December 23, 2024

กลุ่มสมุนไพร ส.อ.ท. เปิดข้อมูลโรงงงานสมุนไพรในประเทศ 500 แห่ง เสี่ยงถูกปิด เหตุไม่ผ่านมาตรฐาน GMP PIC/S ตามรอยโรงงานในประเทศไทยปิดตัวลงเกือบ 2,000 แห่ง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไทย แนะแนวทางแก้ไข  4 ด้าน 1. จัดอบรม และหาแหล่งเงินทุน ให้โรงงานปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน GMP PIC/S 2. เป็นตัวกลางจับคู่โรงงานใหญ่เปิดให้โรงงานเล็กเข้าถึงการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 3. ใช้ภาคท่องเที่ยวหนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านการใช้สมุนไพร 4.อย. เพิ่ม Positive list เพื่อให้ผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนสมุนไพรง่ายขึ้น  หากผลักดันได้จะช่วยขยายโอกาสการส่งออกสินค้าสมุนไพรไทยที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ 

ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรในสภาอุตสาหกรรม (ส.อ.ท.)  เปิดเผยว่า สถานการณ์โรงงานในประเทศไทยปิดตัวลงเกือบ 2,000 แห่ง ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมานับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ถึงเดือนมิถุนายน 2567  ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตเกือบ 1 ใน 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทำให้แรงงานกว่า 51,500 คน สูญเสียงาน และวิกฤตดังกล่าวมีโอกาสลุกลามไปยังภาคการผลิตในอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย จากการสำรวจพบว่า อุตสาหกรรมสมุนไพรไทยปัจจุบันยังประคับประครองตัวเองได้อย่างดี เนื่องจากผู้ประกอบการได้ปรับตัวแบบ 360  องศา ทั้งการลงไปจับตลาดใหม่ๆที่เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว ผลพัฒนาแพ็กเก็จจิ้งให้มีความโดดเด่นเหมาะแก่การสะสมและเป็นของฝาก อย่างไรก็ดีพบว่ามีโรงงานอุตสาหกรรมภาคสมุนไพรที่มีความเสี่ยงถูกปิดอยู่เช่นกัน โดยพบข้อมูลน่าตกใจว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานผลิตสมุนไพรมากกว่า 1,000 แห่ง แต่มีโรงงานผลิตสมุนไพร 500 แห่งยัง ยังไม่สามารถผ่านมาตรฐาน GMP PIC/S  หากโรงงานสมุนไพรเหล่านี้ถูกปิดตัวลง ประเทศไทยจะสูญเสียโอกาสในการผลักดัน สร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรมูลค่าสูง สนับสนุนศักยภาพเศรษฐกิจมหาภาค ของประเทศ วิกฤตการปิดตัวของโรงงานในประเทศไทย กำลังส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและแรงงานอย่างหนัก อุตสาหกรรมสมุนไพรไทยก็ยากจะรอดพ้นจากวิกฤตนี้  แต่ก็ยังมีโอกาสรอดวิกฤตนี้ไปได้หากหน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องเร่งเข้ามาช่วยเหลือเร่งด่วน มิฉะนั้นประเทศไทยจะสูญเสียโอกาสการสร้างฐานเศรษฐกิจมหาภาคไปได้  

โดยกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรในสภาอุตสาหกรรม ได้เสนอ แนวทางแก้ไขเพื่อปิดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นนี้ใน 3 มิติ ได้แก่  

  1. หน่วยงานภาครัฐ ดำเนินการอบรม จัดหลักสูตร รวมถึงจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อช่วยให้โรงงานขนาดเล็กมีโอกาสปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน GMP PIC/S 2
  2. หน่วยงานภาครัฐ เป็นตัวกลางในการจับมือระหว่างโรงงานขนาดใหญ่ที่ได้มาตรฐาน GMP PIC/S ในการให้โรงงานขนาดเล็กเข้าใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการช่วยเหลือไม่ให้รายย่อยต้องลงทุน ห้องแล็บ ที่ต้องใช้เงินทุนค่อนข้างสูง  3
  3. สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โรงงานสมุนไพรเหล่านี้มีแหล่งความรู้ที่สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่น่าสนใจ 3
  4. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพิ่ม Positive list เพื่อให้ผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนสมุนไพรง่ายขึ้น 

