่นใจในนโยบายของ สดช.ในการจัดทำบริการ GDCC Marketplace และพร้อมที่จะสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐในการใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรคลาวด์กลาง GDCC ด้วยบริการที่มากกว่าด้านโครงสร้างพื้นฐานนั่นคือการใช้บริการซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์มจาก GDCC Marketplace เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำดิจิทัลทรานฟอร์มภาครัฐโดยลดต้นทุนและสะดวกยิ่งขึ้น โดยหน่วยงานภาครัฐที่สนใจสามารถสมัครเข้าใช้บริการที่ระบบ GDCC Smart Request Service  https://gdcc.onde.go.th/

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click