การนำ ChatGPT มาใช้อย่างรวดเร็วได้ยกระดับผลกระทบเชิงลบด้านสิ่งแวดล้อมในหลายมิติ จากที่ Generative AI เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม ได้กลายเป็นความกังวลขององค์กรทันที เมื่อยูสเคสที่เหมือนจะดูดีและถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีเกิดใหม่นี้กลับสร้างผลเสียมากกว่าผลดีในแง่ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) และปริมาณการใช้ไฟฟ้าและน้ำ

อย่างไรก็ตามหากใช้อย่างถูกวิธีและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของมนุษย์ Generative AI ยังสามารถเร่งให้เกิดความยั่งยืนเชิงบวกพร้อมสร้างผลลัพธ์ทางการเงินได้ โดยเทคโนโลยีนี้อาจช่วยให้บริษัทลดความเสี่ยงด้านความยั่งยืน ปรับต้นทุนให้เหมาะสม และขับเคลื่อนการเติบโตได้เพื่อสร้างสมดุลระหว่างอันตรายและประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้ องค์กรจำเป็นต้องดำเนินการ 2 ประการ ประการแรก คือ สร้างการรับรู้และลดการปล่อยพลังงานของ Generative AI เพื่อให้มันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากนั้นระบุ ประเมินและจัดลำดับความสำคัญยูสเคสที่เกี่ยวกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมตระหนักถึงปัญหาด้านการบริโภคพลังงานของ Generative AI

Generative AI นั้นพึ่งพาโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่ได้รับการเทรนจากข้อมูลมหาศาล ซึ่งต้องระบายความร้อนด้วยน้ำหล่อเย็นและใช้พลังงานไฟฟ้า หรืออาจใช้พลังงานทั้งสองจำนวนมหาศาล แม้ในระยะยาวการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าจะลดลงเมื่อมีการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ซึ่งโมเดล Generative AI ที่ทรงพลังยิ่งขึ้นจะต้องการความสามารถในการประมวลผลมากขึ้นตามไปด้วย

ปัญหาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานไฟฟ้าและน้ำนั้นมีมากกว่าของ Generative AI การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 ผู้บริหาร 75% จะเผชิญกับข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากความต้องการเทคโนโลยีและการแข่งขันกันทางด้านสังคมจะทวีความดุเดือดมากขึ้น ดังนั้นผู้บริหาร CIO จึงไม่ต้องการที่จะติดอยู่ในศึกการแย่งชิงทรัพยากรที่มีจำกัดกับชุมชนท้องถิ่น

 

มุ่งมั่นลดการปล่อยพลังงาน Generative AI

Generative AI จะต้องมีประสิทธิภาพการทำงานเทียบเท่ากับสมองมนุษย์ เพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้สมองประหยัดพลังงานมากก็คือ สมองสามารถจัดระเบียบความรู้ในโครงสร้างเครือข่ายได้ โดยแนวทางที่ใกล้เคียงที่สุดคือ Composite AI คือการรวมโมเดล AI หลายแบบเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและความแม่นยำที่ดีขึ้น ซึ่งใช้โครงสร้างเครือข่ายและเทคนิคคล้ายกันเพื่อเสริมกำลังมหาศาลด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึกในปัจจุบัน

Generative AI ยังบริโภคพลังงานไฟฟ้าและน้ำเป็นหลัก ดังนั้นการหยุดเทรน AI ในทันทีหรือการเก็บข้อมูลการเทรนโมเดล การนำโมเดลที่ได้รับการเทรนแล้วกลับมาใช้ใหม่ และการใช้ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์เครือข่ายที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น จะสามารถสร้างสมดุลแนวทางปริมาณงานในดาต้าเซ็นเตอร์แบบ "ตามสถานการณ์และความเป็นจริง - Follow The Sun" ซึ่งดีกว่าสำหรับการผลิตพลังงานสะอาด กับการใช้แนวทาง "แยกเดินออกมา Unfollow The Sun" สำหรับประสิทธิภาพการใช้น้ำที่ดีกว่า

