สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) จัดเสวนาครั้งสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจ และสังคม “Lifelong Learning & Climate Change” อาวุธไม่ลับ แต่รับมือได้ทุกวิกฤติ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และส่งต่อแรงบันดาลใจในการร่วมพัฒนาประเทศไทย มุ่งสร้างศักยภาพบุคลากร ผลักดันเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ปรับตัว รับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับโลก
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของ “สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล” กับหมวกใบใหม่ในตำแหน่ง “ผู้อำนวยการ” สถาบันการจัดการธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น หรือสสท. ซึ่งจากบทสัมภาษณ์ที่ให้กับ MBA Magazineนั้นกล่าวไว้ว่า ภารกิจหลัก คือ การเข้ามาสานต่อความแข็งแกร่งของสสท. ที่เปิดดำเนินการมาแล้วถึง 45 ปี ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
“หลังจากเข้ามาที่สสท. 4 เดือนมองว่าสภาพแวดล้อมของธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป กองทัพญี่ปุ่นที่เข้ามาเชื่อมโยงกับประเทศไทยเปลี่ยนดุล จากเดิมที่มีกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่เข้ามาสร้างโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม แต่ในปัจจุบันนี้มี Service Sector SMEs และกลุ่มที่ซื้อมาขายไป ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการความสนับสนุนในด้านการตลาดในไทยมากขึ้น”
จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงเป็นที่มาของ TJMi : Thailand – Japan Management Institute หรือสถาบันการจัดการธุรกิจ ไทย - ญี่ปุ่น ขึ้นเป็นหน่วยงานใหม่ภายใต้สสท. ที่มีหน้าที่และบทบาทในการพัฒนาองค์ความรู้ และการเชื่อมโยง เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับสถานประกอบการ หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่ต้องการขยายตลาดหรือสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจไทยและธุรกิจญี่ปุ่น ให้เติบโตและก้าวไกลไปสู่สากล
โดยเฉพาะการตอบโจทย์ในมิติต่างๆ ทั้งการสร้างเครือข่ายให้กลุ่มนักธุรกิจญี่ปุ่นที่สนใจจะมาลงทุน ร่วมทุน หาโอกาสตลาดในประเทศไทย หรือกลุ่มที่สอง คือ กลุ่มธุรกิจMedium size ที่ต้องการขยายการค้าและธุรกิจไปสู่ประเทศญี่ปุ่น และกลุ่มที่สาม ซึ่งเป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่มองธุรกิจในอนาคตว่า จากนี้ไปจะมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยมีเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบ ส่งผลต่อผู้บริโภค และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริการใหม่ หรือ Business Model ที่ไม่ซ้ำเดิม
สุวรรณชัย กล่าวถึง Business Model ที่มีการเชื่อมโยงระหว่างคนญี่ปุ่นที่มาทำธุรกิจในประเทศไทย และนักธุรกิจไทยMedium size ที่ขยายตลาดไปที่ญี่ปุ่น โดยทำให้ 2 กลุ่มนี้มาเจอกัน สร้าง Networking เพื่อให้ต่างฝ่ายต่างพัฒนา นำจุดแข็งของแต่ละฝ่าย มาร่วมกันคิดทำธุรกิจใหม่
จากนั้น TJMi มีหน้าที่เข้าไปสานต่อ กระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงส่วนที่สำคัญ เข้าไปเติมเต็มส่วนที่ขาด เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แข็งแกร่ง โดยเฉพาะCorporate Branding ที่ต้องให้ความสำคัญเมื่อมีการสร้างธุรกิจใหม่ แนะแนวทางให้ใช้การตลาดนำ เพื่อให้คนจดจำได้ถึง ผลิตภัณฑ์หรือเซอร์วิส ทำการตลาดเพื่อสื่อสารไปถึงผู้บริโภค รวมถึงการทำมาร์เก็ตเทสต์ เพราะญี่ปุ่นที่มาทำธุรกิจยังไม่รู้จักตลาดของไทย การดำเนินการทั้งหมดจะอยู่ภายใต้ Solution ดังนี้
Integrated Solution คือ การทำ Business Matching จับ Supplier ไปพบกับ Buyer เป็นต้น