ทั้งนี้มูลค่าตลาดสมุนไพรในปัจจุบัน 52,104.3 ล้านบาท มีแนวโน้มการเติบโต 8 % ต่อปี  (ข้อมูลล่าสุดจากสภาอุตสาหกรรม)ปัจจัยที่สนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเติบโตมาจาก การเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งมีกำลังซื้อสูงและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จึงนิยมเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและสมุนไพรความกังวลด้านสุขภาพ คนเริ่มกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาเคมี จึงหันมาใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากขึ้น สังคมสูงวัยและประชากรโลกมีอายุยืนยาวขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ มากขึ้น ผู้คนจึงมองหาผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาช่วยดูแลสุขภาพและป้องกันโรค กระแสการกลับสู่ธรรมชาติผู้คนเริ่มให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติมากขึ้น จึงนิยมใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและสมุนไพร หากทุกฝ่ายร่วมมือกันผลักดันให้การผลิตเป็นมาตรการเดียวกัน จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยสามารถส่งออกได้มากกว่าปัจจุบันหลายเท่า 

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกเครือข่ายจัดใหญ่งานมหกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการของเสีย ร่วมขับเคลื่อนสู่โลกที่ดีกว่า โดยมุ่งเป้า 3 ประเด็นหลัก โชว์นวัตกรรมรีไซเคิล จัดสัมมนาเจรจาจับคู่ธุรกิจ และเผยแพร่องค์ความรู้กฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ คาดมีผู้สนใจเข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่าหมื่นคนต่อวัน

เมื่อเร็วๆ นี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จัดงานแถลงข่าวการจัดงานแสดงสินค้าบริการและสัมมนาด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการของเสียหรือ EnwastExpo 2023 (Environmental & Waste Management Expo 2023) ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 ตุลาคม 2566 ณ อาคาร 6 อิมแพค เมืองทองธานี นี้ ภายใต้ธีม”ร่วมขับเคลื่อนสู่โลกที่ดีกว่า” โดยได้รับเกียรติจากนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน ส.อ.ท. และนายธีระพล ติรวศิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม ส.อ.ท. ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน EnwastExpo 2023  ณ ลานไทยเบฟ ชั้น 10 ส.อ.ท.

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดงานแสดงสินค้าบริการและสัมมนาด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการของเสียหรือ EnwastExpo 2023 (Environmental & Waste Management Expo 2023) ว่าเป็นผลมาจากสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนไป ส่วนหนึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ทำให้ต้องหาวิธีผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคให้เพียงพอ ซึ่งทำให้เกิดขยะและกากของเสียที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี จากรายงานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่าในปี 2560 ประเทศไทยมีปริมาณขยะประมาณ 27 ล้านตันหรือประมาณ 74,998 ตัน/วัน ซึ่งหมายความว่าแต่ละคนสร้างขยะปริมาณ 1.13 กิโลกรัม/วัน และมีกากอุตสาหกรรมเกิดขึ้น 33 ตัน/ปี ทั้งที่เป็นอันตรายและไม่อันตราย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการอย่างถูกวิธี และสอดคล้องตามแนวทาง BCG เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมนี้

"นับเป็นโอกาสที่ดีที่เรายังมีอุตสาหกรรมที่เข้ามาช่วยสนับสนุนและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็มีนโยบายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านการดำเนินงานของกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นกลุ่มสนับสนุนความยั่งยืนของอุตสาหกรรมไทยในภาพรวม และเราพร้อมเดินหน้านำนวัตกรรม เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการกำจัดขยะ ของเสีย เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” นายเกรียงไกร กล่าว

นอกจากนี้ นายเกรียงไกร ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า “การร่วมขับเคลื่อนสู่โลกที่ดีกว่า” ซึ่งเป็นธีมในการจัดงานครั้งนี้ว่ามีองค์ประกอบด้วยกัน 3 ส่วน ได้แก่ 1.ต้นทาง ผู้กำเนิดมลพิษและขยะ 2.ปลายทาง ผู้ที่จะช่วยลด บำบัด กำจัดมลพิษและขยะ โดยนำเครื่องมือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าการลงทุนและการคืนกำไรสู่สังคม และ 3. ระหว่างทาง ซึ่งจะต้องอาศัยนโยบายของภาครัฐในการเข้ามากำกับดูแลเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี อันนำไปสู่การสร้างสิ่งแวดล้อมที่สมดุลและยั่งยืน