อีกวิธีหนึ่งในการทำให้ Generative AI มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คือการใช้งานในสถานที่ที่ใช่ ในเวลาที่เหมาะสม โดยความเข้มข้นของคาร์บอนจากแหล่งพลังงานในท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยหลายประการ แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดคือการใช้การจัดตารางเวลางานที่คำนึงถึงพลังงาน ควบคู่ไปกับบริการการติดตามและการคาดการณ์คาร์บอนเพื่อลดการปล่อยก๊าซที่เกี่ยวข้อง

พร้อมตั้งเป้าซื้อแหล่งพลังงานสะอาดใหม่ตามที่วางแผนไว้สำหรับนำมาใช้ The Greenhouse Gas Protocol ที่กำลังกำหนดให้บริษัทต่าง ๆ จัดทำการวิเคราะห์พลังงานสะอาดอย่างละเอียดเพิ่มเติมตามแหล่งสถานที่ ช่วงเวลาของวัน หรือทั้งสองอย่าง

ระบุยูสเคสความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่มีศักยภาพ

มี 3 กรอบการดำเนินงานกว้าง ๆ ที่ยูสเคส Generative AI สามารถเร่งความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การลดความเสี่ยง การเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุน และใช้ขับเคลื่อนการเติบโต

 

การปฏิบัติตามกฎระเบียบเป็นวิธีการนึงที่ Generative AI สามารถช่วยองค์กรลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมโดยการระบุและตีความตัวบทกฎหมาย มาตรฐาน คำสั่ง และข้อกำหนดการรายงานความยั่งยืน รวมถึงการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา ที่สามารถพัฒนาแผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุตามข้อกำหนดและเป็นเครื่องมือฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้แก่พนักงานด้านกฎระเบียบเฉพาะ

จากมุมมองของการเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุน Generative AI สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจได้ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลความยั่งยืนภายใน และระบุรูปแบบ แนวโน้ม พื้นที่การปรับปรุง ความเป็นไปได้ ความเสี่ยง และเกณฑ์มาตรฐาน โดยสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกว่าการตัดสินใจขององค์กรจะส่งผลต่อความยั่งยืนอย่างไร และคาดการณ์ประสิทธิภาพในอนาคตที่อาจเกิดขึ้น องค์กรสามารถวางแผนและเลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุดเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Generative AI ยังสามารถใช้ขับเคลื่อนการเติบโตที่ยั่งยืนโดยนำมาใช้เพื่อค้นหาแหล่งทรัพยากรและวัสดุทางเลือก สามารถให้คำแนะนำสิ่งทดแทนปัจจัยการผลิตแบบเดิมไปสู่ความยั่งยืน เช่น ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอย่างวัสดุนาโน และข้อมูลเกี่ยวกับความพร้อม ประสิทธิภาพ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

เมื่อพิจารณายูสเคส Generative AI เพื่อเป้าหมายความยั่งยืน การประเมินผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบเป็นสิ่งสำคัญ ผู้บริหารต้องเข้าใจมูลค่าธุรกิจเชิงบวกทั้งในแง่ของผลประโยชน์ทางการเงินและความยั่งยืน ตลอดจนความเป็นไปได้ และผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการวัดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำ

จากนั้นจัดลำดับความสำคัญการลงทุนเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1.ลงทุนทันที 2.ลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงและลดการใช้พลังงานเป็นสำคัญ หรือ 3.ไม่ลงทุนเลย ด้วยวิธีการนี้ คุณจะใช้ Generative AI เร่งผลลัพธ์ด้านความยั่งยืนเชิงบวกขององค์กร โดยใช้ประโยชน์จากเคสการใช้งานที่สร้างมูลค่ามากกว่าทำลายเพียงอย่างเดียว

 

บทความ  :  คริสติน โมเยอร์  รองประธานฝ่ายวิจัย  การ์ทเนอร์

 

 ลอรีอัล กรุ๊ป ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำด้านความโปร่งใสในการปฏิบัติงานและความยั่งยืนของภาคองค์กรธุรกิจจาก CDP เป็นเวลา 8 ปีติดต่อกัน โดยครองตำแหน่ง ‘A List’ ทั้งด้านการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การปกป้องป่าไม้ และการรักษาความมั่นคงของแหล่งน้ำ

