January 22, 2025

นายฉี ชิง-ฟู่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ LHFG และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH Bank กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ขยายตัวต่อเนื่องเพียงเล็กน้อยจากการบริโภคภายในประเทศและการท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง อย่างไรก็ดี การลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนชะลอลงตามการอนุมัติงบประมาณของภาครัฐที่มีความล่าช้าและการส่งออกที่ฟื้นตัวช้า สำหรับเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งหลังของปีคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกจากการใช้จ่ายของภาครัฐที่มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น การลงทุนภายในประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศที่ขยายตัวดีขึ้น 

กลุ่มธุรกิจทางการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ยังคงให้ความสำคัญกับ Sustainable Banking เพื่อมุ่งสู่ การเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) จากการดำเนินงานของธุรกิจธนาคาร รวมถึงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อมและการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการปรับตัว สำหรับธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของธนาคารแห่งประเทศไทย และปี 2567 บริษัทได้รับการคัดเลือกให้เป็นบริษัทที่มีการดำเนินงาน โดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมมาภิบาล (ESG100) เป็นปีที่ 9 รวมทั้งได้รับการคัดเลือกให้อยู่ใน Universe ของกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 โดยสถาบันไทยพัฒน์  

ผลการดำเนินงานครึ่งแรกของปี 2567 กลุ่มธุรกิจทางการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ 891 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และกำไรจากการดำเนินงานก่อนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้จำนวน 1,990 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหลักๆ เป็นผลจากเงินปันผลที่ลดลงเนื่องจากกลุ่มธุรกิจทางการเงินยังคงลดพอร์ตการลงทุน  รายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ครึ่งแรกของปี 2567 เติบโตได้ดีผ่านการขยายฐานสินเชื่อลูกค้าทั้งลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจ ทั้งช่องทางดิจิทัลและพันธมิตรทางธุรกิจ ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 846 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นผลจากเงินปันผลที่ลดลง สินเชื่อเติบโตร้อยละ 8.7 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 หลักๆ เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อธุรกิจและกลุ่มลูกค้าไต้หวัน และสินเชื่อกลุ่มลูกค้าไต้หวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 ผ่านเครือข่ายของ CTBC Bank ธนาคารเอกชนอันดับ 1    ของไต้หวัน ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มธุรกิจ และ Trade Finance เติบโตร้อยละ 19 ทั้งนี้ ธนาคารคุม NPL ให้อยู่ที่ร้อยละ 3 รวมทั้งได้ตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญอย่างระมัดระวังโดย NPL Coverage อยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 188 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม   

ด้านเงินฝาก ธนาคารได้ขยายฐานลูกค้าเงินฝากรายย่อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ผ่านช่องทาง Digital Banking และออกผลิตภัณฑ์เงินฝากต่างๆ เช่น เงินฝากบัญชีออมทรัพย์ดิจิทัล B-You Wealth ดอกเบี้ยสูงสุด 5.55% แคมเปญผลิตภัณฑ์เงินฝากออมทรัพย์ดิจิทัล รับฟรี บัตรแรบบิท LH Bank Success Infinite Prestige Collection แคมเปญผลิตภัณฑ์เงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) และผลิตภัณฑ์ LH Bank Health Care Saving รวมถึงบัญชีออมทรัพย์เพื่อธุรกิจอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได 

ทิศทางธุรกิจครึ่งหลังของปี 2567 ธนาคารยังคงเน้นขยายตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยและขับเคลื่อน การเติบโตกลุ่มลูกค้า SMEs ธนาคารได้พัฒนาระบบ Corporate E-Banking และ Mobile Banking เพื่อให้บริการมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการปรับกระบวนการพิจารณาสินเชื่อให้รวดเร็ว และเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน (Sustainable Banking) ที่ดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล การบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม และล่าสุดธนาคารได้จับมือเป็นพันธมิตรกับสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ “EEI” และอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ “MASCI” รวมถึงบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด “ABEAM”  บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำระดับโลก เพื่อดำเนินโครงการเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ประกอบการ (Green Transition Advisory Loan) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม SMEs ไทยให้สามารถปรับตัวอย่างยั่งยืน 

นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ กรรมการผู้อำนวยการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด หรือ LH Fund กล่าวว่า ช่วงครึ่งแรกของปี 2567 บริษัทได้ปรับลักษณะการดำเนินการในการบริหารกองทุน โดยเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลและปรับเปลี่ยนกองทุนหลัก ( Master Fund ) เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดและ   เพิ่มโอกาสในการสร้างผลการดำเนินงานที่ดีกว่าเดิม ส่วนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ยังคงมีผลการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่องโดยเฉพาะ REIT ประเภทโรงแรมและพื้นที่ค้าปลีก ได้แก่ LHHOTEL, LHSC และ QHHRREIT ที่ได้รับอานิสงค์จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว 

กลยุทธ์ครึ่งหลังของปี 2567 บริษัทยังคงขยายฐานลูกค้ากองทุนส่วนบุคคล รวมทั้งขยายฐานลูกค้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ภายใต้การจัดการ รวมถึงให้ความสำคัญในด้าน ESG เพื่อสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนให้กับกองทุนรวมและนักลงทุน สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทได้รับ        ความไว้วางใจจากลูกค้าอย่างต่อเนื่องส่งผลธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ บริษัทได้ พัฒนาระบบ Life Path เพื่อรองรับการขยายฐานลูกค้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนได้แบบอัตโนมัติ 

นายกานต์ อรรถธรรมสุนทร กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH Securities) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index) 6 เดือนแรกของปี 2567 ปรับตัวลดลง 8.1% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2566 มาอยู่ที่ 1,300.96 จุด โดยนักลงทุนต่างชาติยังขายต่อเนื่อง มียอดขายสุทธิ 115,983      ล้านบาท โดยมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 45,238 ล้านบาท ลดลง 22.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยลบที่กดดันดัชนี เช่น ปัจจัยด้านการเมืองในประเทศและต่างประเทศ และท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาที่จะคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ระดับสูงเป็นเวลานานขึ้น  

ผลการดำเนินงานครึ่งแรกของปี 2567 บริษัทมีรายได้รวมจำนวน 158.8 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 หลักๆ มาจากรายได้ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ลดลงอย่างมากตามปริมาณ     การซื้อขายของตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลงถึง 22.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในไตรมาสที่ 3 บริษัทจะเปิดให้บริการธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor : FA) เพื่อต่อยอดการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างครบวงจร รวมทั้งได้พัฒนาบริการด้านระบบเทคโนโลยีผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อสร้าง Engagement ของลูกค้า รวมทั้ง การบริหารต้นทุนอย่างเหมาะสมท่ามกลางภาวะตลาดหุ้นที่มีความผันผวนและมีปริมาณการซื้อขายที่ลดลง 

นายวัชชระ ชินเศรษฐวงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย กล่าวถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษว่า ทิศทางของหลายประเทศทั่วโลกขณะนี้ มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ทั้งในเรื่องการลดการใช้พลังงาน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการเกิดของเสียจากการผลิต รวมถึงสนับสนุนการใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ กระดาษจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้และนำมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้ ทำให้หลายธุรกิจและอุตสาหกรรมเริ่มกลับมาใช้กระดาษเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งกระดาษในวันนี้ได้ถูกพัฒนาด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้มีทั้งความคงทน แข็งแรง ตอบสนองต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมได้ในหลายรูปแบบ แนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้อุตสาหกรรมกระดาษเริ่มกลับมาเติบโตอีกครั้ง หลังได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล

นอกจากนั้น อุตสาหกรรมกระดาษยังได้รับผลบวกจากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มกระดาษคราฟท์ ที่มีสัดส่วนการผลิตกว่า 80% และใช้วัตถุดิบที่ได้จากการรีไซเคิลกระดาษปีละหลายล้านตันได้รับผลดีตามไปด้วย ซึ่งภูมิภาคเอเชียยังคงเป็นกลุ่มผู้บริโภคและผู้ผลิตอันดับต้นของโลก โดยเฉพาะอาเซียนที่เป็นฐานการผลิตของหลายอุตสาหกรรม ทำให้ไทยกลายเป็น HUB และเป็นศูนย์กลางของอาเซียนที่หลายประเทศให้ความสำคัญ รวมถึงผู้อยู่ในอุตสาหกรรมกระดาษจากทั่วโลก