ด้านนายธีระพล ติรวศิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานการจัดงานกล่าวว่า กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม ส.อ.ท. ร่วมกับสมาคมการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนในฐานะเจ้าภาพร่วมจากหน่วยงานที่กำกับดูแลสิ่งแวดล้อม อาทิ กรมโรงงานอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รวมไปถึงภาคเอกชนทั้ง SCG, AMATA Facility และสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ในการจัดงานมหกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการของเสีย หรือ EnwastExpo 2023 (Environmental & Waste Management Expo 2023) ภายใต้ธีม”ร่วมขับเคลื่อนสู่โลกที่ดีกว่า” ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในการจัดงานใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการของเสียในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อฉลองครบรอบ 20 ปีของกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกำไร และพร้อมผลักดันการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการจัดการมลพิษและของเสียที่เกิดจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่ภาคอุตสาหกรรม  ชุมชน สังคม  ตลอดจนภาคครัวเรือน ซึ่งงานด้านสิ่งแวดล้อมในลักษณะนี้ในต่างประเทศ ประสบความสำเร็จและมีการจัดงานอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด

นายธีระพลกล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานครั้งนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนแรกการจัดการแสดงเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการของเสีย พร้อมโชว์เทคโนโลยีนวัตกรรมรีไซเคิลต้นแบบ ส่วนที่สองการจัดสัมมนาด้านสิ่งแวดล้อมและจับคู่ธุรกิจ เพื่อให้ผู้ผลิตและจำหน่ายเทคโนโลยี ผู้ก่อกำเนิดกากของเสียการจัดการมลพิษจากต้นทางและผู้รับบำบัด กำจัดและรีไซเคิลกากของเสียและมลพิษประเภทต่าง ๆ มาพบปะกันเพื่อต่อยอดทางธุรกิจ

 

“การจัดงานครั้งนี้ เป็นการสนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการของเสียอย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร มีการเจรจาจับคู่ธุรกิจ มีการสัมมนานำเสนอองค์ความรู้ใหม่ ให้ทันกับสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนไป ตลอดจนการนำเสนอเทคโนโลยีการสื่อสารและกฎหมายใหม่ ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย สิ่งเหล่านี้ เราจะขนมาไว้ในงานนี้ เพื่อเป็นแหล่งรวมให้กับผู้สนใจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านนี้ นายธีระพล กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เยี่ยมชมงาน นอกจากจะเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชนแล้ว ยังมีผู้บริหารโรงงานขนาดกลาง-ใหญ่กว่า 40,000 โรงงาน เจ้าหน้าที่และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ นักวิชาการ นักศึกษาและประชาชนที่สนใจทั่วไป โดยคาดว่าจะมีผู้เยี่ยมชมงานไม่ต่ำกว่า 10,000 คน มีการเจรจาจับคู่ธุรกิจมากกว่า 300 คู่ สัมมนาและเวิร์คช้อปมากกว่า 20 หัวข้อ และมีบริษัทด้านสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมจัดแสดงสินค้านวัตกรรมมากกว่า 100 บริษัท

การจัดงานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการของเสียหรือ EnwastExpo 2023 (Environmental & Waste Management Expo 2023) จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 4-6 ตุลาคม 2566 นี้ ณ อาคาร 6 อิมแพค เมืองทองธานี ภายใต้ธีม”ร่วมขับเคลื่อนสู่โลกที่ดีกว่า” สนใจสอบถามรายละเอียดการจัดงานได้ที่กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)  โทร.02 345 1000 หรือ www.enwastexpo.com

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ร่วมเสวนากับ ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) นายชาติชาย พานิชชีวะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นายวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล กรรมการหอการค้าไทย และ ผศ.ดร.นพพร เรืองวานิช ผู้อำนวยการหลักสูตรควบตรี-โท ทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ ภาควิชาการตลาดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อ “ทักษะและคุณสมบัติสำหรับผู้ส่งออก การเป็นผู้ส่งออกที่ประสบความสำเร็จต้องเป็นคนอย่างไร” ในหลักสูตร TOP X Executive Program รุ่นที่ 2 โดย EXIM BANK ร่วมแบ่งปันประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและขยายสู่ตลาดโลก อาทิ การก้าวข้ามความกลัวและกล้าออกจาก Comfort Zone การสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่งด้วยนวัตกรรม การแสวงหาตลาดใหม่ การปรับธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี (Environmental, Social and Governance : ESG) ตลอดจนบทบาทของ EXIM BANK ในการเติมความรู้ เติมโอกาส และเติมเงินทุน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจ SMEs ไทยให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืนในตลาดการค้าโลกยุคใหม่ ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ สุขุมวิท 20 เมื่อเร็วๆ นี้

X

Right Click

No right click