ลอรีอัล กรุ๊ป ยืนหยัดเป็นบริษัทเพียงหนึ่งเดียวที่ได้คะแนน A ด้านสิ่งแวดล้อมทั้งสามด้านเป็นปีที่ 8 ติดต่อกันจาก CDP และเป็นหนึ่งในบริษัทเพียง 10 แห่งที่ได้คะแนน AAA ในปี 2566 จากทั้งหมด 21,000 บริษัทที่ได้รับการประเมิน

การเปิดเผยข้อมูลและกระบวนการให้คะแนนด้านสิ่งแวดล้อมประจำปีของ CDP นั้น ได้รับการยอมรับในวงกว้างว่าเป็นมาตรฐานสูงสุดสำหรับการวัดความโปร่งใสด้านสิ่งแวดล้อมในภาคองค์กรธุรกิจ

นิโคลา ฮิโรนิมุส ซีอีโอ ลอรีอัล กรุ๊ป กล่าวว่า “สำหรับลอรีอัลนั้น เรารู้สึกภูมิใจยิ่งที่สามารถรักษาระดับคะแนน ‘AAA’ เอาไว้ได้เป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน ความสำเร็จนี้เป็นกำลังใจให้เรายึดมั่นในความพยายามที่เราได้เริ่มไว้ในฐานะผู้นำด้านความงามระดับโลก เมื่อเราได้ตัดสินใจครั้งสำคัญเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจของเราให้สอดคล้องกับปัญหาของสภาพภูมิอากาศ เรามุ่งมั่นว่าจะต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้สำเร็จในปี 2573 เมื่อพิจารณาถึงความยิ่งใหญ่ของปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่รอเราอยู่เบื้องหน้าแล้ว หนทางเดียวที่จะสามารถรับมือได้ก็คือการร่วมมือกัน และเราก็มุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่”

 

ความสำเร็จในครั้งนี้ตอกย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน และเป้าหมายปี 2573 ในโครงการ L’Oréal for the Future ของลอรีอัล กรุ๊ป ซึ่งครอบคลุมแกนการดำเนินงานในสามส่วน ได้แก่ การปฏิรูปตนเอง เสริมสร้างพลังให้กับระบบนิเวศทางธุรกิจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความท้าทายที่โลกต้องเผชิญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การจัดการน้ำอย่างยั่งยืน การเคารพในความหลากหลายทางชีวภาพ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

CDP ได้ประเมินบริษัทต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่ละเอียดและเป็นอิสระ โดยให้คะแนน A ถึง D- ที่ครอบคลุมเรื่องการเปิดเผยข้อมูล การสร้างความตระหนัก และการจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในด้านความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การกำหนดเป้าหมายที่มุ่งมั่นและมีความหมาย ขณะที่บริษัทที่ไม่เปิดเผยข้อมูลหรือให้ข้อมูลไม่เพียงพอต่อการประเมินจะได้รับคะแนน F ในปีที่แล้ว มีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มขึ้น 24% ซึ่งเป็นแนวโน้มที่น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ การวางรากฐานเรื่องการเปิดเผยข้อมูลให้เป็นไปในแนวทางเดียว จะเป็นการดำเนินการที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทนั้น ๆ มีความตั้งใจอย่างจริงจังที่จะรับบทบาทสำคัญในการร่วมสร้างอนาคตที่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์และผลลัพธ์ที่เป็นบวกต่อธรรมชาติ

สามารถดูรายชื่อบริษัททั้งหมดที่อยู่ใน A List ของ CDP ในปี 2566 ได้ที่ https://www.cdp.net/en/companies/companies-scores

รอยัล ภูเก็ต มารีน่า หรือ RPM กำลังก้าวสู่การเป็นท่าจอดเรือชั้นนำที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หลังจากได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร หรือ CFO ทำให้ RPM ได้ก้าวไปสู่อีกขั้นของการเป็นท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนแห่งแรกของโลก

RPM มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนทางทะเลในฐานะท่าจอดเรือแห่งเดียวในประเทศไทย และผู้นำรายแรกในภูเก็ตในกลุ่มอุตสาหกรรมท่าจอดเรือ โรงแรม และอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร CFO ประจำปี 2566 จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในนาม อบก. (TGO) อันแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการดำเนินการด้านคาร์บอนฟุตพริ้นท์ การชดเชยคาร์บอน เพื่อนำไปสู่การจัดการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศและมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต โดยการรับรองนี้เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงประสิทธิภาพของกระบวนการในการบริหารงานภายในองค์กร ที่ได้รับหลังจากการประเมินผลงานด้านการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร โดยมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การรับรองขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองระบบ ในนาม International Accreditation Forum และ คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ หรือ National Standardization Council of Thailand