งาน ASEAN Paper Bangkok 2023 ในครั้งนี้ มีความสำคัญต่ออนาคตของอุตสาหกรรมกระดาษไทยและโลกเป็นอย่างมาก นอกจากจะเป็นงานฯ ที่เป็นการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ เจรจาธุรกิจการค้าร่วมกันแล้ว ยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมความร่วมมือ พร้อมกำหนดแนวโน้มทิศทางของอุตสาหกรรมกระดาษในอนาคตร่วมกันอีกด้วย

นายพรรธระพี ชินะโชติ ประธานกรรมการร่วม อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวถึงการจัดงาน ASEAN Paper Bangkok 2023 ว่า อาเซียนมีประชากรมากถึง 680 ล้านคนในปี 2565 เป็นตลาดขนาดใหญ่ มีการบริโภคสูง เป็นฐานการผลิตสินค้าสำคัญของโลก โดยมีกระดาษเข้าไปเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหรือเป็นบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการจัดงานฯ ในครั้งนี้จึงดึงดูดความสนใจจากบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกให้มารวมกันอยู่ที่ประเทศไทย เพื่อจัดแสดงตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เครื่องจักร โซลูชั่น นวัตกรรมเทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์กระดาษประเภทต่างๆ ที่ครบวงจร

ที่สุดของภูมิภาค โดยแนวคิดในการจัดงานครั้งนี้ คือ “เทคโนโลยีการผลิตกระดาษเพื่อความยั่งยืนและโซลูชั่นสำหรับธุรกิจของอนาคต” (Sustainable Paper Production Technology & Solution for Future Business) ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มและทิศทางของธุรกิจและอุตสาหกรรมของโลก

โดยไฮไลท์ของงานฯ ในครั้งนี้ คือ การเปิดพื้นที่โซนจัดแสดงงานใหม่ในกลุ่มกระดาษลูกฟูกและกระดาษรีไซเคิล (Corrugated and Paper Recycling) ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์กลุ่มใหญ่ของอุตสาหกรรมกระดาษ และในการจัดงานยังได้รับความร่วมมือจากองค์กรธุรกิจสำคัญในอุตสาหกรรมทั้งไทยและนานาชาติ อาทิ Federation of ASEAN Pulp and Paper Industries (FAPPI), The Australasian Pulp and Paper Technical Association (Appita) จากประเทศออสเตรเลีย, Indian Agro & Recycled Paper Mills Association (IARPMA) จากประเทศอินเดีย, Myanmar Pulp And Paper Industry Association (MPPIA) จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์, Vietnam Pulp and Paper Association (VPPA) จากประเทศเวียดนาม, Printing and Packaging Industry Club (FTI) กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ The Thai Pulp and Paper Industries Association (TPPIA) สมาคมอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษไทย จากประเทศไทย

รวมทั้งยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมายภายในงาน ไม่ว่าจะเป็นการประชุมในหัวข้อ ทิศทางอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษในอนาคต The Future of Tissue and Paper Forum การบรรยายพิเศษเจาะลึกอุตสาหกรรมกระดาษกับ Technical Insights และ Executive Insights The World’s Market Trend of Pulp and Paper Industry ฯลฯ ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้มีบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกเข้าร่วมจัดแสดงงานกว่า 200 ราย และคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงานมากกว่า 3,000 ราย จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจในอุตสาหกรรมกระดาษให้เข้ามาเยี่ยมชมงาน ซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนา สร้างมูลค่า และต่อยอดธุรกิจได้เป็นอย่างดี

งาน ASEAN Paper Bangkok 2023 เริ่มแล้ววันนี้ - 1 กันยายน 2566 ณ ฮอลล์ 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.aseanpaperbangkok.com