Workforce Solution คือ เมื่อบริษัทเติบโตขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจะประสบปัญหาขาดกำลังพล แต่เราจะเน้นที่ Top Management สำหรับ Middle Management หรือระดับ Operationนั้นเป็นสิ่งที่ สสท.ทำอยู่แล้ว TJMi จึงเข้ามาต่อยอดจุดแข็งของสสท.ในมิติของการการสร้างฐานลูกค้าใหม่ ที่เป็น Top Business Leader หรือผู้บริหารระดับสูง เป็นการเติมเต็มความเข้มแข็งที่มีอยู่ เพิ่มความครบด้านในการเชื่อมโยงจนถึงระดับผู้บริหารระดับสูง
Technology Solution สิ่งที่ทำให้ TJMi ต่างจากที่อื่น คือองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับ ไบโอเทคโนโลยี ไบโอเคมีคัล เทคนิคการแพทย์ต่างๆ ที่ทำให้คนสุขภาพดี มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น เราได้นำความรู้เหล่านั้นจากญี่ปุ่นมาขยายผล แชร์ข้อมูล ออกมาเป็นคลิป และเผยแพร่ผ่านยูทูปชาแนลใหม่ของ TJMi
รวมไปถึงการเสนอไอเดียให้คนกลับมาสนใจภาษาญี่ปุ่นอีกครั้ง โดยเชิญคนเก่งของสสท.มาเล่าประสบการณ์ว่าภาษาญี่ปุ่นเปลี่ยนชีวิตของคุณอย่างไร ซึ่งเจเนอเรชั่นปัจจุบันนี้ ภาษาสำคัญกว่าวิชาการ เพราะโลกหมุนไปเร็วมาก เราจำเป็นต้องทันต่อเหตุการณ์
Knowhow Transfer - Knowhow Technology Solution เรามีหน้าที่นำองค์ความรู้มาเล่าต่อ โดยนำกระบวนการคิดมา ใส่ในวิธีการสื่อสารเพื่อให้เกิดการติดตามองค์ความรู้ใหม่ๆ
Finance Solution ถือเป็นเป้าหมายระยะยาวของ TJMi เพราะการJoin Venture ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ไม่ใช่เป้าหมายในเชิงปริมาณ แต่เป็นเชิงคุณภาพ และเพื่อทำให้เกิดโมเดลใหม่ ดังนั้นเมื่อมีการจับมือกัน จะทำให้เติบโตไปได้ร่วมกัน และนั่นหมายถึงความเข้มแข็งทางการเงินต่อไป
“สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล” ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (สสท.)
ผลงานที่ผ่านมาของTJMi มีการทำงานร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดสัมมนาเพื่อเปิดโลกทัศน์แห่งความร่วมมือระหว่างนักธุรกิจไทยและนักธุรกิจญี่ปุ่น ในหัวข้อ ReinVenting Thailand-Japan in Decade of New Global Challenge- ทศวรรษแห่งการปฏิรูปความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น สู่โลกใหม่ที่ท้าทาย
รวมถึงการให้ข้อมูล เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับกองทุนญี่ปุ่นที่มีความสนใจจะทำงานร่วมกับเรา ภายใต้เงื่อนไขการร่วมทุน โดยลักษณะตอบโจทย์นโยบายการนำกลุ่มผู้ประกอบการไทยกับญี่ปุ่นมาพบกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายให้มีการจัดตั้งบริษัทร่วมกัน โดยเมื่อมีความเป็นไทยและญี่ปุ่นอยู่ในกองทุนนี้แล้ว ขั้นตอนถัดไปขึ้นอยู่กับความประสงค์ว่าจะนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์หรือไม่
สุวรรณชัยกล่าวว่า ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็น5 โมเดลธุรกิจที่สถาบันค่อยๆ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง บนหลักการและพื้นฐานของการให้องค์ความรู้และความเชื่อมโยงให้มีการร่วมมือกัน
สานต่อจากประสบการณ์ที่คร่ำหวอดในวงการSMEs
แนวทางของ TJMi ที่กล่าวมานั้น ถือเป็นการต่อยอดจากประสบการณ์ของสุวรรณชัย ที่คร่ำหวอดในวงการ SMEs จาก ISMED ซึ่งในเวลานั้นมุ่งเน้นไปที่การเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้ประกอบการ Small Size บนเป้าหมายจะสร้าง SMEs สายพันธุ์ใหม่ให้เกิดขึ้น ในประเด็นนี้สุวรรณชัย กล่าวว่าหากไม่สร้างสายพันธุ์ใหม่ การ Transition จะใช้เวลานานมาก เพราะคนที่ทำธุรกิจมาในระยะเวลา 5-10ปีมักจะติดกับดักในกรอบเดิมๆ อยู่เสมอ
“การTransform ต้องใช้เวลา จึงต้องมุ่งเน้นไปที่กลุ่ม SMEs Startup นักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ On Technology Base และเป็นกลุ่มผู้บริหารไทยรุ่นใหม่ที่ทำธุรกิจระดับMedium size ซึ่งเกี่ยวโยงกับ Digital Transformation หรือ Service Sector รวมถึงการสร้าง New Business กับกลุ่มผู้บริหารญี่ปุ่นในไทยด้วย โดยอยู่ภายใต้สโลแกน “เชื่อมโยงก้าวไกล ก้าวต่อไปธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น”