นายกูลู ลัลวานี หัวเรือใหญ่ของ RPM เน้นย้ำว่า "การผ่านการรับรอง CFO ครั้งนี้ ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความทุ่มเทอันแน่วแน่ของเรา ในด้านความยั่งยืน สะท้อนให้เห็นในทุกแง่มุมของการดำเนินงานอย่างตั้งใจ เรามีความยินดีที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานภาครัฐในฐานะท่าจอดเรือแห่งเดียวของประเทศไทย และผู้นำรายแรกในภูเก็ตในกลุ่มอุตสาหกรรมท่าจอดเรือ โรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป้าหมายของเราคือรักษามาตรฐานการเป็นท่าจอดเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดอีกแห่งของเอเชียรอยัล ภูเก็ต มารีน่า เรามุ่งเน้นการพัฒนาสู่การเป็นผู้นำด้านการดำเนินธุรกิจมุ่งสู่คาร์บอนต่ำ สู่การเป็นท่าจอดเรือที่ปลอดคาร์บอนแห่งแรกของโลก ตั้งเป้าเป็นจุดหมายปลายทางชั้นนำสำหรับการใช้ชีวิต การทำงาน การพักผ่อนหรือแม้แต่การเฉลิมฉลอง ตามแบบวิถีชีวิตของนักท่องเที่ยวทางทะเล ณ เมืองท่องเที่ยวชั้นนำของโลก อย่างภูเก็ตแห่งนี้

นอกเหนือจากสิ่งอํานวยความสะดวกในท่าจอดเรือของเราแล้ว เรายังคงพัฒนาและยกระดับที่พักอาศัยชั้นเลิศ ศูนย์กลางร้านค้า สำหรับผู้คนที่ต้องการวิถีชีวิตที่แตกต่าง ยิ่งไปกว่านั้น RPM ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง จากการได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลด้านองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม จัดโดยหอการค้า เนเธอร์แลนด์ – ไทย NTCC ที่ตอบโจทย์ต่อความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน สิ่งแวดล้อม สังคม และการกํากับดูแลกิจการ (ESG)

อีกทั้งยังเป็นตัวแทนเดียวจากท่าจอดเรือในภูเก็ตที่ได้ร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์ในงานสัมมนาหัวข้อ “ยุทธศาสตร์สู่การเป็นเมืองท่องเที่ยวยั่งยืนของอันดามัน” หรือ Andaman Sustainable Tourism Forum ครั้งที่ 1 จัดโดย มูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืน และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต”

อีกหนึ่งความสำเร็จของ RPM คือ การเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยในปีนี้เอง RPM ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ อย่าง Letter of Recognition หรือ LOR ภายใต้โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก หรือเรียกโดยย่อว่าโครงการ LESS ซึ่งจัดโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแห่งประเทศไทย หรือ อบก. นั่นเอง ท่าจอดเรือของ RPM สามารถตอบสนองต่อความต้องการพลังงานได้มากถึง 40% ต่อวัน ผ่านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่สะอาดและยั่งยืน ทั้งนี้องค์กรยังมีแผนพัฒนาเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง สู่การเป็นท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนของโลก

นอกจากนี้ RPM เอง ร่วมมือกับพันธมิตรทางเรือต่าง ๆ ในการลดการใช้ขวดพลาสติกในกิจกรรมการเดินเรือทุกประเภท ตั้งเป้าหากสำเร็จจะสามารถช่วยลดขวดพลาสติกไปได้ราว ๆ กว่า 4 ล้านขวดต่อปี ความร่วมมือเหล่านี้ยังครอบคลุมไปถึงพันธมิตรอื่น ๆ มากมาย อาทิเช่น องค์กร Seakeepers, มูลนิธิ Oceans For All, License To Clean, บริษัท Wawa Creations และ Disabled Sailing Thailand หรือที่รู้จักกันในนาม สมาคมกีฬาเรือใบสำหรับคนพิการ อีกด้วย