หนึ่งในภารกิจหลักหลังการควบรวมทรู-ดีแทค คือ การส่งมอบเครือข่ายสัญญาณที่ดียิ่งกว่า ครอบคลุมยิ่งขึ้นทั่วไทย โดยที่ผ่านมา การติดตั้งเสาสัญญาณ นอกเหนือจากจะต้องเป็นไปตามกฎระเบียบที่กสทช.กำหนดไว้แล้ว ทุกพื้นที่ที่ทรูและดีแทคติดตั้งเสาสัญญาณจะมีการนำปัจจัยเรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ Biodiversity มาใช้ในการวางแผน โดยทีมปฏิบัติการจะทำการสำรวจสิ่งมีชีวิตนานาพันธุ์ในระบบนิเวศรอบพื้นที่เสาสัญญาณ ควบคู่กับการปลูกต้นไม้เพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสมบูรณ์ของสัตว์และพันธุ์พืช เพื่อบรรลุเป้าหมายที่จะไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียคุณค่าด้านความหลากหลายทางชีวภาพสุทธิ และไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้สุทธิ ภายในปี 2573 สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ หรือ SDGs “เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน” โดยมีกระบวนการที่ชัดเจน ตั้งแต่

1. คัดกรองและคัดเลือกพื้นที่ตั้งเสาสัญญาณ หากพิจารณาว่าพื้นที่โดยรอบที่ตั้งเสาสัญญาณนั้นมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็น สัตว์สายพันธุ์เล็ก สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ความหลากหลายของพันธุ์พืช ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ก็จะส่งประเมินความเสี่ยงต่อไป

2. ประเมินและจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่เสี่ยง โดยนำไปประเมินเชิงลึกผ่านโปรแกรมมาตรฐานระดับโลก คือ Biodiversity and Ecosystem Services Trends and Conditions Assessment Tool (BESTCAT) เพื่อทำการคัดกรองพื้นที่อ่อนไหว ซึ่งมีมาตรกำหนดวัดระดับความรุนแรงของผลกระทบตั้งแต่ต่ำสุดถึงสูงสุดที่ 0 – 100 อาทิ มีชนิดพันธุ์ถูกคุกคามมากน้อยแค่ไหนในพื้นที่รัศมี 10 ตารางกิโลเมตรจากเสาสัญญาณที่ติดตั้ง

3. ดำเนินตามแผนแก้ไข ป้องกัน เพื่อลดผลกระทบ โดยยึดหลักบรรเทาผลกระทบตามลำดับชั้น ตั้งแต่ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบ ลดผลกระทบที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ฟื้นฟูสภาพพื้นที่ด้วยการปลูกพรรณไม้ท้องถิ่น และชดเชยด้วยการปลูกต้นไม้นอกพื้นที่โครงการ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทั้งทรูและดีแทคได้ดำเนินการในพื้นที่ที่ใกล้ชิดแหล่งธรรมชาติ คือการจัดทำเสาสัญญาณที่ออกแบบเป็นเสาต้นไม้ เพื่อให้กลมกลืนกับทัศนียภาพ เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบข้างและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้อยใหญ่

4. สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยรอบ โดยชักชวนผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในสังคมยุคดิจิทัลเพื่อสร้างแหล่งที่อยู่อันอุดมสมบูรณ์ให้แก่สิ่งมีชีวิตผ่านแอป We Grow โดยในปี 2564 ได้สร้างพื้นที่สีเขียวได้ถึง 165 ไร่ และคาดว่าจะดูดซับก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ถึง 2,400 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 2573

จากผลการศึกษาในปี 2564 พบว่ามีพื้นที่เสาสัญญาณที่อาจอยู่ในระดับเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ คิดเป็นสัดส่วนที่ 0.38% ซึ่งจะต้องนำไปประเมินเพิ่มเติม พร้อมหารือผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนดำเนินการแก้ไข ป้องกัน และลดผลกระทบอย่างเคร่งครัด

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เดินหน้า “โครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศภายในสถานประกอบการ”

X

Right Click

No right click