5Philosophy “5C”
รวมไปถึงการเชื่อมโยงต่อเนื่องด้วยPhilosophy 5C ซึ่งเป็น Core Concept ของ TJMi คือ Create หมายถึง การมีบทบาทและหน้าที่ในการครีเอทเรื่องใหม่ๆ ขึ้นมาเสริมให้สทท. โดยการสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมานั้นจะดึงดูดให้คนสนใจ
ตามมาด้วย Connect เพื่อเชื่อมโยงกันระหว่างไทย-ญี่ปุ่น-สถาบันการศึกษา –ภาครัฐ ให้เกิดมิติของความร่วมมือกันให้ได้ และเมื่อร่วมมือแล้วจะเกิดเป็น C ที่ 3และ 4 คือ Coorporate & Collaborate เป็นการขยายผลออกมา เช่นจัดกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องโดยเชิญอาจารย์จากประเทศญี่ปุ่นมาสอนในคอร์สอบรมสัมมนาต่างๆ
สุดท้ายคือ Contribute ที่เราไม่ทิ้งหมวกใบเดิมตามที่ สสท. วางตัวเองเป็น Social Enterprise และโดยส่วนตัวที่มาจาก ISMED หรือสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งเป็นมูลนิธิช่วยเหลือ SMEs ให้เติบโต รวมไปถึงคนรุ่นใหม่ที่มีอีกหน้าที่คือ ต้องช่วยสร้างสังคมให้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน
ความท้าทายกับการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรตามการสร้างความเปลี่ยนแปลงใน สทท. โดยใช้ TJMi เป็นหน่วยงานในการขับเคลื่อนนั้น สุวรรณชัย ได้รับไฟเขียว จากบอร์ดของสสท.อนุมัติให้ดำเนินการตามแผนที่เสนอไป โดยมีความเข้าใจ และบนคอนเซปต์และวิชั่นร่วมกันว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญ และสร้างสิ่งใหม่ให้เกิดประโยชน์
“การใช้ TJMi เป็นกลไกภายใต้ Core Concept ที่กล่าวมานั้น เป็นสิ่งที่เราต้องการเปลี่ยนแปลง เพื่อเสริมสร้างและปรับให้ สสท.ซึ่งตั้งขึ้นมาบน Philosophy ที่ดีมากอยู่แล้ว มีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ และหลุดจากกับดักของระบบสไตล์การทำงานเดิม ที่อาจจะมีความซับซ้อนและยุ่งยาก
โดยในวิธีการ จะต้องค่อยๆ เรียนรู้ เราไม่ได้บอกว่าของเก่าไม่ดี และไม่ใช่ของใหม่ถูกต้องเสมอไป แต่จะเป็นการวางวัฒนธรรมองค์กรให้แตกต่างบน Concept นี้ แต่สิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงมีมาก ได้แก่การทำงานแบบเชิงรุก ซึ่งการจะทำให้สำเร็จได้ หมายถึงต้องมีความคล่องตัว เช่น การ Recruit คนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน ไม่จำเป็นต้องมีคนจำนวนมาก เน้นความเก่งเป็นรอง แต่มีความทุ่มเทเป็นหลัก
พลังการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ “คน”
สุวรรณชัย ทิ้งท้ายในส่วนของการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมองค์กร โดยเชื่อว่าเราสามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ได้ และวัฒนธรรมไม่ได้เปลี่ยนด้วยผู้นำองค์กร แต่เปลี่ยนด้วยความร่วมมือของทุกๆ คนในองค์กร
“พลังการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ “คน” ซึ่งคือหัวใจของการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กกลางใหญ่ นั่นหมายความว่า ต้องเปลี่ยนให้คนมีความพร้อมก่อน เพื่อที่ขับเคลื่อน ในวันหน้าที่จะต้องเปลี่ยน Culture บุคลากรเราพร้อมจะเปลี่ยนหรือไม่ ทุกคนเห็นในวิชั่นเดียวกันหรือไม่”
สำหรับเรื่องหลักๆ ที่สำคัญ ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คือ สร้างให้เกิดแนวร่วมของคนกลุ่มหนึ่ง ที่เห็นทิศทางจะไปด้วยกัน และผู้นำต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดความเข้าใจร่วมกันว่า “เปลี่ยนแล้วดีขึ้น” นอกจากนั้นLeadership สมัยนี้ต้องเข้าใจและมีความเป็นหัวหน้างาน มากกว่าความเป็นเจ้าของงาน ผมเชื่อว่าการปรับเปลี่ยนองค์กรให้คนเดินไปด้วยกัน ถ้าตั้งใจเดินตาม และเราก็เดินตามเค้าบ้าง เราจะได้คนเก่งมาทำงานกับเรามากขึ้น ดังนั้นผมจะเปลี่ยน Culture ใหม่ของการทำงานทั้งที่เป็นผู้นำและผู้ตาม ถ้าเรามีคนแบบนี้เป็นแนวร่วมมากกว่าครึ่งเมื่อไร วัฒนธรรมองค์กรจะเกิดขึ้นทันที