ทั้งหมดนี้ถือเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญของ รอยัล ภูเก็ต มารีน่า ในการเดินทางสู่การเป็นท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนแห่งแรกของโลก ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

SCB CIO หนุนผู้ประกอบการและนักลงทุนไทย ตระหนักถึงความสำคัญของ Green Taxonomy พร้อมดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องและมุ่งเน้นสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยสถาบันการเงินมีแนวโน้มนำเสนออัตราดอกเบี้ยที่จูงใจมากขึ้น สนับสนุนบริษัทที่ออกตราสารหนี้ ที่ทำกิจกรรมเศรษฐกิจสอดคล้องกับ Taxonomy ส่วนนักลงทุนสถาบันมุ่งออกแบบผลิตภัณฑ์การเงิน นำเสนอกองทุนที่คำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG ด้านนักลงทุนรายย่อย หันมาเน้นลงทุนกับผลิตภัณฑ์การเงินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขานรับเป้าหมายประเทศไทยมุ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ขณะที่ล่าสุด ไทยได้มีการประกาศ Thailand Taxonomy ระยะที่ 1 โดยกิจกรรมเศรษฐกิจเป้าหมายกลุ่มแรก คือ ภาคพลังงานและขนส่งซึ่งก๊าซคาร์บอนรวมกันเกือบ 70% ของทั้งหมด

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภูมิภาคหลักๆ ในโลกได้จัดทำมาตรฐานกลางที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล(ESG) โดยระบุเงื่อนไขอย่างชัดเจนและโปร่งใสเพื่อนำไปใช้อ้างอิงในการช่วยจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจประเภทต่างๆ โดยเฉพาะหมวดธุรกิจที่มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Green Taxonomy)

โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาดเงินตลาดทุนไทย ควรทำความเข้าใจและนำไปปรับใช้ เนื่องจากจะช่วยให้ผู้ที่ต้องการลงทุนในโครงการหรือกองทุน ESG รวมทั้งนักลงทุนหรือสถาบันการเงินที่ต้องการปล่อยสินเชื่อให้โครงการ ประเมินได้ว่าควรลงทุนในโครงการไหน ด้วยเม็ดเงินเท่าไหร่ และรู้เท่าทันในการดำเนินการด้าน ESG อย่างแท้จริง ส่วนบริษัทจดทะเบียนที่ต้องการระดมทุนจัดทำโครงการ ก็จะสามารถชี้แจงและส่งสัญญาณให้ผู้ลงทุน หรือ สถาบันการเงินทราบได้ว่าโครงการที่กำลังระดมทุนอยู่ มีการดำเนินการอย่างจริงจังและมีผลต่อการบริหารจัดการทางด้าน ESG อย่างไร

ทั้งนี้ SCB CIO วิเคราะห์มาตรฐานด้าน Green Taxonomy ของกลุ่มประเทศต่างๆ ได้แก่ EU Taxonomy . ASEAN Taxonomy และ Thailand Taxonomy พบว่า EU Taxonomy เป็นต้นแบบกฎหมาย Green Taxonomy ของทั่วโลก ที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2020 เป็นกฎหมายกำหนดนิยามและจัดหมวดหมู่กิจกรรมเศรษฐกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี2050เน้นลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้และปกป้องทรัพยากรน้ำและทะเลอย่างยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน การป้องกันและควบคุมมลพิษ และการปกป้องและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ หัวใจสำคัญของ EU Taxonomy คือต้องการจัดการปัญหาการฟอกเขียว (Greenwashing) เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีส่วนร่วมในตลาดเงินตลาดทุน ลงทุนในสินทรัพย์ที่ยั่งยืนได้อย่างมั่นใจ ทั้งยังกำหนดหน้าที่การเปิดเผยข้อมูลเชื่อมโยงกับ Taxonomy ไว้ให้บริษัทและผู้มีส่วนร่วมในตลาดเงินต้องปฏิบัติตามด้วย

ส่วน ASEAN Taxonomy ไม่ได้เป็นกฎหมาย แต่มีลักษณะเป็นมาตรฐานกลางเพื่อให้ประเทศสมาชิกในภูมิภาคนำไปปรับใช้และดำเนินการจัดทำกฎหมายหรือข้อบังคับ Taxonomy ของประเทศตัวเอง โดยมีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกับ EU Taxonomy แต่มุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนคำมั่นสัญญาของกลุ่มอาเซียน ในการปฏิบัติตามข้อตกลงปารีส (Paris

Agreement) และข้อตกลงในระดับชาติ ซึ่งไม่ได้ระบุชัดเจนในประเด็นปกป้องทรัพยากรน้ำและทะเล และป้องกันควบคุมมลพิษ

สำหรับ Thailand Taxonomy มีวัตถุประสงค์การสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม 6 ข้อ ได้แก่ 1.การลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน 4) การอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ 5) การป้องกันและควบคุมมลพิษ และ 6) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน และการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่ง Thailand Taxonomy มีการระบุกิจกรรมเศรษฐกิจที่นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน คือ หลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเป้าหมายแรกคือ ภาคพลังงานและขนส่ง ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนรวมกันเกือบ 70% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งหมด

ในส่วนของ ประเทศไทย ได้ให้คำมั่นสัญญาในการประชุม UN Climate Change Conference ครั้งที่ 26 ว่า ไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero ) ภายในปี 2065 ขณะที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ จากการดำเนินงานภายในปี 2030 และจากการให้สินเชื่อ และการลงทุนภายในปี 2050

ทั้งนี้ Green Taxonomy จะทำให้บริษัทจดทะเบียนต้องพยายามปรับเปลี่ยนหรือดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ Taxonomy มากขึ้น ขณะที่สถาบันการเงินขนาดใหญ่มีแนวโน้มต้องมุ่งเน้นนำเสนออัตราดอกเบี้ยที่จูงใจมากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนบริษัทที่ออกตราสารหนี้ เพื่อกิจกรรมเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับTaxonomyและนักลงทุนสถาบัน จะต้องประยุกต์ใช้Taxonomyกับการออกแบบผลิตภัณฑ์การเงิน เช่น ลงทุนในกิจกรรมที่สอดคล้องกับTaxonomy นำเสนอกองทุนที่คำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG เพราะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่ยั่งยืนของสหภาพยุโรป (Sustainable Finance Disclosure Regulation)

ส่วนนักลงทุนรายย่อย เมื่อหันมาเน้นลงทุนกับผลิตภัณฑ์การเงินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จะเป็นแรงผลักดันให้ผู้ให้บริการต้องแก้ไขข้อกำหนดการบริหารพอร์ตลงทุน และการให้คำแนะนำลงทุนโดยพิจารณาเรื่องความยั่งยืน ควบคู่กับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงมากขึ้น รวมทั้งนำเสนอผลิตภัณฑ์สำหรับนักลงทุนรายย่อย ที่เน้นสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมหรือหลีกเลี่ยงการลงทุนที่สร้างผลกระทบในทางตรงกันข้ามกับวัตถุประสงค์ Taxonomy ซึ่งจะนำไปสู่โอกาสของบริษัทที่ดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจสอดคล้องกับ Taxonomy ในการเข้าถึงนักลงทุนรายย่อยได้มากขึ้น

นายวัชชระ ชินเศรษฐวงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย กล่าวถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษว่า ทิศทางของหลายประเทศทั่วโลกขณะนี้ มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ทั้งในเรื่องการลดการใช้พลังงาน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการเกิดของเสียจากการผลิต รวมถึงสนับสนุนการใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ กระดาษจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้และนำมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้ ทำให้หลายธุรกิจและอุตสาหกรรมเริ่มกลับมาใช้กระดาษเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งกระดาษในวันนี้ได้ถูกพัฒนาด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้มีทั้งความคงทน แข็งแรง ตอบสนองต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมได้ในหลายรูปแบบ แนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้อุตสาหกรรมกระดาษเริ่มกลับมาเติบโตอีกครั้ง หลังได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล

นอกจากนั้น อุตสาหกรรมกระดาษยังได้รับผลบวกจากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มกระดาษคราฟท์ ที่มีสัดส่วนการผลิตกว่า 80% และใช้วัตถุดิบที่ได้จากการรีไซเคิลกระดาษปีละหลายล้านตันได้รับผลดีตามไปด้วย ซึ่งภูมิภาคเอเชียยังคงเป็นกลุ่มผู้บริโภคและผู้ผลิตอันดับต้นของโลก โดยเฉพาะอาเซียนที่เป็นฐานการผลิตของหลายอุตสาหกรรม ทำให้ไทยกลายเป็น HUB และเป็นศูนย์กลางของอาเซียนที่หลายประเทศให้ความสำคัญ รวมถึงผู้อยู่ในอุตสาหกรรมกระดาษจากทั่วโลก

งาน ASEAN Paper Bangkok 2023 ในครั้งนี้ มีความสำคัญต่ออนาคตของอุตสาหกรรมกระดาษไทยและโลกเป็นอย่างมาก นอกจากจะเป็นงานฯ ที่เป็นการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ เจรจาธุรกิจการค้าร่วมกันแล้ว ยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมความร่วมมือ พร้อมกำหนดแนวโน้มทิศทางของอุตสาหกรรมกระดาษในอนาคตร่วมกันอีกด้วย

นายพรรธระพี ชินะโชติ ประธานกรรมการร่วม อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวถึงการจัดงาน ASEAN Paper Bangkok 2023 ว่า อาเซียนมีประชากรมากถึง 680 ล้านคนในปี 2565 เป็นตลาดขนาดใหญ่ มีการบริโภคสูง เป็นฐานการผลิตสินค้าสำคัญของโลก โดยมีกระดาษเข้าไปเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหรือเป็นบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการจัดงานฯ ในครั้งนี้จึงดึงดูดความสนใจจากบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกให้มารวมกันอยู่ที่ประเทศไทย เพื่อจัดแสดงตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เครื่องจักร โซลูชั่น นวัตกรรมเทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์กระดาษประเภทต่างๆ ที่ครบวงจร

ที่สุดของภูมิภาค โดยแนวคิดในการจัดงานครั้งนี้ คือ “เทคโนโลยีการผลิตกระดาษเพื่อความยั่งยืนและโซลูชั่นสำหรับธุรกิจของอนาคต” (Sustainable Paper Production Technology & Solution for Future Business) ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มและทิศทางของธุรกิจและอุตสาหกรรมของโลก

โดยไฮไลท์ของงานฯ ในครั้งนี้ คือ การเปิดพื้นที่โซนจัดแสดงงานใหม่ในกลุ่มกระดาษลูกฟูกและกระดาษรีไซเคิล (Corrugated and Paper Recycling) ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์กลุ่มใหญ่ของอุตสาหกรรมกระดาษ และในการจัดงานยังได้รับความร่วมมือจากองค์กรธุรกิจสำคัญในอุตสาหกรรมทั้งไทยและนานาชาติ อาทิ Federation of ASEAN Pulp and Paper Industries (FAPPI), The Australasian Pulp and Paper Technical Association (Appita) จากประเทศออสเตรเลีย, Indian Agro & Recycled Paper Mills Association (IARPMA) จากประเทศอินเดีย, Myanmar Pulp And Paper Industry Association (MPPIA) จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์, Vietnam Pulp and Paper Association (VPPA) จากประเทศเวียดนาม, Printing and Packaging Industry Club (FTI) กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ The Thai Pulp and Paper Industries Association (TPPIA) สมาคมอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษไทย จากประเทศไทย

รวมทั้งยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมายภายในงาน ไม่ว่าจะเป็นการประชุมในหัวข้อ ทิศทางอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษในอนาคต The Future of Tissue and Paper Forum การบรรยายพิเศษเจาะลึกอุตสาหกรรมกระดาษกับ Technical Insights และ Executive Insights The World’s Market Trend of Pulp and Paper Industry ฯลฯ ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้มีบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกเข้าร่วมจัดแสดงงานกว่า 200 ราย และคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงานมากกว่า 3,000 ราย จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจในอุตสาหกรรมกระดาษให้เข้ามาเยี่ยมชมงาน ซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนา สร้างมูลค่า และต่อยอดธุรกิจได้เป็นอย่างดี

งาน ASEAN Paper Bangkok 2023 เริ่มแล้ววันนี้ - 1 กันยายน 2566 ณ ฮอลล์ 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.aseanpaperbangkok.com

Page 1 of 6
X

Right Click

No right click